ผักพื้นบ้าน ... หายไปไหน


ความผิดของใคร ช่วยกันอนุรักษ์

        สวัสดีครับ  วันนี้มีคำถามครับ ผักพื้นบ้านหายไปไหน สมัยก่อนผมจำได้ โดยเฉพาะผมเองเด็กบ้านนอกขนบท ประมาณสามสิบปีที่ผ่านมาผมจำความได้ว่าอาหารหลักของผมเป็นเมนูผักพื้นบ้านทั้งนั้น ไม่ว่ารับประทานสด เป็นเครื่องเคียงแกงจืด หรือว่าผสมในอาหารประเภทต่างๆ เช่นแกงเลียงยอดผัก อันได้แก่ มะละกอ ยอดลำเพ็ง ใบตำลึง หัวปลีก ผักเคียงมากมาย เช่น บัวบก ยอดจิก ยอดหมุย ลูกฉิ่ง หัวทือ ผักกูด ผักกาดนกเขา ผักที่กินใบ ผักเหมียง ผักหวานบ้าน ยอดมะระป่า ยอดฟักทอง  ดอกแค ถั่งพู ใบขะพลู  ชะอม ผักปอด ผักหริ่น อีกมากมายทั่งที่นึกไม่ออกและไม่รู้จักในแต่ละถิ่นแต่ละภูมิภาคแต่ละพืชแต่ละชนิดล้วนเป็นสมุนไพร มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น

ตำลึง

ผักกูด

ผักกาดขาว

กะห่ำปลีม่วง

ถั่งพู

 ที่กล่าวถึงเรื่องนี้เพียงแต่อยากให้พวกเรา/ท่านได้หวนระลึกนึกถึงพืชผักพื้นบ้านและหันมาให้ควาสำคัญ ช่วยกันปลูกไว้บ้านละอย่าง 2 อย่างเพราะผักพวกนี้อายุการเก็บเกี่ยวนาน หรือบางชนิดกินได้ตลอกไป  ผมยังติดใจ   แล้วย้อนถามชาวบ้านว่าผักที่เรากินทุกวันนั้นมาจากไหน   คะน้าเอย บร็อดเคอรี กะหล่ำปลี มะเขือเทศ ถั่วลันเตา อีกเยอะแยะ เขาปลูกกันอย่างไร เขาดูแลรักษาแบบไหน ท่านบริโภคอะไรเข้าไปกี่ชนิด   ท่านรู้หรื่อเปล่า สารเคมีทั้งนั้น ทั้งปุ๋ย ฮอร์โมน ยาฆ่าแมลง และสารอาหารที่ได้รับบริสุทธิ์แค่ไหน ....แล้วผักพื้นบ้านละ ยาไม่ฉีด ปุ๋ยไม่ใส่ สารอาหารที่ได้จากธรรมชาติล้วนๆ ......นำมาฝากช่วยกันคิด ช่วยกันปลูกผักพื้นบ้าน   ที่ท่านชอบคนละ1-2 ชนิดแล้วปลูกฝังลูกหลานให้รู้รักษ์ผักพื้นบ้านทีพ่อแม่ปูย่าตายายเคยกินเคยชอบเอาไว้ด้วย ก่อนที่จะสูญหายไปจากโลกนี้    ขอบคุณมาก...สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 157441เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2008 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

สวัสดีครับ

ผักพื้นบ้าน หายไปกับความเจริญแห่งวัตถุ ปลูกทานเองไม่เป็นแล้ว ซื้อๆๆๆเท่านั้น และก็สารเคมีเยอะอย่างว่าจริงๆ สุขภาพก็แย่อีก  โอ วัฎะที่เลวร้ายนะครับนี่

คิดถึงสมัยก่อนรอบบ้านมีครบผักสวนครัวรั้วกินได้ บัดเดียวนี้ผักสวนครัวก็ไม่มี รั้วก็กินไม่ได้ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็เลือนไปตามกาล  หุ หุ กรรมที่มนุษย์ทำเอง

สวัสดีค่ะ

  พี่อย่ากลัวเลย ที่เขาคันทรงเขาเพาะแค ไว้ 200 ต้นแล้ว ไว้ลง สวนสมุนไพรค่ะ

- ตามมาชมผักพื้นบ้านด้วยครับ

- เด็กสมัยนี้ไม่รู้จักแล้วครับ แค่ชื่อผักบางอย่างยังไม่เคยได้ยินเลย อย่าว่าแต่เด็กเลยครับครูที่นี่บางท่านยังไม่รู้จักเลย

- ที่โรงเรียนอุตรดิตถ์ให้ปลูกผักและผลไม้ของไทยหลายอย่างไว้ที่สวนเกษตร ( อำเภอลับแล ) เช่น ต้นสะแล ต้นมะรุม ต้นตะขบตาควาย ต้นมะขามป้อม เป็นต้น เวลาเด็กไปเข้าค่ายลูกเสือที่สวนเกษตรก็จะพาเด็กไปดูกัน เพราะส่วนใหญ่เป็นเด็กในเมืองไม่เคยเห็นผักและผลไม้ไทยๆบางอย่าง

สวัสดีปีใหม่ครับพี่บ่าว

  • โดนใจดีครับบทความนี้
  • อะไรก็ตามหากเราใส่ใจ เอาเขามาใส่ใจ จะไม่มีวันหายครับ
  • แต่หากเราฝากหัวใจไว้กับตลาด ทุน เงิน ตู้เย็นที่เคยอยู่ตามรั้วบ้าน ในสวนครัว บ่อปลา ก็ย้ายไปอยู่ที่ตลาดนัดหมดเลย
  • ก็ตู้เย็นดีๆ ข้างๆ บ้านหายไป ตู้เย็นใหม่เข้ามาครับ
  • จะมีใครหวนคิดว่า
  • สระบ่อเลี้ยงปลาเป็นตู้เย็นที่ดี
  • ปลูกต้นไม้ไว้บนผืนดินคือธนาคารแห่งชีวิต และอื่นๆ
  • เราฝากชีวิตไว้กับแกงถุง แกงกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป อาหารกินด่วน(ไปด่วน) นั่นคือ ใครจะมีอะไรให้กินด่วน ก็กินไปตามนั้น โดยไม่ได้รู้ว่ามีอะไรในนั้นก็ต้องกิน
  • ชีวิตแขวนอยู่บนความเร่งรีบ รีบร้อน แข่งขัน แล้วจะไม่หายได้อย่างไรครับ
  • ชีวิตที่มีการให้มันหายไป คี้พล้าล่าไป ผักไห่ล่ามา ยังมีอยู่ไหมในสังคมไทย
  • สำหรับคนที่มีพื้นดิน ลองหันไปดูตามซองนอกบ้าน ตรงไหนจะขุดบ่อเลี้ยงปลา ทำนาเล็กๆ ปลูกผักบุ้ง ปลูกผักสวนครัวอื่น แล้วชีวิตจะดีขึ้นครับ
  • หากเราไม่เริ่มใครจะเริ่มครับ เริ่มแล้วให้ สิ่งดีๆ จะกลับมาครับ มันไม่ได้หายไปไหนครับ เพียงแต่พวกเค้ารออยู่ รอว่าเมื่อไหร่คนจะกลับมาใส่ใจ ให้ความสำคัญครับ
  • ขอบคุณพี่บ่าวมากๆ นะครับ ที่เขียนให้บ่นต่อยอดครับ
  • สวัสดีปีใหม่ครับผม 

สวัสดีครับ  อ.ไฉน

P

  • ความเจริญทางวัตถุกลืนธรรมชาติรวมทั้งพิชผักพื้นบ้านไปหมด เหลือไวแต่ความทรงจำ สำหรับคนอายุ 40กว่า
  • เพียงทุคนหันมาปลูกผักพื้นบ้านที่ท่านชอบบ้านละอย่าง ก็จะมีผักพวกนี้คืนชีพ ขึ้นมา
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับหมอ

P

  • เขาคันทรง  มีผู้นำดี เขาก็มีสิ่งดีตามมา
  • ปลูกพืชที่ใช้ประกอบอาหารได้ และเก็บเกี่ยวได้นานๆและมีสรรพคุณทางยา  ช่วยกันปลูกและช่วยกันกิน
  • ขอบคุณหมอมาก

สวัสดีครับ  อ.โต

P

  • ผักพื้นบ้านธาคุอาหารจากธรรมชาติ ล้วนๆ
  • ฝาก ผอ.สามารถเผยแพร ปลูกฝังแก้เด็กนักเรียนได้มากที่เดียวครับ
  • เมื่อก่อนผมชอบกิน น้ำพริกหัวทือ  กระทือ ขมิ้นขาว
  • เดี๋ยวนี้ไม่เจอนานแล้ว

 

โห ! รู้มั้ยคะ  ท่านเกษตรยะลา  เห็นแล้วคิดถึงน้ำพริกอย่างแรง !  กินกะปลาทูด้วย..โอ๊ย  !  ไปกินข้าวเย็นก่อนดีกฝ่า..แล้ว OOHOOH  จะกินเผื่อค่ะ

                                   

สวัสดีครับ  อ.เม้ง

P

  • ขอบคุณมากครับ  ที่ช่วยกันพูดกันคุย  กระตุ้น เพื่อให้ผักพื้นบ้านกลับมามีขีวิตชีวา  วางเต็มที่แผงขาย  หนมจีน
  • ตู้เย็น พืขผักริมรั้ว ปลาในสระ ใครไปใครมา ทำกินได้ทันที ..ช่วยๆกันหน่อย.ครับ

สวัสดีครับ  ooHooH

P

  • เขาชวนให้ปลูกผักพื้นบ้าน
  • ไม่ใช่เอาผักมาให้เหนาะน้ำพริก
  • ขอบคุณมาก

สวัสดีเจ้า...คุณเกษตรยะลา

  • ตอนนี้กระแสเพื่อสุขภาพกำลังมาแรง..คนที่มีอายุเริ่มเลข 4 หันมานิยมผักพื้นบ้านซึ่งเคี้ยวได้สนิทปาก...ไม่ต้องกลัวสารเคมี
  • ภาพแรกผักตำลึง...ทางเหนือเรียก..ผักแคบ ส่วนภาพสุดท้ายเรียก...ผักกูดค่ะ
  • เด็กยุคใหม่น่าเป็นห่วง...อย่าว่าแต่ผักพื้นบ้านเลย...ผักที่เห็นกันทั่วไปและมีประโยชน์เด็กยังไม่ยอมกินเลย
  • ขอบคุณนะคะที่นำเรื่องราวดีดีมาแลกเปลี่ยน

                               สาวหละปูนเจ้า

  • ขอบคุณมาก ที่ท่านเสนอ และให้ความรู้เรื่องนี้
  • เยี่ยมมาก
  • อ่านแล้วชื่นหัวใจ ขออีก อิอิ
  • สวัสดีครับคุณพี่ไมตรี
  • ผักพื้นบ้านที่เพชรบูรณ์และเชียงใหม่ยังมีมากครับ
  • เพราะคนที่นี้ชอบทานผักพื้นบ้านมากครับ จึงยังคงมีการปลูกและจำหน่ายกันในตลาดสดตลอดปีครับ
  • แต่หลายๆอย่างก็หาได้ยากแล้วเหมือนกันครับ

สวัสดีครับ

พักหลังผมก็เห็นผักแปลกๆ ของเมืองนอกเมืองนา เข้าใจว่าต้องการปลูกเพื่อการค้า มีพืชผักใหญ่ๆ โตๆ หลายชนิด

เหมือนที่พี่เกษตระยะลาว่า ผักแต่ก่อนมีเยอะ ผมเคยไปกินข้าวร้านคนใต้ มีผักราว 10 ชนิด ทั้งผักชีไทย ผักชีลาว ผักแว่น ยอดอะไร บางอย่างก็ไม่รู้จัก สักครึ่งหนึ่งเก็บเองได้ แต่ถ้าขายเป็นกิจการก็คงจะลำบาก

นานไปๆ คนจะลืมไปว่าพืชผักอื่นกินได้ เป็นผลดีกับคนปลูกผัก แต่คนกินผักลำบากมากขึ้น

  • สวัสดีค่ะ
  • ทำให้คิดถึงหนมจีนปักษ์ใต้ค่ะ ...มีผักเคียงเยอะๆ
  • ผักบริเวณหลังบ้านยังเป็นอาหารหลักในบ้านทุกๆ วันค่ะ
  • (ทั้งๆ ที่ไม่ได้ปลูก แต่รักษาไว้ทานได้นานๆ)
  • เพราะทานผักที่วางขายในตลาดทีไร "เป็นเรื่อง" ทุกที
  • .........
  • ขอบคุณที่กระตุ้นให้รักผักพื้นบ้านมากขึ้นค่ะ

สวัสดีครับพี่ ไมตรี

  • อ่านเรื่องนี้แล้วต้องมีส่วนร่วมหน่อย
  • ตอนนี้ผมปลูก คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหัว ถั่วฝักยาว อันนี้อาจจะไม่ใช่พื้นบ้าน แต่ยังมีอีกครับ มะระขี้นก(20 ต้น) ฟักเขียวน้ำเต้า(9 ต้น) ถั่วพู ก็บ้านๆ  อันนี้ลงมานิดนึง
  • แต่ผมกำลังอนุรักษ์พันธุ์ผักกาดปลิว อันนี้พื้นบ้านแน่นอน ไม่รู้มีใครรู้จักหรือเปล่า ที่มันเป็นต้นสูงประมาณเข่า ดอกเวลาสุกจะปลิวไปตามลม ใบเอามาแกงได้  ว่างๆ จะถ่ายรูปผักกาดปลิวมาให้ดูครับ

สวัสดีครับ  น้องประหยัด

  • P
  • เด็กยุคใหม่น่าเป็นห่วง...อย่าว่าแต่ผักพื้นบ้านเลย...ผักที่เห็นกันทั่วไปและมีประโยชน์เด็กยังไม่ยอมกินเลย
    • ครับอย่างว่าคนรุ่นพี่นี้ทราบดีว่าผักพิ้นบ้าน หรือผักที่ปลูกเองกินเอง...ทั้งหวานทั้งกรอบ ไม่ว่ากินสดๆหรือประกอบอาหาร  มันได้อรรถรส คุณค่าทางอาหารเกิน 100
    • ผักกูด ขึ้นดีที่มีความชื้นสูง อากาศค่อนข้างเย็น ที่ไหนๆก็เรียกผักกูด
    • ผักสด ผักเคียงมาทางใต้ไม่ผิดหวัง ข้าวราดแกงก็มีผักให้ ขนมจีนน้ำยาก็มีผักให้ เป็น10 สิบชนิด...หรอย  ได้แรง
    • ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีครับ  พ่อครู

    P

    • เป็นเกียรติอย่างสูงที่พ่อครูมาทักทาย
    • ผักพืขบ้านทุกขนิดมีความเด่นในตัวเอง ทางใต้ผ้กหวานบ้าน อร่อยมาก ไม่ว่าผัด  เลียง แกงจืด  เพิ่มปริมาณ  ใส่ลงในมาม่า ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวตลอดชีวิต
    • พืชสมุนไพรอีกอย่างน่าปลูก น่าจะอนุรักษ์ครับที่สวนป่าพ่อคณุบาน่าสนใจ  มากครับ เป็นยา เป็นอาหาร
    • ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีครับ  ครูเสก

    P

  • ผักพื้นบ้านที่เพชรบูรณ์และเชียงใหม่ยังมีมากครับ
  • เพราะคนที่นี้ชอบทานผักพื้นบ้านมากครับ จึงยังคงมีการปลูกและจำหน่ายกันในตลาดสดตลอดปีครับ
  • เป็นเรื่องที่น่ายิยดีครับ ที่คนที่นั้นยังให้ความสำคัญ อย่างที่บอกปลูกครั้งเดียวเก็บได้นาน ถ้าคนที่ขายเป็นจะเป็นรายได้ที่น่าสนใจ
  • ที่นี้มีมากเช่นกันที่ตลาดเช้า ที่ชาวบ้านไปเก็บไปหามาขาย จากหัวไร่ปลายนาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ(ประเภทล้มลุก)
  • ขอบคุณมากครับ
  • ธ.วัธชัย

    P

    • นานไปๆ คนจะลืมไปว่าพืชผักอื่นกินได้ (ผักบ้านๆหลายชนิด)
    • ผมไปบรรยายเรื่องเกษตรยั่งยืน ผมถามว่าผักพื้นบ้าน ผักสวนครัวรั้วกินได้หายไปไหนหมด..ทำไมไปให้ความสำคัญกับผักตลาด ผมถามว่าผักของใคร มรจากไหน ให้ประโยชน์อย่างไร มันอะหร่อยนักหรือ
    • มันกินกับขนมจีนไม่ได้ ของบ้านเราเยอะแยะ ทั้งกินใบ กินฝัก กินหัว กินลำต้ร กินยอด กินผล มีครบทำไม่มไม่ปลูกไม่กิน ไปกินอะไกไม่รู้...
    • ขอบคุณมาก.

    หวัดดีครับ ครูพี่กั๊ต

    P

  • ผักบริเวณหลังบ้านยังเป็นอาหารหลักในบ้านทุกๆ วันค่ะ
  • (ทั้งๆ ที่ไม่ได้ปลูก แต่รักษาไว้ทานได้นานๆ)
  • น่ายินดีอย่ายิ่งครับ  ต้องปลูกให้ครบ 5 ชนิด ครับกินใบ กินผล (ฝัก) กินหัว กินลำต้น และกินยอด
  • ช่วยปลูกฝังให้นักเรียนรู้สึกรักและชอบที่จะกินผักพื้นบ้านด้วยนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับ โสทร

    P

    • ผักพื้นบ้านเป็นมรดก ปรจำท้องถิ่น  แต่ละจังหวัดแต่ละภาคมีไม่ใช่น้อย
    • น่าจะมีคนรวบรวม บอกชื่อบอกสรรพคุณ
  • แต่ผมกำลังอนุรักษ์พันธุ์ผักกาดปลิว อันนี้พื้นบ้านแน่นอน ไม่รู้มีใครรู้จักหรือเปล่า ที่มันเป็นต้นสูงประมาณเข่า ดอกเวลาสุกจะปลิวไปตามลม ใบเอามาแกงได้  ว่างๆ จะถ่ายรูปผักกาดปลิวมาให้ดูครับ
  • พูดถึงผักกาดปลิว  นี้ผมว่าต้องเป็นผักกาดหัวห้อยแน่นอน โค่นสวนสงเคราะห์จะขึ้นเต็มใบเป็นแฉกๆ มีกลิ่นฉุน ดอกสีเขียวหุ้มตรงปลายโพล่มีสีขาว ดอกสุกจะแตกและปลิวไปไหนๆต่อไหน
  • ขอบคุณมากครับ
    • สวัสดีค่ะ อาจารย์
    • ว่าจะดึง ตำลึง ที่ขึ้นแทรก กับต้นไม้ที่บ้านที่ดูรกๆๆออก เปลี่ยนใจเก็บไว้ดีกว่า
    • ขอบคุณค่ะ
    หนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์มจังหารร้อยเอ็ดรายได้จาผักชะอมนำแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ การเกษตรแบพอเพียง 17 ไร่ ชะอม หรือคนอีสานเรียกว่า ผักขา ปลูกง่ายโตเร็ว ขยายพันธุ์ที่นิยมมากที่สุดคือการปักชำ การตอนกิ่ง และโน้มกิ่ง นำแนวพระราชดำริสู่การเกษตรแบบพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สู่ความสำเร็จวันนี้ทีมข่าวเดินทางไปพบกับคุณสำเริง  บุญค้ำ เกษตรอำเภอจาร จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมนำเที่ยวชมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์มตาม นโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมเล่าให้ฟังว่าโครงการนี้เป็นนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่พร้อมให้เป็นแบบอย่างของเกษตรกร โดยความร่วมมือของ นายวีระพันธ์ สุระเสน  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว.พร้อมการดูแลของนายสมบูรณ์ พิเคราะห์ผิว นักการภารโรง และเจ้าหน้าที่ทุกคน เป็นแปลงข้างสำนักงานเกษตรอำเภอจังหาร   รวม 17 ไร่ แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30:30:30:10 ตามแนวทางพระราชดำริทฤษฎีใหม่ การเกษตรแบบพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีคลองส่งน้ำ รับน้ำ บ่อเลี้ยงปลาโดยการสนับสนุน จากนายนาวิน ควรถนอม ประมงจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดร้อยเอ็ด จำนวน 2 บ่อ นาข้าว แปลงปลูกหอมแบ่ง จำนวน 2 ไร่ พืชผักสวนครัวอื่นๆอาทิ ตะไคร้ ข่า ที่สำคัญคือการปลูก ชะอม ที่สร้างรายได้อย่างงดงามให้กับและโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม คุณสำเริง บุญค้ำ กล่าวว่า อาชีพภาคการเกษตรที่ดินมีอย่างจำกัด แต่การจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรได้อย่างน่าสนใจ และมีการตลาดที่ต้องศึกษา กรมส่งเสริมการเกษตร มีนายเลอสิทธิ์ สายแก้วมา เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้สำนักงานเกษตรอำเภอ 17 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ นำโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม เป็นจุดสาธิตภาคการเกษตรแบพอเพียง ที่ดินบริเวณปลูก ชะอม ประมาณ 1 ไร่ในการเริ่มต้นการทำโครงการปัจจุบันขยายออกเป็น 2 ไร่และจะขยายออกให้เต็มพื้นที่เพราะเพียง 6 เดือนสร้างรายได้กว่า 10,000 บาท  ปลูกชะอมแบบชิด 100X50 เซนติเมตร ชะอม ปลูกโดยใช้กิ่งชำ จากต้นแม่ดั่งเดิมพื้นบ้าน ที่นี่ใช้ปุ๋ยคอก ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เก็บขายไปจนกว่าจากตายจากกันกับต้นชะอม เคยเปรียบเทียบระหว่างปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอก การใช้ปุ๋ยเคมีชะอมจะเป็นโรค ใบหงิก หันมาใช้ปุ๋ยคอกโรคใบหงิกลดลง ชะอมเป็นพืชที่มีศัตรูคือหนอนคืบกินใบ เพลี้ยไฟ ไร การป้องกันกำจัด ใช้โล่ติ๊น หรือไหลแดง นำรากมาทุบๆแช่น้ำไว้ 1-2 คืน จะได้น้ำสีขาวขุ่นนำมาผสมน้ำ 1:1 ฉีดพ่นได้ผลดีมากหรือใช้บรเพ็ด ทุดแช่น้ำผสมจะออกฤทธิ์ในการทำลายได้อย่างดี ส่วนการใช้ปุ๋ยคอกนั้นให้ปีละ 1 ครั้ง ในเดือนเมษายน ของทุกปีต้องมีการตัดแต่งให้สูงขนาดหัวเข่า หรือประมาณ 50 เซนติเมตร จากนั้นใสปุ๋ยคอก ส่วนกิ่งที่ตัดทิ้งลงไปที่พื้นจะเน่าสลายไปเอง เป็นปุ๋ยอินทรีย์ด้วย ชะอมมีการให้น้ำแบบหยดทางด้าน นายวีระพันธ์ สุระเสน  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว. กล่าวว่า การเก็บชะอม เป็นงานง่ายๆใช้มีดตัดใส่ตะกร้า นำมามัดรวมกัน ขายปลีกทั่วไปมัดละ 5 บาท ขายส่ง 3 มัด 10 บาท ช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน ชะอมราคาสูงมาก มัดละ 5 บาท มัดเล็กลงแต่ขายดีมาก สวนชะอม ประมาณ 1 ไร่ เก็บขายได้ทุกวันๆละ 500-700 บาท มีรายได้เดือนละ 15,000-20,000 บาท  บาท เป็นงานทำเพียง 2-3 ชั่วโมงต่อวัน หลังจากเก็บแล้วนำมามัดเป็นกำๆละ 5 บาท    นอกจากนั้นปลูกมะพร้าวไว้ตัดยอด 2-3 ปีขายได้หัวละ 100-150 บาท ส่งที่ตลาดอำเภอจังหารหรือตลาดสดพรรณระวี ห่างกันเพียง 5 กิโลเมตร  ขายหมดทุดวัน นายวีระพันธ์ สุระเสน  ยังกล่าวอีกว่า นอกจากชะอมในสวน รอบรั้วปลูกตะไคร้ สามารเก็บขายได้ประมาณ 40-50 บาท เป็นค่าโดยสารรถยนต์ที่นำผักไปขาย พริกขี้หนู ยอดบวบ ลูกบวบที่ขึ้นข้างรั้ว หัวปลี ผักปัง ผักหวานบ้าน ข่าอ่อน เก็บไปขายได้วันละ 150-200 บาท       ยอดมะกล่ำ  ยอดกระถิน หัวข่าอ่อนที่ใช้กับต้มไก่บ้าน ขึ้นภายในสวน เก็บไปขายได้ทุกวัน เป็นความสำเร็จของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้สร้างความพอเพียงภายในครอบครัว อาหารไม่ต้องซื้อ นำไปขายได้เงินทุกวันอย่างน้อย 500-700 บาท ต้นทุนการผลิตน้อย อาหารปลอดภัย ไร้สารพิษ นำแนวพระราชดำริการเกษตรพอเพียง พอมีพอกิน เหลือกินนำไปขายสร้างรายไดสู่ครอบครัว รายได้สู่ครอบครัวไม่ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาท บ้านไม่ต้องเช่าข้าวไม่ต้องซื้อ ข้าวในนา ปลาในหนอง หรือที่เรียกว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ปัจจุบัน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์มสำนักงานเกษตรอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมโชว์ผลงานเป็นที่ประจักรต่อสายตาเกษตรกร  เพราะพืชผักกินทุกวัน การประกอบอาชีพมีมากมาย ในผืนแผ่นดินไทย รายได้จากขายปลา ขายข้าว ปักชำกิ่งชะอมขาย เป็นรายไดที่ได้ทุกวันนายเลอสิทธิ์  สายแก้วมา เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม อำเภอจังหารเป็นความร่วมมือของภาครัฐ นายเธียรชัย อัจฉรยะพันธ์ นายอำเภอจังหาร พร้อมได้รับการสนับสนุนจากนายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด โดยพืชผักเป็นอาหารประจำครัวเรือน กินทุกเช้า ผักพื้นบ้านรับประทานเป็นเครื่องเคียง ชะอมใช้ประกอบกแกงหน่อไม่ นึ่งปลา ลวดจิ้มน้ำพริกกะปิ เจียวไข่ใสผักชะอม และมีทั้งสารอาหารและสมุนไพร อาทิ ขิงข่า ตะไคร้ หัวปลี สะระแหน่ ยี่หร่า กระเพรา กระชาย โดยเฉพาะชะอม สามารถเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร สร้างรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส  เป็นพื้นที่ปลูกพืชผักเพื่อการค้า ในส่วนของสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมนำแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช สู่ครัวเรือนเกษตรกร การเกษตรทฤษฎีใหม่ การเกษตรพอเพียง เกษตรกรมีรายได้รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนและรายปี ไม่ต้องอพยพแรงงานไปต่างถิ่น ครอบครัวมีความสุข หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล พร้อมบริการข้อมูลข่าวสาร โทร.0-4356-9004-5  ***************************

    วัชรินทร์ เขจรวงศ์

    208 หมู่ที่ 2 บ้านสามแยก ตำบลเหนือเมือง

    อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 โทร.086-850-2416 โทรสาร.0-4351-8449

    [email protected],[email protected]

     
    ผักปลังร้อยเอ็ดเพื่อสุขภาพความพอเพียงสู่เงินล้านแห่งอำเภอธวัชบุรี พืชเศรษฐกิจโดยทั่วไป เกษตรกรมองถึงพืชผักที่มีชื่อแปลกราคาแพง มาจากต่างประเทศ ความเป็นจริงผักพื้นบ้าน สามารถสร้างเงินสร้างงาน สร้างรายได้อย่างพอเพียง เกษตรกรผู้มีความขยันอย่างฉลาด ปราศจาค อบายมุข แก้ไขปัญหาด้วยปัญญา นำผักพื้นบ้านปลูกปลัง วันนี้ทีมงานจากเมืองเกินร้อย นำคณะเข้าเยี่ยมศูนย์พัฒนาสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ คุณคงศักดิ์  นาคคุ้ม ให้การต้อนรับด้วยไมตรี พร้อมนำเยี่ยมการทำงานของพนักงาน บรรจุหีบห่อ แตง มะเขือเทศ คะน้า ผักกาดหอม คัดเลือกผัก ชั่งน้ำหนัก พร้อมมีห้องเย็นเพื่อการเก็บรักษาคุณภาพก่อนถึงมือผู้บริโภคคุณคงศักดิ์  นาคคุ้ม กล่าวว่า ที่นี่คือศูนย์กลางการผลิตพืชผักที่ปลอดสารพิษมีหลายหลายชนิดแต่ที่เป็นพระเอกในขณะนี้คือ ผักปลัง ที่ทีมงานของเราต้องสอบถามความเป็นมาเพราะ ผักปลังคือผักพื้นบ้านทำไมต้องมาเป็นพระเอกที่นี่ จึงได้รับคำตอบว่า ผักปลัง เป็นไม้เลื้อย มีสายพันธุ์ก้านสีเขียวและก้านสีม่วง ใบสีเขียวเป็นมัน รูปคล้ายหัวใจ ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นช่อ ชาวเหนือเรียกว่าผักปั๋ง มีรสหวานเนื้อนุ่ม มีเมือกลื่นมาก กินง่าย ถ้าปรุงอาหารที่มีรสเปรี้ยว จึงจะไม่มีเมือกมาก  กินได้ทั้งยอดอ่อน ใบอ่อนและดอก นำมาลวก หรือนึ่งจิ้มน้ำพริก ชาวเหนือนิยมกินกับน้ำพริกดำ น้ำพริกตาแดง นำไปแกงกินกับถั่วเน่า จอผักปั๋งใส่มะนาว ดอกเอาจอกับแหนม แกงแค  ชาวเหนือและชาวภาคอีสานเก็บดอกตูมเด็ดยอดมาแกงส้ม ผับกับแหนม แกงเลียงใส่ปลา หรือกุ้งแห้ง แกงผักปั๋งใส่แหนม ชาวกรุงเทพฯเอามาเป็นผัดผักไฟแดง หรือผัดน้ำมันหอย ผักปลัง มีคุณค่าทางอาหาร มากมาย แคลเซี่ยม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2.866 ไมโครกรัม วิตามินเอ 478 ไมโครกรัม   ช่วยบำรุงสายตา และฟันให้แข็งแรง เมือกผักปลัง ทำหน้าที่ดูดซับสารพิษ ออกจากร่างกายถือเป็นผักสุขภาพ ตามหลักโภชนาการอาหารปลอดสารพิษ คุณคงศักดิ์ เล่าต่ออย่างได้อารมณ์ เพราะผู้ฟังสนใจมากยิ่งขึ้น และนำเยี่ยมแปลงผักต่างๆจำนวน 15 ไร่ ผักปลังเป็นผักพื้นบ้านโดยทั่วไป ขึ้นตามรั้ว ข้างบ้าน หลังบ้าน ปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นสายพันธุ์ที่มีคุณภาพก้าน ใบหนา มีเมือกน้อยกว่าพันธุ์พื้นบ้าน คุณค่าทางโภชนาการสูงวิธีการปลูก การเพาะเมล็ดจะทำให้ผักปลังมีอายุดีกว่าการปักชำ โดยการเพาะเมล็ดในกระบะเพาะชำประมาณ 2 เดือน ระยะปลูกที่เหมาะสม 80X80 เซนติเมตร ขุดหลุมขนาด 50X50X50 เซนติเมตร ปรับปรุงให้ดินร่วนซุย ผสมคลุกเคล้า ปุ๋ยอินทรีย์ ปุยหมักหรือปุยคอกให้เหมาะสม แกลบดำ 2 ถัง รองก้นหลุม เพื่อรักษาความชื้นอย่าให้มากไปเพราะเป็นพืชอวบน้ำ เกิดอาการแพ้ปุ๋ยได้ คือรากเน่า โคนเนาตามา   ปิดด้วยดินรุ่วนด้านหน้าหลุมเพื่อรักษาความชื้นผักปรังเป็นพืชอวบน้ำ ต้องการความชื้นอย่างต่อเนื่อง แกลบดำช่วยให้ระบบรากเจริญเติบโตเร็วทำให้ต้นอวบ หลังการปลูกประมาณ 15-20 วันให้เด็ดยอดได้ทันทีเพื่อการแตกยอดมีทรงพุ่ม ไม่ต้องปล่อยให้เลื้อย การตัดยอดระดับสูงจากดินประมาณ 25-30 เซนติเมตร โรคและแมลงไม่ค่อยพบ ควรเสริมปุ๋ยชีวภาพประมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อหลุมต่อระยะเวลา 15 วัน หลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสกับในหรือก้านใบ จะทำให้ใบเสีย หรือเกิดอาการเน่าตาย ผักปลังด้อยคุณภาพราคาตกต่ำนายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า  วันนี้มีโอกาสเข้าเยี่ยม ศูนย์พัฒนาสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ ของคุณคงศักดิ์ นาคคุ้ม โดยเฉพาะผักปลังที่ปลูกทุกวันนี้ ขายดีมากทั้งขายปลีกทั่วไป ขายส่งผ่าน “Seven Eleven” หรือตามห้างสรรพสินค้า ราคาขั้นต่ำ 50 บาท ฟังแล้วชื่นใจแทนเกษตรกรเพราะราคาสินค้าภาคการเกษตรส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคา แต่ผักปลังส่งตลาดไม่ทันในช่วงฤดูหนาวชะงักการเจริญเติบโตอีกต่างหาก เร่งการผลิตนอกฤดูกาลยังไม่มีความสำเร็จ ทั้งนี้ให้มีการประสานงานกับ นายเลอสิทธิ์ สายแก้วมา เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด นายสุรชาติ กันทวิชยานนท์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด รวมทั้งนายวิศรุต กระบวนสืบ พาณิชย์จังหวัดร้อยเอ็ด การค้าภายในจังหวัด นายสมอินทร์ เกษนัด ประธานสภาอุตสาหกรรม ดร.สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด นายธีระ ชัยคณารักษ์กูร ประธานกรรมการบริหาร หจก.ฉั่วจั่วกี่ จำกัด โรงแรมไหมไทย และโรงเรียนธีรภาดาเทคโนโลยีร้อยเอ็ด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อสร้างกลไกการตลาด พืชผักที่ปลอดสารพิษ ชีวิตมีความปลอดภัย ทุกท่านยินดีให้การสนับสนุนเพื่อการเชื่อมโยงการตลาด โรงแรมผักปลอดสารพิษ ลูกค้าเข้าพัก โรงเรียนปรุงอาหารจากผักคุณภาพ นักเรียนมีคุณภาพตามมาทางด้านนายเลอสิทธิ์  สายแก้วมา เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า พื้นที่ศูนย์พัฒนาสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ถนนแจ้งสนิท ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี อยู่ด้านหลังที่ทำการ อบต.นิเวศน์ สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ให้การสนับสนุนสารป้องกันกำจัดแมลงและกำจัดโรคพืช เป็นสารชีวภาพ โดยการประสานงานของนายปราโมทย์  กาญจนรัชต์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว.นายวินัย ลือชา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สร้างความเชื่อมั่นให้กับการผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ สร้างความพอเพียง อุ้มชูตัวเองได้ก่อนการก้าวหน้าต่อไป พร้อมคุณคงศักดิ์  นาคคุ้ม กล่าวในตอนท้ายว่า วันนี้ต้องทำงานหนักมากขึ้น มีผู้มาศึกษาดูงานทุกวัน รับแขก ทั้งภาครัฐภาคประชาชน เอกชน ชาวต่างประเทศ สนใจศึกษาดูงานหรือแลกเปลี่ยนความคิดเป็น โทร.081-9272541 ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ  ****************************************************วัชรินทร์ เขจรวงศ์

    208 หมู่ที่ 2 บ้านสามแยก ตำบลเหนือเมือง

    อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 โทร.0-6850-2416 โทรสาร.0-4351-8449                  

               [email protected],[email protected]

                                                                                                                                                         

    *************************************    ข้อมูลการแกงผักปลังใส่แหนมนะครับ แกงผักปลังใส่แหนม  ผักปลัง 3 กำมือ หอมแดงหั่น 4 หัว กระเทียมไทย 1 หัว เกลือป่น 1 ช้อนชา กะปิ 1 ช้อนชา ปลาร้าปลาช่อนสับ 1 ช้อนชา น้ำหรือน้ำสต๊อก 2 ถ้วย พริกหนุ่มผ่าตามยาว 2 เม็ด แหนมยีให้กระจาย ครึ่งถ้วย มะนาว 1 ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย ครึ่งถ้วย ผักชีซอย ครึ่งถ้วย วิธีการทำ ล้างผักปลังเด็ดยอดและดอกพักในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ โขลกหอมแดง กระเทียม เกลือ กะปิ และปลาร้า เข้าด้วยกันให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย พักไว้ ตั้งหม้อน้ำหรือน้ำสต๊อกบนไฟกลางพอร้อน ใส่เครื่องที่โขลก คนให้ทั่ว ใส่ผักปลัง พริกหนุ่ม ต้มจนสุก ใส่แหนม ปรุงด้วยน้ำมะนาว พอเดือดใส่ต้นหอมและผักชี ปิดไฟ ตักใส่ถ้วย พร้อมเสิร์ฟร้อน ๆ รับประทาน 4 คน อร่อยๆ ประโยชน์ด้านสุขภาพ เป็นยาระบายอ่อนๆแก้ท้องผูก แน่นท้อง ช่วยขับพิษตกค้างในลำไส้**********วัชรินทร์ เขจรวงศ์

    หวัดดีครับ

    มาสนับสนุนความคิดอีกคน บ้านผมปลูกพืชสวนครัวไว้กินเอง เห็นตัวอย่างจากพ่อกับแม่ ข้างบ้านผมมีชะอม,ผักเหมียง,ไคร,กะเพรา,โหระพา,ลูกเผ็ด,มะระ,ตำลึง,ขมิ้นขาว,ข่า,กล้วยหอม,กล้วยน้ำว้า,กล้วยทองตีนเต่า,ลูกแว้ง,ชะพลู ฯลฯ หนัดเหนียนเหมือนกัน ที่แค่ ๙๓ ตารางวาครับ

    สวัสดีปีใหม่ครับ คุณวัชรินทร์

    P

    • “เป็นบทความดีๆมีประโยชน์มากครับช่วยกันต่อยอดผักพื้นบ้าน ให้เด็กรุ่นลูกรุ่นหลานรู้จัก
    • ผักปรัง เคยเห็นมาทางใต้ประมาณ 10ปีที่แล้วแต่คนทางใต้ไม่นิยม (กินไม่เป็น)เลยหายไปครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีครับท่านอัยการ

    P

    • บ้านท่านสุดยอดครับ ไม่ใช่กางเกงลีวายล์ แต่เป็นผักพื้นบ้านที่ท่านกล่าวถึง  สุดยอด
    • ข้าวผัดกระเพรา  แกงส้มชะอมไข่  แกงคั้วหอยขมใบชะพลู  มีเพ ของพวกนี้รักษาโรคเป็นสมุนไพร ไม่มีสารเคมี  น่าอิจฉาจัง ครับ
    • ขอบคุณมากครับท่าน

     

    • ชอบกินตำลึง
    • ชอบกินถั่วพลู
    • แต่ดีใจที่จะได้พบพี่
    • ผมอยู่ที่ใต้ตั้งแต่ 27-30 มกราคมครับ
    • ชวนพี่อ้อยและพี่ปารมย์ไปเที่ยวด้วยนะครับผม

    สวัสดีครับ

    P

    • กระถินราวผ้าไม่ชอบ ยอดอ่อนและฝักแก่ก็กินอร่อยครับกับขนมจีน
    • จึงบอกและชวนมาเยี่ยมด้วยกัน
    • ถ้าไม่มีอะไรติดขัด...นะครับ

    สวัสดีครับ พี่ไมตรี

    หวัดดีครับ

    P

    รู้จักครับเคยกินมานานแล้วครับ

    ขอบคุณมากครับ

    • พี่ครับ
    • กระถินกับตอเบา
    • เหมือนกันไหม
    • งง งง นะเนี่ย

    อ.ขจิต

    • กระถิน คนใต้เรียกตอเบา เพราะมีลักษณะคล้ายสะตอ
    • สะตอ ฝักใหญ่ เม็ดใหญ่  แต่กระถิน นั้นย่อส่วนลงมา ของที่มีขนาดเล็กกว่าหรือน้อยกว่าคนใต้ ใช้คำว่าเบา เช่นตอเบา หมายถึงน้องๆของสะตอ (หนัก)
    • ยิ่งอธิบายยิ่งสับสน....งงงงงง

    สวัสดีค่ะอาจารย์   

    • ภาพ  1-4   รับประทานประจำ
    • ส่วนภาพที่  5 ดูไม่ออกว่าเป็นผักอะไร
    • แต่หนูเองก็เป็นคนชอบกินผักทุกชนิดที่ กินได้
    • ส่วนสะตอ  ชอบมากค่ะเห็นขาที่ใดซื้อที่นั้น  และเวลาพี่เขยกลับไปทำหน้าที่ที่ใต้ (ทหาร)  จะเอาฝากเป้นประจำ   หรือส่งทางไปรษณีย์มาให้

     

    สวัสดีครับ อาจารย์

    P

    • เขียนบันทึกนี้เพื่อรณรงค์ใหหันมาปลูก มากิผักพื้นบ้านของแต่ละภูมิภาค
    • บางชนิดหายาก บางชนิดสูญพันธุ์  เด็กรุ่นหลังไม่รู้จัก กินไม่เป็น
    • รูปที่5 เป็นผักกูดครับทางใตกับทางเหนือมีมากครับ ชอบที่อากาศชื้น
    • สะตอ ตอนนี้แพงมากครับ ฝัก7-10 บาท
    • ขอบคุณมากครับ

    ผมมีเมล็ดผักปรังขายคัดสรรเมล็ดอย่างดี ปลูกง่าย เพาะเมล็ดแล้วปลูกในถุงเองเลย จัดเรียงเป็นแปลงใกล้หัวบันไดยังได้กินเลย ไม่ต้องพ่นเคมีปรอดภัยปลูกกินเอง.ซองละ 50 บาท 60 เมล็ด ฟังดูอาจแต่ท่านจะรู้จักผักพืนบ้านที่มะหัสจรรย์ ยอดดกมากๆ การันตี ความงอก 100 เปอร์เชนต์

    อีเมล์ตามนี่เลยครับ. [email protected].

    ตามไปดูที่ปล๊อกได้ครับ พันธ์ของยายรัตน์ครับ.

    http://eco-sufficiency.blogspot.com/

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท