เพลงอีแซว ออกทีวี ช่องไทยพีบีเอส


ติดตามชมความสามารถของนักเรียนโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 ในการแสดงเพลงฉ่อย เพลงอีแซวและลำตัดได้ในเช้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ตั้งแต่เวลา 07.40 น. ทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ครับ

  

เพลงอีแซว ออกทีวี

สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส

28 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 07.40 น.

          เย็นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ผมได้รับโทรศัพท์ติดต่อจาก "น้องไหม" ผู้สื่อข่าวศิลปวัฒนธรรมสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ว่า จะมาขอบันทึกเทปโทรทัศน์การแสดงเพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลำตัด และเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ ด้วย โดยจะขอเข้ามาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 ในช่วงเวลาหลังเที่ยง ผมตอบปฏิเสธไปว่า คงจะเตรียมตัวไม่ทันและอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นช่วงเวลาของการสอบปลายภาคเรียนและสอบปลายปี ประจำปีการศึกษา 2550 ด้วย

           ขอเวลาให้ผมได้ปรึกษาหารือกับเด็ก ๆ ในวงก่อน เมื่อผมไปถึงโรงเรียนในวันรุ่งขึ้น  ผมเรียกนักแสดงมาประชุมกันที่ห้องเพลงพื้นบ้าน อาคาร 5 จำนวน 11 คน (นักแสดงชั้น ม.ต้น) ส่วนนักแสดงชั้น ม.ปลาย ใช้ประชุมปรึกษาทางโทรศัพท์ เด็ก ๆ เขาเสนอว่า ถ้าเป็นในช่วงบ่ายวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 น่าจะได้ เพราะสามารถที่จะรวมตัวกันได้ทั้งวง ถึงแม้ว่าจะมีคนขาดไปบางก็ส่วนน้อย ผมจึงตอบตกลงไปกับคุณไหมว่าให้เข้ามาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 ในช่วงเวลาบ่าย

          

           เช้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ผมไปถึงห้อง 512 (ศูนย์การเรียนรู้เพลงพื้นบ้าน) โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1  เวลา 07.25 น. จัดเตรียมสถานที่ต่าง ๆ รองรับแขกที่จะมาทำข่าวรายการโทรทัศน์ช่อง ไทยพีบีเอส (โทรทัศน์สาธารณะ) เวลาประมาณ 11.00 น. นักแสดงเริ่มทยอยกันเข้ามาในห้องศิลปะ 512 จนถึงเวลา 12.45 น. เกือบจะครบทั้งวง มีติดการประชุมเฉพาะชั้น ม.6 (2 คน) ผมได้รับแจ้งจากน้องไหมว่า น่าที่จะมาถึงดอนเจดีย์ในเวลาไม่เกิน  13.30 น.

           

          เมื่อคณะของโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส มาถึงทักทายกันสักครู่ก็เริ่มทำการบันทึกรายการโทรทัศน์การแสดงเพลงพื้นบ้านกันเลย โดยทางน้องไหมบอกกับผมว่า จะขอให้ทานผู้อำนวยการลั่นทม  พุ่มจันทร์ ได้กล่าวก่อนที่เด็กจะแสดงด้วย ผมเรียนเชิญท่านผู้อำนวยการมายังห้องบันทึกรายการโทรทัศน์ ห้องศิลปะ 512 การบันทึกเริ่มต้นขึ้น ดังนี้

          1. ท่านผู้อำนวยการลั่นทม พุ่มจันทร์ กล่าวถึงการให้ความสนใจและดูแลในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะเพลงพื้นบ้านของโรงเรียน สนับสนุนงบประมาณ และการไปแสดงในกิจกรรมสำคัญของท้องถิ่น จังหวัด - กระทรวง มาจนถึงวันนี้นักเรียนสามารถแสดงเป็นอาชีพได้

          2. บันทึกเทปโทรทัศน์การแสดงเพลงฉ่อย โดยนักแสดง 2 คน (ท็อป-ธีระพงษ์ พูลเกิด และ แป้ง-ภาธิณี นาคกลิ่นกุล) ทำหน้าที่ร้องเบิกโรงแล้วตัดลงเพลงรับ เอ่ชา เอ้ช้า ชาฉ่าชา หน่อยแม่ และว่ากลอนชวนหัวแบบกระทบกระเทียบเสียดสีกันบ้าง

          3. บันทึกการแสดงลำตัด นำเสนอเฉพาะตอนเพลงโต้ตอบกันเพียงเป็นตัวอย่างเล็กน้อย ให้เห็นว่าลำตัดมีวิธีการร้องที่เริ่มต้นด้วยสร้อย และลูกคู่ร้องรับพร้อมกับรำทำท่าทางไปด้วย

          

          4. บันทึกการแสดงเพลงอีแซว นำเสนอเพลงบูชาครู ประยุกต์ทำนองเป็นแหล่ผสม เพลงอาลัยสมเด็จพระพี่นาง  เพลงประคารม "ตับถามมา ตอบไป" จากนั้นเป็นเพลงโต้ตอบแบบดุเด็ดเผ็ดมัน (ตามคำสั่งของน้องไหม)

          5. สัมภาษณ์นักแสดง 3 คน คือ หทัยกาญจน์ เมืองมูล, รัตนา  ผัดแสน และธีระพงษ์ พูลเกิด เกี่ยวกับการฝึกหัดเพลงพื้นบ้าน อนาคตข้างหน้ากับการแสดงเพลงอีแซว และมีความรู้สึกอย่างไรที่ได้เข้ามาร่วมสืบสานเพลงพื้นบ้าน เด็ก ๆ เขาก็ตอบคำถามได้ดีทุกคน

         

          6. สัมภาษณ์ครูผู้ฝึกสอนเพลงพื้นบ้าน ผมได้รับฟังข้อคำถามจากทางรายการและตอบผ่านสื่อไทยพีบีเอสเกี่ยวกับเรื่องของการตั้งวงเพลงพื้นบ้าน สิ่งได้รับหรือผลตอบแทนในการทำวงเพลง รมทั้งความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สืบสานตำนานเพลงอีแซวให้คงอยู่ต่อไปอีกนานเท่านาน

          ติดตามชมความสามารถของนักเรียนโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 ในการแสดงเพลงฉ่อย  เพลงอีแซวและลำตัดได้ในเช้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ตั้งแต่เวลา 07.40 น. ทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ครับ หากพลาดในตอนนี้ ติดตามในโอกาสใกล้ ๆ นี้จะเป็นการนำเสนอบทร้องทำขวัญนาคโดยนักเรียนในวงเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ ต่อไปได้ครับ

 

ชำเลือง  มณีวงษ์ ครูผู้ฝึกสอนศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1

 

หมายเลขบันทึก: 167811เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2008 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขออนุญาตนำไปรวมใน  รวมตะกอน  ขอบคุณมากครับ

คุณสิทธิรักษ์

  • ได้ครับ ผมจะตามไปศึกษาเพิ่มเติมใน "รวมตะกอน"
  • ผลงานเพลงพื้นบ้านยังได้รับความสนใจจากสถานีโทรทัศน์อีกหลายช่อง (ตลอดเดือนมีนาคม)
  • ผมจะได้นำเอามาเล่าขานในบล็อกเพลงอีแซว เพลงพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทำขวัญนาคต่อไป

สวัสดีครับ ออกอากาศวันนี้ตอนเช้าอดดูเลย เสียดายจังครับ แต่แวะมาอ่านที่เวปแทนก็ยังดีครับ :-)

คุณ กวินทรากร

  • ขอบคุณมากครับ ที่แวะเข้ามาเยี่ยมบล็อกเพลงอีแซว
  • ยังมีคิวออกอากาศ ตอนที่ 2 ในวันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2551)
  • เวลา 12.30 น. (ข่าวภาคเที่ยง) รายการศิลปวัฒนธรรม ทางช่อง ไทยพีบีเอส (TPBS) ครับ
  • แนโอกาสต่อ ๆ ไปอีก แต่จะเป็น "พิธีการทำขวัญนาค" ครับ
  • ผมได้ดู...ดีจังสร้างชื่อเสียงให้..จังหวัดสุพรรณฯ
  • รายการโทรทัศน์ TPBS เขานำเอาไปออกอากาศหลายตอน
  • ส่วนในโอกาสข้างหน้ายังมีอีก 2-3 รายการ ที่เฝ้าติดตามการทำงานของพวกเราอยู่
  • โดยจะเริ่มบันทึกภาพเอาไว้ตั้งแต่การอบรมนักแสดง ไปจนเสร็จสิ้นการประชันเพลงที่โรงละครแห่งชาติเลย
  • ขอบคุณ อ.พิสูจน์ ที่เข้ามาให้กำลังใจ

     ได้รับรู้เรื่องราวความเคลื่อนไหวจากสื่อนี้ ด้วยความภาคภูมิใจ เสียดายที่ติดตามดูไม่ทัน แต่ก็ขอชื่นชมในความสามารถของน้อง ๆ วงเพลงอีแซว โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 มาก ครับ

ถึง คนในทุกคน

  • ถ้าเป็นเยาวชน พูดได้เพียงคำเดียวว่า "ซาบซึ้งในความคิด"
  • ขอให้หาโอกาสสัมผัสกับวัฒนธรรมท้องถิ่นมาก ๆ นะ จะได้เป็นตัวแทนของแผ่นดิน ถิ่นเกิด

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท