บทเรียนจากการ "สอนงาน" (8 การใช้ Coaching ใน KM)


การ Coaching ก็คือ การฝึกทักษะ โดยจะต้องดูว่า ในการทำ KM นั้นมีทักษะเรื่องอะไรบ้าง? ที่ต้องทำเป็นตามหลักการและองค์ประกอบหลัก...

  [7 การ Coaching เพื่อพัฒนาบุคลากร]

  [9 สรุปบทเรียนจากการ Coaching]

     “แล้วจะใช้ Coaching อย่างไร? กับหลักของ KM”  ก็จะถามว่า “แล้ว KM  มีประเด็นอะไรบ้าง? ที่มีความจำเป็นต้องมีทักษะ”  คำตอบก็คือ  วิธีการค้นหาข้อมูล  โดยการค้นหาข้อมูลนั้นเป็นหลักการของ KM มั้ย?  แล้วมีทักษะอะไรบ้าง? ที่ต้องนำเข้ามาใช้ในเรื่องดังกล่าว  เช่น  ถ้าในยุคใหม่ก็หมายถึงว่า  ทักษะในการ Search Internet นั้นมีมั้ย?  หรือทักษะในการอยู่กับเกษตรกรก็คือ  เวลาอยู่กับ
เกษตรกร...สามารถมีทักษะในการที่จะให้เกษตรกรพูดในสิ่งที่เกษตรกรรู้ได้มั้ย?  หรือมีทักษะในสิ่งที่จะให้เกษตรกรที่มีความรู้ตอบในความคิดของเกษตรกรอีกคนหนึ่งได้มั้ย? 

     นอกจากนี้ทักษะของคนที่ทำ KM จะต้องมี ในเรื่องของทักษะของการถอดบทเรียน,  ทักษะในเรื่องของการเขียน,  ทักษะในเรื่องของการแลกเปลี่ยน,  ทักษะในเรื่องของการจัดเก็บ  ฉะนั้น นักส่งเสริมการเกษตรที่จะทำ KM  จะต้องฝึกให้มีทักษะในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวให้ได้

     ดังนั้น จึงสรุปว่า  การ Coaching ก็คือ  การฝึกทักษะ  โดยจะต้องดูว่า  ในการทำ KM นั้นมีทักษะเรื่องอะไรบ้าง? ที่ต้องทำเป็นตามหลักการและองค์ประกอบหลัก  ได้แก่  1)  การกำหนดเป้าหมาย  จำเป็นต้องมีทักษะอะไรบ้าง? ที่ใช้ในการทำงาน  2)  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จำเป็นต้องมีทักษะอะไรบ้าง? ที่ใช้ในการทำงาน  และ 3)  การจัดเก็บความรู้  จำเป็นต้องมีทักษะอะไรบ้าง? ที่ใช้ในการทำงาน  โดยจะต้องทำการวิเคราะห์ให้รอบด้านและหลากหลายมุมมองเพื่อกำหนดประเด็นต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ต้องมีทักษะเพื่อใช้ KM  เป็นเครื่องมือให้ได้กับการทำงานส่งเสริมการเกษตร เช่น  ทักษะการค้นหาความรู้,  ทักษะการถอดความรู้,  ทักษะการแลกความรู้เพื่อต่อยอด,  ทักษะการจัดเก็บความรู้  เป็นต้น.

คำสำคัญ (Tags): #การสอนงาน
หมายเลขบันทึก: 151751เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หวัดดีครับ

  • สรุปแล้ว จะนำไปถ่ายทอดต่อในวง KM ของจังหวัดครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ผมนำหลักวิชาการทางการส่งเสริมการเกษตรไปใช้น้อยครับ
  • แต่ผมใช้ยุทธศาสตร์ "เหมา" เข้าไปใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร
  • คือ เองมาข้ามุด หากเกษตรกรมาแรงเราหยุดๆบ้าง
  • เองหยุดข้าแหย่  พอเขาหยุดเราเริ่มปฏิบัติการประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตร
  • เองแย่ข้าตี สถานการณ์ได้เปรียบ เราเร่งสร้างานประชาสัมพันธ์ เชิงรุกอย่างรวดเร็ว  ทั้งนิทรรศการ งานโชว์ วันเก็บเกี่ยว หรือ งาน
  • เองหนีข้าตาม  เมื่อเกษตรกร ให้ความสนใจอย่าหยุดครับตามถึงไร่นา

 

  • ข้อสำคัญคือต้องเอ็ดมวลชนให้มากๆที่สุด
  • อย่าเป็นนักดื่มมากกว่าประชาชน เพราะนักส่งเสริมคือนักเปลี่ยนแปลงทางด้านการเกษตร
  • อย่าให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงกลับมาครับ
  • อ้อข้อสำคัญ  "อย่าทำตัวเป็นขุนแผน" เพราะต้นไม้ใหญ่ผียอมดุเด้อหล่า.....

           

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท