เทคนิคการถอดบทเรียน


"ถอดบทเรียน" เป็นเรื่องราวที่ต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะเทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในแต่ละบริบท แต่ละกลุ่มเป้าหมาย และแต่ละเนื้อหาสาระ...

     [อ่าน :หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 7 กรณีตัวอย่าง]

     หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรณีตัวอย่าง (Case Study) ที่ดิฉันเรียนรู้เรื่อง  เทคนิคการถอดบทเรียน  ใช้วิธีการเรียนรู้จากผู้รู้ว่า "เขาทำกันอย่างไร?" ที่ดูจากการปฏิบัติของผู้รู้  จากการลงมือปฏิบัติ  และจากการสนทนา/ชี้แนะของผู้รู้  แล้วนำผลงานที่ได้กลับไปเขียนแล้วมาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน 

     ผลที่เกิดขึ้นนั้นพบว่า  ดิฉันเห็นการทำงานดังกล่าวที่ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus -group) เป็นหลัก  มีการใช้เครื่องมือช่วยเพื่อรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลกับชุมชน ได้แก่  3 ห่วง 2 เงื่อน,  การใช้ตาราง,  กราฟวงกลม, การบรรยายความ,  และภาพถ่าย  ส่วนข้อมูลที่เกิดขึ้นก็มาจากการสัมภาษณ์,  การสอบถาม, และสถานการณ์จริง
 

     ในการจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล  การจัดหมวดหมู่ข้อมูล  การแยกแยะและจำแนกข้อมูล  และการเปรียบเทียบข้อมูล  เป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  การถอดบทเรียนที่เกิดขึ้นพบว่า  ทีมงานได้ใช้ 

       1)  การตั้งประเด็นคำถามเป็นหลัก แล้วนำคำตอบที่เกิดขึ้นมาประมวลผล 

       2)  การตั้งประเด็นสนทนาเพื่อชวนคุยแล้วนำคำพูดที่โต้ตอบมาประมวลผล 

       3)  การตั้งโจทย์เพื่อให้กลุ่มร่วมกันอภิปรายความคิดเห็นและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แล้วนำผลมาประมวลสรุป  

       4)  การตั้งประเด็นสอบถามเพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามรายบุคคล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผล
 

     ฉะนั้น การเรียนรู้เรื่องนี้จึงอยู่ที่ 1) วิธีการชวนชาวบ้านคุยหรือ "เทคนิคการชวนคุยชวนเล่า"  2)  เทคนิคการผูกเรื่อง  3)  วิธีการคิดเครื่องมือมาใช้จัดเก็บ ประมวล นำเสนอ เปรียบเทียบ และสรุปข้อมูล  และ 4)  รูปแบบและวิธีการชวนชาวบ้านเข้ามาเป็นทีมงานและเข้ามามีส่วนร่วมในงานที่ทำหรือ "เทคนิคการดึงดูดคน" 

     บทบาทส่วนใหญ่ที่เราทำก็คือ เป็น Facilitater และ เป็นวิทยากร กระบวนการ  ดังนั้น  การปฏิบัติงานจึงอยู่ภายใต้พื้นฐานและองค์ความรู้หลักของทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวค่ะ.

หมายเลขบันทึก: 112767เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2007 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เทคนิคแต่ละอย่าง ก็ ต้องใช้ ประสบการณ์ ทั้งนั้นเลย
  • ต้องสั่งสม นานเท่าไร ครับ

      ขอบพระคุณมากครับที่นำมา ลปรร.

แวะมาให้กำลังใจก่อน

ปัญหาหลักของนักส่งเสริมการเกษตรคือการทำหน้าที่บทบาทของ Facilitater การถอดบทเรียนแต่ละครั้งไม่ประสบผล จึงเกิดการท้อถอด

เครื่องมือ 3 ห่วง 2 เงื่อน น่าสนใจมากครับ..เมื่อก่อนผมรู้จักแต่  "5 ห่วง ทนหายห่วง "

เรียน ท่าน รธส. ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ

     ขอบพระคุณท่านมากนะค่ะ ที่ให้กำลังใจค่ะ

เรียน เกษตรเมืองแปะ

     ทุกเวทีมิใช้จะทำงานสำเร็จ ใหลองค้นดูว่า

1. ผลที่เราทำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง

2. สิ่งที่เราทำมีอะไรบ้าง?

3. สิ่งที่เราทำนั้นเราทำมันอย่างไร?

แล้วนำข้อมูลที่เราวางไว้ก่อนทำ มาเทียบกับข้อมูลหลังทำ ผลลัพธ์ก็คือ ข้อสรุปของความรู้ที่เกิดขึ้น "ประสบการณ์" นั่นเองค่ะ...ทำต่อไปนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท