พอเพียงภิวัตน์: Balanced Scorecard: เครื่องแสดงอิทัปปัจยตาทางธุรกิจ (1/2)


องค์กรจะสามารถนำเสนอสินค้า และบริการตามที่ลูกค้าต้องการได้ ควรจะต้องมีกระบวนการในการดำเนินงานที่เหมาะสม (มิติด้านกระบวนการดำเนินงานภายใน) พนักงานมีทักษะและความสามารถ มีขวัญ และกำลังใจในการทำงานที่ดี และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยสนับสนุนให้องค์กรมีกระบวนการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าได้ (มิติด้านการเรียนรู้และการเติบโต)

         มีโอกาสได้อ่านทัศนะวิจารณ์ของคุณพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (www.pipat.com) เรื่อง พอเพียงภิวัตน์: Balanced Scorecard: เครื่องแสดงอิทัปปัจยตาทางธุรกิจ  จึงขอนำมาไว้ ณ พื้นที่แห่งนี้ด้วย

         คำว่า อิทัปปัจยตาอิทะ (นี้) + ปัจจยตา (ความเป็นปัจจัย)

         แปลได้ความว่า ความที่มีนี้เป็นปัจจัย หรือ ความที่มีสิ่งซึ่งเป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น   ในทางกลับกัน ถ้าไม่มีสิ่งซึ่งเป็นปัจจัย สิ่งนี้ก็ไม่เกิดขึ้น ขอบข่ายของอิทัปปัจยตานั้น กินความกว้างครอบคลุมทั้งสิ่งที่เป็น "เหตุ" สิ่งที่เป็น "ผล" และลักษณะอาการที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างเหตุและผล เป็นการแสดงถึงกระแสแห่งปัจจัยที่ส่งผลซึ่งกันและกันไม่สิ้นสุด

         อิทัปปัจยตา สามารถใช้อธิบายเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ และก่อให้เกิดผลลัพธ์ส่งต่อกันไปเป็นทอดๆ ในแต่ละมิติขององค์กร เช่น การที่ธุรกิจมีเป้าหมายในการแสวงหากำไร โดยที่กำไรจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อองค์กรมีรายได้ที่สูงกว่ารายจ่าย (มิติด้านการเงิน) และการที่องค์กรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็ต่อเมื่อองค์กรสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดหรือทำให้ลูกค้าพอใจโดยการนำเสนอสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการ (มิติด้านลูกค้า)

           และการที่องค์กรจะสามารถนำเสนอสินค้า และบริการตามที่ลูกค้าต้องการได้ องค์กรจะต้องมีกระบวนการในการดำเนินงานที่เหมาะสมในการนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ (มิติด้านกระบวนการดำเนินงานภายใน) จากพนักงานที่มีทักษะและความสามารถ มีขวัญ และกำลังใจในการทำงานที่ดี และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยสนับสนุนให้องค์กรมีกระบวนการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าได้ (มิติด้านการเรียนรู้และการเติบโต)  

          เครื่องมือหนึ่งที่สามารถแสดงให้เห็นอิทัปปัจยตาทางธุรกิจ ได้แก่ Balanced Scorecard ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดย ศ.โรเบิร์ต แค็ปแลน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ ดร.เดวิด นอร์ตัน ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ ที่ค้นพบว่า แม้องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ได้มีการใช้ตัวชี้วัดทางด้านการเงินในการบริหารจัดการ แต่ก็หนีไม่พ้นต้องประสบปัญหาวิกฤติในปี ค.ศ. 1987 ทั้งสองจึงได้เสนอแนวคิดในเรื่องของการประเมินผลองค์กรใหม่ โดยเพิ่มมุมมองในการบริหารจัดการ และการประเมินผลองค์กร นอกเหนือจากมุมมองในด้านการเงินเพียงด้านเดียว

พักสักชั่วสองสามยาม แล้วมาปะกันใหม่

หมายเลขบันทึก: 125604เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2007 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เพราะเหตุอย่างนี้ ผลถึงเป็นอย่างนี้ เป็นปรัชญาที่ใช้ได้กับทุกสรรพสิ่ง เพราะมันคือกฏเกณฑ์ธรรมชาติที่ฝ่าฝืนไม่ได้

มาหาความรู้เช่นกันค่ะ ว่าธุรกิจเขาเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ธรรมะในการบริหารงานอย่างไร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท