(เกือบ)ยกห้องไปกรุงชิง (4): ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์


บางคนไปแล้วก็อยากไปอีก บางคนก็ว่าเป็นน้ำตกกูหลาบ (ไม่มาแล้ว แต่ทริปเราหลังจากกลับมานายดำเปลี่ยนชื่อเป็นน้ำตากูเอือน)

หลังจากเอาชีวิตรอดเอ๊ยเหน็ดเหนื่อยเมื่อยขบกันมาทั้งตัวจาก   ลอดแล้วล่องแล้ว เด็ก ๆ น่ะชอบอกชอบใจ ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อยจักเมื่อยจักล้า แต่ผู้ใหญ่อย่างเราแม้จะชอบอกชอบใจ แต่ทั้งเหน็ดทั้งเหนื่อย ทั้งเมื่อยและล้าที่สำคัญหนาว...ว ม๊าก มาก ระหว่างนั่งรถกลับยังที่พัก แต่พี่พินิจเตรียมการล่วงหน้าด้วยการพกขนมยาหนม (คล้ายกาละแม จะเหนียวและกินได้นาน) ให้เราเคี้ยวแก้ความหนาว ซึ่งก็ได้ผลเราแย่งกันน่าดูแม้จะกินแล้วติดฟัน

ถึงที่พักรีบอาบน้ำจัดแจงแต่งตัวเสร็จกว่าจะครบทั้ง 23 คน ก็ได้เวลาบุฟเฟต์อาหารเย็น ละลานใจละลานตามากมายซะจนเลือกไม่ถูกจะตักอะไรดี (นึกถึงบุฟเฟต์ KM เลย) อ้อ! ลืมบอกที่นี่เขาเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และพึ่งพาตนเอง

บุฟเฟต์จึงเป็นอาหารพื้นบ้าน แต่ที่ถูกอกถูกใจมากก็คงจะเป็นผักกูดซึ่งมีมากในกรุงชิงเขานำมาผัดน้ำมันหอย ยำ และนำมาลวกกินกับน้ำพริก+ผักอื่นๆ  นี่ยังไม่นับรวมแกงส้มกุ้ง แกงเผ็ดปลากะเบน ไข่ลูกเขย ปลาทอด แกงเลียง แกงจืด ล้างปากด้วยผลไม้ โอ๊ย ! อร่อยเหาะแค่นึกก็น้ำลายสออีกแล้ว(เสียดายไม่ได้ถ่ายรูป ตอนนั้นหน้ามืดหิวตาลาย)

หลังจากเสร็จสรรพภารกิจการกิน พี่อำไพเจ้าของก็ชักชวนพวกเราไปฟังโปรแกรมทัวร์สำหรับพรุ่งนี้เช้า มีให้เลือกตามอัธยาศัย พร้อมคุยถึงประวัติสถานที่ท่องเที่ยว เสียดายผู้เขียนไม่ได้เอาสมุดจดไปด้วย

 ผู้เขียนเก็บประเด็นได้ดังนี้ค่ะ ประวัติกรุงชิง

  • กรุงชิงเป็นพื้นที่สีแดงมาก่อน ทำให้กฏระเบียบเคร่งครัด จะเห็นว่าที่นี่ไม่มีการขโมย ไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า บ้านเรือนก็เป็นอิฐเป็นปูน บ้านไม้น้อยมากแทบจะหาไม่มี นี่อาจเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ป่าของที่นี่อุดมสมบูรณ์มาได้ทุกวันนี้
  • กรุงชิง บ้างก็ว่าเกิดจากการแย่งนางกัน หรือบ้างก็ว่ามีต้นชิงเยอะ
  • กรุงชิงเป็นป่าที่สมบูรณ์มาก ป่าที่สมบูรณ์จะต้องมีนกเงือกหรือทากเยอะ (จะน่ายินดีดีมั๊ยเนี่ย !! มีอย่างอื่นที่ไม่ใช่ทากไม่ได้หรือ?)
  • น้ำตกกรุงชิงสวยมาก และถูกเลือกให้พิมพ์อยู่ในแบงค์ธนบัตร 1000 (เก่า) แต่ทางไปก็ไม่ง่ายดายนัก ไป 4 กม. กลับ 4 กม. บันได 350 ขั้นขึ้น 350 ขั้นลง บางคนไปแล้วก็อยากไปอีก บางคนก็ว่าเป็นน้ำตกกูหลาบ (ไม่มาแล้ว แต่ทริปเราหลังจากกลับมานายดำเปลี่ยนชื่อเป็นน้ำตากูเอือน) ถ้าไม่เตรียมยาเส้นไปด้วยเจอทาก(ดูดเลือด)เกือบทุกราย ไม่เว้นแม้เด็กและผู้ใหญ่
  • มีต้นหลุมพอยักษ์ที่ลงในกินเนสต์บุ๊ค และมีต้นเฟิร์นมหาสดำ (หนังจูลาสสิคปาร์ค)ที่สูง

หลังจากเล่าประวัติกรุงชิงแล้วพี่อำไพก็เล่าที่มาของหนำไพรวัลย์  และเน้นว่าที่นี่เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ <ul style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> คุณไกรวัลย์ + คุณอำไพ กลายเป็นที่มาของไพรวัลย์  เริ่มจากสามีคุณไกรวัลย์เข้ามาทำหน้าที่เป็นนักจิตวิทยา(ฝ่ายทหาร) สอดแทรกเข้ามาในพื้นที่สีแดง จนมีความสนิทสนมกับชาวบ้าน และได้สร้างที่พักเอาไว้พักผ่อน ใครมาก็มาขอกุญแจพักได้ หลัง ๆก็มีการร้องขอให้เปิดเป็นสถานที่พัก </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">หนำไพรวัลย์เน้น "การท่องเที่ยวแบบเชิงอนุรักษ์" จึงเป็นที่มาของ "หนำ" (ภาษาใต้ หรือ Hut กระท่อม เป็นที่นอนพัก) เพื่อสัมผัสกับธรรมชาติ ไม่ได้มีเครื่องอำนวยความสะดวกมากมาย อย่างเครื่องทำน้ำอุ่น แอร์ ทีวี เพราะอยากให้ผู้ที่มาพักสัมผัสกับอุณหภูมิ และอากาศที่หนาวเย็นของที่นี่ มีความชื้นสูง(เกือบตลอดปี)</li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">สถานที่ท่องเที่ยวมีมากมายเป็นต้นว่า น้ำตกกรุงชิง น้ำตกกรุงนาง จุดชมวิว ถ้ำหงส์ บ่อน้ำร้อน ถ้ำหลวงฯ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">นอกจากนี้ยังมีส่วนให้ชาวบ้านสร้างอาชีพเสิรมรายได้ ไม่ว่าจะนำผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านมาขายพวกเครื่องสาน หรือจะสร้างรายได้ให้ชาวบ้านขายกาแฟ ขนม ฯ</li> </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">หลังจากอิ่มหนำอิ่มเอม คราวนี้ก็ต้องเลือกกันแล้วล่ะ งานนี้ก็เลยมีแตกคอกันบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ บางคนกลัวทากไม่อยากไปน้ำตกกรุงชิง บางคนก็อยากไป เพราะถ้าไม่ไปก็เหมือนมาไม่ถึง สรุปว่าแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งไปน้ำตกกรุงชิง กลุ่มหนึ่งไปน้ำตกกรุงนาง เป็นอันตกลงเสร็จสรรพ ก็แยกย้ายกันตามอัธยาศัย </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">
บางวงก็จิบเครื่องดื่มแก้หนาว
</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"> 
บางวงยังไม่อิ่มก็ย่างหัวมัน ข้าวโพดทาน
</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">
บางวงก็ร้องรำทำเพลง
</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">แต่ดูเหมือนเด็ก ๆ จะเข้าได้กับทุกกลุ่มทุกวง สุดท้ายเราก็แยกย้ายกันไปนอนเพราะพรุ่งนี้มีนัดจิบกาแฟ ชมทะเลหมอกเวลา 5.30 น. ไม่มีการรอ—อึยส์</p>

หมายเลขบันทึก: 69879เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
คุณศิริมีความจำ..เป็นเยี่ยมจริงๆค่ะ ขอยืนยันว่า ไม่เห็นเธอมีบันทึกอะไรเลย แต่ถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างออกมาได้ละเอียดละออ อ่านแล้วรู้สึกเหมือนกลับไปอยู่ที่หนำไพรวัลย์เลยล่ะค่ะ ขอบคุณนะคะ
ข้อดีของการฝึกบันทึกค่ะ ผู้เขียนได้ประโยชน์จากการเขียนบันทึกค่ะ + deep listening ไงค๊ะ = ได้ผล เอ๊ย ! ได้เขียน(หลาย)บันทึก

ทำพาณิยชไม่เอาชาวบ้าน ค้ากำไรเกินควร ไม่สนลูกค้ากลุ่มย่อย

อยากให้มีรีสอร์ทใหม่ๆเกิดขึ้นให้มากกว่านี้ มีเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อม จะได้ไม่ง้อหนำไพรวัลย์จะได้เกิดการแข่งขันในด้านบริการการท่องเที่ยว ทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้มาท่องเที่ยวเ ทำให้ภาลักษณ์ของขุมชนแห่งน่าอยู่

น้องนายคนเหนือ(ยะลา)

ถ้ามีโอกาสคงได้ไปเที่ยวหนำไพรวัลย์ ดูแล้วบรรยากาศเหมือนอยู่ทางเหนือ เพราะตัวเองก็เป็นคนเหนือ น่าไปเที่ยวพักผ่อนหาประสบการณ์มากๆเลยค่ะ

จริง ๆ ด้วย เหมือนกระทู้ที่3และ 4 อย่างให้มีการแข่งขันเรื่องที่พักมากกว่านี้ ทำให้ชาวบ้าวได้มีรายได้มากขึ้น ทำให้เป็นที่ประทับใจของผู้มาเยื่อน

จากกระทู้ที่ 6 ให้ไปถามชาวบ้านที่ไหนมีทีพักบ้าง แล้วให้เข้าไปดูด้วยตนเองมีหลายแห่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท