สุนทรียสนทนา1 : บทเริ่มต้นกับทีมเพิ่มคุณภาพสิ่งส่งตรวจ


คุยสบายสไตล์อ.เสาวรัตน์

จุดประสงค์หลักก็คือเพื่อติดตาม Progress งานของชาวสมาชิก Patho OTOP2 และเปิดโอกาสให้ Face to Face กัน แบบสุนทรียสนทนา คุยกันแบบสบาย ๆ( ตามสไตล์อ.เสาวรัตน์)

และคุณ Fa ทั้งสองท่านก็คือ อ.เสาวรัตน์ และพี่เม่ย (มืออาชีพทั้งสอง) ส่วนผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เป็นคุณลิขิต (มือใหม่ หัดขับ) โชคดีมีคุณ nidnoi มาช่วยเก็บประเด็น หากเผื่อเหลือเผื่อขาดจะได้เพิ่มเติมในบันทึก

คุณฟาทั้งสองท่านค่ะพี่เม่ย และอ.เสาวรัตน์

เราทั้งสาม มาก่อนเวลาเล็กน้อย จึงได้คุยกันก่อน ว่าเราจะจับประเด็นอะไรกันบ้าง พี่เม่ยแนะนำมือใหม่อย่างผู้เขียนถึงวิธีการจับประเด็น และปลอบผู้เขียนว่าไม่ต้องเกร็ง ก่อนที่จะเริ่มประเด็น ผู้เขียนขอเก็บรูปผู้เข้าร่วม 

พี่เพ็ญ (ผู้โชคดีคนแรก) กันคุณ nidnoi

ผู้ร่วมวงสนทนาเริ่มจากน้องฮัน,น้องน๊ะ,คุณนุช, พี่หนอม และพี่คม (จากซ้าย--->ขวา)

เมื่อได้เวลาอันสมควรอ.เสาวรัตน์ กล่าวเปิดวงสนทนาค่ะ------
หลังจากได้เริ่มโครงการมาพอสมควร ก็อยากให้มาเล่าว่าทำไปถึงไหนกัน อีกทั้งให้เราร่วมกันแลกเปลี่ยน....”
พี่เม่ย -----“ให้ใช้เวลาเล่า 3 – 5 นาที ใ้ห้ผู้พูดเล่าให้จบก่อน ค่อยถาม และห้ามแทรก  เราจะให้คนที่อายุน้อยพูดก่อน หรือวน ...สรุปว่า ...วนจากขวามาซ้ายน๊ะ” 

ทีมแรกผู้โชคดีคือคุณเพ็ญแขมาเล่าผลงานของทีมเพิ่มคุณภาพสิ่งส่งตรวจ

  • เป็นงานต่อเนื่องจาก Patho OTOP1 ทำเพิ่มขึ้น ทั้ง Lab Direction แบบฟอร์ม reject
  •  อยู่ระหว่างเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ได้เขียนโครงการไปบ้างแล้วและรอให้พี่เลี้ยงช่วยขัดเกลา
  •  พบว่าข้อมูลความผิดพลาดมีทั้งลดลง และคงตัว ลดได้ไม่หมดทุกอย่าง แต่ได้ใช้วิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะ โทรศัพท์ แบบฟอร์มฯ-- ความผิดพลาดที่ไม่ลดลงเลยก็คือชื่อในคอมฯ เมื่ออ่านจาก barcode และข้างหลอดไม่ตรงกัน อ.เสาวฯได้เสนอให้กระตุ้นเมื่อมีการประชุมคณะกรรมการ PCT ซึ่งจัดขึ้นเดือนละครั้ง
  • ปัญหาที่พบอื่น ๆ มีหลายรูปแบบ ทั้งจากการสื่อสารผิดพลาด เช่นสั่งตรวจ Lactic หรือ Reticulocyte count , การปิดฝาจุกไม่แน่น, Tube sugar ผ่านการใช้และอบบ่อย ๆ ปากจะบาง ,ฝาจุกหลุดง่าย โดยเฉพาะฝาจุกมีใช้ทั้งแบบแพง (ใช้ดี) และถูก (ใช้ไม่ดี,หลุดง่าย) ปะบนกันไป พี่เม่ยจึงสรุปว่า “ของดีราคาถูกไม่มีในโลก” พี่หนอมรับเรื่องเอาไว้และจะคัดสรรในการเลือกซื้อ “วัตถุดิบ”ดี ๆ  (ซึ่งหายาก)
  • ปัญหา Clotted ทั้ง CBC, PT, PTT และ Sugar อีกทั้ง Hemolysis ซึ่งบางครั้งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ก็อาจ “หลุด” ไปยังหน่วยอื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถแก้ได้ (นอกจากว่าพี่เพ็ญแข จะปั่นแยกเลือดเอง)

ยังมีี่เหลืออีก 6 ทีมค่ะ ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 50106เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

จุดประสงค์หลักก็คือเพื่อต้อง Progress

ต้อง => ติดตาม หรือเปล่าคะ แก้ไขแล้วลบความเห็นนี้เลยค่ะ

คุณศิริ เริ่มงานคุณลิขิต อย่างใจเกินร้อยค่ะ เก็บความได้ดีแล้วด้วย แม้จะดูเกร็งๆเล็กน้อย

มีบันทึกเปิดใจ เกี่ยวกับการทำหน้าที่นี้ด้วยก็ดีนะคะ

คุณศิริรับคำชมจากพี่เม่ยหน่อย...คำเดียวสั้นๆเลยนะ....
       "เยี่ยมจริงๆ!" 

พี่โอ๋ค๊ะ ขอบคุณค่ะ แก้เรียบร้อยแล้วค่ะ อยากเปิดใจเหมือนกันค่ะ เดี๋ยวทำหน้าที่คุณลิขิตให้ครบ 8 กลุ่มแล้วก็อยากจะเปิดใจค่ะ

พี่เม่ย --เพิ่มเติมได้เลยค่ะ  มีรูปคุณ Fa ทั้งสองด้วยค่ แต่ภาพมันค่อนข้างมืด แล้วผู้เขียนจะนำมาลงวันหลังค่ะ เมื่อวานโชคร้ายมากเลยค่ะพี่เม่ย คอมที่บ้าน line โทรศัพท์มันเสีย กว่าจะได้ก็ 2 ทุ่มแล้วค่ะ

 

มาเก็บตกประเด็นต่างๆ ค่ะ   มาช้าไปหน่อย   แต่ยังดีกว่าไม่มาเนอะ...

สำหรับประเด็นที่ว่า ชื่อในคอมฯ เมื่ออ่านจาก barcode และข้างหลอดไม่ตรงกัน อ.เสาวฯได้เสนอให้กระตุ้นเมื่อมีการประชุมคณะกรรมการ PCT ซึ่งจัดขึ้นเดือนละครั้ง 

มีหลายคนเสริมว่า  คนที่มาประชุมจากฝ่ายการ ฯ กับผู้ปฏิบัติงานจริง (คุณกิจ)   เป็นคนละคนกัน   บางทีคุยกันไปอาจจะแค่ "รับทราบ"  ไม่ได้เกิดการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด   

 

"มาช้าไป (nid)หน่อย   แต่ยังดีกว่าไม่มาเนอะ..."

เห็นด้วยอย่างแรงเลยค่ะ พี่ nidnoi และผู้เขียนก็ตามมาขอบคุณเช่นกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท