การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง เศษส่วน


การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง เศษส่วน

ชื่อเรื่อง            :           รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง เศษส่วน

                                    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5

ผู้เขียน             :           นางทวาย  อินต๊ะนันต์

กลุ่มสาระการเรียนรู้   :   คณิตศาสตร์

ปีการศึกษา      :           2551

 

บทคัดย่อ

 

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

                1.  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ตามเกณฑ์  80/80

                2.  เพื่อทดลองใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง เศษส่วน โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง เศษส่วนก่อนเรียนและหลังเรียน

                3.  เพื่อประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง เศษส่วนที่ พัฒนาขึ้น

 

วิธีดำเนินการศึกษา

                การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้รายงาน ได้ดำเนินการศึกษาตามกระบวนของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)  ซึ่งแบ่งออกเป็น  3 ขั้นตอน ดังนี้

                ขั้นตอนที่  1  การสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง  เศษส่วน  สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5

                ในการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง  เศษส่วน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ผู้รายงานได้สร้างแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง เศษส่วน จำนวน  22  ชุด  และสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                หลังจากนั้น จึงนำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์และแบบทดสอบที่สร้างขั้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนคณิตศาสตร์และภาษาตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา  จำนวน  5  ท่าน  ประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากนั้นได้ทำการปรับปรุง แก้ไขแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ในด้านความครอบคลุมสอดคล้องของเนื้อหา และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และแบบทดสอบท้ายแบบฝึกมีความยากเกินไปไม่เหมาะสมกับผู้เรียนตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ   และนำแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง เศษส่วน ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ปีการศึกษา  2551  โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล  (ดำรงประชาสรรค์)   อำเภอเมือง  จังหวัดสุโขทัย  จำนวน  3  คน  เพื่อพิจารณาความเหมาะสมด้านภาษาและการสื่อความหมายให้ชัดเจน  รวมทั้งเวลาที่ใช้ในการศึกษา  แล้วนำมาทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ปีการศึกษา  2551 โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์)  จำนวน  15  คน  เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง เศษส่วน ตามเกณฑ์ 80/80

                ขั้นตอนที่  2   การทดลองใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง  เศษส่วน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2551  โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์)  จำนวน 1 ห้องเรียน  จำนวนนักเรียน 30  คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย   เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง  เศษส่วน จำนวน  22  ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่  5  

                ขั้นตอนที่  3  การประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2551 โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30  คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง เศษส่วน จำนวน 15 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

ผลการศึกษาค้นคว้า

                1.  แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  มีความเหมาะสมสอดคล้องในระดับดีมาก

                2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติระดับ  .01

                3.  ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง  เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ (Tags): #คณิตศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 275915เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2009 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขออนุญาตแสดงความเห็นนะครับ

เรื่องเศษส่วน ของการสอนคณิตศาสตร์ เท่าที่เคยมีประสบการณ์ ปัญหาอยู่ที่การพัฒนาเชื่อมโยงการเรียนรู้ ได้แก่ พื้นฐานการเรียนรู้ ความแม่นยำในเรื่อง จำนวน ความคล่องแคล่วในการใช้ความคิดตัดสินใจใช้การบวก ลบ คูณ และหารเลข ต่อปัญหาที่พบ ตัวอย่างเช่น แบ่งครึ่ง แปลความว่า เศษหนึ่ง ส่วนสอง หรือนัยหนึ่งคือ แบ่งเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน(เน้นว่า ต้องเท่า ๆ กัน)แต่พิจารณาเพียงหนึ่งส่วนเท่านั้น ทำนองเดียวกัน เศษหนึ่งส่วนสาม หมายถึง แบ่งวัตถุเป็นสามส่วน(เน้นที่เท่า ๆ กัน) และพิจารณาเพียงหนึ่งส่วนเท่านั้น เช่นนี้เป็นต้น ความเข้าใจ ทัศนะความคิดเห็นอย่างนี้ต้องเป็นฐานที่แน่น มั่นคงก่อน ก่อนที่จะฝึกฝนเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วน เหตุผลก็คือ เมื่อถึงคราวต้องนำเศษส่วนมาเปรียบเทียบกัน เพื่อหาว่า มาก น้อย หรือเท่ากัน การเรียนรู้จึงนำความเท่ากันของส่วนมาเป็นเหตุผลอธิบายว่า จะเปรียบเทียบกันได้ต่อเมื่อ แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่เท่ากัน นั่นคือมีเลขระบุจำนวนที่เป็นเลขส่วนที่เท่ากัน จึงจะพิจารณาเลขที่แสดงจำนวนเศษโดยนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อหาว่า มาก น้อย หรือเท่ากันได้ และเมื่อผู้เรียนได้มีความคิด เข้าใจคล่องในการตัดสินใจบอกได้แล้วจึงค่อยเรียนรู้ในการปรับส่วนให้เป็นส่วนทีเท่ากันว่า จะมีวิธีคิด วิธีทำอย่างไร

สรุป การเรียนรู้เรื่องเศษส่วน ครูควรวิเคราะห์บันได การก้าวย่างของ ประเด็นการเรียนรู้(concept)ว่าเริ่มอระไรก่อน และฝึกให้มีทักษะ แล้วค่อยก้าวขึ้นขั้นบันไดต่อไป ดังนั้น เรื่องจำนวน เรื่องทักษะการบวก ลบ คูณ และหาร จีงต้องพิถีพิถันตั้งแต่ต้น การขาดทักษะใด ทักษะหนึ่งของผู้เรียน จะเป็นปัญหา อุปสรรคในการนำมาใช้ในบันไดขั้นต่อไป

ขอบพระคุณครับ

เป็นวิจัยที่ดีมากเลยคะ ขอบคุณมากคะ

นางสาวมุฒิตา นนท์ตา

ขอบคุณมากค่ะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาเรียนครูเป็นอย่างมากค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

เป็นวิจัยที่ดีมากค่ะ ซึ่งทำให้ครูที่ไม่ได้สอนคณิตศาสตร์ก็เข้าใจไปด้วย ขอบคุณค่ะ

นางสาว ศรัญญา ตาเตียว

คิดถึงอาจารย์มากๆเลยคะออกจากสุโขทัยมาอยู่จังหวัดแพร่นาน13ปีได้แล้วคะ  แต่ไม่เคยลืมอาจารย์ทุกคนที่สั่งสอนลูกศิษย์คนนี้มา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท