น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง สู่การส่งเสริมสุขภาพคนไทย (9) ... การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว


สิ่งที่ผมพยายามดึงขึ้นมาเสมอ คือ เศรษฐกิจพอเพียง น่าจะเป็นเรื่องของการปลูกฝังค่านิยม ให้บุคลากรของเรามีค่านิยมในการสร้างภูมิคุ้มกัน

 

ตอนนี้ก็มาถึง ห่วงที่ 3 ของหลักเศรษฐกิจพอเพียงละค่ะ ... เรื่องของภูมิคุ้มกัน ...

ในเรื่องของภูมิคุ้มกัน ถ้าใครไปอบรมเรื่องความเสี่ยงก็จะมีความคุ้นเคย ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างหนึ่ง เวลาที่เราทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆ

ความหมายของภูมิคุ้มกันก็คือว่า ... ท่านแน่ใจไหม ว่าโครงการของท่านจะไปตลอดรอดฝั่ง และพูดง่ายๆ ว่า ไม่เจ๊ง ... ภูมิคุ้มกันนี้ เราจะมีการเสริมมิติอะไรให้กับมิติเหล่านี้ หรือเหล่านั้นมั๊ย เพื่อให้งานที่เราทำ มีโอกาสที่จะเจ๊งมีน้อย

อาจจะเป็นลักษณะเช่น เราจะทำโครงการเกี่ยวกับการให้ความรู้กับประชาชน เรื่อง สุขอนามัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าทำคนเดียวก็ได้ แต่ถ้ากลัวว่า เดี๋ยวจะรอดไหม เรื่องการให้ความรู้นี้ ไปทำกับกระทรวงศึกษาฯ ด้วย ให้เขาเป็นอีกภาคีหนึ่ง จะชัวร์กว่าไหม เพราะเราก็ต้องมีการประสานกับกลุ่มโรงเรียน ให้ความรู้กับเด็กอยู่แล้ว ลำพังเราทำคนเดียว เดี๋ยวจะไม่แน่ใจ เพราะการไปเล่นกับเด็กนี่ อาจจะมีเรื่อง การให้ความรู้ การเรียนรู้ของเด็ก ที่ว่า อาจจะไม่ถนัด

เพราะฉะนั้นเราทำกิจกรรมโดยประสานความมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และกระทรงศึกษาธิการ มันก็จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้มั่นใจว่า โครงการของเราจะได้ไม่ไปมาก ในเรื่องของการขยายความรู้ ในระดับโรงเรียน เป็นต้น

... เพราะฉะนั้น การทำงานร่วมกันกับหน่วยงานอื่นๆ ก็จะเป็นเครื่องมือเล็กๆ น้อยๆ ในการสร้างภูมิคุ้มกัน ...

บางทีเราทำแผนอะไรบางอย่าง ก็อาจจะคิดไว้ว่า ถ้าแผน A ไม่ประสบความสำเร็จ แล้วท่านมีแผน B รองรับไหม เพราะฉะนั้น การมีวิธีการรองรับก็อาจอีกวิธีการหนึ่ง
ในส่วนของกิจกรรมในการสร้างภูมิคุ้มกันนี้ สิ่งที่เราอยากจะเห็น คล้ายกับเป็นนิสัย เพราะว่า สิ่งที่ผมพยายามดึงขึ้นมาเสมอ คือ เศรษฐกิจพอเพียง น่าจะเป็นเรื่องของการปลูกฝังค่านิยม ให้บุคลากรของเรามีค่านิยมในการสร้างภูมิคุ้มกัน

การที่เราจะมีค่านิยมในการสร้างภูมิคุ้มกัน คือ ในเวลาของการทำแผนของเราก็ดี กิจกรรมในกรมณ ก็ดี ออกต่างจังหวัดก็ดี ท่านน่าจะลองทำใน 3 อย่างนี้คือ

  • นึกถึงปัจจัยเสี่ยงเสมอ ... เวลาทำอะไรสมัยก่อน เราอาจเดินตัวเปล่า ผมใช้คำว่า ล่อนจ้อน ไม่เป็นไร เดี๋ยวนี้ไม่ได้ ไปไหนต้องนึกถึงปัจจัยเสี่ยงเสมอ และ
  • ดประเมินปัจจัยเสี่ยง ท่านอาจจะมีปัจจัยเสี่ยง 2-3 เรื่อง ช่วยจัดลำดับให้หน่อย ว่าอันไหนสำคัญกว่ากัน อันไหนรุนแรงมากน้อยกว่ากัน อันไหนมีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยกว่ากัน และ
  • คนที่เป็นเศรษฐกิจพอเพียง ระแวงแล้ว รู้ว่าอันไหนรุนแรงมากน้อย ก็หาวิธีบริหารความเสี่ยง

ยกตัวอย่าง เจ้านายเราเป็น ผอ.กองฯ ส่งลูกน้องไป ตจว. ไปทำโครงการ สมัยก่อนก็นักรถยนต์ไป ไปกัน 4 คน เป็นตายร้ายดีก็ช่าง แต่สมัยนี้ไม่ได้ ผู้บริหารที่เป็นเศรษฐกิจพอเพียง ก็ต้องนึกว่า เอ๊ะ ส่งเขาไป ตจว. และถ้าเกิดเขาประสบอุบัติเหตุ มันมีประกันคุ้มกันเขาเพียงพอไหม พวกเราโชคดีที่เป็นข้าราชการ ยังไงเราก็รักษาได้ฟรี เพราะว่าเบิกได้

คนอื่นๆ นั้น ถ้าจะทำเศรษฐกิจพอเพียง ก็ต้องบริหารความเสี่ยงให้เขา พูดง่ายๆ ก็คือ ส่งลูกน้องไป ตจว. ก็ซื้อประกันให้เขา วันต่อวัน ทำให้เกิดความมั่นใจ ว่า ถ้าเกิดมีกรณีอะไร อย่างน้อยก็มีคนรับผิดชอบประกันค่าใช้จ่ายได้ เพราะฉะนั้นเรามีแก่ใจที่จะมองถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ก็เป็นลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งของคนทำหลักเศรษฐกิจพอเพียง

นี่คือ ห่วงที่ 3 ของหลักเศรษฐกิจพอเพียงละค่ะ

รวมเรื่อง น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง สู่การส่งเสริมสุขภาพคนไทย

 

หมายเลขบันทึก: 92624เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2007 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท