เรียนรู้บทบาท CCO ในงานส่งเสริมสุขภาพ


ผลงานการอบรมสัมมนาฯ นี้ คงจะเป็นผลงานที่ตัดสินได้ว่าคุ้มค่าหรือไม่ ก็ตอน นำเสนอผล และตอนสุดท้ายของการกลับเอาไปทำงานต่อ และสุดท้ายไปอีกเรื่อยๆ เมื่อเราทำงานแล้วเป็นอย่างไรบ้าง สำเร็จหรือไม่ และก็คงไม่มีสุดท้ายจริงๆ หรอกครับ

 

ช่วงนี้ขออภัยคะ ดิฉันหายหน้าหายตาไปนาน ... เนื่องจากว่า ได้ไปเข้ารับการอบรม ผู้นำการบริหารงานส่งเสริมสุขภาพ ของกรมอนามัย ไม่ใกล้ไม่ไกลหรอกค่ะ ที่อุทัยธานี (ห้วยป่าปก รีสอร์ท) และ รอยัลเจมส์ ลอดจ์ 2000 นครปฐม แต่ว่าใช้เวลาเต็มเหยียดนะ (... เรียกว่า ไม่ได้โงหัวเลยค่ะ ตอนนี้รู้สึกว่า ชักเดินไปเซไป เพราะกิจกรรมช่างมากมายจริงๆ มาวววว) ... และหลักสูตรนี้ก็เป็นการฝึกออกภาคสนามเก็บข้อมูล เพื่อนำมาสร้าง strategy ใหม่ของโครงการหนึ่งของกรมอนามัย ... ส้วมสาธารณะ ... ลองคิดดูละกัน ทันตแพทย์ไปทำเรื่องส้วมสาธารณะ เป็นการท้าทายความสามารถน่าดูเลย ... มีคนแซวว่า ก็ไปแปรงฟันเอาในส้วมก็ได้ ... ได้อย่างนั้นก็คงจะดีนะคะ ... แต่ยังไง เราก็มีทีมช่วยค่ะ และเรา (นนทลี + ศรีวิภา ... เผอิญอยู่กลุ่มเดียวกัน) ก็เอา KM ไปใช้ในกระบวนการสะกัดความรู้ด้วยนะคะ ได้ลุยไปถึงวัดถ้ำเขาวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ค่ะ ภูมิทัศน์สวยมาก แต่ ... อย่าลืมว่า เราไปเข้าส้วมเป็นหลัก ส้วมก็เลยสวยด้วย ... เอาเป็นว่าในเรื่องนั้น เราอบรมแล้ว ก็ขอ confirm ว่า Yes, I can do it. และตอนนี้ยังจะต้องไปอบรมต่อค่ะ วันนี้แว่บมาเขียน blog แล้วจะหายไปอีก 5 วัน ... เมื่อเสร็จแล้ว ได้อะไร ก็จะมาเล่าให้ฟังต่อค่ะ

และตอนนี้มีของฝาก ... เป็นกำลังใจที่ได้มาจากผู้บริหารค่ะ (เจ้าของหลักสูตร) ท่านรองอธิบดีกรมอนามัย น.พ.โสภณ เมฆธน เมื่อท่านไปเยี่ยมชาวเรา ... คณะผู้เข้าอบรม ที่ห้วยป่าปก อุทัยธานี

รองอธิบดีกรมอนามัย น.พ.โสภณ เมฆธน"ผลงานการอบรมสัมมนาฯ นี้ คงจะเป็นผลงานที่ตัดสินได้ว่าคุ้มค่าหรือไม่ ก็ตอน นำเสนอผล และตอนสุดท้ายของการกลับเอาไปทำงานต่อ และสุดท้ายไปอีกเรื่อยๆ เมื่อเราทำงานแล้วเป็นอย่างไรบ้าง สำเร็จหรือไม่ และก็คงไม่มีสุดท้ายจริงๆ หรอกครับ เพราะว่า ถ้าบอกว่า เราเป็น CCO แต่ก็ไม่ใช่ว่า เราจะเป็น CCO ตลอด เพราะว่าบางครั้ง เราก็เป็น CEO บางครั้งเราก็เป็น O นะครับ ผมขอเปรียบเทียบกับการที่เราอยู่บ้าน ... ในที่ทำงานนั้นเราเป็นอย่างหนึ่ง แต่ที่บ้านเราเป็นอีกอย่างหนึ่ง ... บอกว่า ในที่ทำงานนั้น เวลามาขอเงิน โครงการนั้นๆ ก็ต้องบอกมาว่า หลักการและเหตุผลเป็นอย่างไร แต่ถ้ากลับบ้านไปแล้ว ถ้าภรรยา – ลูก ขอตังค์ ก็ลองบอกสิครับว่า มีหลักการ-เหตุผลอย่างไร ก็คงไม่ได้เป็นแน่ ... ส่วนนี้ ผมตั้งใจพูดเพื่อเปรียบเทียบว่า คนเรานั้นมีหลายบทบาท ตอนนี้เรามีบทบาทเป็นนักศึกษา เพื่อเอาความรู้ ต้องใช้สมองให้เต็มที่ เรื่องอื่นอาจวางเบาๆ นิดหนึ่ง เพราะเวลาเล่นบทแต่ละบทนั้น จะเอาทุกเรื่องมารวมกันอยู่ขณะเวลาเดียวกันนั้นไม่ได้ ก็ต้องรู้ว่า เวลานี้ บทไหนเด่น บทไหนรอง อย่างผมเองถือว่าเป็น CCO ของกรมฯ แต่ถ้าอยู่ในสายนั้น ผมเป็น CEO จึงต้องเข้าใจตรงนี้ก่อนว่า เรื่องที่หนึ่งบทบาทของแต่ละคนนั้น มีความเปลี่ยนแปลงไปได้

เรื่องที่สอง คือ การเรียนรู้ อย่ายึดติดกับคำว่า “ชาล้นถ้วย” ... ถ้าเรายึดติด ของเดิมก็จะมีปัญหา เช่น ถ้าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เราเรียนมา หรือทำงานนี้ พอมาออก field เจอกลุ่มอื่นทำ แล้วมา comment บอกว่า ไม่ใช่ ต้องอย่างนี้ จึงจะถูก ก็ต้องมีการเถียงกันแน่นอน แต่ว่าบทสรุปเป็นอย่างไรนั้น เราไม่รู้ ... อันนี้ ไม่ใช่บอกว่าต้องฟังข้าคนเดียว เพราะว่า สิ่งนี้ไม่ใช่การเรียนรู้ ... เมื่อเรามาเล่นบทนักศึกษา คงต้องฟังเยอะๆ และตอนเข้ากลุ่มก็ต้อง dialogue กัน discuss กันว่า แล้วอะไรที่ดีที่สุด ต้องนำมาคิด เอาทฤษฎีมาเทียบเคียงว่า เป็นไปได้หรือไม่ แต่สุดท้ายก็จะมาอยู่ที่ประสบการณ์

เช่น เรามาดูพื้นที่กันจริงๆ ว่า ... โมเดลเรื่องส้วมที่เราคิดมานี้ดีที่สุด โรงเรียนต้องทำอย่างนี้ หรือ Clean Food Good Taste ต้องเท่านี้ข้อ ก็จะดีอย่างนั้นอย่างนี้ หรือวิธีการตั้งชมรมก็ตาม ... ออกมาจริงๆ แล้ว มันดีจริงหรือไม่ เพราะเวลาฝึกปฏิบัติ จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ ... เหมือนกับเราเปรียบว่า เราเป็นบริษัทเอกชน ผลิตรถ 6 โมเดล ตอนนี้เรามาดูที่คนใช้จริงๆ ว่า ใช้รถที่กรมอนามัยผลิตแล้วเป็นอย่างไร ... ได้ตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการหรือไม่ สมมติว่า อยู่ในท้องไร่ท้องนา และต้องขนผลผลิตไปขาย ก็คงไม่ใช่ตามวัตถุประสงค์ ก็คงจะยุ่ง อาจจะแสดงว่า ที่เราผลิตมานั้น ยังเป็นปัญหาอยู่

ตอนนี้เรามาลงพื้นที่ มาดูลูกค้าจริงๆ มาคุยกับ Dealer ที่เอามาขายเป็นอย่างไร ประชาชนใช้ได้หรือไม่อย่างไร จุดนี้ก็คงเป็นจุดที่ต้องคิด สิ่งที่ทางกรมฯ คิดขึ้นมานั้นอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป ให้ช่วยกันคิดได้นะครับ แต่สุดท้ายของการทำโครงการก็คือ ตอนนี้เอาตรงนี้ก่อน บางทีเอาหลัก บางทีเอารอง และเราจะสับเปลี่ยนหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง ทางกรมฯ อาจบอกว่า ต้องใช้อย่างนี้ 1 2 3 ก็อาจจะมีวิธี หรือทางเดินในข้อที่ 4 เข้ามาเพิ่มได้ โดยแต่ละศูนย์เข้าไปทำ ศูนย์คิดได้ และถามว่า ตัวชี้วัดหลักล่ะ จะเอาให้ได้ 60% แต่ทำไม่ได้ ขอ 40% ได้ไหม ถ้าไม่ยอมก็ต้องมาคุยกัน ว่าเพราะอะไร ก็ต้อง clear concept เรื่องงาน และเรื่องการเรียนรู้ด้วย

มีการเปรียบเทียบเรื่องของการเรียนรู้ว่า เราต้องมีวิสัยทัศน์ที่มองไปไกล เหมือนกับว่า เมื่อเรามีกระบอก อาจเป็นกระบอกลูกสูบ ความยาวของกระบอกอันนี้ เขาเปรียบเทียบกับ การมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล ถ้าเราไม่มีตรงจุดนี้ กระบอกลูกสูบก็จะสั้น แต่ถ้าเราสามารถจะยืดไปให้ไกลได้ ก็จะทำให้ Capacity ใหญ่ขึ้น ซึ่งก็คือ ความสามารถ เทียบง่ายๆ กับความจุของกระบอกลูกสูบ หรือเราบอกว่า มี Building capacity ก็ต้องเพิ่มความสามารถ เพิ่มระบบการเรียนรู้ของเราให้ดี วิสัยทัศน์ต้องมองไปไกล และต้องยึดมั่น อีกอย่างหนึ่ง คือ วงกลมเขาเปรียบเหมือน Mental model ถ้าใครบอกอะไรมา เราใช้ประสบการณ์ตัดสินสนับสนุน ก็จะทำให้ capacity นั้นแคบ เพราะฉะนั้น การเรียนรู้นี้ก็คือ ต้องมี Personal Mastery เราต้องเป็นนาย อยากจะไปให้ถึงเป้าหมาย ต้องเรียนรู้ ต้องมีวิสัยทัศน์ ยอมรับว่า เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เปลี่ยน และมีเยอะมาก นักสาธารณสุขจะรู้แค่สิ่งแวดล้อมจบแล้วไม่ได้ หรือรู้แค่พฤติกรรมก็ไม่ได้ หรือบางบริษัทคิดว่า เราเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องรถ อย่างเดียวก็ไม่ได้

ประเด็นที่สาม เรื่อง Strategy เรามารู้มาเรียน แล้วก็ต้องคิด ... สุดท้าย ต้องคิดว่า จำเป็นต้องเปลี่ยนโครงการทั้งหมดหรือไม่ ต้องเปลี่ยน 100% หรือไม่ อาจจะไม่ก็ได้ และถ้ามีโครงการใดที่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ก็ต้องนำมาคิดวิเคราะห์ว่า Strategy นั้นสำเร็จเพราะอะไร แล้วที่อื่นสำเร็จแบบนี้ไหม Strategy นี้ใช้ได้ทุกพื้นที่ไหม ใช้กับทุกคนได้ไหม เราไปดูสภาพการณ์จากข้อมูล และเข้าไปดูของจริง ข้อมูลอันไหนได้ ได้เพราะอะไร ส่วนที่ยังไม่ได้ตาม KPI หรือเป้าหมาย เพราะอะไร เราจะต้องมาปรับเปลี่ยน Strategy อะไร ... และอาจจะเอา Bangkok Charter หรือ Strategy กรมฯ หรือมี Innovation อะไรใหม่ๆ ที่เราเรียนรู้มา ทั้งจากการอ่าน ประสบการณ์ของพื้นที่ เอามาปรับให้เป็น SI อันใหม่เพื่อนำเสนอ

เรื่อง การวิจารณ์ ก็ต้องมีการวิจารณ์เต็มที่ เพราะว่าคงไม่มีใครถูกหรือผิด กรมอนามัยมีการบริหารอย่างมีเป้าหมาย และเป้าหมายต้องไปให้ถึง ... ก็ต้องแล้วแต่หน่วยงาน แล้วแต่พันธกิจ แล้วแต่ Mission ขององค์กร ... ถ้าเป็นธุรกิจ ก็ต้องมีกำไร ... ของเราก็ต้องดูว่า จะเกิดคนสุขภาพดีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างไร

การเรียนรู้ของเราคงต้องเรียนรู้ตลอด ไม่ใช่ว่าจบหลักสูตรแล้ว เก่งแล้ว ไมต้องเรียนรู้แล้วก็ได้ ก็ไม่ใช่ เพราะว่าเมื่อออกไปแล้ว จะรู้ว่ามีอะไรอีกมากมายมหาศาล ที่น่าเรียนรู้
รวมทั้งเรื่อง คุณธรรม เราก็ต้องมีด้วย"

ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ท่านรองฯ ฝากให้กลุ่มคิดก็คือ

  1. เพิ่ม Capacity ให้กว้าง ใหญ่ขึ้น ตั้งใจให้ใหญ่ และต้องมีความเพียรที่ต้องไปให้ถึง
  2. ขยายเส้นรอบวงให้กว้าง อย่าไปยึดติดกับประสบการณ์ที่มีอยู่

ดิฉันก็ขอเพิ่มต่อยอดค่ะ ว่า คงต้องใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี่ละ ที่จะทำให้ทันตแพทย์ไปทำเรื่องส้วมได้ ... รอพิสูจน์นะคะ อีกไม่นานเกินรอ

รองอธิบดีกรมอนามัย น.พ.โสภณ เมฆธน
รองอธิบดีกรมอนามัย น.พ.ประเสริฐ หลุยเจริญ
รองอธิบดีกรมอนามัย น.พ.บวร งามศิริอุดม (1) และ
รองอธิบดีกรมอนามัย น.พ.บวร งามศิริอุดม (2)

 

หมายเลขบันทึก: 26094เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2006 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ท้าทายดีค่ะ...
หวังจะได้เห็นส้วมสาธารณะที่ถูกสุขลักษณะทั่วฟ้าเมืองไทยค่ะ...งานนี้เพื่อชาติ!
คุณหมอนนท์ อย่าลืมสมัครเข้าชุมชนทีมงานบ้านผู้หว่าน๒ ของอาจารย์หมอ JJ ด้วยนะคะ ฝากบอกพี่ศรี และพี่สร้อยทองด้วยค่ะ...
เข้าร่วมกับ ทีมงานบ้านผู้หว่าน 2 แล้วค่ะ พี่เม่ย ขอบคุณที่ช่วยส่งข่าว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท