ชาวกรมอนามัย มา ลปรร. กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ (11) KM Workshop แล้วได้อะไรมาบ้าง


... พอเขามาแล้ว เขาบอกว่า เมื่อไรจัดอีกนี่ เขาเหลือเวลาน้อยแล้ว เขาอยากจะให้อะไรกับองค์กรเอาไว้

 

แน่นอนก็คือ เมื่อได้จัด KM Workshop แล้ว เขาก็ได้เรื่องเล่าหลายร้อยเรื่องทีเดียว แต่เหนือจากเรื่องเล่า เขาก็ได้ผลพวงที่ดีดี ต่อยอดการเรียนรู้แบบไม่รู้จบได้เลยละค่ะ ที่ไฟฟ้า เขาเล่าให้ฟังว่า

  • สิ่งหนึ่งที่เราหยุดไม่ได้ ก็คือ AAR ... เขาถามว่า เมื่อไรจัดอีก อยากมาอีก
  • บางคนใกล้เกษียณแล้ว ตอนแรกให้มา บอกให้น้องๆ ไปดีกว่า เพราะว่าผมปีหน้าก็จะเกษียณแล้ว ผมเรียนไปก็ไม่ได้ทำประโยชน์ให้ กฟผ. ให้น้องๆ ไปดีกว่า แต่พอบอกว่า ตรงนี้ให้ไปทุกคน และเขาถูกบังคับให้มา
  • ... พอเขามาแล้ว เขาบอกว่า เมื่อไรจัดอีกนี่ เขาเหลือเวลาน้อยแล้ว เขาอยากจะให้อะไรกับองค์กรเอาไว้
  • ... เพราะว่า สโลแกนของเราคือ “ตอบแทนบุญคุณหน่วยงาน ด้วยประสบการณ์ที่ท่านมี” ... คำนี้อาจจะไปดนใจเขาให้อยากจะมาอีก
  • หลายๆ คนบอกว่า มาอบรมทีไร ปวดหัวกลับไปทุกที เพราะว่า เราไปยัดอะไรให้เขาในสิ่งที่อยากให้เขารู้เพิ่ม เราคิดว่าเป็นความรู้ เรายัดใส่หัวเขา เขาปวดหัว
  • ... แต่เขามาหลักสูตรนี้ เขาได้มาผ่อนคลาย ได้มาพูดคุย เขาได้คุยเรื่องหนึ่ง แต่เขาได้ยินกลับไป 10 เรื่อง ได้ฟังไปอีก 9 เรื่อง และเรื่องที่เขาเองมาเล่าก็ได้แง่มุมอะไรดีดีกลับไปอีก
  • ... เพราะว่าคุณอำนวยของเรา เราเลือกคนที่มีภูมิรู้ ... ก็ช่วยทำให้ความรู้มันแหลมคม คมชัดขึ้น ที่มันเบลอๆ อยู่ เพราะว่าบางทีมันเล่านี่ รู้ว่าเป็นอย่างนี้นะ แต่ไม่รู้ว่าเพราะอะไร ในกลุ่มก็จะช่วยกันคนละนิด คนละหน่อย ทำให้รู้เรื่องนั้นชัดกระจ่างว่า มันเพราะอะไร และได้แง่มุม คนที่มาเล่าเองกลับไปก็อาจไม่ทำอย่างเดิมแล้ว ทำดีกว่าเดิม รอบคอบมากขึ้น
  • ประเด็นความรู้ที่ได้ จะได้จากเพื่อนและคนเล่า บางทีมันก็จะต่างไปจากเดิม มีเกล็ดเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มขึ้น
  • มีคำถามที่อาจารย์วิจารณ์ได้แนะนำไว้ก็คือ “เรื่องนี้ มีใครในกลุ่มนี้ได้เคยไปทดลองใช้บ้างหรือไม่” ... ก็มียกมือ 3 คน เพราะว่างานแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนฟังแล้วมีโอกาสไปใช้ เพราะเขามีอุปกรณ์ใช้กัน เป็นคำถามที่ทำให้กลุ่มได้เสริมเข้าไปได้ด้วย
  • ตัวอย่างเรื่องเล่าที่เหมือนกัน เช่น การถอดน๊อต (ตัวใหญ่ๆ เท่าแก้ว) ถอดไม่ออกทำยังไง เวลาที่มันเป็นสนิม เราจะเปิดงานซ่อมนี่ ถ้าเริ่มจากถอดไม่ออกนี่ ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว เขาก็มีเทคนิคกันเยอะที่จะถอดน๊อตตรงนี้ออกมา
  • ... บางคนใช้วิธีเอาแก๊สมาเผาให้ร้อนแดง และจะหมุนออก น๊อตตัวผู้นะครับ ใหม่ๆ ผมก็งงเหมือนกัน ว่า เผาแล้วมันน่าจะใหญ่ขึ้นนะ มันร้อนก็ต้องขยายตัว ตามที่เรียนมา แต่ไม่ใช่ครับ พอเผาแล้ว ปรากฎว่าเหล็กมันอ่อนลง ก็ต้องให้ความร้อนพอเหมาะนะ จึงจะไขออก ผมถามว่า ปล่อยให้เย็นแล้วขันออกมั๊ย ไม่ออกครับ ต้องขันตอนที่มันแดงๆ อยู่
  • ... บางคนก็มีเทคนิคอื่นๆ อีก คือ เผารอบๆ
  • ... ก็เป็นเทคนิคของแต่ละท่าน แต่ละคน ซึ่งเมื่อเอามา share กันแล้ว มันก็จะทำให้ความรู้เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ มันกระจายออกไป
  • เมื่อเล่าเสร็จแล้วครั้งหนึ่งๆ เราก็จะให้เขานำเอาเรื่องเล่าไปทำดู หรือเรื่องที่เขาเล่ามาไปพัฒนาใหม่ ยกระดับ
  • ... และคราวหน้าให้มาเล่าเรื่องใหม่ ตรงนี้ก็จะทำให้เกิดวงจร หมุนเกลียวความรู้ขึ้น
  • ... ตรงนี้จะเกิดอะไรใหม่ๆ เพราะว่าเมื่อก่อนนั้น เขาก็ทำงานไปวันๆ ไม่เคยมีใครไปถามเทคนิคเขา อย่างช่างเดินเครื่อง ผมเห็นเทคนิคเขาเยอะเลย แต่ละคนก็จะทำแตกต่างกัน เหมือนคนขับรถ เวลาเข้าโค้งเขาก็ขับไม่เหมือนกัน คนที่ขับชำนาญเขาทำอย่างไร เวลารถเกิดสบัดเขาทำอย่างไร
  • ... มีหลายเรื่องที่หัวหน้าแผนกไม่รู้ แต่คนที่อยู่หน้างานเขาได้สัมผัสโดยตรง เอามา Share เอามาบอกกัน ทำให้ความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น และการแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ดีขึ้น

ก็เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นเองนะคะ ที่ไฟฟ้าได้บอกเล่ามา คงจะมีอีกเยอะแยะมากมายทีเดียว 

 

หมายเลขบันทึก: 130535เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2007 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท