drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

การจัดการองค์ความรู้ ด้านการเรียนการสอน


KM, SCI, RMUTT

บล็อกนี้ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของคณะวิทยาศาสตร์แลละเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี สำหรับด้านการเรียนการสอน ครับ กรุณาโพสต์ได้ที่นี่ครับ

คำสำคัญ (Tags): #km#rmutt#sci
หมายเลขบันทึก: 436185เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2011 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)

การสอนเนื้อหาสลับการฝึกปฏิบัติ/ทำแบบฝึกหัด

1. อธิบายบทนิยามและทฤษฎีบท พร้อมยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ หรือบรรยายพร้อมสาธิตประกอบอย่างมีลำดับขั้น จนนักศึกษาเข้าใจ แล้วมอบหมายงานให้แก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล หรือในกรณีที่นักศึกษามีจำนวนมาก จะให้แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม

2. ระหว่างที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติ หรือ ทำแบบฝึกหัด ผู้สอนจะให้คำอธิบายเพิ่มเติม โดยการเดินสำรวจ และคอยชี้แนะ

3. ในกรณีทำแบบฝึกหัดเป็นกลุ่ม ให้นักศึกษาส่งตัวแทน แสดงการแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียน ในกรณีทำแบบฝึกหัดเป็นรายบุคคล ให้เปลี่ยนกันตรวจสอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายวิชา และผู้สอน

4. ในกรณีที่นักศึกษาแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ผู้สอนกล่าวคำชมเชย และให้คะแนนจิตพิสัย

สำหรับกรณีที่นักศึกษาแก้ปัญหายังไม่ถูกต้อง เปิดโอกาสให้นักศึกษาอื่น ๆ ร่วมอภิปราย แก้ปัญหา โดยผู้สอนคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติม

5. ในกรณีที่ร่วมอภิปรายแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ผู้สอนต้องเฉลย และให้กลุ่มดังกล่าว แก้โจทย์ปัญหาใหม่ในลักษณะเดิม

6. เมื่อจบหน่วยเรียน จะมีการทดสอบย่อยเป็นรายบุคคล ผู้สอนเป็นผู้ตรวจและแจ้งผลการทดสอบ ซึ่งคะแนนดังกล่าวเป็นคะแนนเก็บ

7. เฉลยแบบทดสอบย่อย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป

8. ในกรณีที่ผลสัมฤทธิ์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้สอนควรปรับปรุงวิธีการสอน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 1

วันที่  21  มีนาคม 2554

ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ด้านการเรียนการสอน

การสอนเนื้อหาสลับการฝึกปฏิบัติ/ทำแบบฝึกหัด

1. ประชุมระดมสมองเพื่อกำหนดประเด็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานสากล

2. สืบค้นข้อมูลความรู้จากเอกสาร ตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต

3. ถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิ

4. การจัดเก็บความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้สอนและสื่อการเรียนรู้

ต่างๆ ในรูปแบบเอกสาร/สื่ออิเล็กทรอนิกส์

5. วิเคราะห์/สังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความรู้ และจัดทำเป็นสรุปบทเรียนที่ได้

จากการเรียนรู้ทุกครั้ง

6. สร้าง Blog KM ด้านการสอน เนื้อหาสลับการฝึกปฏิบัติบัติ/ทำแบบฝึกหัด

7. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการสอนเนื้อหาสลับการฝึกปฏิบัติ/ทำแบบฝึกหัด

8.การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาด้านการสอนเนื้อหาสลับการฝึกปฏิบัติ/ทำแบบฝึกหัด

กลุ่มของอาจารย์ เป็นเนื้อเรื่องที่สามารถทำได้จริง และเป็นประโยชน์กับอาจารย์ผู้สอน ดังนั้นหลังจากทำ KM ครั้งที่ 2 แล้ว น่าจะลงลึกในหัวข้อย่อยว่า เคล็ดลับที่ทำให้ประสบผลสำเร็จทำได้อย่างไรนะครับ

เช่น ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด หรือสอบ Quiz เมื่อเสร็จให้ผลัดกันตรวจ ตรวจเสร็จใส่คะแนน และเซ็นชื่อคนตรวจกำกับ อาจารย์นำเอาคะแนนมาดู ก็จะพบว่า มีคนที่ได้คะแนนน้อยกว่าครึ่งของคะแนนเต็ม อาจารย์จะทำอย่างไรต่อไป

ถ้าเป็นผม ผมก็จะต้องจัดกลุ่มเด็ก เช่น เด็กที่ใช้สูตรผิด คำนวณผิด 1 กลุ่ม เด็กที่ไม่รู้เรื่องแปลงหน่วยผิด 1 กลุ่ม เด็กที่ไม่รู้เรื่องเลย (กระดาษเปล่า หรือผิดตั้งแต่ต้นจนจบ) 1 กลุ่ม

ผมก็จะสอนเสริมให้ในสิ่งที่เด็กกลุ่มนั้นไม่เข้าใจ และอาจจะต้องให้แบบฝึกหัด หรือ Quiz อีกครั้ง เพื่อทดสอบว่าที่เราสอนครั้งที่ 2 เด็กเข้าใจจริงๆ หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ต้องทำซ้ำอีก จนกว่าจะได้ หรือถ้าอาจารย์ไม่มีเวลาพอ อาจารย์อาจใช้วิธี "เพื่อนช่วยเพื่อน" ให้คนที่ได้คะแนน Top มาประกบ ช่วยติวจนเพื่อนเข้าใจ แล้วมาทำแบบฝึกหัด หรือ Quiz ใหม่ (อย่างนี้จะดีกว่าหรือไม่ครับ ทั้งเราไม่เสียเวลา และแถมช่วยสอนในเรื่องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมถึงสอนให้เขาสามารถสอนงานคนอื่นได้ (เป็นประโยชน์ในการทำงานต่อไปในภายภาคหน้า)) เป็นต้น

เหล่านี้เป็นเคล็ดลับ ที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นเลิศไงครับ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่มีประโยชน์นะคะ

ขั้นตอนการสอน

1.การนำเข้าสู่บทเรียน

1.1 ผู้สอนแจ้งหัวข้อและวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนของแต่ละบทเรียน

1.2 ทบทวนความรู้เดิม และเชื่อมโยงกับเนื้อหาเดิมและเนื้อใหม่ที่กำลังจะเรียนต่อ

- ผู้สอนตั้งคำถามทบทวนความรู้เดิม และให้นักศึกษาในชั้นเรียนช่วยกันตอบคำถาม

- ในกรณีที่นักศึกษาตอบไม่ตรงประเด็น ผู้สอนอาจให้ตัวเลือกคำตอบ เพื่อช่วยให้นักศึกษาตอบคำถามได้ตรงประเด็น

- ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถตอบคำถามได้ ผู้สอนกระตุ้นให้นักศึกษาช่วยกันตอบคำถาม (เพื่อนช่วยเพื่อน)

- ผู้สอนสร้างบรรยากาศโดยการซักถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวในการเรียน

* การจัดกิจกรรมในรูปแบบเกมแข่งขัน เช่น เกมวัดดวง การแบ่งกลุ่มแข่งขันตอบคำถามในเวลาที่จำกัด

* การเลือกนักศึกษาในการตอบคำถาม เช่น เลือกนักศึกษาที่ไม่คาดคิดว่าตนเองจะถูกเรียกถาม โดยผู้สอนสังเกตได้

จากพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาแต่ละคน เช่น นักศึกษาที่มาสาย หลับระหว่างเรียน คุยกัน เหม่อลอย

แต่งกายไม่เรียบร้อย เป็นต้น

- ในกรณีที่เนื้อหาเดิมมีคำศัพท์เฉพาะทางมาก ซึ่งผู้เรียนมักจะสับสนในการนำไปใช้ เช่น การสับสนในการใช้คำศัพท์ใน

รายวิชาชีววิทยา เรื่อง สารพันธุกรรม ระหว่างคำว่า “DNA” และ “Gene” ผู้สอนอาจจะให้นักศึกษาจดคำศัพท์ใส่สมุด

บันทึกคำศัพท์โดยเฉพาะ เพื่อใช้สำหรับทบทวนก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง หรือรายวิชาที่มีสูตรการคำนวณต่าง ๆ ผู้สอนอาจ

จะให้นักศึกษามีสมุดสูตรการคำนวณเฉพาะ เพื่อให้นักศึกษาท่องจำ

- ทดสอบย่อย (Quiz) ความรู้เดิม

- ยกตัวอย่างเหตุการณ์

1.3 ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ในทางประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือ ยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น

- ผู้สอนควรนำเหตุการณ์ หรือข่าวสารปัจจุบัน ที่กำลังเป็นที่สนใจ มายกตัวอย่างประกอบการเรียนการสอน โดยให้

นักศึกษามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เหตุการณ์ดังกล่าวเช่น ในการสอนรายวิชาด้านสิ่งแวดล้อม ผู้สอนสามารถนำข่าว และ

ภาพเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ อุทกภัย วาตภัย

2. การดำเนินการสอน

2.1 อธิบายบทนิยามและทฤษฎีบท พร้อมยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ หรือบรรยายพร้อมสาธิตประกอบอย่างมีลำดับขั้น

จนนักศึกษาเข้าใจ

- ใช้สื่อประกอบการสอนที่มีความชัดเจนและเข้าใจง่าย เช่น

* การอธิบายกราฟจะมีการใช้สีที่แตกต่าง เพื่อให้เข้าใจความหมายของกราฟ

* กรณีเน้นคำสำคัญ หรือนิยามที่สำคัญ จะเขียนตัวอักษรให้มีสีที่แตกต่าง เพื่อให้นักศึกษาจำง่ายขึ้น

* ใช้ PowerPoint ที่มีภาพประกอบที่น่าสนใจ เช่น ภาพเคลื่อนไหว กราฟฟิกสามมิติเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน

* คลิป VDO ที่เป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน

* ใช้ CAI

* แบบจำลองต่าง ๆ เช่น โครงสร้างผลึกของแข็ง โครงสร้างสารพันธุกรรม

2.2 ผู้สอนสร้างบรรยากาศโดยการซักถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัว ในระหว่างการเรียนการสอน โดยการเลือกนัศึกษา

หรือแบ่งกลุ่ม

3. การฝึกปฏิบัติ/ทำแบบฝึกหัด

3.1 มื่อสอนจบแต่ละหัวข้อ ผู้สอนจะให้ฝึกปฏิบัติ หรือ ทำแบบฝึกหัด เป็นรายบุคคล หรือแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มในกรณีที่มี

นักศึกษาจำนวนมาก

3.2 ระหว่างที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติ หรือ ทำแบบฝึกหัด ผู้สอนให้คำแนะนำกรณีที่นักศึกษามีข้อสงสัย

3.3 ในกรณีทำแบบฝึกหัดเป็นกลุ่ม ให้นักศึกษาส่งตัวแทน แสดงการแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียน ในกรณีทำ

แบบฝึกหัดเป็นรายบุคคล ให้เปลี่ยนกันตรวจสอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายวิชา และผู้สอน

3.4 ในกรณีที่นักศึกษาแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ผู้สอนกล่าวคำชมเชย และให้คะแนนจิตพิสัย

สำหรับกรณีที่นักศึกษาแก้ปัญหายังไม่ถูกต้อง เปิดโอกาสให้นักศึกษาอื่น ๆ ร่วมอภิปราย แก้ปัญหา โดยผู้สอนคอยให้คำ

แนะนำเพิ่มเติม

3.5 ในกรณีที่ร่วมอภิปรายแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ผู้สอนต้องเฉลย และให้กลุ่มดังกล่าว แก้โจทย์ปัญหาใหม่ใน

ลักษณะเดิม

4.การสรุปเนื้อหา

4.1 ผู้สอนตั้งคำถามทบทวนเนื้อหา และให้นักศึกษาในชั้นเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหา

4.2 นกรณีที่นักศึกษาสรุปเนื้อหาไม่ครบ ผู้สอนกระตุ้นให้นักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาส่วนที่ขาด

4.3 ทดสอบย่อย (Quiz) เนื้อหาที่เรียน

ไปเจอเวปน่าสนใจมาครับ ลองไปอ่านดูนะครับ

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=fino4710&date=14-03-2009&group=49&gblog=10

เป็นเวปเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิชาคณิตศาสตร์นะครับ

เช่นเดียวกันกับ คห 13 ครับ มีเทคนิคการสอนหลายรูปแบบน่านำมาปรับใช้ร่วมกับ การสอนบรรสลับปฏิบัติได้นะครับ

http://www.arts.ac.th/tip_teach/technic_teach.pdf

แก้ไขครับ เช่นเดียวกับคุณอัคเรศ ครับ

ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงเข้าร่วมโครงการพัฒนาความรู้และทักษะกระบวนการเรียนการสอน ได้ความรู้มาใหม่ๆ เยอะแยะเลยค่ะ มาบอกเล่าไว้ก่อนเดี๋ยวจะค่อยๆ เอาความรู้มาแชร์ในหลัง

ขอแนะนำ ลิงค์ ซึ่งรวบรวมเทคนิคการสอน โดยอาจารย์ จู

ลิงค์นี้ จะเป็นการรวมเทคนิคการสอนของอาจารย์หลาย ๆ ท่าน

เช่น เทคนิคแก้ไขการเข้าเรียนสาย

เทคนิคแก้ง่วง เพื่อให้นักศึกษาสนใจเรียน

เทคนิคช่วยให้นักเรียนจดจำได้ดี

http://fscieng.csc.ku.ac.th/~www/src/km/teachingTech.ppt

ลองเข้าไปดูกันนะคะ

เพื่อนๆ สมาชิก goto know กลุ่มการเรียนการสอนทุกๆ ท่าน คะ เราจะนัดมาเจอกันเมื่อไหร่ดีคะ

มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ^^^^^^

http://ahph9thi.gotoknow.org/assets/media/files/000/817/584/original_tqf3_f.pdf

มคอ. 5 รายงานผลการดาเนินการของรายวิชา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

http://ahph9thi.gotoknow.org/assets/media/files/000/817/589/original_tqf5_f.pdf

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ การจัดทา มคอ. 3 และ มคอ. 5

รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management, KM) ด้านการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี 2555

 

รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management, KM) ด้านการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี 2555

http://ahph9thi.gotoknow.org/assets/media/files/000/818/368/original_KM_Learning_2555.pdf

รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management, KM) ด้านการวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี 2555

http://ahph9thi.gotoknow.org/assets/media/files/000/818/369/original_KM_Research_2555.pdf

คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management : KM) (ระยะที่ 4) เมื่อวันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ณ ห้องประชุมวิทยบงกช ห้องประชุม SC1306 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมองค์ความรู้ด้านต่างๆ ได้แก่ การเรียนการสอน และงานวิจัย มาพัฒนาให้เป็นองค์ความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานภายในคณะฯ ต่อไป


รายงานการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล  และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนา

เรื่อง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2555

KM-Teaching2013.pdf

แบบสรุปการจัดการความรู้ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2557

Km1.pdf

Km2.pdf

Km3.pdf

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management :KM) ประจำปีการศึกษา 2560

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management :KM) ประจำปีการศึกษา 2560 โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เนตรนภิส แก้วช่วย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัยเป็นประธานเปิดโครงการ 

องค์ความรู้กลุ่ม

“การนำรูปแบบการสอนแบบ Finland Model มาใช้ในการจัดการการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 ณ ห้อง ST-1 308 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management :KM) ครั้งที่ 4

ผศ.ดร.เนตรนภิส แก้วช่วย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ให้เกียรติเป็นประธานในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management :KM) ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องประชุม ST-1 306 ST-1 308 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา

ภาพบรรยากาศเพิ่มเติม : http://www.sci.rmutt.ac.th/photo/66333

สรุปการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management :KM) ประจำปีการศึกษา 2560แนวปฏิบัติที่ดีในการบูรณาการรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ฟินแลนด์โมเดลhttp://www.sci.rmutt.ac.th/download/KM/KM2560/Good-Practice2560.pdf

เทคนิคในการนำ Active learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เทคนิคในการนำ Active learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เทคนิคในการนำ Active learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดการจัดการความรู้ ระดับคณะ/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2561

ผศ.ดร.เนตรนภิส แก้วช่วย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย เป็นประธานเปิดโครงการทบทวนระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กิจกรรมที่ 1 การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management : KM คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มการวิจัย และกลุ่มการจัดการเรียนการสอน กิจกรรม 2 คือการบริหารจัดการความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา

กิจกรรมที่ 1 การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management : KM คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มการวิจัย และกลุ่มการจัดการเรียนการสอน

กิจกรรมที่ 1 การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management : KM คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มการวิจัย และกลุ่มการจัดการเรียนการสอน

กิจกรรมที่ 1 การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management : KM คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มการวิจัย และกลุ่มการจัดการเรียนการสอน

สรุปการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management :KM) ประจำปีการศึกษา 2560

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท