drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

การจัดการองค์ความรู้ ด้านงานวิจัย


ด้านงานวิจัย, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มทร.ธัญบุรี

บล็อกนี้ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี สำหรับด้านงานวิจัย ครับ กรุณาโพสต์ได้ที่นี่ครับ

คำสำคัญ (Tags): #het#km#rmutt
หมายเลขบันทึก: 433282เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2011 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)
  • คนกันเอง (ทั้งน้าน)

หัวข้อวิจัยเรื่อง  เทคนิคการเขียนงานวิจัยให้ได้งบประมาณ

Fa  ประธาน   - อาจารย์จีรวัฒน์        เหรียญอารีย์

Note  เลขาฯ - อาจารย์กิตติมา       บุญยศ

สมาชิก  - อาจารย์บุญประคอง  ไม้เขียว

-          ผศ. ศิริกาญจน์  ดุจจานุทัศน์

-          ผศ. สุรเดช  ชูพินิจรอบคอบ

-          ผศ. สุชาดา  งามประภาวัฒน์

-          ผศ. อภิญญา  พุกสุขสกุล

-          อาจารย์เฉลียว  หมัดอิ๊ว

-          ผศ. เสริมศรี  สงเนียม

-          อาจารย์รัตนาภรณ์  มะโนกิจ

-          อาจารย์อรวรรณ  พึ่งคำ

-          อาจารย์อรอุมา  คำแดง

-          อาจารย์ชมุค  พรรณดวงเนตร

 

  • Ø หัวข้อที่แสดงความคิดเห็น

-          เทคนิคการเขียนงานวิจัยให้ได้งบประมาณ ผู้ลงคะแนน 9 คน

-          ทำอย่างไรให้งานวิจัยเสร็จตามเวลา ผู้ลงคะแนน 3 คน

-          แนวทางการเผยแพร่งานวิจัย ผู้ลงคะแนน 1 คน

สรุป : เทคนิคการเขียนงานวิจัยให้ได้งบประมาณ

 

เคล็ดไม่ลับ กับการเขียนของบประมาณงานวิจัยสายคหกรรมศาสตร์

หลายๆ คน คงประสบปัญหาการเขียนขอโครงการวิจัย แล้วผิดหวัง !!!!!

เรา...อยากเชิญชวนให้ท่านมาลองใช้เทคนิคดีๆ  

ที่เราเคยใช้แล้วได้งบประมาณ   อย่างไม่คาดฝัน ฝัน ฝันนนนนนนน

  • Ø สรุปการแสดงการคิดเห็นของกลุ่ม
  1. เขียนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ
  2. สอดคล้องตามความต้องการของชุมชน
  3. คำนึงถึงแหล่งที่มาของงบประมาณฯ
  4. เป็นชุดโครงการวิจัย
  5. สร้างเครือข่ายงานวิจัย
  6. นักวิจัยหน้าใหม่ควรมีที่ปรึกษา หรือมีผู้ร่วมวิจัย
  7. หัวหน้าโครงการวิจัยควรเป็นที่ยอมรับ
  8. ประสบการณ์ของผู้วิจัย
  9. งานวิจัยต้องเป็นรูปธรรม และสร้างสรรค์

ความเหมาะสมของงบประมาณ

  • Ø How  to : เทคนิคการเขียนงานวิจัยให้ได้งบประมาณ

1      การเขียนหัวข้อโครงการวิจัย

1.1         เขียนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ

1.2         สอดคล้องตามความต้องการของชุมชน

1.3         เป็นชุดโครงการวิจัย

1.4         คำนึงถึงแหล่งที่มาของงบประมาณฯ

1.5         สร้างเครือข่ายงานวิจัย

2         งบประมาณ

2.1         ของบประมาณทั้งชุดโครงการวิจัย

2.2         คำนึงถึงความเหมาะสมของงบประมาณ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ วัตถุดิบ

2.3         ระยะเวลาในการทำวิจัย (1 ปี หรือ 6 เดือน)

         2.4   จำนวนคนในการดำเนินการวิจัย

  1. นักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย

3.1 สร้างเครือข่ายนักวิจัย

3.2 ความพร้อมของผู้วิจัย

3.3 ความมีชื่อเสียงของผู้วิจัย

3.4 ประสบการณ์ของผู้วิจัย

3.5 นักวิจัยหน้าใหม่ควรมีที่ปรึกษา หรือมีผู้ร่วมวิจัย

3.6 หัวหน้าโครงการวิจัยควรเป็นที่ยอมรับ

     4. ความพร้อม

4.1 ด้านบุคลากร

4.2 เครื่องจักร อุปกรณ์

4.3 ด้านองค์ความรู้

4.4 หน่วยงานสนับสนุน

     5. กระบวนการเขียนงานวิจัย

5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

5.2 ขอบเขตของงานวิจัยสอดคล้องกับหัวข้อ

5.3 แผนการวิจัยสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยและวัตถุประสงค์

5.4 ภาษาที่ใช้ในการเขียนงานวิจัย

    6. ช่องทางการเผยแพร่งานวิจัย

6.1 สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วารสาร นิทรรศการ

6.2 การอบรมระยะสั้น

    7. ประโยชน์ที่ได้รับ

        7.1 กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัย เช่น ชุมชน

How  to : ชุดโครงการวิจัย
•การตั้งชื่อชุดโครงการวิจัย ชื่อเรื่องควรน่าสนใจ กระชับ ชัดเจน ทันสมัย และตามกระแสนิยม
•ชื่อเรื่องต้องครอบคลุมชุดโครงการวิจัยย่อย
•เขียนกรอบแนวคิดการวิจัยที่ชัดเจน
•แสดงขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน เช่น แผนภูมิ
•แสดงผลลัพธ์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
•เขียนประวัติ และประสบการณ์ผู้วิจัยโดยละเอียด

เพิ่มเติมสมาชิกใหม่ :

-          อาจารย์ประดิษฐา  ภาษาประเทศ      

How  to : กระบวนการเขียนงานวิจัย

การทบทวนวรรณกรรมที่ชัดเจน

•เขียน Key word ใช้คำที่หลากหลาย และคำใกล้เคียง
•กลั่นกรองความน่าเชื่อถือของข้อมูล
•สืบค้นงานวิจัยที่ทันสมัย และหลายแหล่งที่มา

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ร่วมวิจัย

How  to : กระบวนการเขียนงานวิจัย

การทบทวนวรรณกรรมที่ชัดเจน

•เขียน Key word ใช้คำที่หลากหลาย และคำใกล้เคียง
•กลั่นกรองความน่าเชื่อถือของข้อมูล
•สืบค้นงานวิจัยที่ทันสมัย และหลายแหล่งที่มา

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ร่วมวิจัย

เรียน ท่านอาจารย์ในกลุ่มนี้ครับ อยากจะให้ท่านเจาะลึกกระบวนการที่ท่านได้ทำแล้ว และประสบผลสำเร็จ นำมาลงในบล็อกนี้ครับ หากท่านใดนำไปใช้ จะได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปนะครับ ขอบคุณครับ จาก อ.อภิชาติ

(กลุ่มของท่านมีเนื้อหามากมาย ท่านน่าจะสกัดองค์ความรู้ว่า ได้ทำอย่างไรบ้าง มีมาตรการหลักอะไร และมาตรการรองอะไรบ้าง จุดเด่น-จุดที่ควรพัฒนา เพื่อนำมาเผยแพร่ให้คนอื่นลองไปทำนะครับ)

KM 2

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ ขอให้สมาชิกกลุ่มได้เข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สมาชิกได้ยกตัวอย่างงานวิจัยของสมาชิกที่เสนอขอแล้วได้รับงบประมาณในการจัดทำ โดยสมาชิกได้คำนึงถึง

1. แหล่งที่มาของงบประมาณ เช่น งานวิจัยเรื่อง "การย้อมสีผ้าฝ้ายด้วยใบกระเพรา" ของอาจารย์เฉลียว หมัดอิ๊ว ซึ่งเป็นงานวิจัยที่สอดคล้องกับงบประมาณที่หน่วยงานกำหนดไว้ และหัวข้อเหมาะสมกับงบประมาณที่เสนอขอ

2. ความต้องการของชุมชนและมีผู้ร่วมวิจัยที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย เช่น งานวิจัยเรื่อง "การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาเสริมเกสรดอกบัวหลวง" ของอาจารย์อรอุมา คำแดง ซึ่งเป็นงานวิจัยที่สอดคล้องกับชุมชนและท้องถิ่น ด้วยชุมชนมีความต้องการนำผลิตภัณฑ์จากบัวมาแปรรูป ทำให้หน่วยงานเห็นความสำคัญที่ต้องพัฒนาชุมชน ทำให้ได้งบประมาณในการทำงานวิจัย

3. งานวิจัยที่เป็นรูปธรรมและสร้างสรรค์ เช่น งานวิจัยเรื่อง "การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกห่อหมก" ของ ผศ.สุชาดา งามประภาวัฒน์ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เมื่อทำแล้วมีผลงานเป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพได้จริง

สำหรับการทำ KM ครั้งที่ 3 ของกลุ่มท่าน ท่านได้อะไรบ้างที่เป็นเคล็ดลับ (จริงๆ) น่าจะนำมาเผยแพร่ให้ท่านอื่นๆ ทราบครับ

ถ้าให้ผมตรวจงานวิจัย ผมจะมีเคล็ดลับในการตรวจคือ

1. ตรวจหัวข้อเรื่องก่อน ถ้าผ่านค่อยไปดูในข้อ 2

2. ตรวจประวัติของหัวหน้าโครงการ ดูความเชี่ยวชาญ หรือวุฒิการศึกษา หรือผลงานวิจัยที่เคยทำมาก่อน (ถ้าไม่ตรง ไม่พิจารณาต่อ)

3. ตรวจประวัติของนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ดูความเชี่ยวชาญ หรือวุฒิการศึกษา หรือผลงานวิจัยที่เคยทำมาก่อน (ถ้าไม่ตรง ไม่พิจารณาต่อ)

4. ตรวจงบประมาณ เช่น ค่าตอบแทนหัวหน้าโครงการ นักวิจัย และผู้ช่วยนักวิจัย ไม่ควรเกินกว่า 50% หรือตามเจ้าของทุนวิจัย เพราะถ้าใช้เงินเยอะกับการจ้างคน จะทำให้ไปเบียดบัง เงินค่าวัสดุ ค่าทดสอบ หรือค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ น้อยลง ผลงานอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร ควรดูหมวดหมู่เงินงบประมาณที่ถูกต้อง ถ้าเขียนผิดอาจไม่พิจารณา

5. ดูยอดเงินเทียบกับระยะเวลาในการทำงานวิจัยว่าเหมาะสมหรือไม่

6. ต่อจากนั้นค่อยๆ ไล่ดูวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับหัวข้อ ทบทวนวรรณกรรม และผลที่ได้รับหรือไม่

อย่างนี้เป็นต้น (ดังนั้น การพิชิตใจกรรมการต้องทำอย่างไร?)

ขอขอบคุณ สำหรับคำแนะนำของ ดร. อภิชาติ ค่ะ

กลุ่มงานวิจัยจะนำการแนะนำมาปรับใช้ในการประชุม KM3 ต่อไปค่ะ

กลุ่มคนกันเอง...ทั้งน๊าน

เท่าที่ดูกลุ่มคนกันเอง ถ้าทำ KM ครั้งที่ 3 น่าจะได้ how to ดีๆ หลายอันนะครับ ถ้ายังไง ก็ช่วยสรุปลงในแบบฟอร์มนี้ด้วยครับ (แยกตามครั้งเลยครับ)

แบบฟอร์มบัญชีผู้เข้าร่วมกิจกรรม KM | แบบฟอร์มรายงานการประชุม KM

รายงานการประชุม

กลุ่มงานวิจัย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

เรื่อง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ตามแผนการจัดการความรู้ ครั้งที่ 3

ณ ห้องประชุมศิลปวัฒนธรรม ชั้น 1 อาคาร 1 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 เวลา 09.00-12.00 น.

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

1. อาจารย์จีรวัฒน์ เหรียญอารีย์ ประธานกล่มงานวิจัย

2. ผศ. ศิริกาญจน์ ดุจจนุทัศน์

3. ผศ. สุรเดช ชูพินิจรอบคอบ

4. อาจารย์บุญประคอง ไม้เขียว

5. ผศ.สุชาดา งามประภาวัฒน์

6. ผศ.อภิญญา พุกสุขสกุล

7. อาจารย์เฉลียว หมัดอิ๊ว

8. ผศ.เสริมศรี สงเนียม

9. อาจารย์รัตนาภรณ์ มะโนกิจ

10. อาจารย์อรวรรณ พึ่งคำ

11. อาจารย์อรอุมา คำแดง

12. อาจารย์ชมุค พรรณดวงเนตร

13. อาจารย์ประดิษฐา ภาษาประเทศ

14. อาจารย์กิตติมา บุญยศ เลขานุการกลุ่มงานวิจัย

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

-

ระเบียบวาระการประชุม

วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

เรื่อง แผนกลยุทธ์การพัฒนาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มงานวิจัย

ในด้านการวิจัย คณะฯ ให้ความสำคัญกับการทำงานวิจัยที่สร้างสรรค์ มีคุณภาพและสนับสนุนให้นำผลงานวิจัยไปเผยแพร่แก่ชุมชน

วาระที่ 2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การทบทวนการจัดทำ KM ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านการวิจัยของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์”

เนื่องจากคณะฯ ได้จัดทำแผนกลยุทธ์ด้านงานวิจัยใหม่ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและสถานประกอบนั้น กลุ่มงานวิจัยจึงควรมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยของคณะฯ หรือข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิจัย เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานวิจัย

หัวข้องานวิจัยที่บุคลากรของคณะฯ ควรนำมาพิจารณาเพื่อทำงานวิจัย คือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยในระดับสถาบัน นอกจากนี้ งานวิจัยที่จะจัดทำควรเป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นงานวิจัยที่สร้างสรรค์ และมีจรรยาบรรณในการทำงานวิจัยด้วย ทั้งนี้ตัวบ่งชี้ของคณะฯ กำหนดว่า จำนวนผลงานวิจัยของคณะ ฯ ควรเป็นงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้จริงไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของงานวิจัยทั้งหมด ซึ่งกลุ่มงานวิจัยมีความคิดเห็นว่า หากบุคลากรของคณะฯ ตระหนักถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงแล้วจะสามารถทำงานวิจัยที่ได้มาตรฐานอย่างแน่นอนผนวกกับการทำงานวิจัยในหัวข้อที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์แล้ว เมื่อเขียนของบประมาณจะมีโอกาสได้รับการพิจารณาให้ได้รับงบประมาณในการจัดทำงานวิจัยมากขึ้นได้

วาระที่ 3 ตัวอย่างการเขียนงบประมาณงานวิจัย (ภาคผนวก 6 สวพ.มทร.ธัญบุรี)

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยสมาชิกกลุ่มงานวิจัย (คนกันเอง...ทั้งน๊าน) และที่ปรึกษาประจำกลุ่ม คือ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัตินั้น กลุ่มงานวิจัยมีความคิดเห็นตรงกันว่า การให้บุคลากรของคณะฯ ได้ทราบรายละเอียดหัวข้อที่จำเป็นต้องเขียนเสนอของบประมาณเป็นเรื่องสำคัญ กลุ่มงานวิจัยจึงนำเสนอตัวอย่างรายละเอียดงบประมาณดังนี้

รายละเอียดงบประมาณการวิจัยของข้อเสนอการวิจัย จำแนกตามงบประเภทต่าง ๆ (ปีงบประมาณที่เสนอขอ)

รายการ

1. งบบุคลากร

ค่าจ้างชั่วคราว

ฯลฯ

2. งบดำเนินงาน

2.1 ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ

2.1.1 ค่าตอบแทน เช่น ค่าอาหารทำการนอกเวลา ค่าตอบแทน

ผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ฯลฯ

2.1.2 ค่าใช้สอย เช่น

1) ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ

2) ค่าซ่อมแซมยานพาหนะและขนส่ง

3) ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์

4) ค่าจ้างเหมาบริการ

5) ค่าใช้จ่ายในการสัมมนาและฝึกอบรม

6) ค่ารับรองและพิธีการ

7) ค่าเงินประกันสังคม

8) ค่าใช้สอยอื่น ๆ

ฯลฯ

2.1.3 ค่าวัสดุ เช่น

1) วัสดุสำนักงาน

2) วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น

3) วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ

4) วัสดุโฆษณาและเผยแพร่

5) วัสดุหนังสือ วารสารและตำรา

6) วัสดุคอมพิวเตอร์

7) วัสดุอื่น ๆ

ฯลฯ

2.2 ค่าสาธารณูปโภค เช่น

ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าไปรษณีย์

ค่าบริการด้านสื่อสารและโทรคมนาคม

3. งบลงทุน

ค่าครุภัณฑ์

ฯลฯ

รวมงบประมาณที่เสนอขอ

หมายเหตุ : ตัวอย่างแบบฟอร์มนี้ใช้สำหรับข้อเสนอการวิจัยทั้งแผนงานวิจัย/โครงการวิจัย ซึ่งเป็นรายละเอียดงบประมาณการวิจัยเฉพาะปีงบประมาณที่เสนอขอ โดยจำแนกตามงบประเภทต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นแบบฟอร์มสำหรับงบประมาณในส่วนบริหารจัดการแผนงานวิจัยด้วย

หมายเหตุ : ค่านักวิจัย ไม่ควรเกิน ร้อยละ 50 ของงบทั้งหมด

หัวหน้าโครงการ

- วุฒิการศึกษา ดร. , ผศ. , รศ. , รศ.ดร. 

- ประสบการณ์ที่ผ่านมา : แผนงานวิจัยที่ระบุ ควรเกี่ยวข้องกับงานที่กำลังเสนอขอ หรือได้ทุนจากหน่วยงานภายนอกให้มากไว้ด้วย

นักวิจัยร่วม

- วุฒิการศึกษา

- ประสบการณ์ที่ผ่านมา : งานที่ระบุไม่ตรงก็ได้ หากเคยได้ทุนจากภายนอก ให้นำมาแสดงไว้ด้วย

วาระที่ 4 การวางแผนของกลุ่มงานวิจัยในปี 2554 (หากมีโอกาสนำเสนอในคราวต่อไป)

สมาชิกในกลุ่มงานวิจัยมีความคิดเห็นร่วมกันว่า ในโอกาสต่อไปควรเชิญวิทยากรจากภายนอกที่เป็นคณะกรรมการตัดสินการให้ทุนวิจัยมาบรรยาย เพื่อประโยชน์ในการทำงานวิจัย ซึ่งกรอบในการให้ความรู้ควรเกี่ยวข้องกับหัวข้อต่อไปนี้

- ลักษณะของแบบฟอร์มการให้คะแนน

- เกณฑ์การพิจารณา

- วิธีหรือขั้นตอนการพิจารณา

- กลยุทธ์ในการเขียนเพื่อเสนอขอทุน

- กลยุทธ์ในการเขียนเพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพดี

ปิดการประชุมเวลา 12.00 น.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท