การตั้งเมืองขุขันธ์ : เมืองขุขันธ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์(ตอนที่2)


และให้พระอุทุมพรเทศานุรักษ์ย้ายเมืองอุทุมพรพิสัยไปตั้งที่บ้านผือ หรือบ้านปรือ  (ปัจจุบันคือบ้านผือใหม่ ตำบลเมือง อำเภอกันทรลักษ์) และครั้นถึงข้างขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ปีมะโรง  ..  ๒๔๑๑   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตพระมหาสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ  เป็นรัชกาลที่   

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 

                ปี  ..  ๒๔๑๒  โปรดเกล้าฯ  ให้เกณฑ์คนเมืองขุขันธ์  เมืองสุรินทร์    เมืองสังฆะ  เมืองเดชอุดม  และเมืองศรีสะเกษ  ไปช่วยทำอิฐเพื่อทำการก่อสร้างกำแพงเมืองปราจีนบุรี  และในปีเดียวกันนี้  พระภักดีภูธรสงคราม  ( แก้ว )  ปลัดเมืองขุขันธ์  ได้ถึงแก่กรรม  จึงโปรดเกล้าฯ  ตั้งให้  พระมหาดไทย ( แอก )  เป็นพระภักดีภูธรสงคราม  และให้ท้าวแก้ว  เป็นพระบริรักษ์  นายกองนอก   ครั้นยกบัตร ( อ้น ) 

ถึงแก่กรรม  จึงโปรดเกล้าฯ  ตั้งให้ท้าวบุญจันทร์  บุตรพระปลัด ( ศรีเมือง )   เป็นพระแก้วมนตรียกบัตร  และพระบริรักษ์ ภักดี ( แก้ว )  ถึงแก่กรรม  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้ท้าวบุญเรืองบุตรพระปลัด(ศรีเมือง)  เป็น  พระเจริญรัตนสมบัติ  นายกองนอกต่อไป  ทางฝ่ายเมืองสังฆะ  พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ  ได้เข้าเฝ้าฯ  กราบบังคมทูลขอพระกรุณาตั้งบ้านกุดไผท  หรือบ้านจารพัดเป็นเมือง  ขอหลวงไชยสุริยา ( คำมี )  บุตรหลวงไชยสุริยวงศ์  กองนอกไปเป็นเจ้าเมือง  ส่วนตำแหน่งปลัดและตำแหน่งยกบัตรเมืองสังฆะ

ในขณะนั้นว่าง  จึงตั้งพระสุนทรพิทักษ์  บุตรพระปลัดคนเก่าขึ้นเป็นปลัดและขอหลวงศรีสุราชผู้หลานเป็นยกบัตร  เมืองสังฆะ  โดยได้ทรงโปรดเกล้าฯ  ตั้งบ้านกุดไผทหรือบ้านจารพัด  เป็นเมืองศรีขรภูมิพิสัย  ตั้งให้หลวงไชยสุริยา  กองนอก  เป็น  พระศรีขรภูมานุรักษ์  เจ้าเมืองให้ขึ้นต่อเมืองสังฆะ

                ส่วนทางฝ่ายเมืองสุรินทร์  พระยาสุรินทร์ฯ  เห็นว่า  พระยาสังฆะ  ได้ขอบ้านกุดไผทเป็นเมืองศรีขรภูมิแล้ว  ก็เกรงว่าพระยาสังฆะจะขอบ้านลำดวนเป็นเขตแขวงด้วย  จึงมีใบบอก  ทูลขอตั้งบ้านลำดวนขึ้นเป็นเมือง  โดยให้พระไชยณรงค์ภักดี ( นาก )  ปลัดเมืองสุรินทร์  เป็นเจ้าเมือง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ทรงโปรดเกล้าฯ  ตามขอ  โดยให้ยกบ้านลำดวน  ขึ้นเป็นเมือง  ชื่อเมือง  สุรพินทนิคม                ให้พระณรงค์ภักดี ปลัด (นาก )  เป็นพระสุรพินทนิคมมานุรักษ์  เจ้าเมืองสุรพินทนิคม  โดยให้ขึ้นต่อเมืองสุรินทร์ 

                ปี  ..  ๒๔๑๕  ได้โปรดเกล้าฯ  ให้มีท้องตราถึงบรรดาหัวเมืองตะวันออกว่า  ได้ยกเลิกการตั้งค่าทำเนียม   กองสักเลขตามหัวเมือง  และทรงอนุญาตให้ราษฏร์ในหัวเมืองต่างๆไปอยู่ตามหัวเมืองใดๆได้ตามความสมัครใจ  เพียงแต่ให้เจ้าเมืองจัดทำสำมะโนครัวตัวเลขราษฏรที่สมัครใจไปอยู่เมืองอื่นส่งกรุงเทพฯ

                ในปีเดียวกันนี้  พระแก้วมนตรี ( ท้าวอ้น )  ถึงแก่กรรม  จึงโปรดเกล้าตั้ง  หลวงรักษมนตรี          (ท้าวบุญเรือง )  บุตรพระภักดีภูธรสงคราม ( ท้าวศรีเมือง )  เป็นพระแก้วมนตรียกบัตรเมืองขุขันธ์ 

                ฝ่ายเมืองสังฆะ  เจ้าเมืองสังฆะ  ได้มีใบบอกขอตั้ง  บ้านลำพุก  ขึ้นเป็นเมืองกันทรารมย์  และ   ขอให้พระมหาดไทยเป็นพระกันทรานุรักษ์  เจ้าเมืองกันทรารมย์  พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตามขอโดยให้เมืองกันทรารมย์ขึ้นต่อเมืองสังฆะ

                ปี  ..  ๒๔๑๗  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าววัง )  เจ้าเมืองขุขันธ์  มีใบบอกกราบบังคมทูลขอให้พระวิเศษสัจจา  ยกบัตรเมืองขุขันธ์  เป็นเจ้าเมืองกันทรลักษ์ เนื่องจากพระกันทรลักษ์-

อาบาล  ( พิมพ์ )  ถึงแก่อนิจกรรม    และขอให้พระแก้วมนตรี (บุญจันทร์)     เป็นยกบัตรเมืองขุขันธ์ 

                  ปี  ..๒๔๑๘  เมืองหนองคายเกิดกบฎโดยกลุ่ม  ฮ่อ  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มหาอำมาตย์เป็นแม่ทัพคุมกองทัพจากนครราชสีมา  กองทัพจากมณฑลอุดร  และมณฑลอีสาน  ซึ่งเมืองขุขันธ์  เมืองเดชอุดม   และเมืองศรีสะเกษ    ได้นำไพร่พลร่วมกับเมืองอื่น ๆ  ในมณฑลอีสานด้วย  ทำให้ปราบกบฎฮ่อที่หนองคายครั้งนี้  โดยการนำของแม่ทัพมหาอำมาตย์สามารถตีกลุ่มกบฎฮ่อแตกพ่ายยับเยิน  ที่เหลือก็ถูกจับเป็นเชลยทั้งหมด 

                ปี ๒๔๑๙  เกิดเหตุการณ์ จากที่นักองค์วรรตถา  พระอนุชาสมเด็จพระนโรดม  เจ้ากรุงกัมพูชา  ได้หนีจากกรุงเทพฯ  กลับไปยังกรุงกัมพูชา  เพื่อไปแย่งชิงสมบัติ  ได้หลบหนีไปที่บ้านลำจาก  แขวงเมืองมโนไพร  พระยาเจริญราชไมตรี  ได้กล่าวหา  พระมโนมัยจำนง        ( พรหม )  เจ้าเมืองมโนไพร  ได้ส่งเสบียงอาหารให้นักองค์วรรตถา  จึงได้ส่งตัวเข้ากรุงเทพฯ  เพื่อพิจารณาและได้ข้อเท็จจริงดังถูกกล่าวหา  จึงได้ลงโทษโบย    ยก  ๓๐  ที  และจำตรวน    เดือน  แล้วโปรดเกล้าฯ  ให้ทรงบรรดาศักดิ์เดิม  และ   ให้กลับไปเป็นเจ้าเมืองตามเดิม 

                ปี  ..  ๒๔๒๔  พระเจริญรัตนสมบัติ ( บุญจันทร์ )  นายกองนอกเมืองขุขันธ์  เกิดกรณีวิวาทขัดแย้งกับ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าววัง )  เจ้าเมืองขุขันธ์  จึงได้พาสำมะโนครัว  ตัวเลขรวม  4611  คน สมัครใจไปขึ้นกับเมืองจำปาศักดิ์    จึงโปรดเกล้าฯ  ให้เมืองขุขันธ์  เมืองจำปาศักดิ์    หักโอนกันตามธรรมเนียม  ซึ่งขณะนั้นเมืองจำปาศักดิ์ยังเป็นเมืองประเทศราชขึ้นต่อกรุงเทพมหานคร

                ในปีเดียวกันนี้  ฝ่ายเมืองศรีสะเกษ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งให้พระพรหมภักดี (โท )  ยกกระบัตรเมือง เป็น พระยาวิเศษภักดีเจ้าเมืองศรีสะเกษ ถือศักดินา ๓,๐๐๐ ให้ท้าวเหง้าบุตรพระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) เป็น พระภักดีโยธาปลัดเมืองศรีสะเกษ  ถือศักดินา  ๖๐๐ ให้ราชวงศ์ (ปัญญา)บุตรหลวงไชย(สุก)เป็น พระพรหมภักดียกบัตรเมืองศรีสะเกษ ถือศักดินา ๕๐๐ และท้าววิเศษ บุตรพระยาวิเศษภักดี(โท)  เป็นผู้ช่วยราชการเมือง   และในปีเดียวกันนี้ เจ้าเมืองศรีสะเกษ ได้ขอตั้งบ้านโดนหินกอง อยู่ในเขตเมืองสุวรรณภูมิ  เป็น มืองราษีไศลจึงทรงพระกรุณาให้ตั้งได้ตามที่ขอและโปรดเกล้าฯให้พระพล (จันทร์ศรี) บุตรหลวงอภัย เป็น พระผจญปัจนึกเป็นเจ้าเมือง ให้หลวงแสง(จันทร์)น้องชายพระผจญปัจนึก เป็น หลวงหาญศึกนาศ  เป็นปลัดเมือง ให้ท้าวคำเม๊ก บุตรพระผจญปัจนึก เป็น หลวงพิฆาตไพรีเป็นยกบัตรเมืองราษีไศล  ขึ้นกับเมืองศรีสะเกษ

                ปี  ..  ๒๔๒๕  ฝ่ายเมืองสุรินทร์  ได้มีผู้คนได้พร้อมใจกันสมัครใจอพยพครอบครัวเป็นจำนวนมาก  โดยอพยพข้ามไปตั้งบ้านเรือนอยู่ฟากลำน้ำมูลข้างเหนือ  มีบ้านทัพค่าย  เป็นต้น  เดือดร้อนถึงพระยาสุรินทร์ ฯ  โดยได้มีใบบอกขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมืองและขอพระวิเศษราชา ( ทองอิน )  เป็นเจ้าเมืองปกครอง  ชื่อว่า  เมืองชุมพลบุรี  โดยให้บรรดาศักดิ์  เจ้าเมืองใหม่ว่า  " พระฤทธิรณยุทธ"  แล้วโปรดเกล้าฯ  ให้ท้าวเพชร  เป็นปลัดเมือง  ให้ท้าวกลิ่นเป็นยกบัตรเมือง  ทั้ง 2 คนเป็นพี่ชาย ของพระฤทธิรณยุทธ     ( ทองอิน ) และให้ ท้าวนุด บุตรพระฤทธิรณยุทธ ( ทองอิน ) เป็นผู้ช่วยเมืองชุมพลบุรี  พร้อมกับได้โปรดเกล้าฯตั้ง นายปรางค์ บุตรพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์  ( ม่วง )

 เป็น พระสุรพินทนิคมนุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคมแทนคนเก่า ที่ถึงแก่กรรมที่ตำแหน่งยัง   ว่างอยู่

                ปี พ.. ๒๔๒๖  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน  ( ท้าววัง ) หรือ พระวิชัย เจ้าเมืองขุขันธ์ คนที่ ๘ ได้ถึงแก่อนิจกรรม  ท้าวปานหรือท้าวปัญญา บุตรพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าววัง ) เจ้าเมือง

ขุขันธ์ คนที่ ๘ กับพระรัตนวงศา ( จันดี ) ได้นำช้างพังสีประหลาด 1 เชือก  ช้างพังตาดำ ๑ เชือก  ทูลเกล้าถวายต่อสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสยามประเทศ  ด้วยความชอบ  จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวปานหรือท้าวปัญญา  เป็นพระยาขุขันธ์ภักดีศรี-

นครลำดวน  เจ้าเมืองขุขันธ์  ท่านที่  9  สืบต่อมาด้วยอายุเพียง  ๒๖  ปี   ส่วนพระรัตนวงศา  ( จันดี )  ได้รับโปรดเกล้าฯ  ให้เป็นปลัดเมืองขุขันธ์  และในเวลาต่อมาเจ้าเมืองจำปาศักดิ์  ก็ได้ให้พระเจริญรัตนสมบัติ

( บุญจันทร์ )  นายกองนอกกลับมาขึ้นกับเมืองขุขันธ์ตามเดิม  และในปีนี้ พระอุทุมพรเทศานุรักษ์

เจ้าเมืองอุทุมพระพิสัยถึงแก่กรรม  จึงโปรดเกล้าให้ยกบัตร(อัต) เป็น  พระอุมพรเทศานุรักษ์ เจ้าเมืองอุทุมพรพิสัย เมื่อวันพฤหัสบดี  แรม ๒ ค่า เดือน ๑๐ ปีพ..  ๒๔๒๖ และได้พระราชทานถาดหมาก คันโทเงิน ๑ สำรับ สัปทน แพรขลิบแดง ๑ อัน  เสื้อเข้มขาบริ้ว ๑ ผืน  ผ้าขาวห่ม ๑ ผืน ผ้าห่มจีน ๑ ผืน

                ในปีเดียวกันนี้  ได้มีสารตรา โปรดเกล้า ฯ  ไปยังหัวเมืองตะวันออก  ห้ามมิให้จับข่า ( กวย หรือส่วย )  มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนและใช้สอยการงานต่าง ๆ  และส่วนผู้ใดได้ซื้อหามาจากผู้ใดอยู่ก่อน นั้น  ก็ให้อยู่กับผู้นั้นต่อไป  เพราะถ้าจะให้ข้าทาสนั้นหลุดพ้นค่าตัวไปก็จะเป็นเหตุเดือดร้อนแก่มูลนาย   ผู้ซื้อและแลกเปลี่ยนมาก่อนนั้น  ( นโยบายการเลิกทาส ) 

                ปี  ..  ๒๔๒๘  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตัดทางสายโทรเลขตั้งแต่เมืองจำปาศักดิ์  ไปเมือง    ขุขันธ์  และจากเมืองขุขันธ์ถึงเมืองเสียมราช  โดยพระยาอำมาตย์ข้าหลวงเมืองจำปาศักดิ์  ตั้งให้หลวงเสนีย์พิทักษ์  หลวงเทพนเรนทร์  หลวงโจมพินาศ  หลวงนคร   เป็นข้าหลวงไปเกณฑ์ราษฏรเมืองขุขันธ์  เมืองสังฆะบุรี  ไปตัดทางสายโทรเลข    เมืองขุขันธ์  เมืองอุทุมพรพิสัย  และเมืองมโนไพร  โดยให้หลวงพิชัยชาญยุทธ  เป็นข้าหลวงประจำ ณ เมืองมโนไพรด้วย ในขณะเดียวกัน  พระมหาอำมาตย์ได้ให้ข้าหลวงศรีคชรินทร์  หลวงทรบริรักษ์  ยกบัตรเมืองมโนไพร  ไปตรวจราชการอาณาเขตติดต่อกับเมือง กำปงสวาย  ในเขตประเทศเขมร  ในการบำรุงฝรั่งเศส  ได้พบออกญาเสนาราชกุญเชน  และออกญาแสนพรมเทพ  ซึ่งได้อพยพครอบครัวมาอยู่ในพระราชอาณาเขตได้  -  ปีแล้ว  ทั้งสองร้องขอที่จะสมัครใจอยู่ในขอบขันฑ์สีมาจึงได้นำออกญาทั้งสองไปเมืองมโนไพร  ให้ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา  แล้วพระยาอำมาตย์มีตราจุลราชสีห์  แต่งตั้งให้  ออกญาเสนาราชกุเชน  เป็นพระภักดีสยามรัฐ  นายกอง  ให้ออกญาแสนพรหมเทพ  เป็นหลวงสวัสดิ์จุมพล  ปลัดกอง  คุมญาติพี่น้องและบ่าวไพร่  ทำราชการขึ้นกับเมือง

ขุขันธ์  จึงทำให้เมืองขุขันธ์มีกองนอกเพิ่มอีกสองกอง  แต่นั้นมา  ในปีนี้ ทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพ แจ้ง     รัฐบาลไทยว่า  ผู้สำเร็จราชการของฝรั่งเศส เมืองไซง่อน  ประเทศญวณ  ได้จัดทหารยกทัพทำศึกกับทัพองค์วรรตถาและองวรรตถาได้แตกหนีข้ามเขต  ทหารฝรั่งเศสไม่ได้ติดตามเข้ามา  จึงโปรดเกล้าฯให้มีท้อง(สาร)ตราถึงเมืองขุขันธ์ คอยสืบจับองค์วรรตถาโดยแข็งแรง เพื่อมิให้องค์วรรตถาหลบหนีเข้ามา ส้องสุมผู้คนในพระราชอาณาเขต  รัฐบาลฝรั้งเศสแจ้งดั่งนี้ ดูประหนึ่งว่าเจ้าเมือง กรมการเมืองฝ่ายไทย ไม่เอาใจใส่รักาด่านทาง  ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีความบาดหมางต่อทางพระราชไมตรี เมืองขุขันธ์   และเมืองมโนไพร ให้แต่งกรมการออกลาดตระเวรสืบจับนักองค์วรรตถา  แต่ก็ไม่พบตัวแต่ประการใด  สร้างความอึดอัดใจให้แก่พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวปัญญา) เจ้าเมืองขุขันธ์และเจ้าเมืองมโนไพรอย่างมาก เพราะเกรงว่านักองค์วรรตถา  อาจจะหลบหนีเข้ามาซ่องสุมผู้คนภายในพระราชอาณาเขต อาจทำให้ฝรั่งเศสเข้าใจผิดได้ ขณะที่หลวงศรีคชรินทร์และหลวงสุนทรบริรักษ์ ข้าหลวงออกตรวจราชการชายแดนเมืองขุขันธ์และเมืองมโนไพร ที่เป็นชายแดนติดต่อกับเมืองกำปงสวายของเขมร  ได้พบออกญา           เสนราชกุเชนกับออกญาแสนพรหมเทพ  อพยพครอบครัวมาอยู่ที่บ้านจอมกระสาน ในเขตไทยเป็นเวลา ๗-๘ ปีแล้ว ออกญาทั้งสองสมัครใจอยู่ภ่ยใต้อำนาจไทย  จึงได้ออกญาทั้งสองไปถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่เมืองมโนไพร จึงโปรดเกล้าฯให้ออกญาเสนาราชกุเชน เป็น พระภักดีสยามรัฐเป็นนายกองและออกญาเสนาพรหมเทพเป็น  หลวงสวัสดิ์จุมพลเป็นปลัดกอง ควบคุมบ่าวไพร่ทำราชการขึ้นต่อเมืองขุขันธ์

                ปี  ..  ๒๔๓๐   กรมไปรษณีย์โทรเลข  ได้ส่งมิสเตอร์อัสซอนโลแมน  ไปตรวจรักษาสายโทรเลขระหว่างเมืองจำปาศักดิ์  ไปเมืองขุขันธ์  และจากเมืองขุขันธ์ ไปถึงเมืองเสียมราช  ครั้นมาถึงเมืองขุขันธ์  ได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการไข้  และในปีนี้เอง  มีตราสารโปรดเกล้าฯ  ไปยังหัวเมืองตะวันออกว่า  บรรดา  ที่ดินที่คนมีตั้งบ้านเรือนไร่สวนอยู่นั้น จะถือเป็นสิทธิมิได้ เพราะมิได้แจ้งต่อกงสุล   ให้ขออนุญาตจากรัฐบาลสยามให้ตกลงตามหนังสือสัญญา และให้เมืองทั้งปวงทำบัญชีที่ดินคนของคนเหล่านั้นว่าได้มาอย่างไร ส่งกรุงเทพมหานคร

                ปี  ..  ๒๔๓๐  เช่นเดียวกัน รัฐบาลฝรั่งเศสได้แจ้งต่อรัฐบาลสยามว่า  มองซิเออร์มาเรียน่า ซึ่งตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินชิต้า ได้หนีมาจากปารีสมายังเมืองอาชิต้า ( บริเวณฝั่งโขงตะวันออก )  กับคนยุโรป    คน  มีปืน    ๔๘  หีบ  ขอให้รัฐบาลสยามช่วยสืบจับและรัฐบาลอังกฤษก็แจ้งว่า  เจ้าแมงกูรบุตรพระเจ้าแผ่นดินดงมิน  เจ้าแผ่นดินพม่าคนเก่า  ซึ่งอังกฤษได้นำตัวไปคุมขังไว้ที่ประเทศอินเดีย    ได้หนีมาทางเมืองไซ่ง่อน  รัฐบาลอังกฤษเกรงว่าจะหนีเข้ามาในเขตราชอาณาจักรสยามทางหัวเมืองตะวันออก  จึงให้รัฐบาลบสยามช่วยจับจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้มีสารตราส่งไปยังหัวเมืองตะวันออก  ให้ช่วยจับบุคคลทั้งสอง  ตามความประสงค์ของรัฐบาลฝรั่งเศสและรัฐบาลอังกฤษตามทางพระราชไมตรีโดย     แข็งขันแต่ก็หาได้มีบุคคลทั้งสองเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามไม่     

                ปี พ.. ๒๔๓๐   ฝ่ายเมืองศรีสะเกษ ท้าวนาคทำหนังสือเบิกล่องเดินทางให้แก่นายร้อยคำยี่ คำอ่อน เชียงน้อย ตองซู่   ซึ่งคุมโคกระบือ ไม่มีพิมพ์รูปพรรณไปจำหน่ายผิดพระราชบัญญัติ  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ลูกขุน    ศาลาปรึกษาโทษ ท้าวนาค ตัดสินทวน   ๕๐  จำคุก    ปี  และให้ปรับพระยา-วิเศษภักดี ( โท )  เจ้าเมืองศรีสะเกษ  ซึ่งให้การอ้างว่า มีตราพระราชสีห์ อนุญาตว่า  ถ้าราษฎร จะทำการซื้อขายโค  กระบือ ก็ให้เจ้าเมืองทำเบิกล่องเดินทางใด้   ให้ตรวจตำหนิรูปพรรณลงในใบเบิกล่องก็ได้  โดยไม่จริงนั้นเป็นเบี้ยละเมิดจัตุรคูณเป็นเงิน  ๕ ชั่ง ๖ ตำลึง ถึง ๓ สลึง  ๖๐๐ เบี้ย

                ปี พ.. ๒๔๓๑  หลวงเสนีย์พิทักษ์  ข้าหลวงกำกับราชการ เมืองขุขันธ์ คนแรก    ( .. ๒๔๒๘ )     ถึงแก่กรรมในขณะที่เดินทางไปตรวจราชการที่เมืองอุทุมพรพิสัย    พระมหาอำมาตยาธิบดี ( หรุ่น ) ข้าหลวงใหญ่  ได้จัดให้หลวงนครบุรี ปฏิบัติข้าราชการเป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองขุขันธ์แทน ต่อไป 

                ในปี เดียวกันนี้ เจ้าเมือง สุวรรณภูมิ  ได้กล่าวโทษ เจ้าเมืองมหาสารคาม   เมืองสุรินทร์ และเมืองศรีสะเกษ ในข้อกล่าวหาว่า  ทั้ง  ๓ เมืองได้แย่งชิงดินแดน ของเมืองสุวรรณภูมิ ไปตั้งเป็นเมืองขึ้นโดยเมืองมหาสารคาม ได้เอาบ้านนาเลง  ขอตั้งเป็นเมืองวาปีปทุม  เมืองสุรินทร์ ขอเอาบ้านทับค่ายขอตั้งเป็นเมืองชุมพลบุรี และเมืองศรีสะเกษ ขอเอาบ้านโนนหินกอง ขอตั้งเป็นเมืองราษีไศล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงเมืองจำปาศักดิ์และข้าหลวงประจำเมืองอุบลราชธานี  ได้ร่วมกัน สอบสวนหาข้อเท็จจริง ผลการสอบสวน ได้ความดังข้อกล่าวหาจริง  แต่เนื่องจากทั้งสามเมืองได้ทำการก่อสร้างเมืองจนเสร็จเรียบร้อย แล้วซึ่งยากต่อการที่รื้อถอน  จึงโปรดเกล้าฯให้ คงไว้เป็นเมืองต่อไป ทำให้เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ต้องรับใส่เกล้าฯตามที่ทรงโปรดฯ

                ปี พ.. ๒๔๓๒  พระยามหาอำมาตย์ ( หรุ่น )ข้าหลวงใหญ่  เมืองจำปาศักดิ์  ซึ่งมีอำนาจเต็ม ในภาคอีสานทั้งหมด  ได้แต่งตั้งใบประทวนให้  นายเยียบ เป็นพระยาสุรินทร์ภักดีไผทสมันต์ รักษาราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ ต่อไป แต่อยู่ได้เพียง  2 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรมทำให้ พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ( ม่วง ) ต้องกลับจากช่วยราชการที่อุบลฯ  มาเป็นเจ้าเมืองอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ต้องมาถึงแก่อนิจกรรมในปี เดียวกัน

                ปี พ..  ๒๔๓๓   โปรดเกล้าฯ ให้พระรัตนวงศา ( จันดี )  ปลัดเมืองขุขันธ์ ได้รับบรรดาศักดิ์

ในราชทินนามใหม่  เป็น พระยาบำรุงบุระประจันต์ ปฏิบัติหน้าที่ เป็นข้าหลวงกำกับราชการ เมืองขุขันธ์ และให้ท้าวทองคำ  กรมการเมืองขุขันธ์ เป็นปลัดเมือง ขุขันธ์แทน ต่อมาเมื่อได้ปราบเสือยงได้แล้ว ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระพิไชยสุนทรสงครามปลัดเมืองขุขันธ์ ในปี พ.. 2437  ส่วนพระยาขุขันธ์ภักดี

ศรีนครลำดวน ( ปัญญา ) ก็ยังคงเป็นเจ้าเมือง ขุขันธ์ เช่นเดิม

                  ปี พ..  ๒๔๓๓  ในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 นี้เองเป็นระยะเริ่มจะปฏิรูป การปกครองและเริ่มปรับปรุงการปกครองแผ่นดิน  เพื่อให้หัวเมือง ได้จัดการปกครองแผ่นดิน  อย่างมีระบบสอดคล้องกัน ที่จะนำไปสู่ความมั่นคง ของราชอาณาจักรสยามและเพื่อขยายการปกครองจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาค  อย่างมีระบบจึงได้ โปรดเกล้าฯให้รวมหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา เข้าด้วยกัน   ในเขตภาคอีสานแบ่งออกเป็น 

  กอง  มีข้าหลวงกำกับราชการกองละ ๑  คน  มีข้าหลวงใหญ่ปกครองต่สงพระเนตรพระกรรณ อีก ๑   คน     คือ พระยามหาอำมาตยาธิบดี  ( หรุ่น   ศรีเพ็ญ )  ประจำอยู่เมืองจำปาศักดิ์  มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองทั้ง    ตามควรแก่ราชการและโปรดเกล้าพระราชทานตราประจำชาติสำหรับข้าหลวงทั้ง ๔ กอง เป็นรูปอาร์มแผ่นดิน  ใช้ประทับหนังสือราชการเป็นสำคัญด้วย    เมืองที่รวมเข้าเรียกว่า  "หัวเมือง"  เรียกข้าหลวงประจำกองว่า  ข้าหลวงหัวเมือง………โดยได้รับแต่งตั้งข้าราชการจากส่วนกลางเป็นข้าหลวงกำกับราชการ  คือ 

.   หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกตั้งที่ทำการข้าหลวงกำกับราชการที่เมืองจำปาศักดิ์  มีเมืองในสังกัดที่เป็นเมืองเอก  ๑๑  เมือง  คือ เมืองจำปาศักดิ์  เมืองเซียงแตง  เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร  เมืองอัตปือ  เมืองสาละวัน  เมืองคำทองใหญ่  เมืองสุรินทร์  เมืองสังขะ  เมืองเดชอุดมและเมืองขุขันธ์  นอกจากนี้ยังมีเมืองขึ้นที่แบ่งเป็นเมืองโท  เมืองตรี  และเมืองจัตวา  อีก  26  เมือง  รวมเป็น  ๓๗  เมือง  โดยมีพระวิษณุเทพ (ช่อง )  เป็นข้าหลวง  ( เมืองขุขันธ์   มี  พระยา     ขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน  ปัญญา  ขุขันธิน   เป็นเจ้าเมือง )

 

หมายเลขบันทึก: 290476เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท