ขอคิดด้วยคน เรื่อง R2R


ผมชอบโครงการ Patho Otop ครับ เพียงแต่เพิ่มกระบวนการปรึกษาทีมงาน support เข้าไปอีกสักนิด และขยายระยะเวลาออกไปเป็นโครงการ 1 ปี มีการประกวดโครงการกันเหมือนเดิม เราก็จะได้ Patho Otop 3 จากงานประจำสู่งานวิจัย กัน

     ดีใจจัง ที่การวางพื้นฐานเพื่องานวิจัยระยะยาวของภาคพยาธิเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น จากการขับเคลื่อนโดยตรงของอาจารย์พรพรต หัวเรือใหญ่ด้านงานวิจัย

    ผมอ่านบันทึกนี้ของอาจารย์ปารมี แล้วมีความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ

  •  ผมไม่อยากให้เรามองเรื่อง R2R แยกออกจาก Patho Otop ผมคิดว่ากระบวนการทำ Patho Otop เป็นที่คุ้นเคยกันในภาควิชาอยู่แล้ว และเน้นคนหน้างานเป็นหลัก ซึ่งงานด้าน R2R ก็น่าจะมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเดียวกัน คือ คนหน้างาน และกระบวนการทำ Patho Otop ก็สามารถปรับมาใช้ในการทำ R2R ได้ดีอยู่แล้ว
  • ปัญหาเรื่องโจทย์วิจัย ให้แต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มไปคิดกันเองภายในกลุ่ม โดยดูจากปัญหาของงานประจำที่เจอกันอยู่แล้วเป็นหลัก หรือจะเกิดจากการวิเคราะห์สายธารกระบวนงาน (Flow Chart) ใหม่ เพื่อหาดูว่าขั้นตอนการทำงานไหน ยังเป็นปัญหาอยู่ แล้วนำมาปรับแก้ไข ด้วยกระบวนการวิจัย
  • จากการที่ได้คุยกับหลายคน พบว่าปัญหาใหญ่ น่าจะไม่ใช่โจทย์วิจัยครับ แต่เป็นการมองภาพไม่ออกว่าจะต้องทำอย่างไร เจ้ากระบวนการวิจัยมันคืออะไร ต้องทำอย่างไรกับมันบ้าง ต้องเก็บข้อมูลอย่างไร วิเคราะห์ข้อมูลแบบไหน ซึ่งก็น่าจะเป็นปัญหาเดียวกับที่เราทำ Patho Otop ครั้งแรก เพียงแต่อาจมีประเด็นปัญหาลึกกว่าการทำ Patho Otop ซึ่งถ้าเราสามารถละลายความรู้สึกไม่คุ้นชินออกไปได้ แล้วใช้วิธีการเช่นเดียวกับ Patho Otop คือค่อยๆทำ ค่อยๆเรียนรู้ไป ก็น่าจะแก้ไขปัญหานี้ได้ครับ
  • ทีมงาน Support ด้านงานวิจัย น่าจะเข้ามามีบทบาทช่วยเหลืออย่างชัดเจน (อาจใช้ระบบพี่เลี้ยงเหมือนใน patho otop) เมื่อแต่ละกลุ่ม/คน แยกกันไปหาเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ก็ให้มีขั้นตอนการปรึกษาพี่เลี้ยงหรือทีมงาน support ใจผมอยากให้เป็นทีมงาน support มากกว่า แต่พี่เลี้ยงกลุ่มก็ยังให้มีเหมือนเดิม เพียงแต่เพิ่มขึ้นตอนการเอาโครงการนี้มาปรึกษาทีมงาน support เพื่อวางแผนงานด้านการออกแบบการทดลอง ว่าโจทย์วิจัยเป็นแบบนี้ แล้วจะต้องทำการทดลองแบบไหน เก็บข้อมูลอะไรบ้าง วิเคราะห์ข้อมูลแบบไหน นำเสนอข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อให้แต่ละกลุ่ม/คน มองเห็นภาพชัดเจนว่าเจ้า R2R ที่กำลังจะทำ ต้องทำกันอย่างไร scope ของงานแค่ไหน กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มไหน ฯลฯ เมื่อภาพการทำโครงงานชัดเจนขึ้น ผมคิดว่าโอกาสที่เขาจะประสบความสำเร็จในการทำ R2R ก็น่าจะมากขึ้น
  • การเขียนผลงานวิจัย แม้จะเป็นปัญหา แต่ระบบพี่เลี้ยงโครงการ น่าจะช่วยได้ผลพอสมควร
  • การประกวดโครงการเช่นเดียวกับ Patho Otop น่าจะทำให้โครงการนี้ คึกคักขึ้น อย่างน้อยก็เป็นแรงขับเคลื่อนให้เคลื่อนที่ไปได้เร็วขึ้น รางวัลไม่ใช่เป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนครับ เพียงแต่เมื่อมีการแข่งขันกัน ความรู้สึกกระตือรือร้นก็จะมีมากขึ้นครับ

 

     โดยสรุป ผมชอบโครงการ Patho Otop ครับ เพียงแต่เพิ่มกระบวนการปรึกษาทีมงาน support เข้าไปอีกสักนิด และขยายระยะเวลาออกไปเป็นโครงการ 1 ปี มีการประกวดโครงการกันเหมือนเดิม เราก็จะได้ Patho Otop 3 จากงานประจำสู่งานวิจัย กัน

 

หมายเลขบันทึก: 51379เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2006 07:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีคะ..คุณ Mitochondria...

ตามรอยมาจากบันทึก อ.หมอปารมีคะ...Idea บรรเจิดมาก...เนียนเข้าไปอย่างให้เกิดรอยต่อของแต่ละงาน...น้อยที่สุด มองอย่างเป็นธรรมชาติหากแต่เป็นธรรมชาติที่มีเมล็ดพันธุ์ที่งอกเงยอย่างงดงามและดูใกล้จุดสมดุล...มากที่สุด...

กะปุ๋มมองว่า (คห.ส่วนตัวนะคะ)...บุคลากรแห่ง patho มอ.ล้วนแล้วแต่คุณภาพทั้งนั้นเลยนะคะ...

*^__^*

กะปุ๋ม

ขอบคุณครับ คุณกะปุ๋ม

  • คนที่พยาธิ มอ active ก็เพราะ หัวหน้าทีม active
  • คนที่พยาธิ มอ สนใจคุณภาพ ก็เพราะ หัวหน้าทีม สนใจคุณภาพ
  • คนที่พยาธิ มอ ขยัน ก็เพราะหัวหน้าทีม ขยัน
  • คนที่พยาธิมอ ...... ก็เพราะหัวหน้าทีม .....

ก็อาจารย์ปารมี ได้ใจคนพยาธิไปแล้วไงครับ ดังนั้น การทำอะไร ก็เป็นเรื่องที่คุยกันได้แล้ว.....ซึ่งคุณกะปุ๋มคงรับรู้ได้จากข้อเขียนระหว่างบันทัดของบันทึกต่างๆ ของชาวพยาธิ ที่มีต่อคุณเอื้อท่านนี้

ข้อเสนอแนะของคุณไมโตฯ ที่ว่ามาตรงกันเลยค่ะ  วางกรอบไว้แล้ว จะส่งให้ทาง mail

คห.ของคุณไมโตฯ ที่ตอบคุณกะปุ๋ม ทำเอาลอยเลยค่ะ  ยังมีอีกมากที่ต้องพัฒนา

 

ขอหนับหนุน คห.ของคุณ Mitochondria ค่ะ จำได้ว่าช่วงเปลี่ยนผ่านหัวหน้าภาค จากคนก่อนมาเป็น อ.ปารมี ตอนนั้นบรรยากาศการเลือก หน.ภาคคนใหม่คึกคักพอสมควร ตัวเองไปพูดเชียร์อาจารย์กับน้องไว้กลุ่มหนึ่ง พอกลับมา ต้องมาคิดต่อว่าเอ๊ะเราพูดผิดที่หรือเปล่า รู้สึกไม่ดีเลย แต่หลังจากที่เวลาผ่านไปประมาณสัก 4-5 เดือน น้องคนเดิม ก็บอกว่าพี่อุเชียร์คนไม่ผิดเลย และตอนนี้น้องคนนั้นก็เป็นดาวเด่นของ Patho Otop ไปแล้วค่ะ

 

  • ตามมาขอบคุณครับ
  • ที่มอ.มีท่านอาจารย์ปารมีที่เก่งแบบที่Ka-poomบอกจริงๆ
  • ตามเก็บเกี่ยวเรื่อง R2R มาจนพบ Patho Otop3
  • ขอบคุณหลาย ๆ เด้อ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท