กำเนิดมนุษย์...(5)


คัดจากน้ำที่ไร้ค่า

وَبَدَأَ خَلْقَ الإِنسَانِ مِن طِينٍ ، ثُمَّ جَعَلَ نَسْلَهُ مِن سُلاَلَةٍ مِّن مَّاء مَّهِينٍ (السجدة : 7-8 )

                ความว่า :และพระองค์(อัลลอฮฺ)ทรงเริ่มการสร้างมนุษย์จากดิน แล้วทรงให้การสืบตระกูลของมนุษย์ จากสิ่งที่คัดจากน้ำ(อสุจิ)อันไร้ค่า (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-สุจญะดะฮฺ 32/7-8)

คำว่า سُلاَلَةٍ หมายถึง สิ่งที่ถูกเลือกจากน้ำ และคำว่า مَّاء مَّهِينٍ   หมายถึงน้ำที่อ่อนแอ[i] ไม่สามารถที่ทำร้ายหรือให้โทษแก่ใครได้[ii] อิบนุ ฮาญะรฺ อัล-อัลอัสกอลานีได้กล่าวว่า سُلاَلَةٍ หมายถึง สิ่งหนึ่งที่ถูกนำออกจากอีกสิ่งหนึ่ง[iii]

อาดัมเป็นบรรพบุรุษคนแรกของมนุษย์ที่อัลลอฮฺได้สร้างขึ้นจากดิน ตามที่กล่าวมาในตอนต้น ในการแพร่ขยายมนุษย์ให้สืบสกุลรุ่นแล้วรุ่นเล่า จนถึงทุกวันนี้ อัลลอฮฺได้กำหนดกระบวนการสืบสกุลของมนุษย์จากน้ำที่ไร้ค่า หรือเรารู้จักกันดีคือน้ำอสุจิที่เต็มไปด้วยตัวอสุจินับล้านๆตัว และในการจะก่อกำเนิดเป็นมนุษย์นั้นมีอสุจิตัวเดียว(หรือหลายตัวในกรณีเป็นแฝดเทียม) เป็นตัวที่แข็งแรงที่สุด สามารถวิ่งได้ไกลและเร็วผ่านมดลูกและท่อนำไข่ เพื่อไปปฏิสนธิกับไข่ที่ตกจากรังไข โดยการใช้หัวเจาะเข้าไปไข่ และไข่ก็จะสร้างสารมาเคลือบรอบๆเพื่อป้องกันไม่ให้อสุจิตัวอื่นๆเจาะเข้าไปได้อีก ไข่ใบเดียว อสุจิตัวเดียว และมีการป้องกันไม่ให้ตัวอื่นเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยในการกำหนิดมนุษย์นี้ ในอัลกุรอานเรียกว่า سُلاَلَة(สุลาละฮฺ) ซึ่งสามารถแปลได้ว่า สิ่งที่ถูกคัดสรรมาจากน้ำอสุจินั้นเอง

 

ภาพขยายของเซลล์อสุจิ และภาพจำลองที่ให้เห็นลักษณะที่ประกอบด้วยส่วนหัวและหาง
สามารถแหวกว่ายในน้ำได้คลายกับปลา และคำว่า
سُلاَلَة   บางครั้งหมายถึงปลาตัวยาว[iv]

เซลล์อสุจิจะวิ่งผ่านสารที่เป็นกรดอ่อนๆที่คอยสกัดกั้นตัวที่อ่อนแอในบริเวณช่องคลอดและมดลูก
 คงไว้ตัวที่แข็งแรงที่ถูกคัดสรรแล้ววิ่งไปปฏิสนธิกับไข่บริเวณปีกมดลูก

 

ในแต่ละครั้งเซลล์สุจิจะถูกปล่อยออกมานับร้อยๆล้านตัว แต่จะมีตัวที่แข็งแรงไม่กี่ร้อยตัวที่สามารถวิ่งผ่านอุปสรรคจนถึงเซลล์ไข่บริเวณมดลูกได้ และจะมีเพียงตัวเดียวที่ที่สามารถผ่านเข้าไปผสมกับไข่
เฉพาะส่วนหัวของตัวเซลล์อสุจิจะผ่านผนังเซลล์ไข่เข้าไปในไข่ โดยสลัดหางไว้ภายนอก
เยื้อหุ้มเซลล์ไข่จะเปลี่ยนแปลงโดยไม่ให้เซลล์อสุจิตัวอื่นเจาะเข้าไปในไข่ได้อีก
ดังนั้นในไข่
1 ใบ จะมีอสุจิ(ทีถูกเลือก)เพียงตัวเดียวเท่านั้นเข้าไปผสมกับไข่ และพัฒนาเป็นทารกต่อไป



[i]تفسير الطبري، ج10 ص234

[ii]تفسير القرطبي، ج14 ص83

[iii]فتح الباري ، ابن حجر العسقلاني ، ج8 ص446

[iv]القاموس المحيط 3/407 , تاج العروس ج7/277-278

หมายเลขบันทึก: 68302เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2006 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท