แหลงใต้วันละคำ (6) : แหลง ของแหลง


ภาษาใต้วันละคำสองคำ วันนี้ นำเสนอ คำว่า แหลง และ ของแหลง

สวัสดีครับทุกท่าน

              ภาษาใต้วันละคำสองคำ วันนี้ นำเสนอ คำว่า แหลง และ ของแหลง

  1. แหลง แปลว่าพูด คุย สนทนา กันะระหว่างบุคคลต่อกัน

  2. แหลง แปลว่า ของแสลง หรือว่า ของแหลง

  3. ....... เชิญคุณบรรเลง  คำอื่นๆ ในหมวดนี้ครับ

ประโยคตัวอย่าง เช่น

  • แหลงไม่โร้ควังจริงนู้ ว่าอย่ากินเรียน หมั้นแหลงร้อนใน (พูดไม่เข้าใจจริงๆ ว่าอย่ากินทุเรียนเข้าไป เพราะมันจะแสลงร้อนใน)

  • พี่มาอยูกรุงเทพ นานยัง ยังพอแหลงใต้ อยู่มั้งหม้าย (พี่มาอยู่กรุงเทพ นานหรือยัง ยังคุยภาษาใต้ อยู่ได้หรือเปล่า)

  • ........เชิญคุณบรรเลง ตัวอย่างต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

สำหรับที่มาของคำว่า แหลง ในความหมายว่า พูด คุย สนทนา นั้น

มีใครท่านใดทราบที่มาไหมครับ ว่าทำไมต้องใช้คำนี้

 ขอให้ทุกท่านมีความสุขสมหวังดังตั้งใจ ตลอดไปครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 90478เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2007 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

มาดูคนแหลงใต้  ฮ่า ๆ เปลี่ยนรูปอีกแล้ว  แหลงไม่ออกเลย ขำ ก๊าก ๆๆๆๆ เดี๋ยวเข้ามาอีกรอบ

P

สวัสดีครับคุณราณี

  • ดีจังครับ ที่ทำให้คนหัวเราะได้ครับผม
  • แหลงไม่ออกเพราะว่าเจอของแท้ใช่ไหมครับ
  • ฮ่าๆๆๆ ก้ากกกกกกๆๆๆๆ
P

สวัสดีครับพี่สาว

  • ถ่ายเมื่อวานครับ จะได้ดำๆ บ้านๆ หน่อยครับ
  • ขอบคุณมากครับ
ฝากพี่ช่วยไปบอก อ.ลูกหว้า ด้วยนะครับ ว่า แตกเลือด แปลว่าอะไร อิอิ

 พี่เม้ง แหลงใต้ ผมก็จะ อู้เมียง ครับ

 เช่น  แหลงใต้ได้ม๊าย  ก็น่าจะตรงกับ  อู้เมียงได้ก่อ อิอิ

P

สวัสดีครับเตบ

  • แตกเลือดหรือครับ  โหคำนี้ศัพท์สูงเกินไปครับ
  • แตกเลือด เดาว่าน่าจะมาจาก การที่อาหารได้ย่อยแล้วเข้าสู่ลำไส้แล้วมีการแตกตัวเป็นโมเลกุลย่อยๆ แล้วลำเลียงเข้าสู่เส้นเลือดครับ เลยเป็นที่มาของคำว่า แตกเลือด นั่นคือ กระบวนการของการกินนั่นเอง ห้าๆ (มั่วเอาครับ อิๆ)
  • แต่คำนี้ ปกติค่อนข้างแรงครับ ใช้กันในระดับชาวบ้านที่เป็นกันเองสูงครับ
  • ไม่ทราบว่าท่านอื่นว่าไงครับ
P

สวัสดีครับน้องเดอ

  • ตอนนี้พี่ก็ยังสงสัยที่มาคำว่า แหลง เหมือนกันครับ
  • ก็เลยมีคำสงสัยต่อครับ ว่า อู้เมือง นี่มีที่มาอย่างไรครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับผม

คำว่า แตกเลือด

  • บางที่ถือว่าหยาบหน่อย ใช้กับพวกที่สนิทกันมากๆ
  • แต่บางที่ก็ใช้กันเป็นปกติครับ

แตกเลือด ถ้าเทียบกับภาษากลาง คงเป็น สวาปาม อะไรทำนองนี้ (แดก นี่ไม่รู้กลางหรืออีสาน แต่ใช้กันทั่วประเทศแล้ว)

กล่าวถึงคำว่า "แหลง" ใช้กันทั่วภาคใต้ แต่ที่สะกอมบ้านผม(ซึ่งชาวมุสลิม พุทธ จีนอยู่กันอย่างสมานฉันท์มากๆ) จะใช้ว่า "แถลง"เหมือนศัพท์ในวังเลย  แล้วยังมีคำอื่นๆอีก ที่ต่างจากภาษาใต้โดยทั่วไป (คนทั่วไปฟังไม่ค่อยรู้เรื่องทั้งคำศัพท์ที่ใช้และสำเนียง คล้ายเสียงแหลงของตัว"สะหม้อ"ใน"หนังโบง,หนังโมง,หนังลุง,หนังตะลุง) ผมจะสร้างบล็อคเสนอภาษาสะกอมอีกบล็อก รอเข้าไปเยี่ยมชมได้ครับ แล้วจะรู้ศัพท์ใหมอีกมากครับ 

P

สวัสดีครับ อาจารย์

  • ยอดไปเลยครับ สร้างเลยครับ แล้วผมจะไปเพิ่มเข้ามาสู่ แพลนเนท ลานคำใต้ ด้วยครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ รบกวนแจ้งผมด้วยนะครับ เมื่อสร้างเสร็จครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับผม มีถิ่นใดอีกสร้างไว้ได้เลยครับ จะมีประโยชน์เวลาลงไปคุยกับชาวบ้าน คงได้แลกเปลี่ยนบ้างครับผม
  • จริงๆ แล้วคำว่า แหลง น่าจะมาจากคำว่า แถลงนั่นหล่ะครับ แต่ตัดให้เหลือสั้นตามฉบับย่อครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ

 สวัสดีครับ คุณเม้ง

ผมสร้างบ้าน เอ๊ย.. บล็อคเสร็จแล้วนะครับ เชิญแวะทานน้ำชาได้ครับ ตามที่อยู่ครับ 

http://gotoknow.org/blog/sakom-language/90644

P

สวัสดีครับอาจารย์

  • เดี๋ยวเข้าไปชมเลยครับ ขอจิบน้ำชา ชาวสะกอมซักหน่อย ไม่ได้แวะลงตรงนั้นนานแล้วครับ
  • ขอบคุณมากครับผม จะเพิ่มเข้าในแพลนเนทด้วยนะครับผม สะดวกในการเข้าไปอ่านครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท