ป้องกันอ้วนลงพุง+กลุ่มอาการ metabolic (3)


ต่อจากตอนที่ 2

(ต่อจากตอนที่ 2)

การออกกำลังแรงปานกลางขึ้นไป เช่น การเดินคราวละ 30-45 นาที ฯลฯ ให้ได้เกือบทุกวัน(หรือทุกวัน)มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วนลงพุง และกลุ่มอาการเมทาโบลิคได้

ส่วนท่านที่มีโรคอ้วนลงพุง หรือกลุ่มอาการเมทาโบลิคแล้ว... ควรออกกำลังมากเป็น 2 เท่า เทียบเท่าการเดินเร็ววันละ 60-90 นาทีจึงจะได้ผลดี

การลดความอ้วนช่วยได้อย่างไร...                               

กลุ่มอาการเมทาโบลิคพบน้อยมากในคนที่น้ำหนักตัวปกติ คิดจากค่าดัชนีมวลกาย (body mass index / BMI) ซึ่งใช้น้ำหนักเป็นกิโลกรัมมาตั้ง หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง

ค่าปกติในฝรั่งหรือชาวตะวันตกไม่ควรเกิน 25 ค่าปกติในคนไทยหรือเอเชียไม่ควรเกิน 23

คนอ้วนส่วนใหญ่จะมีโรคอ้วนลงพุง หรือมีกลุ่มอาการเมทาโบลิค การลดความอ้วนร่วมกับการออกกำลังกายร่วมกันช่วยได้มากกว่าการลดความอ้วนด้วยการออกกำลังอย่างเดียว หรือควบคุมอาหารอย่างเดียว

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (ไลฟ์สไตล์ / lifestyle)...          

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตนอกเหนือจากการออกกำลัง และการลดความอ้วน(ถ้ามี)แล้ว...

การปรับเปลี่ยนอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต(แป้ง-น้ำตาล)กับไขมันให้ถูกหลัก การกินอาหารเพื่อลดความดันเลือด (DASH) การลด-ละ-เลิกเหล้า(เบียร์ ไวน์...) การเลิกบุหรี่ และอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนมีส่วนช่วยได้

กินคาร์โบไฮเดรตให้ถูกหลัก...                                      

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต(แป้ง-น้ำตาล)เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน ซึ่งทำหน้าที่นำน้ำตาลเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย

ถ้ากินถูกหลัก เช่น กินข้าวกล้องแทนข้าวขาว กินน้ำตาลน้อย ฯลฯ แล้ว... อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง (high-carb) มีส่วนช่วยเพิ่มระดับโคเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือดชนิดดี (HDL) ลดความเสี่ยงเบาหวาน และโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน

หลักการสำคัญคือ ให้เลือกคาร์โบไฮเดรต(แป้ง)ที่ย่อยอย่างช้าๆ และถูกดูดซึมอย่างช้าๆ เพื่อให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นช้าๆ ซึ่งจะส่งผลให้ตับอ่อนไม่ต้องหลั่งอินซูลินออกมาคราวละมากๆ ระดับอินซูลินจึงต่ำลง ไม่เหมือนการกินแป้งขัดสี เช่น ข้าวขาว ฯลฯ หรือน้ำตาล

ความสามารถในการทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเร็วหรือช้าเรียกว่า "ดัชนีน้ำตาล (glycemic index)"

  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่ออ่านตอนต่อไป (ตอนที่ 4)
  • [ Click - Click ]
  • บันทึกชุดนี้มี 9 ตอน ขอเรียนเสนอให้อ่านเริ่มจากตอนที่ 1
  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่ออ่านตอนแรก (ตอนที่ 1)
  • [ Click - Click ]

ขอแนะนำ...                                                                  

    แหล่งที่มา:                                      

  • Thank > Primed Patient Education Center > Health-e-News. February 2007 > The metabolic syndrome: Therapy > [ Click ] >  http://patientedu.org/aspx/HealthELibrary/HealthETopic.aspx?cid=N0706a
  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มุ่งส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. จัดทำ > 1 มิถุนายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 100059เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2007 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท