การให้อาหารทางสายยาง


NG Feeding

การให้อาหารผู้ป่วย

ทางสายยาง   

Nasogastric tube Feeding..

  การให้อาหารทางสายยาง หมายถึงการให้อาหาร ( utrients )เข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร( Gastrointestinal system )โดยผ่านสายกลาง( tube ) ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ และระบบทางเดินอาหารยังคงสามารถย่อยและดูดซึมอาหาได้( functional GI tract )

วิธีการให้อาหารทางสายอาหาร Intermittent enteral tube feeding เป็นการให้อาหารทาสายให้อาหารเป็นครั้งคราววันละ 4-6 ครั้ง ส่วนใหญ่มักจะให้ตามมื้อของอาหาร เพื่อเป็นไปตามแบบแผนการดำเนินชีวิตในการรับประทานอาหารของคนทั่วไป คือ อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น และในกรณีที่อาหารเหลวมีปริมาณมาก อาจแบ่งเป็น 4 มื้อ คือก่อนนอนด้วย ส่วนระหว่างมืออาจจะให้เป็นน้ำเปล่าหรือน้ำหวาน เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ Continuous enteral tube feeding เป็นการใส่อาหารทางสายอาหารแบบต่อเนื่อง โดยหยดทางสายอาหารช้าๆในรายที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับอาหารเหลวได้ทีละจำนวนมากๆ เช่น ในรายที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการย่อยและดูดซึม การให้แบบ Continuous feeding จะต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นสายและมี clamp สำหรับปรับอัตราหยด ช้าๆและต่อเนื่องในเวลาที่กำหนดหรืออาจควบคุมจำนวนหยดด้วยเครื่อง ( Infusion pump)

การตรวจสอบตำแหน่งสายให้อาหาร การตรวจสอบปลายสายให้อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติก่อนให้อาหารทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าปลายสายอาหารอยู่ในกระเพาะอาหาร และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากการที่ปลายสายให้อาหารเลื่อนออกมานอกกระเพาะอาหาร( tube displacement )

วิธีการปฏิบัติ

• ทดสอบด้วยการดูดสิ่งตกค้างในกระเพาอาหาร( gastric residual )ถ้าได้สิ่งที่ตกค้างจากกระเพาะอาหารแสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหาร ถ้าไม่มีสิ่งตกค้างจะต้องปฏิบัติตามวิธีที่ 2 ต่อ

• ฟังเสียงลมผ่านปลายสายอาหาร โดยใช้ Syringe Feed ดันลมเข้าไปประมาณ 15-20ml. ในผู้ใหญ่ และ 3-5ml. ในเด็กเล็ก พร้อมกับฟังด้วย Stethoscope 

 วิธีการให้อาหารทาง Nasogastric tube  

1. ล้างมือให้สะอาด

2. เตรียมอุปกรณ์ในการให้อาหารเหลว และ อาหารเหลวตามแผนการรักษา

3. บอกให้ผู้ป่วยทราบและกลั้นม่าน

4. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายศีรษะสูงหรือท่านั่ง ถ้าผู้ป่วยนอนหงายไม่ได้ให้นอนตะแคงขวาศีรษะสูงอย่างน้อง 30 องศาและสูงได้ถึง 45 หรือ 60 องศา

5. เปิกจุกที่ปิดรูเปิดสายให้อาหารและเช็ดรูเปิดด้านนอกของสายให้อาหารด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก

6. สวมปลาย Syringe Feed เข้ากับรูเปิดของสายให้อาหารแน่น แล้วดูดว่ามีอาหารเหลวมื้อก่อนเหลือค้างอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่

7. ถ้าดูดไม่ได้อาหารเหลว ให้ตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าสายให้อาหารยังคงอยู่ในกระเพาะอาหาร

• ถ้าดูดได้อาหารมื้อก่อน( gastric content )เหลือมากกว่า 1/4 ให้เลื่อนเวลาอาหารเหลวมื้อนั้นออกไปอีก 1 ชม . และถ้าหลังจาก 1 ชม.ไปแล้ว gastric content ยังไม่ลดลงให้รายงานแพทย์ทราบเพื่อวางแผนการรักษาต่อ

8. เมื่ออาหารเหลวปริมาตรสุดท้ายไหลออกเกือบหมด syringe ค่อยๆรินน้ำ 30 ml. ลงใน syringe และเมื่อน้ำไหลออกเกือบหมด syringe ให้ปฏิบัติดังนี้

• ถ้าไม่ต้องการให้ยาพร้อมอาหาร รินน้ำอีก 30 ml แล้วยก syringe ให้สูงให้น้ำไหลลงจนหมด syringe เพื่อล้างสายอาหาร

• ถ้าต้องการให้ยาพร้อมอาหารรินน้ำลงใน syringe ประมาณ 10 ml เทยาที่บดละเอียดแล้วลงใน syringe เขย่าเบาๆพร้อมยกขึ้นให้ยากับน้ำไหลลง ค่อยๆรินน้ำทีละน้อยลงใน syringe เพื่อล้าง syringe กับสายอาหารหลายๆครั้งจนไม่มียาเกาะติดข้าง syringe และไม่ควรใช้น้ำเกิน 50-60 ml.

• ถ้าเป็นยาหลังอาหาร ควรให้หลังอาหาร 1 ชม .

• ถ้ายาติดที่ปลาย syringe ไหลไม่ลงสวมจุกลูกสูบลงใน syringe พับสายอาหารไว้ ขณะเดียวกันเอียง syringe ไปมาเขย่าให้ยาหลุดออกจากปลาย syringe จากนั้นตั้ง syringe ตรงให้ยาไหลพร้อมกับเขย่า syringe ไปด้วย ไม่ควรใช้ลูกสูบดันเพราะจะทำให้จุกยางแน่นมากขึ้นหรือแรงดันอาจทำให้สายให้อาหารหลุดออกจากปลาย syringe

9. พับสายให้อาหาร ปลด syringe ออกจากสายให้อาหาร

10. เช็ดรูเปิดและด้านนอกของสายให้อาหารอีกครั้งด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก หรือ สำลีแอลกอฮอล์ Alcohal 70%

11. ใช้จุกปิดรูเปิดสายให้อาหาร

12. จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าตะแคงขวาศีรษะสูง 45 องศา หรือท่านอนหงายอีก 30 min -1 hr.

13. บันทึกปริมาณอาหารเหลวและน้ำที่ผู้ป่วยได้รับปริมารอาหารที่เหลือค้าง(ถ้ามี)พร้อมกับสภาวะแทรกซ้อน

14. เก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ไปทำความสะอาด

หมายเลขบันทึก: 189294เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2008 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ที่ ward ยุ่งมาก ไม่มีเวลามา feedซ้ำกรณี มีอาหารมื้อก่อนเหลือในอีก 1 ชั่วโมงต่อไปก็จะใช้วิธีเดืมที่เคยเรียนมาเมื่อก่อนคือข้ามมื้อนั้นไปแล้วค่อยให้มื้อถัดมา แบบนี้ OK มั้คะ

ไม่ทราบว่ามีบริการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยสูงอายุเป็นรายวันไหมคะ

ขอบคุณที่แลกเปลี่ยนข้อมูลนะครับพึ่งเข้ามาใหม่วันหลังจะเล่าเรื่องการดำน้ำบ้าง

..ถึงคุณชาลินีเป็นสิ่งที่น่าสนใจนะครับสำหรับบริการแบบนี้ ไม่แน่ใจว่าตามศูนย์พยาบาลต่างๆจะมีบริการแบบนี้หรือไม่ ..

ขณะfeedผู้ป่วยอาเจียนควรทำอย่างไร

 

ขณะ Feed  อาหาร ถ้าผู้ป่วยอาเจียน ควรหยุดให้อาหารชั่วคราว , Mouth Care และ จัดท่าให้นอนหัวสูงเล็กน้อย  ประเมินอาการ ถ้า V/S  , N/S ดี ก็ให้อาหารต่อไปได้ แต่ถ้าต้องการมั่นใจ และผู้ป่วยไม่หิว ก็ควรหยุด หรือ เลื่อน  Feed มื้อนั้นออกไปเลย น่าจะดีกว่า มั้ยค่ะ

การใส่สายยางให้อาหารในเด็กมีวิธีเหมือนหรือแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างไรบ้างค่ะ

เรียนคุณ PP

Thank you for your question. I will try to find out 'the best answer for you as soon as possible. Thank you.

การใส่สาย Nasogastric tube

การวัดความยาวของสาย NG tube ที่จะใส่

ก่อนใส่สายจะต้องวัดความยาวของสายที่จะใส่เพื่อให้ปลายสายอยู่ที่กระเพาะอาหารพอดี ไม่สั้นหรือยาวเกินไป โดยวัดจากปลายจมูกถึงติ่งหูถึงลิ้นปี่ (Xiphoid process)

อุปกรณ์เครื่องใช้ในการใส่สาย

•  สายที่ใส่ทางจมูกหรือทางปาก (Nasogastric tube หรือ NG tube) ทำด้วยสารโพลีเอทิลีน (Polyethylene) หรือซิลิโคน (Silicone) ขนาด 12-18 French

•  Luer-Lok syringe หรือ Cathetertipped syringe ขนาด 50-60cc. สำหรับกลุ่ม Functional GI ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เช่น ในผู้ป่วยโรคทางสมอง หรือในผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน แพทย์จะให้อาหารทางสายให้อาหาร Ng tube Feeding) ซึ่งมีทั้งแบบที่ให้เป็นระยะๆตามมื้ออาหารคือวันละ 4-6 ครั้ง (Intermittent) และแบบที่ให้ต่อเนื่องหยดเข้าไปช้าๆ (Continuous) ส่วนในผู้ป่วยที่ไม่สามารถให้อาหารทางสายได้เนื่องจากระบบทางเดินอาหาร ไม่สามารถย่อย และดูดซึมอาหารได้ (Nonfunctional GI tract) ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้อาหารทางเส้นเลือดดำทดแทน
(Total parenteral nutrition)

อยากรู้ว่าเมื่อดูด gastric content ออกมาแล้ว

ถ้าเห็นว่ามีอาหารออกมามากกว่ากี่ cc ถึงไม่ต้องให้อาหารค่ะ

หลังจากให้อาหารทางสายยาง จะมีเศษยาหรืออาหารติดที่ปลาย syringe ซึ่งรูมีขนาดเล็ก สอบถามวิธีการล้างให้เศษยาที่ที่ปลาย syringe ให้สะอาดครับ

อยากทราบว่า สายยางแบบไหนดีกว่ากันระหว่าซิลิโคนกับโพลีเอทิลีน..ผู้ป่วยชอบท้องอืด

ควรทำอย่างไร

พี่คะน้องมีปัญหาอยากจะถามนะคะด้วยตนเองทำงานเรื่องแผลกดทับซึ่งส่วนใหญ่จะเจอในผู้ป่วยที่นอนไม่รู้สึกตัว ใส่ท่อช่วยหายใจจะเจอบริเวณก้นเป้นส่วยใหญ่จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการนอนทับแผลให้มากที่สุดจึงไม่แน่ใจว่าการนอนตะแคงfeedจะได้มั้ยถ้าได้ตะแคงด้านไหนถึงจะเหมาะสมคะเพราะมีข้อถกเถียงระหว่างซ้ายกับขวาคะช่วยหนูหน่อยนะคะจะได้มีข้อมูลในการทำคะ

สูตรคำนวณน้ำตามระหว่างมื้อหลังจากให้อาหารทางสายยางคิกอย่างไรค่ะ

สาเหตุที่ผู้ป่วยอาเจียนเพราะอะไรสำหรับผู้ป่วยให้อหารทางสาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท