เรื่องเล่าจากดงหลวง 84 ตลาดชุมชน (2) คู่แข่งที่ไม่ต้องการจะแข่ง


ที่แปลกก็คือ หลายชุมชนไม่ยอมคอย พอศึกษาดูงานเสร็จก็จัดตั้งตลาดชุมชนกันเองก่อนเลย(ร้อนวิชา) ซึ่งยากมากที่จะมีกิจกรรมอะไรจะเกิดปรากฏการณ์อย่างนี้ขึ้น ??

คณะทำงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ออกทำการสรุปบทเรียน (Lesson Learn) เรื่องตลาดชุมชนโดยการออกไปตระเวนพบปะพูดคุยกับคณะกรรมการตลาดชุมชน แม่ค้า และผู้ซื้อตลอดจนชาวบ้านทั่วไปในชุมชนนั้นๆแล้วสรุปมาว่า ชาวบ้านเห็นว่าตลาดชุมชนก่อให้เกิดผลดังนี้  

  • เป็นตลาดที่ช่วยรองรับผลผลิตที่เหลือกินภายในครอบครัว
  • เป็นตลาดที่ช่วยป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าภายนอก
  • เกิดการกระตุ้นให้มีการวางแผนการผลิตและเน้นให้มีอาหารปลอดภัยมาขายในชุมชน
  • ช่วยคนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และลดรายจ่าย
  • เกิดการหมุนเวียนเงินขึ้นในชุมชน  

แต่การทำกิจกรรมอะไรก็ตามไม่ใช่ว่าจะราบรื่น ล้วนมีอุปสรรค ก็เป็นเรื่องที่คณะกรรมการและแม่ค้าในตลาดชุมชนทราบและแลกเปลี่ยนกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหากันต่อไป เช่น  

อาหารพื้นบ้าน

ทุกหมู่บ้านย่อมมีร้านค้าเอกชนอยู่แล้ว มีมากมีน้อยก็แล้วแต่ชุมชน  แต่เป็นที่ตรงกันในการสังเกตว่า ชุมชนที่เป็นชนเผ่าผู้ไทยนั้นจะมีร้านค้ามากกว่าชุมชนที่เป็นชนเผ่าอื่นๆ โดยเฉพาะชนเผ่าไทโซ่ ค้าขายไม่เป็นเลย   การมีตลาดชุมชนเกิดขึ้นย่อมที่จะเป็นคู่แข่งโดยปริยายกับร้านค้าของเอกชน โดยเฉพาะที่ขายของสดด้วย แรกๆก็เล่นเอามองหน้ากันไม่ติดเหมือนกัน  แต่เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่งก็เป็นที่รับได้ เพราะว่าตลาดชุมชนส่วนใหญ่เปิดเฉพาะวันและเวลา เช่น เปิด 1-3 วันต่อสัปดาห์ เฉพาะเวลาบ่ายถึงค่ำเท่านั้น แล้วแต่ชุมชนจะตกลงกันเอง ยกเว้นบางชุมชนที่ตกลงว่าเปิดทุกวัน แต่ไม่เต็มวันดังกล่าว 

ที่มาแรงแซงทางโค้งเห็นจะเป็น "กลุ่มรถพุ่มพวง" บางท่านไม่รู้จักใคร่แนะนำว่า รถพุ่มพวงคือ ชาวบ้านที่ยึดอาชีพพ่อค้าแบบ delivery โดยเอารถมอเตอร์ไซด์มาดัดแปลงเบาะหลังเป็นภาชนะบรรจุสินค้า บางทีก็มีแป้นไม้ตอกตะปูแล้วแขวนถุงพลาสติกที่ใส่อาหารเต็มหลังรถ วิ่งไปเอาสินค้าต่างๆจากตลาดตอนตี 4-5 แล้ววิ่งเข้าหมู่บ้านตามเส้นทางที่เขาแบ่งสายกันเอง ที่เป็น delivery เพราะ เข้าถึงหัวบันไดบ้านเลย สั่งสินค้าได้ ว่าพรุ่งนี้จะเอาอะไรเท่าไหร่ บริการให้เสร็จ ชาวบ้านผู้บริโภคที่ไม่คิดอะไรก็ชอบแบบนี้เพราะไม่ต้องไปเดินซื้อของเอง เมื่อถึงเวลารถพุ่มพวงก็มาส่งสินค้าตามต้องการ ผู้เขียนว่า บริการ 1112 สู้ไม่ได้นะครับ  เคยสอบถามเขาได้กำไรวันละ 500-700 บาทสุทธิ แต่รถพุ่มพวงไม่มีทุกหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดขอนแก่นกับมหาสารคาม 

"ตลาดนัดพิเศษที่เรียกคาราวาน" เป็นกลุ่มที่ไม่ใช่คนท้องถิ่นมาจากทุกสารทิศ จะมีกลุ่มของเขาที่มีรถปิคอัพ ตั้งแต่ 5-15 คันโดยประมาณ เอาสินค้าทุกชนิดจากโรงงาน หรือไปเหมาถูกๆมาจากห้างใหญ่ ส่วนมากเป็นของใช้ทุกอย่างที่ครัวเรือนต้องการ เร่ไปจัดตลาดนัดเรื่อยไปตามจุดที่เขามาสำรวจและตกลงกับผู้นำชุมชนไว้แล้ว ซึ่งชาวบ้านก็จะมาจับจ่ายกันเป็นจำนวนมาก นี่แหละที่เป็นจุดเงินไหลออกจากชุมชนทุกสัปดาห์จำนวนมากทีเดียว  

ตลาดชุมชนก็ไม่ได้แทนที่การตลาดดังกล่าวทั้งหมด แต่เน้นตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวมาแล้วในตอนแรก ซึ่งมีหลักการเพื่อชุมชนมากกว่าตลาดแบบอื่นๆ  จึงเป็นเรื่องที่ต้องประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับชาวบ้านทั้งหมดและใกล้เคียงให้เห็นประโยชน์แก่ชุมชนดังกล่าว  เห็นไหมละครับว่าไม่มีอะไรง่ายดาย แต่หากหลักการดีเพื่อประโยชน์ชาวบ้าน ชุมชน ชาวบ้านยอมรับ ชาวบ้านย่อมสนับสนุนและเข้าร่วมมือด้วย   

กว่าจะจัดตั้งตลาดชุมชนแต่ละแห่งขึ้นมาได้นั้นต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาชุมชน การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม การประชุมเตรียมความคิดกับชุมชน เพื่อทุกอย่างพร้อมจึงเริ่ม   

ที่แปลกก็คือ หลายชุมชนไม่ยอมคอย พอศึกษาดูงานเสร็จก็จัดตั้งตลาดชุมชนกันเองก่อนเลย(ร้อนวิชา)  ซึ่งยากมากที่จะมีกิจกรรมอะไรจะเกิดปรากฏการณ์อย่างนี้ขึ้น ??

หมายเลขบันทึก: 93293เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2007 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

  • ตามมาอ่านต่อจากตอนที่แล้วค่ะ
  • หากหลักการดีเพื่อประโยชน์ชาวบ้าน ชุมชน ชาวบ้านยอมรับ ชาวบ้านย่อมสนับสนุนและเข้าร่วมมือด้วย (หยิบมาบางส่วน)
  • ไม่มีอะไรได้มาอย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องลงทุน ลงแรง แต่สิ่งที่ทำต้องศึกษาอย่างรอบคอบด้วย
  • ขอบคุณค่ะ

สดีครับน้องราณี

  • การทำงานตามหลักการดังกล่าว และออกมาตามที่กล่าวก็เพราะมีรูปธรรมบอกเรา
  • ใช่แล้วต้องศึกษาก่อน ในฐานะที่เราเป็นคนนอกยิ่งสำคัญมากๆที่จะต้องศึกษาก่อน เพื่อเข้าใจ และนำความเข้าใจไปคิดอ่านสาระที่จะทำต่อไปในชุมชน โดยชุมชนมีส่วนคิดอ่านไปพร้อมๆกับเรา
  • ขอบคุณครับน้องราณี

สวัสดีครับพี่บางทราย

เรื่องตลาดกับปากท้องคือความจำเป็น..มีทุกที่ๆมีคนนะครับ...

ตามสถานที่ก่อสร้าง  เวลาไปดูงานและตรวจงานที่ออกแบบไว้ก็จะมีรถกระบะที่ดัดแปลงเป็นตลาดเคลื่อนที่มาขายของให้กับคนงานก่อสร้าง...มีเกือบทุกที่นะครับ...คล้ายกับรถพุ่มพวงครับ..

บางที่ก็จะมีร้านค้าเล็กๆ...สำหรับขายของที่จำเป็น ตามมากับกลุ่มช่างก่อสร้าง(ภรรยาเลี้ยงลูกและขายของ...สามีเป็นช่างปูน ฯลฯ) ...ที่จริงแล้ว กลุ่มคนงานก่อสร้างนี้ก็เป็นชุมชนเหมือนกันนะครับ...อยู่กันเป็นปีๆในแต่ละsiteงาน...

โอชกร

สวัสดีครับน้องโอชกร - ภาคสุวรรณ

ใช่แล้วครับ พี่ก็เห็น มันเป็นความสอดคล้องกันดี ที่ชาวบ้านๆจะทำมาหากินลักษณะอย่างนั้นได้ ก็พออยู่ได้  ญาติห่างๆของพี่ก็เคยทำการค้าแบบนี้เหมือนกัน แต่เอาไปขานตามหมู่บ้านจัดสรร ก็อยู่ได้ครับ

ใช่แล้ว site งานก็เป็นชุมชนชั่วคราว มีเรื่องเล่ามากมายนะครับกับชุมชนแบบนั้น  เกรงว่า เจ้าห้างธุรกิจสะดวกซื้อจะย่อตัวเองลงไปแข่งกับชาวบ้านกลุ่มนี้อีกนะซี  หวั่นใจจริง  ขอพื้นที่ให้ชาวบ้านทำมาหากินบ้างเถอะ อย่ากินรวบเลย ประเทศชาติจะอยู่ไม่ได้นะครับ

สวัสดีค่ะท่าน  .....

  • แถวบ้านครูอ้อยก็มีคุณพุ่มพวงมากค่ะ
  • แถวโรงเรียนก็มีมากค่ะ
  • และก็ตามทางถนน...ก็เห็นพุ่มพวงมากค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีครับครูอ้อย

  • รถพุ่มพวงเป็นอาชีพที่สุจริตอาชีพหนึ่งที่ชาวบ้านพึงใช้เป็นช่องทางหารายได้เข้าครัวเรือนได้ แต่ต้องมีเงินลงทุนขั้นต้นก่อน
  • รถพุ่มพวงอาจจะเป็นบริการที่ยกระดับขึ้นไปอีกก็ได้หากเกิดกลุ่มรถพุ่มพวงรวมตัวเข้าแล้วผู้มีความรู้ช่วยจัดการให้  ...น่าสนใจ
  • นอกจากจะขายอาหารสดแห้งแล้วต่อไปอาจจะบริการอย่างอื่นอีกก็ได้นะ เช่น รับจดหมายไปส่งตู้ รับซื้อยาพื้นฐาน อุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน ฯลฯ  โดยคิดค่าบริการอีกนิดหน่อย หรือฟรี..เพื่อเอาใจลูกค้า..

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

เบิร์ดชอบจัง... 

" กว่าจะจัดตั้งตลาดชุมชนแต่ละแห่งขึ้นมาได้นั้นต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาชุมชน การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม การประชุมเตรียมความคิดกับชุมชน เมื่อทุกอย่างพร้อมจึงเริ่ม "

ความสุขุม รอบคอบ มั่นคง  อดทน..เป็นบทพิสูจน์คนได้อย่างดีเลยนะคะ

เบิร์ดเพิ่งรู้จัก..รถพุ่มพวง ! ชื่อน่ารัก แถมยังเข้าใจคิดอีก ^ ^

สวัสดีครับน้องเบิร์ด

รถพุ่มพวง พี่มีรูปถ่ายไว้เยอะ แต่พอจะเอามาใช้หาไม่เจอะ (มักจะเป็นอย่างนี้นะ..)

ไม่แน่ต่อไปในอนาคต น้องเบิร์ด อาจจะสร้าง Mobile unit ในงานของเบิรืดเป็นแบบรถพุ่มพวงก็ได้แทนที่จะออกไปขาย "กับข้าว" หรือสินค้า แต่เป็นการไปให้ความรู้เกษตรกร เยี่ยมเกษตรกร เก๋ นาจะบอกให้

ขอบคุณครับ

น้องเบิร์ดลองเข้าไปดูที่ http://gotoknow.org/blog/papangkorn/50156 เรื่องเกี่ยวกับรถพุ่มพวงครับ

สวัสดีคะ คือ หนู อ่านบทความนี้แล้วรู้สึกชอบมากนะคะ พอดีก็กำลังมองหาเรื่องราวของรถพุ่มพวงอยุ่พอดี เลยอยากจะทราบว่า พอจะ รู้ ชื่อของหมู่บ้านในจังหวัดขอยแก่นและจังหวัดมหาสารคาม บ้างไหมคะที่ ชาวบ้านยังทำอาชีพนี้อยู่และยังมีรถพุ่มพวงกันอยู่ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ ขออนุญาตเรียกว่า คุณอาบางทรายแล้วกันนะคะ คือกำลังหาข้อมูลและรายละเอียดของเรื่องนี้นะคะ

สวัสดีครับ หนู CD อาไม่รู้หรอกแต่มีวิธีที่จะรู้ คือไปที่ตลาดแล้วตามแม่ค้าว่ารู้จักพ่อค้าพุ่มพวงไหม แม่ค้าคนไหนจะรู้จักพอมีอะไรให้เราเดาไหม ก็พ่อค้าพุ่มพวงขายอะไรล่ะ ขายผัก ขายเนื้อ ก็ไปถามพ่อค้าผักพ่อค้าเนื้อในตลาดสดใหญ่ๆ เช่น ตลาด อ.จิระ ตลาดหน้าโรงพักกลางเมือง ตลาดสดต่างๆที่เขาเปิดใหม่ๆ ส่วนมากเขาจะรู้จักกัน พ่อค้าพุ่มพวงจะมาซื้อสินค้าพวกนี้ประมาณ ตี 4 ตี 5 แล้วขับรถไปหมู่บ้านก็สว่างพอดี ชาวบ้านตื่นก็ได้ซื้อได้ขายกัน

ลองดูนะ ขอให้โชคดี

ขอบคุณมากนะคะ คุณ อาบางทราย หนูจะพยายามหาต่อไปคะ

อาแอบไปดูประวัติแล้ว โฮ ดีมากเรียนทาง CD ก็ตรงกับงานที่อาทำอยู่ มีอะไรก็ถามไถ่กันได้ หากอาไม่รู้ก็จะบอกว่าไม่รู้ แต่ประสบการณ์มีมากพอสมควร ยินดีที่รู้จักลูกหลานที่เรียนสายพัฒนาสังคม ชอบหรือไงมาเรียนทางนี้ เรียนจบแล้วจะตั้งเป้าไปทำงานอะไรล่ะ อยู่ใกล้ๆกันแหละ อาอยู่ขอนแก่น แต่ตอนนี้มาทำงานที่กรุงเทพฯ ก็ขึ้นๆลงๆนะ

มีอะไรก็แลกเปลี่ยนกันนะครับ ยินดี

คะบังเอิญมากเลยที่หนูดันมาอ่านเจอบทความของอา แล้วก็แอบดูประวัติอาโชคดียิ่งกว่าอาทำงานด้านนี้ด้วยฮิฮิ อาบางทรายตอนนี้หนูก็เรียนอยุ่ปี3แล้วคะ เนี้ยปีหน้าก็จะฝึกงาน ยังหาประเด็นไม่ได้เลยคะอา สับสนอยู่คะ แต่พอดีดันสนใจในเรื่องอาชีพที่มันแปลก พอดีมาอ่านเจอเรื่องรถพุ่มพวงมันน่าสนใดีคะ แต่ยังไม่ทราบพื้นที่เท่าที่ควรเลย ที่ว่าอาทำงานที่ขอนแก่น อาทำงานในองค์กรของอะไรคะแล้วเคยมีนิสิตการพัฒนาชุมชนไปฝึกงานกับอาไหมคะ

น่าสนใจและน่าติดตามนะครับ..

น่ารวมเป็นเล่มเลยครับ

หลาน CD ตอนนี้อาขึ้นมาขอนแก่น ประมาณ 1 สัปดาห์ จะตระเวนไปที่มุกดาหารเตรียมการให้ทีมประเมินผลการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่สองไปประเมินผล จึงต้องไปมุกดาหาร สะหวันนะเขต แต่ก็ติดต่อได้ และนัดพูดคุยแลกเปลี่ยนได้ จะได้แนะนำให้รู้จักพี่พี่ที่เขาทำงานด้านนี้ (พัฒนาชนบท) เรามีอาจารย์ใหญ่ทางด้านนี้อยู่ที่ขอนแก่นชื่อพี่เปี๊ยก บำรุง บุญปัญญา ครับ

อาจารย์ ดร.ภิญโญครับ ขอบคุณมากครับที่แนะนำให้รวมเล่ม ท่านรองเลขาธิการ สปก. ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ ท่านก็สนับสนุน ตอนแรกท่านจะพิมพ์ให้ แต่มันใหญ่โตมาก เลยระงับไว้ก่อนครับ

หลาน CD อีกที บางทีเราคิดหัวข้อไม่ออก แต่เมื่อเราเข้าไปคลุกคลีในชนบทและคุยกันมากๆ เราก็เห็นประเด็นเยอะมากมาย หรือไปเยี่ยมตามโครงการพัฒนาชนบททั้งหลสยว่าเขาทำกิจกรรมอะไรบ้าง ไปคลุกคลี พูดคุย สักพักเราก็จะได้หัวข้อมากมาย จะหนักใจว่าจะเลือกหัวข้อไหนต่างหาก เพราะอยากทำไปหมด...

ประเด็นทางเศรษฐกิจ

ประเด็นทางวัฒนธรรม

ประเด็นทางความเชื่อ

ประเด็นทางการเมือง

ประเด็นทางการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและการปรับตัวของชุมชน

ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงในมุมปฏิบัติของชุมชน

นวตกรรมต่างๆในวิถีชีวิตของชนบท

อิทธิพลของสื่อสารมวลชนต่อการเปลี่ยนแปลงชนบท

ทุนทางสังคมกับการวิถีชนบท

ฯลฯ.......

คะอาบางทราย ขอบคุณ อามากนะคะ ที่แนะนำ ตอนนี้ก็ต้องรีบหาแล้วละคะ ถ้าอย่างไรจะส่งข่าวนะคะ จะรอติดตามอ่านบทความอาเรื่อยๆคะ หนูว่า อาน่าจะทำเป็นหนังสือขายบ้างนะคะ^^

ขอบคุณครับเรื่องทำหนังสือขาย มีต้นฉบับแล้วแต่ไม่ได้ขยับต่อครับ

โอะโอ้ ขยับต่อสิคะอา อยู่ที่กรุมเทพนี่ อาติดน้ำไหมคะเนี้ย

อยู่กรุงเทพฯ ไม่ติดน้ำครับ แต่เงี่ยหูฟังข่าวน้ำตลอด ตอนนี้มาขอนแก่นแล้ว เพราะน้ำปริ่มๆรั้วบ้านแล้ว

อ้าวฮิฮิ เป็นกำลังใจนะคะ อาคงเหนื่อยน่าดูเดินทางตลอดเลย

สวัสดีคะคุณอา หายไปนานเลย อาเมื่อนวานหนูได้ไปช่วย แจกของให้กับชาวบ้านที่น้ำท่วมที่ อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์มานะ ทั้นเหนื่อยสนุกแต่รู้สึกดีมากๆเลยคะ น่าสงสารมากเมื่อไรน้ำจะลดเนี้ย

สวัสดีครับ สาว CD ดีแล้วที่ไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ที่น่าสนใจคือการสรุปบทเรียน สรุป และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่างเพื่อนที่ไปด้วยกัน ทาง CD เราเรียก AAR หรือ After Action Review เพื่อค้นหาบทเรียนที่อาจจะเกิดประโยชน์แก่ทุกคน ที่ได้แน่ๆคือคนคนนั้นฝึกนิสัยการสรุปบทเรียนที่ได้จากการทำงานทุกครั้ง เป็นนิสัยที่จำเป็นสำหรับ CD นะ

คะอา ขอบคุณคะสำหรับคำแนะนำ อาสบายดีนะคะ ไม่มีบทความมาให้อ่านเหรอคะ^^

กำลังจะหนีน้ำกลับขอนแก่นอ่ะ ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เขียนงานถ้าเขียนเมื่อไหร่จะบอก แต่สิ้นเดือนนี้จะออกบทความ หากสนใจมากก็ส่ง อีเมล์มาจะส่บทความเก่าๆที่ตั้งใจจะรวมเล่มไปให้อ่านนะครับ

ออคะ อา ขอบคุณมากนะคะ

[email protected] เมล์หนูคะ อา

อาดูแลตัวเองด้วยนะคะ

อาคะวันนี้ไปเรียนมาเริ่ม เลือกประเด็นฝึกงานแล้วคะ

พอดี เลือกเรื่องเกี่ยว กับ ประเด็นของเศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจข้ามแดน คะ

อาคิดว่าไงคะ

สวัสดี CD

  • เป็นประเด็นที่น่าสนใจครับ หากจะเอากรณีตลาดชุมชนก็มีตลาดชุมชนที่มหาสารคามหลายแห่งที่อยู่ในโครงการเดียวกันนี้ทำอยู่ร่วมกับ รพ. ที่เรียกตลาดสีเขียว
  • ประเด็นสำคัญคือ ค่อ define คำว่าเศรษฐกิจท้องถิ่นว่าคืออะไร ขอบเขตแค่ไหน ในบริบทแบบไหน เศรษฐกิจข้ามแดนก็เช่นเดียวกัน
  • ทำไมถึงทำทั้งสองประเด็นล่ะ หรือ หัวข้อแรกน่าจะทำง่ายกว่าหัวข้อหลัง แต่หากสนใจก็ทำได้ แต่ต้องใช้เวลามากกว่ามั๊งเพราะต้องกำหนดว่ากรณีไหน จะต้องเดินทางไปลงพื้นที่เก็บข้อมูล ศึกษาข้อมูลเดิมๆ ซึ่งในสถานภาพนักศึกษานั้นจะมีเวลามากน้อยแค่ไหนล่ะ ลองศึกษาดู 
  • ประเด็นเหล่านี้ทำเดี่ยวหรือทำเป็นกลุ่มล่ะ
  • แต่จริงๆน่าสนใจทั้งนั้นแหละครับ

 

คะ อา ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ

นี้คือประเด็นที่จะใช้ในการฝึกงานคะ ก็ตัดสินใจได้แล้วคะว่าคงจะทำในเรื่องของเศรษฐกิจท้องถิ่นมากกว่านะคะ

ตอนนี้ได้พิ้นที่ฝึกงานคิดว่า อ.จะจัดให้ลงที่ บ้าตากลาง หมู่บ้านช้างที่จ.สุรินทร์นะคะอา แต่ตอนนี้มีปัญหาอยุ่ที่ว่า ยังไม่มีข้อมูลเท่าไร แล้วยัง ไม่รู้ว่าจะจับประเด็นใหนดี มาศึกษามาทำใน เค้าโครงพัฒนานิพนธ์ที่จะต่อยอดไปถึงการทำวิจัย ในการฝึกงานนะคะ ตอนนี้กำลังคิดว่าจะจับเอาประเด็นตรงไหน มา ศึกษา แปลก ใหม่ และไม่ดูเก่านะคะ

เวลาใน การฝึกงานก็ เทอมหนึ่งเลยคะอา

หาก อ.เลือกไปลงที่บ้านตากลาง สุรินทร์ แนะนำให้ติดต่อมูลนิธิพัฒนาอีสาน หรือ NET เป็นสถานที่ทำงานเก่าของ อา และปัจจุบันก็ยังมีอยู่พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์ฝึกอบรมมากมาย มีนักพัฒนาที่นั่น อยากไห้ไปเที่ยวสุรินทร์แล้วเดินทางไปเยี่ยม ไปคุยกับเขา เขาอาจแนะนำให้ได้ว่าควรจะศึกษาที่ไหนอย่างไรเกี่ยวกับบ้านตากลาง เอ การเดินทางไปสุรินทร์ก็ผ่านบ้านตากลางนี่นา

เข้าไปอยู่ที่นั่นเลยใช่ไหม โอยสนุกจะตาย สุรินทร์เป็นเขมร "ยัยขะแมร์บานเต๋" อาเคยเรียนภาษาเขมรท้องถิ่นนี้มาแล้ว ตอนนี้ลืมหมดแล้ว

จิงเหรอคะอา ไม่น่าเชื่อ ขอบคุณอามากคะ

ใช่แล้วคะ อ.เลือกให้ไปลงที่บ้านตากลางเลยคะ หมู่บ้านช้าง ตอนนี้ก็กำลังศึกษาข้อมูลอยู่ ก็ยังไม่ชัดในเรื่องประเด็นีท่จะศึกษาเท่าไรคะ พึ่งเริ่มอ่าน อาแนะนำ หน่อยสิ^^

คิดเร็วๆได้ดังนี้

 

  • ต้องศึกษาประวัติความเป็นมาของชนเผ่านี้
  • ศึกษาทำไมมาตั้งถิ่นฐานที่นี่
  • วิถีชีวิต การผลิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความเชื่อ โลกทัศน์ ชีวทัศน์
  • ช้างเข้ามาเกี่ยวข้องแบบไหน ตรงไหน อย่างไร ในวิถีชีวิตโดยรวม
  • เพศ มีส่วนอย่างไรต่อการอยู่กับช้าง
  • การส่งต่อวิถีคนกับช้างสู่ลูกหลานเป๋นแบบไหน อย่างไร
  • สภาพการณ์ สถานการณ์ช้างกับคนในหมู่บ้านนี้ในปัจจุบันเป็นอย่างไร
  • เขาคิดถึงอนาคตอย่างไร
  • ไปสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภอ จังหวัด ท่องเที่ยวจังหวัด และอื่นๆ
  • "บทบาทช้างในวิถีปัจจุบัน กรณ๊บ้านตากลาง จ.สุรินทร์" น่าจะเป็นหัวข้อกว้างๆที่ทำการศึกษา  ลองคิดไปเรื่อยๆนะอาจจะมีหัวข้ออื่นที่น่าสนใจมากกว่าครับ

^_^ขอบคุณมากนะคะอา แล้วจะทำความเข้าใจอีกที ช่วยได้เยอะเลย ไ้ด้เรื่องยังไงหนูจะส่งข่าวคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท