เรื่องเล่าจากดงหลวง 78 ทฤษฎีงานพัฒนาที่มาจากสงคราม


ในการตัดสินใจจะเลือกสิ่งใดๆในชุมชนนั้นก็มักเป็นประเด็นขึ้นมาบ่อยๆว่าจะเอาเกณฑ์อะไรมาใช้ จะเอาหลักอะไรมาพิจารณา เพื่อนผู้บันทึกคนหนึ่งเป็นชาวอังกฤษเชื้อสายสก็อตแลนด์ ชื่อ Iain A Craig ได้แนะนำเครื่องมือตัวหนึ่งชื่อ “Triage” มาใช้ในการคัดเลือก

เวลาเราทำงานพัฒนาชุมชน หลายครั้งเราต้องเอาหลักทางวิชาการมาอ้างอิงและใช้ในทางปฏิบัติ  ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจอย่างมีหลักการ และสามารถอธิบายให้ท่านอื่นๆได้ว่ามีเหตุผลใดจึงทำอย่างนั้นอย่างนี้ลงไป มากกว่าใช้สามัญสำนึกครับ  

ในการตัดสินใจจะเลือกสิ่งใดๆในชุมชนนั้นก็มักเป็นประเด็นขึ้นมาบ่อยๆว่าจะเอาเกณฑ์อะไรมาใช้  จะเอาหลักอะไรมาพิจารณา  เพื่อนผู้บันทึกคนหนึ่งเป็นชาวอังกฤษเชื้อสายสก็อตแลนด์ ชื่อ Iain A Craig  ได้แนะนำเครื่องมือตัวหนึ่งชื่อ “Triage”  มาใช้ในการคัดเลือก ซึ่งผู้บันทึกได้นำไปใช้ในหลายสถานการณ์แล้วได้ผลดีครับ จึงนำมาแนะนำในที่นี้อีกครั้งหนึ่ง  

ผู้เขียนเคยทำงานที่สำนักงานเกษตรภาคอีสาน ท่าพระ ขอนแก่น เป็นโครงการพัฒนาการเกษตรอาศัยน้ำฝนกับ USAID มีผู้เชี่ยวชาญจาก Kentucky University อเมริกามาประจำหลายคน เป็นช่วงเวลาที่ RRA (Rapid Rural Appraisal) เข้ามาในเมืองไทยและมาโตที่ขอนแก่น AEA (Agro-ecology Analysis)ก็มาโตที่นี่ เทคนิคงานพัฒนาต่างๆมากมายนับสิบนับร้อย ต่อมาเทคนิคเหล่านี้ก็ถูกนักวิชาการพัฒนาไปจนแพร่ขยายไปทั่วโลก และเป็นที่ยอมรับกันในวงการปัจจุบัน ที่สำคัญคือ เทคนิค PRA (Participatory Rapid Appraisal)  มีอยู่ตัวหนึ่งที่ผู้เขียนนึกขึ้นมาได้เมื่อพาลูกสาวเข้าไปโรงพยาบาล เพื่อผ่าตัดต่อมทอลซิลเมื่อหลายเดือนก่อน คือทฤษฎี Triage”    

Triage มาจากเรื่องหมอกับคนไข้ ไปเปิด Dictionary ไม่พบคำนี้ ต้องไปเปิด“Webster’s New World Dictionary หรือ Encyclopedia เขาอธิบายว่า...a system of assigning priorities of medical treatment to battlefield casualties on the basis of urgency, chance for survival, etc” ซึ่งคุณ Iain A Craig อธิบายไว้ว่า คำนี้มาจากสงครามที่หมอต้องเข้าไปดูแลทหารที่บาดเจ็บมาจากการสู้รบ ซึ่งมีมากมายจนล้นมือหมอ รักษาคนไข้ไม่ทัน ก็มีการประชุมและหาทางออกกันว่าจะทำอย่างไรดี  ในที่สุดมีข้อสรุปว่า  ให้แบ่งคนไข้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 

        กลุ่มที่หนึ่ง เป็นผู้ที่บาดเจ็บเล็กน้อย ไม่เป็นอะไรมากและรอดชีวิตแน่นอน

       กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่มีอาการบาดเจ็บค่อนข้างมาก  แต่บาดแผลนั้นสามารถรักษาให้หายได้ สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้

         กลุ่มที่สามนั้น เป็นพวกบาดเจ็บมากที่สุด โอกาสรอดชีวิตมีน้อยมาก

 เมื่อแบ่งคนไข้ออกเป็นสามกลุ่มแล้วในช่วงสงครามนั้นต้องตัดสินใจเอากลุ่มที่มีศักยภาพรอดชีวิตมากที่สุดไว้ก่อน คือให้ทำการรักษา เยียวยากลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สองให้รอดชีวิตให้ได้ หรือ ให้เวลา ให้การเยียวยา ให้การดูแลรักษา ทุ่มเทเครื่องไม้เครื่องมือมาที่สองกลุ่มแรกให้มากที่สุดเพราะเมื่อมีสงครามต้องตัดสินใจเช่นนั้น มิเช่นนั้น ไปให้เวลากับกลุ่มสามมากทั้งๆที่รู้ว่าโอกาสรอดมีน้อยมากก็อาจจะพากลุ่มสองมาเป็นกลุ่มสามและกลุ่มหนึ่งมาเป็นกลุ่มสองได้  

 ผู้เขียนจึงใช้ทฤษฎี Triage กับการคัดเลือกการพัฒนาองค์กรในชุมชน เมื่อคราวที่เราต้องเลือกพัฒนา  อย่างที่เรารู้กันว่าองค์กรในชุมชนมีมากมาย มีทั้งดีและอ่อนแอ บางองค์กรมีแต่ชื่อ แต่ไม่มีคณะกรรมการ ไม่มีการประชุมเป็นปีแล้ว และเมื่อเวลาโครงการเรามีจำกัด จำนวนคนของเรามีจำกัด จะไปเที่ยวตระเวนพัฒนาร้อยแปดพันเก้าองค์กรนั้นจะพากันตายหมด  จึงเลือกเอาเฉพาะองค์กรที่มีศักยภาพเท่านั้น  ก็นำหลัการนี้ไปใช้ครับ

ในทางปฏิบัติเราก็สร้างดัชนีของศักยภาพองค์กรขึ้นมา ซึ่งผู้บันทึกใช้เครื่องมือ Applied SWOT เข้ามา แล้วนำไปประชุมแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มนั้นๆ เอาผลการประเมินนั้นไปจัดกลุ่มดังกล่าว ว่าองค์กรใดในชุมชนควรจะจัดอยู่ในกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง หรือกลุ่มสอง หรือตกไปอยู่กลุ่มสาม ก็แล้วแต่ดัชนีที่เราสร้างขึ้นนั้น  แล้วเราก็ตัดทิ้งกลุ่มที่สามไป เลือกเอาเฉพาะกลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สองเท่านั้น  หรือเลือกเฉพาะกลุ่มที่หนึ่งก็แล้วแต่เงื่อนไขของเรา  การทำเช่นนี้เพื่อให้เรามีหลักในการพิจารณาอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผล       

ในทางปฏิบัติอีกเช่นกัน  มีกลุ่มที่เป็นภาคบังคับที่จะต้องเอาเข้ามาอยู่ในแผนงานพัฒนา  ซึ่งหากใช้เกณฑ์การพิจารณาแบบ Triage อาจจะตกไปอยู่กลุ่มที่สองหรือที่สามก็ได้ แต่ภาคบังคับต้องหยิบมาพัฒนาด้วย อย่างไรก็ต้องเอามาพัฒนา แม้การพิจารณาเข้าเกณฑ์จะตกต่ำมากก็ตาม  

นั่นหมายความว่าโครงการจะต้องทุ่มเทเยียวยารักษา พัฒนากันมากเป็นพิเศษ  ต้องใช้หมอ ใช้พยาบาล ใช้หยูกยามากกว่าปกติ และใช้เวลามากกว่าปกติ เปรียบเสมือนคนไข้ครูจูหลิน”  อย่างไรก็ต้องรักษาครับ แน่นอนจะต้องใช้เวลานานมากกว่าปกติ  ซึ่งในทางหลักการพัฒนาคน เราก็ยอมรับกันว่า คนพัฒนาได้ แต่ขอให้เราเข้าใจเขา  และเราต้องมีเทคนิค วิธีการต่างๆในการพัฒนาคน   

(เรื่องนี้เคย Post มาครั้งหนึ่งแล้วครับ แต่เอามา Post ใหม่ เพราะต้องการให้เพื่อน G2K ได้ผ่านสายตาอีกครั้งครับ)

คำสำคัญ (Tags): #triage
หมายเลขบันทึก: 92072เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2007 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ คุณบางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

ศัพท์คำว่า Triage นี้ดิฉันก็ได้เรียนรู้มาจากการดูข่าวตอนอยู่ต่างประเทศค่ะ พอจะเข้าใจแต่ไม่รู้หลักการอย่างที่คุณบางทรายเสนอว่าเขาแบ่งเป็น ๓ ระดับหรอกค่ะ (ขอบคุณนะคะ ได้ความรู้ดีมากเลย)

แต่ที่ตัวเองใช้อยู่ก็คือหลักการเรื่องการเลือกช่วยคน (หรือการให้ทาน) เหมือนกันค่ะ ต้องแยกแยะว่าใครมีศักยภาพเหมาะที่จะให้ เพราะเราเวลาน้อย กำลังน้อย ไม่อยากเสียเปล่า เราอยากจะให้คนที่เขาเอาไปทำดีต่อได้

แนวการคัดเลือกที่ตัวเองใช้ก็คงเป็นกรณีๆ ไป ไม่แน่ไม่นอน ประมาณว่าใช้ประสบการณ์ตัดสินเอาค่ะ...

  • สวัสดีค่ะพี่บางทราย
  • ราณีเห็นด้วยค่ะ การสร้างคน สร้างได้ พัฒนาได้ค่ะ
  • สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้คือความเข้มแข็ง และความแข็งแกร่งของชุมชน รวมทั้งความจริงใจด้วยค่ะ
  • ราณีเชื่อว่าพี่กำลังทำให้ชุมชนเข้มแข็ง โดยการพัฒนาที่ดีค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

น่าสนใจมากครับ....อ่านแล้วนึกถึงตอนนั่งดูหนังสงครามที่มีหน่วยรักษาพยาบาล หมอทหาร ที่ต้องคอยดูแลทหารบาดเจ็บ...

ผมเลยคิดไปถึงบัวสี่เหล่าด้วยนะครับ ถ้าอยู่ในตมก็คงจะช่วยยาก ... เหมือนเวลาสอนหนังสือ ต้องทำคนเก่งให้เก่งขึ้น ...คนปานกลางก็ช่วยให้เก่ง ส่วนคนอ่อนต้องให้โอกาสครับ ...ปรับทัศนคติและพัฒนา...

ทุกคนสามารถพัฒนาได้ครับ แต่สิ่งที่จะพัฒนาควรจะเหมาะกับตัวเขานะครับ...

โอชกร

  • สวัสดีครับอาจารย์ กมลวัลย์
  • ผมทำงานไปบางทีก็งง งง เพราะมึนกับสรรพสิ่งที่ล้อมเข้ามา  ต้องออกไปยืนนอกวงบ้าง แล้วตั้งสติหันกลับมาพิจารณา หลายครั้งก้พบว่า ความดีของวิชาการก็คือ ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ชัดเจนมากขึ้น มีแนวทางในการคิดต่อ และตัดสินใจ นี่คือคุณูปการของวิชาการ 
  • แต่หากเมากับวิชาการมากเกินไปก็หลุดจากข้อเท็จจริงพื้นฐาน ในกรณีที่แก่กล้าเกินไปที่เห็นปุ๊บก็ติดสินใจปับ ก็พลาดได้ทันทีเช่นกัน
  • ผมเอา เจ้า Triage ไปใช้แล้วหลายครั้งก็พบข้อดีหลายอย่างครับ ซึ่งเราเองก็สามารถยืดหยุ่นเกณฑ์ต่างๆได้ตามที่เรากำหนดขึ้นมาและตัดสินใจร่วมกันภายในกลุ่ม ทีมงาน และชาวบ้านครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับน้องราณี
  • ในเราน่ะเต็มร้อยในการทำงานชุมชน แต่เราไม่สามารถสร้างทุกอย่างได้ ต้องร่วมมือกับหลายหลากภาคส่วน  ก็ผลักกันบ้าง ดันกันบ้าง ลากบ้าง จูงบ้าง อุ้มกันบ้าง  แต่ทั้งหมดต้องคุยกันครับ
  • หลักการ หรือ ทฤษฎี เป็นเพียงแนวทางให้เรา แต่เราต้องดัดแปลงไปตามสถานการณ์จริงในชุมชนที่ต่างกัน 360 องศาเลยบางที
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับอาจารย์โอชกร - ภาคสุวรรณ
  • ผมเห็นด้วยครับ  หลักการนี้เอาไปใช้ในห้องเรียนก็ได้ครับ อย่างอาจารย์กล่าว
  • ผมเห็นด้วยกับหลักบัวสี่เหล่า ที่จัดกลุ่มขึ้นมาแล้วเลือกเครื่องมือพัฒนาที่เหมาะสมกับแต่ละเหล่า
  • แต่อาจารย์ต้องเหนื่อยหน่อยนะครับ แต่ผลสุดท้ายก็ชื่นใจนะครับที่เห็นคนเติบโต ก้าวหน้าขึ้นมา
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • ผมเข้ามาให้กำลังใจนะครับ ไม่ว่าจะต้องแบ่งออกกี่ระดับ ในเรื่องการพัฒนาชุมชน ผมก็พร้อมที่จะให้กำลังใจนะครับ
  • ผมคงลงไปในทางการศึกษาในระดับชุมชน หากลงไปได้ครับ อยากเน้นน้องๆ ตัวน้อยๆ ครับ กะว่าจะเริ่มในละแวกทางใต้กันก่อน อย่างที่เคยทำมาแล้วครับ เหมือนว่าจะไปได้สวยครับ
  • แต่ต้องเพิ่มไปถึงระดับล่างๆ ก่อนด้วยครับ โดยแนะนำแนะแนวทางการศึกษา สร้างแรงจูงใจ เช่น ป.ห้า ป.หก ม.สอง ม.สาม ม.ห้า ม.หก หรือกลุ่มอื่นๆ ตามโอกาสครับ
  • ชุมชน คงเริ่มที่บ้านตัวเองก่อนครับ ตอนนี้กำลังเริ่มมาได้หลายปีแล้วครับ ตอนนี้เริ่มเสถียรครับ แต่จะทำอย่างไรให้เพื่อนบ้านรอบนอกจึงจะหันมาสนใจด้วย
  • สำหรับที่บ้านคิดว่าผ่านในระดับหนึ่ง แต่ต้องพยุงกันต่อไปครับ
  • สามกลุ่มผู้บาดเจ็บนั้น ผมอยากจะแบ่งถึงสภาพดินในชุมชนด้วยครับ น่าจะแบ่งได้ประมาณนั้นเช่นกันครับ ว่าพื้นที่ใดจะปลูกอะไร ก็ตามสภาพดินและสภาพแวดล้อมอื่นๆครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

 

  • สวัสดีน้องเม้ง
  • ดีใจที่ทำงานกับชุมชนด้วย
  • มีอะไรให้พี่รับใช้ก็ยินดีนะครับ
  • ภรรยาพี่เขาก็มี conection กับอาจารย์ใน มอ.หลายท่าน ทั้งทำงานด้วยกันในหลายโครงการ
  • เรื่องดินนั้น เขามีแผนที่ดินที่วิเคราะห์ให้เรียบร้อยเลยว่าตรงไหนเป็นดินชุดอะไร ปลูกอะไรได้ ไม่ได้ น้องเม้งคงทราบดีอยู่นะครับ
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณที่เสนอสูตรการพัฒนา ให้เพื่อนๆลงขันต่อยอดความคิดกันอย่างได้ประโยชน์มาก โจทย์ฉุกคิดใครอ่านได้แง่คิดและมุมมองต่อๆๆๆ สายตายาวขึ้น ชัดเจนขึ้น ทั้งๆที่ใสแว่นอันเดิม ถ้าเป็นสมัยพุทธกาล คงได้คิดกันสนุก ว่าใครอยู่บัวเหล่าไหน 1-2--3-4  พวกอยู่ใต้โคลนนี่ พระพุทธองค์ยังยกธงขาว

พี่บางทรายคะ

ได้ความรู้และเพิ่มความเข้าใจ ร้อง อ๋อๆ มิน่าเล่าอยู่ในใจค่ะ

สงสัยว่า ถ้าเราจะคิดทำให้มันขยายวง..(เขาคงทำกันอยู่แล้ว??) คือ ช่วยกลุ่มที่ 1 และ 2 แล้วให้ สองกลุ่มนั้นไปช่วย กลุ่มที่ 3

จะเพิ่มความสามารถในการอยู่รอดด้วยกันได้ไหมคะ

  • สวัสดีครับครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
  • เป็นการนำหลักการที่ค้นพบมาดัดแปลงใช้และเป็นแนวทางของบัวสี่เหล่าอย่างท่านว่า เราก็สามารถจะจัดการกับบัวแต่ละเหล่าได้
  • เป็นแนวคิดที่เสนอให้ผู้สนใจนำไปดัดแปลงน่ะครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับน้องจันทรรัตน์ เจริญสันติ

  • พี่เห็นด้วยกับแนวคิดของน้อง ลองเอาไปดัดแปลงดูนะครับ ได้ความอย่างไรก็เอามาคุยกัน แลกเปลี่ยนกันนะครับ
  • น่าสนใจ เอากลุ่ม 1 กลุ่ม 2 มาช่วยกลุ่มที่ 3 เฉียบแหลมมากครับ
  • ขอบคุณครับ

เห็นด้วยในหลักการครับ และในทางปฏิบัติทางโครงการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชนทีผมรับผิดชอบอยู่ที่อำเภอปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน หลายๆครั้งเราก็ต้องถอนตัวออกจากกลุ่ม 3

สิ่งที่ผมอยากแลกเปลี่ยนก็คือ กลุ่มทั้งสามนั้นมันไม่นิ่ง มันเลื่อนไปมาได้ครับ และบางทีมันก็คลุมเครือ อยางไรก็ตาม หลุมพรางของการจัดกลุ่มหรือการจัดจำแนก (catagorize) ก็คือการทำให้ภาพกลุ่มต่างๆหยุดนิ่ง (static) อย่างน้อย ก็ในความรู้สึกชาวบ้าน ไปๆมาๆ กลายเป็นอัตลักษณ์หรือตัวตนของชาวบ้านไปเลย เช่น ถ้าใครถูกประทับตรา (stereotype) ว่าเป็นพวก "สีดำ" สังคมก็มักจะมองว่าเขาเป็นสีดำอยู่อย่างนั้นไปอีกนาน คือไปติดอยู่กับภาพที่ถูกสร้างขึ้น

นักวิชาการ นักพัฒนา นักการศึกษาจำนวนมากครับที่ใช้การจัดจำแนกเป็นเครื่องมือสร้างมาตรฐาน (standardization) โดยไม่รู้ตัวว่า ผลข้างเคียงยังคงสืบเนื่องไปอีกยาวนานครับ เพราะการจัดจำแนกมันมาพร้อมกับการให้คุณค่าความหมายทางสังคมวัฒนธรรมบางอย่างเสมอ เช่น การจัดจำแนกว่าเป็นพวกไม่รู้หนังสือ สังคมก็มักจะให้ความหมายว่าเป็นพวกคนโง่ ทั้งที่พวกเขามีความรู้เรื่องอะไรเยอะแยะ , การจัดจำแนกคนตามรายได้ กลุ่มที่มีรายได้สูงก็มักจะถูกมองว่าเจริญก้าวหน้า , การจัดจำแนกว่าประกอบอาชีพอย่างนั้นอย่างนี้ หลายครั้งก็พบว่าไม่ยืดหยุ่นกับความจริงของชาวบ้านที่ปรับเปลี่ยนอาชีพตามฤดูกาลและความจำเป็น

การจัดจำแนก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาจากฐานคิดในโลกอุตสาหกรรมที่สิ่งต่างๆมักจะเป็นระบบระเบียบต่างจากบ้านเราที่เป็นสังคมพื้นฐานเกษตรซึ่งมีความยืดหยุ่นและพลวัตสูงมาก จึงเป็นกับดักอย่างหนึ่ง ที่ทำให้คนเราเคยชินกับการให้ความหมายตามสิ่งอยู่ในกรอบนั้นๆ อันนั้น ผมว่าต้องใช้อย่างระวังเหมือนกันและต้องตั้งคำถามอยู่เสมอครับ

 ที่ผมใช้ทำงานกับกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่เป็นกระบวนการสร้างแกนนำเด็กไปต่อเด็กมากกว่า ให้พวกเขาเลือกกันเองว่าจะใช้กลยุทธ์แบบไหน โดยมีผู้ใหญ่เป็นพี่เลี้ยง และมีหลักวิชาการรองรับ แบบว่า "เล่น" กับหลักวิชา ค้นหา ลองผิด ลองถูก สนุกและเรียนรู้กับมัน แต่ก็ยังต้องฝึกอีกเยอะมากครับ

อย่างไรก็ขอขอบคุณ รุ่นพี่มากๆนะครับ ที่ให้แนวทางที่ผมสามารถนำไปปรับใช้เป็นเครื่องมือในพื้นที่ชนบทบนพื้นที่สูงได้ อยากให้เขียนเรื่องอย่างนี้มากๆครับ

  • สวัสดีครับน้องยอดดอย
  • โป๊ะเช๊ะ เลย ใช้แล้วครับน้องครับ การหยิบอะไรมาใช้ โดยเฉพาะนักหลักการจ๋า นักทฤษฎีจ๋า ก็อันตรายสำหรับงานที่เกี่ยวกับคน ประเด็นที่น้องยอดดอยกล่าวถึง เป็นประเด็นเดียวกันที่พี่ถกกับนักประเมินผลว่า ไปประเมินช่วงไหนของคน ขององค์กร หากไม่ใส่บริบทที่ชัดเจน ระบุให้ชัดว่าเมื่อนั่นเมื่อนี่ แล้วผลงานชิ้นนั้นพี่ก็ไม่ยอมรับเช่นกัน
  • พี่กำลังเขียนขยับจะเขียนเรื่อง "การปรับตัวขององค์กร" เพราะเห็นประเด็นอย่างที่น้องเห็น เพราะพี่ติดตามมาตลอด การทำงานว่า คนปรับตัว กลุ่ม องค์กรปรับตัว หรือเคลื่อนที่ตลอดเวลา ช้าหรือเร็วเท่านั้นก็ขึ้นกับปัจจัยเงื่อนไขเฉพาะ และการปรับตัวแบบของชุมชนนั้นมันไม่มีรูปแบบตายตัว แต่มันยืดหยุ่นอยู่บนองค์ประกอบของคน ผู้นำ สมาชิก สังคมรอบข้าง แรกกดต่างๆ แรงดันภายใน วัฒนธรรม ประเพณี สังคมทุน ฯลฯ ที่มันมีหนักเบาแตกต่างกันไป  หน้าตาออกมาก็แล้วแต่องค์กร กลุ่ม ชุมชนนั้นๆจะช่วยกันวาดออกมา แต่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความเคลื่อนที่ไปได้ในวัตถุประสงค์ที่กำหนดร่วมกัน
  • แน่นอนหลายต่อหลายกลุ่มปรับไม่ได้เพราะบางส่วนแข็งเกินไป อ่อนเกินไป ก็หยุดลง หรือไม่ก้าว แคระแกรนอยู่เช่นนั้น
  • หากจะเรียกอีกทีคือ องค์กรนั้นมีชีวิต การเติบโตของชีวิตองค์กรนั้น มันใช้ความ hamonize ของสถาพชุมชนเขามาขับเคลื่อนไปท่ามกลางปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่มี ที่เอาขึ้นมาชั่งตวงวัดด้วยวิธีการของเขาเองแล้วสรุปลงอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประคับประคองให้มีชีวิตต่อไปด้วยกัน
  • เมื่อภาพคร่าวๆเป็นเช่นนั้น คน เงื่อนไข ปัจจัยต่างๆ เวลาและกระบวนการจัดการเป็นเรื่องสำคัญใน "การปรับตัว" เพื่อก้าวไปข้างหน้า ฝ่าลมฝ่าฝนต่อไป
  • พี่แทบไม่เชื่อว่า กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนที่สะสมเงินครั้งแรกได้เพียง 2000 บาท อีก 20 ปีต่อมามีเงินหมุนเวียนมากกว่า 20 ล้านบาท นี่มองในแง่ตัวเงินนะ และย้อนไปดูพัฒนาการของเส้นทางเดินของกลุ่มแล้วก็น่าสนใจ ทึ่ง มาก เพราะเขาปรับตัวมาตลอดปัญหาอุปสรรคที่เผชิญ  บางช่วงตกต่ำสุดขีดจนเกือบจะล้ม  แต่ก็มีผู้ฮึดสู้ ด้วยหลักการที่เหนียวแน่น สร้างศรัทธาขึ้นมาใหม่ แล้วก็เติบโตขึ้นมาอีก เกิดการรวมกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยเข้าด้วยกันเพื่อสร้างพลัง  แต่ก็เผชิญปัญหาใหม่ เกือบย่อยยับไปอีก แต่ก็ลุกขึ้นมาได้  หากมีใครไปประเมินผลในช่วงตกต่ำก็อาจจะสรุปว่า กลุ่มกำลังจะตายจากไป จงยุติเสียเถิด อะไรทำนองนี้.. แต่มันไม่ใช่.. ดังนั้นการประเมินผล  อันตรายมากๆหากวิสัยทัศน์ของนักประเมินผลเห็นเพียงแค่นั้น  แต่ไม่เห็นการเคลื่อนตัวขององค์กร ไม่เห็นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ อย่างที่น้องว่ามา ใช่เลยครับ
  • อันตรายถ้าหน่วยงานต่างๆจ้างนักประเมินผลแบบนี้เข้าไปประเมินแล้วผลออกมาดังกล่าว แล้วเอาผลการประเมินนั้นมาตัดสินต่างๆ เช่น ยุติการสนับสนุน ตีค่าของความสามารถในการพัฒนา  ตีค่าของการพัฒนาขององค์กร อันตรายจริงๆ พวกที่ผ่านชุมชนแบบที่เขาเรียกว่า "Tourism development"  พี่เองก็ถกกันหนักๆกันมาพอสมควรกับเรื่องนี้กับนักประเมินผลภายนอก...
  • ขอบคุณน้องยอดดอยมากที่มาแลกเปลียนกันครับ
  • พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท