เรื่องเล่าจากดงหลวง 114 เสียงบ่นจากชนบท ผ่านมนุษย์สองโลก


ผู้บันทึกเห็นว่าหากไม่เอาสิ่งเหล่านั้นมาพูด เอาแต่เรื่องดีๆ สวยงาม มันก็ขาดภาพจริงของชุมชนไป ซึ่งของจริงขมขื่นมากกว่านี้มากมายนัก หากกล่าวว่าประเทศไทยไม่ใช่กรุงเทพฯ ชนบทก็คือส่วนสำคัญของประเทศที่เป็นเนื้อเดียวกันกับเมืองหลวง แต่ต่างทำหน้าที่กันคนละอย่างที่ขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าออกไปสู่สังคมโลกกว้าง

น้องนิด หลานสาวอยู่กรุงเทพฯ มาเที่ยวบ้านขอนแก่นเห็นวัวเดินอยู่ที่ริมรั้วก็ถามว่า คุณอาขา..นี่เป็นวัวหรือควายคะ... ไม่ใช่ความผิดของเธอหรอกครับ เป็นความใสบริสุทธิ์ของเด็กที่น่ารักคนหนึ่งที่อยากรู้อยากเห็นว่าสัตว์ที่เห็นนั้นคืออะไรกันแน่ เพราะชีวิต 10 กว่าปีที่เธอเติบโตอยู่ในกรุงเทพฯนั้น เธอเห็นแต่รถ และห้างสรรพสินค้า ฯลฯ วัวและควายเคยอ่านในหนังสือ หรือไม่ก็เห็นแบบผ่านๆที่เธออยู่ในรถยนต์ แต่ไม่มีโอกาสอยู่ใกล้ๆเลย 

ทองปอนด์ออกจากบ้านริมป่าอันแห้งแล้งนั้น พ่อกับแม่ต่างบอกให้ไปหาพ่อเฒ่าจ้ำ เพื่อทำพิธีบอกลา ปู่ตา ของชุมชนก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ พร้อมกับข้าวสารเหนียวใส่ถุงปุ๋ยขึ้นรถเมล์ประจำทางมุ่งสู่มหานครใหญ่ พร้อมกับเพื่อนอีก 2 คน เพื่อมาทำงานหาเงินตามรุ่นพี่ๆ ที่มาก่อนล่วงหน้าแล้ว ทองปอนด์ตื่นตาตื่นใจจนนอนไม่หลับในคืนแรกที่กรุงเทพฯ เสียงรถรา ผู้คนมากมาย มีแต่ตึก ไม่มีต้นไม้สักต้น อากาศร้อน ควันรถ การแต่งเนื้อตัวของผู้คนก็แปลกแตกต่างไปจากบ้านนอกของเขา... 

ทองปอนด์เข้าเมืองกรุง เรียกว่ากะเหรี่ยง ที่เดาบุคลิกออกว่า เปิ่นๆ และไม่ค่อยกล้าตัดสินใจอะไร มองซ้ายมองขวาด้วยความแปลกๆของสิ่งรอบตัว 

ส่วนน้องนิดนั้น กระฉับกระเฉง กล้าพูด กล้าถาม และสดใส แม้จะเปิ่นๆแบบเด็กๆที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวกับชนบท เธอก็ยังมักถามเสมอว่า ที่เพื่อนๆคุณอาพูดนั้นหมายความว่าอย่างไรกัน เมื่อเธอได้ยินคนอีสานเว้าพื้นกัน เธอก็หน้าตาเหรอหรา ไม่รู้เรื่อง 

มันเป็นภาพทั่วๆไปที่ใครก็เคยเห็น เคยได้ยินเรื่องที่เล่ากันไม่จบถึงเรื่องตลกต่างๆที่เกิดกับ กะเหรี่ยงและคนเมืองกรุง นี่คือมนุษย์ในสองโลก คือโลกชนบทและโลกในเมืองเป็นสังคมที่มีความแตกต่างกัน ที่กำลังเชื่อมต่อกันให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจของงานพัฒนาประเทศ ที่มีระบบธุรกิจเป็นผู้นำทางออกหน้าไปไกลโน้น.... 

มีคนจำพวกหนึ่งซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรทีเดียวที่วิ่งเข้าออกระหว่างสองโลกนี้เพื่อทำหน้าที่เชื่อมสองโลกเข้าด้วยกันแต่เป็นการเชื่อมทางระบบคิด ก่อนที่จะตามมาด้วยวิถีชีวิตและครรลองการดำรงอยู่ คนพวกนี้เรียกกันว่าคนทำงานพัฒนาชุมชน ซึ่งก็มีความหลากหลาย 

ผู้บันทึกรวมอยู่ในกลุ่มคนพวกนี้ และคลุกคลีมาพอสมควรจึงซึมซับเอาชนบทออกมาตีแผ่บางแง่มุมให้คนนอกได้เข้าใจว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้างในชนบท  ซึ่งหลายท่านอาจจะรู้สึกว่า มีแต่เรื่องปัญหา มีแต่เรื่องหนักสมอง มีแต่ความทุกข์ นานๆจะมีเรื่องดีๆ สนุกๆ และเบาสมองมาเล่าสู่กันฟัง 

ผู้บันทึกเห็นว่าหากไม่เอาสิ่งเหล่านั้นมาพูด เอาแต่เรื่องดีๆ สวยงาม มันก็ขาดภาพจริงของชุมชนไป ซึ่งของจริงขมขื่นมากกว่านี้มากมายนัก  หากกล่าวว่าประเทศไทยไม่ใช่กรุงเทพฯ ชนบทก็คือส่วนสำคัญของประเทศที่เป็นเนื้อเดียวกันกับเมืองหลวง แต่ต่างทำหน้าที่กันคนละอย่างที่ขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าออกไปสู่สังคมโลกกว้าง  

ท่านที่มีหน้าที่รับผิดชอบสร้างบ้านแปงเมืองนั้นต้อง จริงใจ สำนึกและสำเหนียกเสียงร้องของชาวชนบทบ้าง ฟังเขาพูดบ้าง เข้าใจเขาแบบ คนในบ้างเถอะ  ชาวชนบทร้องขอในสิทธิที่เขาควรจะได้ อย่าให้เขาต้องเสียสละเพื่อชาติไปถึงไหน คนเมืองต่างหากที่บริโภคสัดส่วนงบประมาณของประเทศมากกว่าชนบทมากมายหลายเท่า

หมายเลขบันทึก: 102329เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2007 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

พี่บางทรายคะ

เทศบาลตำบลหนึ่งในชนบท ที่มีผู้คนอพยพเข้าไปอยู่อาศัย เพราะว่ามีโรงงานจำนวนหนึ่งมาตั้งอยู่

ผุ้คนมากขึ้น ตลาดเช้าเริ่มคึกคักเร็วกว่าเดิม แม่ค้าไปจับจ่ายตั้งแต่ตีสองตีสาม เพื่อจะไปซื้ออาหารสำเร็จรูปบรรจุถุงไปขายต่อ ในโรงงาน

ความเจริญมาพร้อมกับขยะกล่องโฟม ถุงหูหิ้ว ที่เกลื่อนกราด และฟุ้งฟ่อนยามลมพัดมา

วันหนึ่ง เทศบาลก็มองเห็นหนทางสร้างรายได้อันงดงาม จากกองขยะ

สิ่งที่เทศบาลทำ คือสั่งผลิตถุงดำใส่ขยะ ตัตราเทศบาลและขายในราคาแพงสองเท่าของถุงขยะทั่วไป และเก็บถังขยะสาธารณะไว้หมดสิ้น

สิ่งที่เทศบาลทำต่อ คือ จัดให้มี เสียงตามสายทุกเช้าค่ำ กลอกหูชาวบ้านว่าด้วยโทษของการทิ้งขยะในสาธารณะ  และบีบบังคับให้ซื้อถุงขยะตีตราเทศบาล และต้องซื้อจากประธานชุมชนและคณะกรรมการสภาเทศบาลเท่านั้น

ชาวบ้านรายได้จำกัด ทำงานในโรงงานตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า กลับบ้านค่ำ ไม่รู้จะเอาช่วงเวลาไหนไปซื้อถุงขยะ จึงรวบรวมขยะฝากแม่ค้าตลาดไปซื้อถุงขยะและจัดทิ้งแทน

สิ่งที่เทศบาลทำต่อ คือ ห้ามแม่ค้าที่มาจากนอกเขตเทศบาลทิ้งขยะในตลาดแม้ว่าจะซื้อถุงขยะเทศบาลแล้วก็ตาม และมีประกาศให้ประธานชุมชนจดรายชื่อผู้ซื้อถุงขยะและออกเสียงตามสายประจานผู้ที่นำถุงขยะไปขายต่อให้แม่ค้า

พี่บางทรายคะ ...ในชนบท...เรื่องเล่าแบบนี้ไม่ใช่ของใหม่ ใช่ไหมคะ....

 

ยังขาดอีกขั้นตอน..

ในเมื่อขายถุงขยะได้มาก เทศบาลก็น่าจะดีใจ

แต่เบื้องหลังคือ เทศบาลไปตกลงกับบริษัทที่มาประมูลจัดเก็บขยะ ...ว่าจะจ่ายค่าจัดเก็บตามน้ำหนักของขยะ...แทนการจ่ายตามจำนวนเที่ยวหรือรายเดือน ....

จำนวนขยะกับถุงขยะ จึงเป็นสมการผกผันอย่างนี้แหละค่ะ

สวัสดีครับน้อง

P

มองแบบสุดโต่งก็คือ ตำแหน่งคือทนทางทำมาหากิน แทนที่ตำแหน่งคือการมุ่งหน้าสร้างสรรบ้านเมือง  เคยได้ยินเพื่อนรุ่นน้องซึ่งเป็น อบต.พูดกันว่า เฮ้ย..รวยหรือยังวะ..

ความจริงอย่างที่กล่าวก็มี ที่ดีๆก็มีครับ ยกมือไหว้ได้สนิทใจ

เทศบาล, อบต. จะตั้งงบประมาณเพื่อการก่อสร้างมากมาย เพราะงานก่อสร้างนั้น นางกวักชอบ ท่าจะกวักมือเพียงไม่กี่ครั้งเงินก็ไหลมาเทมาเชียว มุมมองหนึ่งงานก่อสร้างเป็นสิ่งที่ดีสำหรับสิ่งที่จำเป็นพื้นฐาน และการแก้ไขปัญหาที่คิดว่าจำเป็น แต่หลายครั้งงานก่อสร้างเพื่อหน้าตา..เกินความจำเป็น ขณะที่คนจนในเมืองมากมาย กลับไม่มีงบประมาณเข้าไปแก้ไข หรือมีน้อยเดินไป

ตำแหน่งคือหนทางทำมาหากินที่ใครๆมองก็เห็น กรณีที่น้องกล่าวถึงก็เหมือนกัน เขาเรียนแบบกันไปหมดตั้งแต่ระดับชาติลงมาถึงท้องถิ่น

ประชาชนต้องลุกขึ้นมาคัดค้านสิ่งเหล่านี้อย่างสันติ ทำเล้ย ไม่ต้องรอ

สวัสดีครับคุณบางทราย

ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๗ ผมเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น  แต่ละปีจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้ผมประทับใจมาก...เกี่ยวกับชาวชนบท

เหตุการณ์ที่ว่าก็คือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร  

ญาติๆของบัณฑิตที่มาจากชนบทจะพากันเหมารถสองแถวเข้ามาในบริเวณมหาวิทยาลัยตั้งแต่เช้า มากันมาก ดูอบอุ่นดี  

ระหว่างที่รอพิธี  พวกเขาก็จะปูเสื่อนั่งพักกันอยู่ตามใต้ต้นไม้ แล้วเอาอาหารที่เตรียมมาออกมากินกันอย่างอเร็ดอร่อย  บางครอบครัวก็มาปรุงอาหารกันที่ในมอเลย

มันช่างเป็นภาพที่สะท้อนความเป็นอยู่...ความต้องการ...ความสุข...ที่เรียบง่าย...บริสุทธิ์...

วูบหนึ่งของความคิด... มหาวิทยาลัยในภูมิภาคช่างมีนโยบายอันแสนวิเศษ มีโควต้าให้นักเรียนชนบท ทำให้ชาวชนบทมีโอกาสทางการศึกษา...

วูบหนึ่ง...เป็นความรู้สึกดีๆต่อผู้รับผิดชอบสร้างบ้านแปงเมือง...ก็ยังดีนะที่เป็นตั้งวูบ... 

สวัสดีครับอาจารย์ศิริศักดิ์

  • เป็นภาพที่น่ารักมากเลยนะครับ ตามที่อาจารย์เล่าให้ฟัง ผมก็เคยเห็นเช่นกัน มันทำให้เห็นความผูกพัน และห่วงใยซึ่งกันและกัน
  • เคยเห็นเด็กสอบเข้าสาธิต มข.ก้เช่นกัน เด็กสอบหนึ่งคนญาติมาลุ้นมากกว่า 2 คน เหมือนสภาพที่อาจารย์เล่าให้ฟัง ปูเสื่อ กินส้มตำกันตามใต้ร่มไม้ หาได้ที่ไหนล่ะในเมืองกรุง
  • แบบนี้เองโรงพยาบาลศรีนครินทร์จึงต้องมีสถานที่พิเศษสำหรับญาติที่มาเยี่ยมไข้
  • ผมว่านี่เป็นทุนสังคมอย่างหนึ่งนะครับ
ไม่น่าแปลกใจเลยค่ะ ตอนปีใหม่ที่ไปปายกับเพื่อนๆ มีพี่คนนึงเห็นลูกวัว วิ่งมาตามเราไปดูใหญ่บอกว่ามีกวางด้วย 555 เหมือนกันตรงไหน พอไปดูร้องอ๋อ กวางมอนี่เอง
สวัสดีครับ  

P

เป็นไปได้ครับ และเกิดขึ้นได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท