สังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาสิงคโปร์


สังคมพหุวัฒนธรรม, หลากหลายเชื่อชาติ ศาสนา วิถีชีวิต, แตกต่างแต่ไม่แตกแยก
  เมื่อวันที่ 18-20  พ.ค. 54 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากรขึ้น
เพื่อพัฒนาบุคลากรของคณะให้มีความรู้ความสามารถ
ในด้านการบริหารและการจัดการศึกษา
โดยกำหนดไปศึกษาดูงานด้านการศึกษา สังคม
และวัฒนธรรม ณ ประเทศสิงคโปร์
มีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ร่วมศึกษาดูงาน จำนวน 39 รูป/คน นำโดย  พระครูสุตกิจบริหาร,ผศ.
รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา
   
ด้านประชากร มีความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา  มีทั้งเชื้อชาติจีนซึ่งนับถือพุทธแบบมหายาน (ประมาณร้อยละ ๗๐)  เชื้อชาติอินเดียที่นับถือฮินดู (ประมาณร้อยละ ๒๐)  เชื้อชาติมาเลย์ที่นับถืออิสลาม (ประมาณร้อยละ ๘)  และเชื้อชาติผสมกับทางยุโรปเพราะเป็นอาณานิคมอังกฤษที่นับถือคริสต์  (ประมาณร้อยละ ๒) แต่ประชาชนอยู่กันอย่างสงบไม่มีปัญหาด้านเชื้อชาติและศาสนาเลย   นับว่าเป็นสังคม "พหุวัฒนธรรม" หรือ MULTICULTURAL-SOCIETY ที่น่าศึกษายิ่ง

 
ด้านการศึกษา  สิงคโปร์ได้ชื่อว่ามีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก  บุคลากรมีการศึกษาและความรู้ที่เท่าเทียมกัน
  
 
และใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการและติดต่อสื่อสารทั่วไป จึงทำให้ประชาชนพูดภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการติดต่อธุรกิจด้านต่างๆ กับต่างชาติ
 
ในด้านกายภาพสิงคโปร์มีความเจริญทางด้านวัตถุมาก แต่ทุกสิ่งทุกอย่างต้องนำเข้าจากต่างประเทศรวมถึงน้ำดื่มและอาหาร ผลไม้ จึงทำให้เครื่องอุปโภคบริโภคมีราคาสูง
 
แต่ในด้านจิตใจชาวสิงคโปร์ก็ไม่ได้ละเลย คงยังมีศาลเจ้าแม่กวนอิม วัดพุทธ โบสถ์ฮินดู โบสถ์คริสต์และสุเหร่าให้เห็นอยู่ทั่วไป และมีประชาชนเข้าไปทำศาสนกิจอยู่ไม่ขาดสาย
 
คณะศึกษาดูงานได้ไปเยี่ยมชมกิจการของสถาบันสมทบมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ (Images of Singapore)  แหล่งชมชุนจีนและอินเดีย  อ่าวมารีน่า Suntech Cityและการแสดงแสง สี เสียง (Song of the Sea) เป็นต้น
จากการศึกษาดูงานได้ข้อสรุป  ดังนี้
๑.  พัฒนาชาติด้วยการพัฒนาคน พัฒนาคนด้วยการศึกษา
๒.  นโยบายต่อเนื่องเพราะการเมืองนิ่ง
๓. ผู้นำมีวิสัยทัศน์  มีความถนัดเฉพาะด้าน   ประสานประโยชน์
๔. แตกต่างแต่ไม่แตกแยก ด้านเชื้อชาติ ศาสนา  เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม
๕. ใช้ทรัพยากรคุ้มค่าระมัดระวัง  และรักษาสิ่งแวดล้อม
๖. ระบบบริการสาธารณะครบถ้วน
๗. สิทธิ เสรีภาพ  และความปลอดภัย
 
--------------------------------
อ้างอิง http://ibanana.multiply.com/journal/item/2/2
หมายเลขบันทึก: 442399เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2011 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ดีครับ...สังคมทุกวันนี้เปลี่ยนไป เราไม่ได้อยู่คนเดียว กลุ่มเดียว เหมือนแต่ก่อน

มองไปรอบๆ ข้าง ไม่ว่าที่พัก หรือที่ทำงานของแต่ละคนจะมีคนต่างชาติ ต่างศาสนา

ต่างวัฒนธรรม ต่างวิถีชีวิต ผสมปะปนอยู่ทั่วไป และยิ่งจะหลากหลายขึ้นไปในอนาคต

ส่วนตัวเราต้องทำใจ เตรียมใจในเรื่องเหล่านี้ ส่วนสังคมที่เคยเป็นคนกลุ่มเดียวกัน

ก็ต้องยอมรับในสิ่งเหล่านี้ และสุดท้ายก็ต้องอยู่ร่วมกันอย่างแตกต่าง แต่ไม่ให้แตกแยก

ให้เกียรติซึ่งกันและกัน....

ขอบคุณครับ คุณวัฒนธรรมไทย

คุณอธิบายได้ดีครับ นั่นแหละคือสิ่งที่อยากเสนอ

ขอบคุณ คุณศุภิสรา เจริญไพฑูรย์

ที่มาเยี่ยมเยือนและให้ดอกไม้

ตอนงานวิสาขผมทำหน้าที่ฝึกอาสาสมัครช่วยงานด้านไอที

โดยเฉพาะเป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ มจร.

เช่น การดูแลอุปกรณ์นำเสนอในห้องประชุม โปรเจคเตอร์

การคัดภาพและนำขึ้นเว็บไซต์ การตัดต่อวิดีโอ

ดูรูปที่ http://gallery.mcu.ac.th

ดูวิดีโอ http://mcutube.mcu.ac.th

ผมคนหนึ่งที่ให้ความสนใจกับสังคมพหุวัฒนธรรม

และเห็นว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่สามารถเป็นแบบอย่าง

ในการจัดการด้านความแตกต่างแต่ไม่แตกแยกที่น่าศึกษา

อย่างยิ่งจริง ๆ

ขอบคุณครับท่าน ผอ.โรงเรียนโคกกระถิน

ที่เข้ามาเยี่ยมเยือน...สังคมพหุวัฒนธรรม

เป็นสิ่งที่เราต้องเจอและต้องวางท่าทีที่เหมาะสม

โดยเฉพาะเด็กๆ ของเราต้องให้เข้าใจเรื่องนี้

หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์บ้างนะครับ

สังคมแย่มากตอนนี้ช่วยกันหน่อยน่ะค่ะเด็กดีทุกคน

สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆน่ะคนไทย


 

ขอให้เป็นเด็กดีทุกคน

โลกร้อนจังเด็กๆ

เด็กๆน่ารักจัง

สังคมเดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปเลยน่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท