เล่าประสบการณ์การทำค่ายเบาหวาน "โครงการฝึกอบรมผู้จัดกิจกรรมค่ายเบาหวาน รุ่นที่8" (2)


"ทำอย่างไร ใครทำ ทำที่ไหน ทำเมื่อไหร่ ใช้เงินอย่างไร "


      เล่าต่อจากเมื่อวานครับ (อ่านที่นี่ ) โดยหลังเบรกจะเป็นช่วงการซักถามกันในห้องประชุม  ในตอนพัก ดร.วัลลา ตันตโยทัย และผมเองได้มีโอกาสทักทาย หลายๆท่านที่รู้จักในเครือข่าย KM เบาหวาน อยู่แล้ว รวมทั้งไดแนะนำโรงพยาบาลที่มีโครงการที่จะทำค่ายกัน ซึ่งโดยรวมก็นำไปตอบกันบนเวทีครับ และในช่วงที่สองนี้ทั้งคุณเก๋ จิรพรรณ  รพ.เทพธารินทร์ คุณมณีวรรณ รพ.พุธชินราช และผมจะตื่นเต้นกันเป็นพิเศษครับ เพราะเมื่อรุ่นที่เจ็ด(รุ่นแผ่นดินไหว) เรากำลังจะตอบคำถาม ก็ต้องเลิกกันไปก่อนครับ โดยเฉพาะคำถาม "สิ่งที่ยากที่สุดในการทำค่าย" แต่อย่างไรก็ตาม ดร.วัลลาเริ่มด้วยคำถามนี้ก่อนครับ "ค่ายแต่ละแห่งมีการเตรียมตัว ก่อนทำค่ายอย่างไร" 
      ผมขอเล่าในมุมมองของผม และเรื่องราวจากค่ายที่ธาตุพนมครับ

 1. ขั้นตอนการเตรียมค่ายเบาหวานของแต่ละแห่ง
         ผมแนะนำก่อนว่า ผมเริ่มที่คำถาม "ทำอย่างไร  ใครทำ ทำที่ไหน ทำเมื่อไหร่ ใช้เงินอย่างไร " ผมว่ารุ่นนี้จะง่าย เพราะมีหลักสูตรของ สปสช.สนับสนุน เพราะฉนั้นทำอย่างไรก็ให้ตั้งใจเรียนรู้จนครบโครงการ(ตอบง่ายจัง) จริงๆแล้วก็ศึกษาจากเอกสารนำเสนอ รวมทั้งใน G2K นี้ด้วย ส่วนที่ธาตุพนมมีโอกาสเรียนจากเทพธารินทร์ และพุทธชินราช จากเครือข่าย KM เบาหวาน ที่ใช้กิจกรรม ลปรร.ในหลายๆครั้ง  ส่วนสำคัญคือการสร้างทีมงานว่าจะมีใครบ้างเช่นที่ธาตุพนม ใช้สหวิชาชีพใน รพ.ร่วมกับทีม จนท.จากสถานีอนามัยทุกแห่ง ตั้งเป็นทีมงานแล้วแบ่งหน้าที่ตั้งแต่เตรียมงานว่าใครถนัดส่วนไหน ใครขาดส่วนไหนก็จะได้ช่วยกัน ส่วนจะทำที่ไหน ทำเมื่อไหรก็ต้องดูความพร้อมของทีมงานและงบประมาณก่อน 

       เช่นที่ธาตุพนมเราจะเลือกทำที่วัดหรือสถานปฏิบัติธรรมต่างๆ เนื่องจากบรรยากาศดี เลือกได้หลากหลายที่ในชุมชน วัสดุอุปกรณ์ครบครัน ที่สำคัญประหยัด และมีส่วนร่วมจากพระสงฆ์องค์เจ้าครบ ส่วนงบประมาณให้ใช้งบปกติ (UC) ที่มีสำหรับงานส่งเสริมป้องกันอยู่แล้ว และอาจเพิ่มเติมจากผู้ป่วยเอง ส่วนท้องถิ่น บริษัทยา และสุดท้ายทำเสนอในโครงการ ของ สปสช.เอง (ผมแจกโครงการที่เขียนให้ทุกท่านใน CD ด้วย)
    
 2. สิ่งที่ยากที่สุดของการทำค่าย คืออะไร
       ค่ายเทพธารรินทร์ ยากที่ต้องคิดรูปแบบเกมส์ กิจกรรม ให้แปลกใหม่เสมอ ไม่ซ้ำเดิม เพราะผู้เข้าค่ายมักจะเป็นกลุ่มที่เคยร่วมค่ายแล้วประทับใจแล้วกลับมาร่วมค่ายซ้าอีก  รวมทั้งการเน้นกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอาหารและโภชนาการที่เป็นเรื่องที่ยาก แต่ต้องพยายามทำให้ได้ ทีมโภชนากรจึงเป็น นางเอก ของค่ายไป
      ค่ายที่พุทธชินราช ยากที่ต้องคิดว่าทำอย่างไร ผู้ที่เข้าค่ายจะปลอดภัยที่สุด ตั้งแต่ออกจากบ้านไปเข้าค่าย จนกลับสู่บ้านอีกครั้ง การเตรียมตัวจึงมากเป็นพิเศษ มีรถพยาบาลเตรียมพร้อมตลอดเวลาเข้าค่าย
      ค่ายที่ธาตุพนม ยากที่สุดในการที่จะสร้างทีมงาน เนื่องจาเป็นโรงพยาบาลชุมชน ที่จำกัดด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ การสร้างและฝึกทีมงานจึงสำคัญ รวมทั้งมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมที่มีการเตรียมการล่วงหน้า แบ่งหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน

 3.สิ่งที่ได้เรียนรู้ ระหว่างหรือหลังการทำค่าย
       ทีมเทพธารินทร์ เรียนรู้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่จะเกิดโดยไม่คาดคิดตลอดเวลา ทำให้การทำงานน่าตื่นเต้น ไม่น่าเบื่อ ตั้งแต่ปัญหาการประสานงาน จนกระทั่งปัญหาส่วนตัวของผู้ป่วยแต่ละคน กิจกรรมบางอย่างต้องปรับเวลากันตลอดเวลา ทีมงานต้องพร้อมเสมอ
       ทีมพุทธชินราช เรียนรู้ถึงศักยภาพของผู้ป่วยที่เป็นแกนนำ สามารถขยายผลไปถ่ยทอดในชุมชนต่างๆได้อย่างชัดเจน
      ทีมธาตุพนม เรียนรู้ถึงคำว่า "ตัวอย่างที่ดี มีค่ากว่าคำสอน" จากคำถามชาวค่าย ที่ถามกลับมายังทีมงานว่า "เฮ็ดหยังคุณหมอยังอ้วนอยู่" ทำให้ทีมงานที่ธาตุพนม (ส่วนใหญ่รอบเอวเกิน) ต้องมุ่งมั่นลดรอบเอวเป็นพิเศษ

 4.ข้อเสนอแนะ และสิ่งที่ฝากไว้ในการจะไปจัดค่าย
       ดร.วัลลา ใช้ KM มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างผู้เข้าค่ายและทีมวิทยากร  เช่นในการแยกกลุ่มสนทนากับแพทย์ เน้นให้ผู้ป่วยเล่าและแพทย์เสริม มากกว่าที่แพทย์สอนเพียงฝ่ายเดียวเหมือนเมื่อก่อน
       คุณเก๋ จิรพรรณ ฝากเรื่องการเตรียมตัวก่อนไปค่าย การไปสำรวจสถานที่ก่อนเป็นเรื่องที่สำคัญ
      คุณ มณีวรรณ ฝากว่ากลับไปต้องทำค่ายทันที ถ้ารอเวลา ความรู้และไฟที่ได้จะหมดไปก่อน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำไม่ได้ เพราะทุกคนมีความสามารถอยู่แล้ว ใช้ทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลให้เป็นประโยชน์ แล้วลงมือทำทันที
       ผม เสนอไปว่า ที่ธาตุพนม มีคนจำกัด คุณพยาบาลจึงเป็นคนที่สำคัญ ที่ต้องทำบทบาทต่างๆเทนผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย อาหารโภชนาการ เพราะเราสามารถเรียนรู้กันได้ สิ่งที่สำคัญคือเทคนิคการถ่ายทอดให้ผู้เรียนเข้าใจมากกว่า  
   
       5.คำถามอื่นๆ เช่น เขียนโครงการอย่างไร  ของบที่ไหน จัดกี่วัน  วัดอะไรดี คัดเลือกคนเข้าค่ายอย่างไร มีเทคนิคจัดอะไรบ้างครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เล่าไปแล้วในช่วงแรก ก็ได้เล่าลงรายละเอียดอีกที ตามที่ผู้เข้าประชุมสนใจครับ
 
 ภก.เอนก  ทนงหาญ

    

     

หมายเลขบันทึก: 104404เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยกับ คุณเอนก เรื่อง

"ตัวอย่างที่ดี มีค่ากว่าคำสอน" จากคำถามชาวค่าย ที่ถามกลับมายังทีมงานว่า "เฮ็ดหยังคุณหมอยังอ้วนอยู่" ทำให้ทีมงานที่ธาตุพนม (ส่วนใหญ่รอบเอวเกิน) ต้องมุ่งมั่นลดรอบเอวเป็นพิเศษ

ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยากที่สุดครับ สำหรับพวกเรา   คำพูด คำแนะนำของเรา จะมีพลัง ของความเชื่อมั่น  คนอื่นพร้อมที่จะทำตาม กำลังขบคิด เรื่องนี้อยู่ พอสมควร ทีเดียว

ถึงไม่แสดงตน ก็ขอบคุณกับการแสดงความคิดเห็นครับ

ผมก็ขบคิดเหมือนกัน จะลดรอบเอวได้อย่างไรถ้าไม่ sit up ก็มันปวดหลังน่ะครับ

เข้าใจแล้วว่าทำไม่เครื่องสันติสุข(โฆษณาขายในทีวี) จึงขายดี

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท