การจัดลำดับมหาวิทยาลัยโลก


มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะการจัดการ visibility ยังไม่ดี โดยเฉพาะเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลด้อยกว่าของมหาวิทยาลัยอื่นมาก

          เมื่อวันที่ ๑๘  ธันวาคม ๔๙   สภามหาวิทยาลัยมหิดลนำเรื่องการจัดลำดับมหาวิทยาลัยโลกเข้าเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบ  ตามเอกสารต่อไปนี้

          ๑. เอกสารสรุปนำเสนอวาระ
          ๒. The Times Higher Education Supplement
          ๓. QS Rank ๒๐๑-๕๔๒

          วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ ก็เพื่อกระตุ้นให้มีการจัดการด้าน visibility ของมหาวิทยาลัยมหิดลในสังคมโลก ให้ดีกว่านี้   กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิอย่าง  ศ.นพ.ประเวศ   วะสี   กล่าวอย่างชัดเจนว่า   มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับต่ำกว่าความเป็นจริง   เพราะการจัดการ visibility ยังไม่ดี   โดยเฉพาะเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลด้อยกว่าของมหาวิทยาลัยอื่นมาก

          มีการตั้งคำถามว่า   มหาวิทยาลัยมหิดลสนใจการได้อันดับต้นๆ ไปทำไม   คำตอบคือ  เพื่อเป็นพื้นฐานด้านชื่อเสียง  สำหรับเป็นทุนทางสังคมในการดึงดูดอาจารย์เก่งๆ   นักศึกษาเก่งๆ  มาทำงานและศึกษาใน ม.มหิดล    และการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ต้องดึงอาจารย์-นักศึกษาจากทั่วโลก   ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย

          ที่จริงวิธีการปรับปรุงเพื่อให้ได้อันดับต้นๆ มีหลักๆ อยู่ ๒ เรื่องเท่านั้น  คือ (๑) พัฒนาผลงานให้มีคุณภาพสูง   (๒)สื่อสารผลสำเร็จต่อสังคมโลกอย่างเป็นระบบ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการ search ทาง internet

          ผมมองว่าประเทศไทยต้องไม่ใช่ปล่อยให้แต่ละมหาวิทยาลัยตะเกียกตะกายเอาเอง   หน่วยงานที่มีหน้าที่บริหารจัดการระบบอุดมศึกษาของประเทศต้องเข้ามาจัดการระบบ   เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเด่นๆ ในประเทศไทยไต่อันดับที่ดีขึ้นไปอีก   ซึ่งเป้าหมายน่าจะได้แก่มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ ๑-๕๐๐ อยู่แล้ว   ได้แก่

                              จุฬา                    อันดับ          ๑๖๑
                              ธรรมศาสตร์         อันดับ          ๓๑๗
                              มหิดล                 อันดับ          ๓๒๒
                              เกษตรศาสตร์       อันดับ          ๔๐๔
                              เชียงใหม่              อันดับ          ๔๑๘
                              ขอนแก่น              อันดับ          ๔๗๕
                              สงขลานครินทร์     อันดับ          ๔๘๑

          สกอ. น่าจะเชิญผู้บริหารที่รับผิดชอบการจัดการเพื่อเพิ่ม international reputation ของมหาวิทยาลัย ๗  แห่งข้างบนเข้าประชุม   เพื่อร่วมกันหารือว่าจะช่วยกันสร้างชื่อเสียง (อันดับ) ในภาพรวมของประเทศได้อย่างไร   เราต้องวางแผนและจัดการเรื่องนี้ในระดับประเทศอย่างเป็นระบบ

          อย่างไรก็ตาม  ม.มหิดล ได้ร่วมมือกับบริษัท QS จัดประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องการจัดลำดับมหาวิทยาลัยโลก  ในวันที่ ๑๕  ม.ค. ๕๐   เวลา  ๑๓.๓๐ น. ที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล  ศาลายา

วิจารณ์   พานิช
๑๙  ธ.ค.  ๔๙

หมายเลขบันทึก: 68211เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2006 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
การจัดลำดับมหาวิทยาลัย หรือ University Ranking นั้นยังมีหลายมาตรฐานครับ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใด หน่วยงานใด หรือนิตยสาร หรือบริษัทเอกชนที่ประเมิน
ต้องกำหนดให้ชัดก่อนว่า จะเอามาตรฐานของหน่วยงานไหน และสาขาวิชาใดเป็นเกณฑ์ เพราะเกณฑ์การให้คะแนนไม่เหมือนกัน และให้น้ำหนักไม่เท่ากันด้วยครับ เช่น ถ้าให้วัดในด้าน IT อาจไม่เห็นชื่อ ม.มหิดลใน 500 ลำดับแรกแน่นอนครับ
ผมสนับสนุนเรื่องการจัดลำดับ เพื่อให้มีแรงกระตุ้นและแข่งกันพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆ ให้มีความแข็งแกร่ง มีความได้เปรียบในการแข่งบัน (โดยเฉพาะเมื่อออกนอกระบบแล้ว) แต่ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดลำดับ ประกาศกฎเกณฑ์คะแนนต่างๆให้โปร่งใส่ และให้เวลาสถาบันต่างๆในการพัฒนาและปรับปรุง และไม่ควรนับผลงานเก่าย้อนหลัง มิเช่นนั้นแล้ว ก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมในการประเมิน เพราะบางมหาวิทยาลัยเกิดก่อน 100 ปี ก็ย่อมมีผลงานวิชาการตีพิมพ์มากกว่า และสมัยก่อนอาจมีแค่สถาบันไม่กี่แห่งให้ศึกษาเท่านั้น
ดังนั้นในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ หรือยุค IT ควรประเมินเป็นช่วงๆ เช่นทุกๆ 5 ปี (ไม่นับผลงานที่ประเมินแล้ว) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตลอดเวลา และสถาบันที่เปิดใหม่ หรือเปิดได้ไม่นาน ได้รับความเป็นธรรมในการวัดผลด้วย ยกตัวอย่าง สถาบันในสายคอมพิวเตอร์หรือไอที ที่มีความพร้อมด้านเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย และตัวอาจารย์ชื่อดังด้านนี้ กลับเป็นคนหนุ่มอายุ 30-40 ปีเท่านั้น เพราะคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฎิบัติการพึ่งมีไม่ถึง 20 ปี
ฝากมุมมองนี้ไว้ด้วยครับผม

เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลด้อยกว่าของมหาวิทยาลัยอื่นมาก .. มาตั้งนานแล้ว

ดีใจมากค่ะ ที่สภามหาวิทยาลัยเริ่มพูดถึงและเห็นความสำคัญ หวังว่าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหา อย่างเป็นระบบและยั่งยืนกว่าที่เคยเป็นมานะคะ

หนูเองค่ะ 

 

ที่ดูน่าจะเชิดหน้าชูตาได้หน่อย คงเป็นเวบของบัณฑิตวิทยาลัย www.grad.mahidol.ac.th  ที่ดูจะข้อมูลครบถ้วน แถมใช้งานง่าย หน้าตาดี กว่าเวบบณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยอื่นๆเยอะ ครับ และดูจะดีกว่าทุกคณะในมหิดลด้วย

คงต้องมีการทำวิจัย และความตั้งใจสอนในมหาวิทยาลัยรามคำแหงบ้างแหละ แม้จะด้อย แต่ต้นทุนต่ำมากนะ หน่วยกิตแค่ 25 บาท

รามคำแหง คงต้องพัฒนาตัวเองขึ้นให้มาก

อยากให้มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นมหาวิทยาลัยปิดบ้าง

จะได้มีเด็กเก่งๆ ๆคงแอดเข้าไปเรียนมากมายเลยอะ

แล้วก็เปิดคณะให้ครบถ้วนทุกคณะด้วย เช่นแพทย์ เภสัช ทันตะ ศิลปกรรม อาไรประมาณเนี่ย คงดังพอ ๆ กับจุฬาเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท