Healthy หนังสือที่เป็นบทสัมภาษณ์


สุขภาพจะดีหรือไม่ดีจึงเป็นเรื่องที่เริ่มต้นตั้งแต่ปรัชญาชีวิตของแต่ละคนซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติและหาทางเลือกเพื่อตัวเอง

Healthy เป็นหนังสือในชุด HIP คือ Healthy, Independent และ Persons ของคุณวันชัย ตันติวิทยานันท์ ซึ่งเป็นงานรวมบทสัมภาษณ์ ที่มีค่า โดยสำนักพิมพ์ openbooks โปรยคำสั้นๆบนหน้าปกว่า หนังสือดีที่ควรมีไว้ประจำบ้าน  

หนังสือเล่มนี้ คุณหนึ่ง จากพัทลุงให้ยืมมาอ่าน เข้าใจว่า เพราะระหว่างนั้นปรารภในเชิงมรณานุสติบ่อยครั้ง และคงเห็นว่ากำลังศึกษาเรื่องสุขภาพในความหมายต่างๆ ซึ่งต้องขอบคุณไว้เป็นอย่างยิ่ง เพราะบทสัมภาษณ์ที่มีในหนังสือนั้น ได้มาจากท่านผู้รู้ที่ถ่ายทอดความรู้จากการปฏิบัติจริงในขั้นลึกซึ้งทั้งสิ้น ได้แก่พระไพศาล วิสาโล น.พ. ประสาน ต่างใจ ดร. สาทิส อินทรกำแหง คุณอารีย์ วชิรมโน น.พ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ 

โดยหลักใหญ่ของหนังสือที่รวบรวมบทสัมภาษณ์เช่นนี้ คาดว่าผู้พิมพ์คงมองหาแก่นกลางของเรื่องทั้งหมดก่อนแล้วจึงเลือกเอาบทสัมภาษณ์มาจับกลุ่มกัน ถ้าเป็นอย่างนั้นนับได้ว่าสำนักพิมพ์มีความละเอียดอ่อนและเข้าใจวิญญานของหนังสือดีทีเดียว เพราะสำนักพิมพ์ได้เรียงร้อยเรื่อง เริ่มจาก เตรียมตัวตายอย่างมีสติ ผมเป็นอนุภาคของลำแสงอิเล็กตรอนที่ไม่ตาย มะเร็งกับชีวจิตฟีเวอร์ กับประสบการณ์รักษามะเร็งหายได้ด้วยตัวเอง เมื่อรำฝีฟ้าและแพทย์สมัยใหม่ช่วยกันรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จนถึง การรุกรานของโจรสลัดทางชีวภาพตามรายชื่อผู้รับการสัมภาษณ์เบื้องต้นตามลำดับ  

ถึงแม้ว่าหนังสือตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ล้วนๆ และไม่มีการวิเคราะห์เชื่อมโยงหรือสรุปความคิดของผู้สัมภาษณ์ในลักษณะของงานวิจัย แต่การได้อ่านบทสัมภาษณ์ที่ถ่ายทอดออกมาทั้งหมด ในรูปแบบของ transcript เป็นคุณอนันต์แก่ผู้อ่านที่ต้องการอ่านให้ได้เนื้อหาและทำความเข้าใจกับสิ่งที่ท่านผู้รู้เหล่านั้นอธิบายอย่างไม่มีการเติมความคิดหรือการตัดทอนเนื้อหาโดยผู้สัมภาษณ์  

แนวหลักที่ได้จากการอ่าน เหมือนกับมาช่วยยืนยันสิ่งที่ตัวเองกำลังคิดอยู่ในเรื่องของสุขภาพ ว่าสุขภาพของบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถควบคุมได้หมดทุกเรื่อง สุขภาพของบุคคลหนึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อส่วนบุคคลและบริบทของเจ้าตัว และสังคมโดยรวม สุขภาพจะดีหรือไม่ดีจึงเป็นเรื่องที่เริ่มต้นตั้งแต่ปรัชญาชีวิตของแต่ละคนซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติและหาทางเลือกเพื่อตัวเอง  

บุคลากรทางสุขภาพจึงไม่ใช่ผู้ตัดสิน (Decision maker) ให้กับผู้รับบริการแต่เป็นผู้สรรหา (facilitator) ทางเลือกของสุขภาพที่เหมาะสมและมีเหตุผลสำหรับแต่ละคน และเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเลือกแนวทางสุขภาพของผู้รับบริการโดยความรู้ที่มีของวิชาชีพและบนจริยธรรมที่เข็มแข็ง 

แต่การที่ผู้บริการจะคิดในเรื่องการบริการอย่างไรนั้น ก็อาจต้องย้อนกลับมานึกถึงปรัชญาชีวิตของตนเองก่อน ซึ่งหนังสือเล่มนี้เปิดช่องทางให้ได้หันมาทบทวนว่าชีวิตกำลังมุ่งไปในทิศทางใด ทั้งนี้ปรัชญาชีวิตของผู้รับบริการและผู้ให้บริการไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพียงแต่ว่าการที่เรียนรู้คำตอบปรัญชาชีวิตของตัวเองน่าจะทำให้เกิดความเคารพในปรัชญาชีวิตของผู้อื่นแล้วจึงจะลดช่องว่างของความขัดแย้งในการให้บริการสุขภาพ และทำให้การทำงานมีความสุขขึ้นได้อักโข 

ทิ้งท้ายไว้ด้วยคำนำที่สำนักพิมพ์เขียนความหวังในการพิมพ์หนังสือนี้ว่า หวังว่าประสบการณ์ที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งผ่านการพูดคุยสาธารณะเช่นนี้ จะทำให้ผู้คนในสังคมเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่อย่างเข้มแข็ง เป็นอิสระจากการครอบงำ รวมทั้งมีจิตใจเอื้ออารีและไม่ได้หยุดทุกอย่างไว้ที่ตัวเอง หากแต่สามารถมองภาพเชื่อมโยงไปสู่สังคมในวงกว้าง อันจะก่อให้เกิดการประสานร่วมมือเพื่อสร้างสรรสังคมที่ดีขึ้นตามลำดับ....มิใช่ถดถอยง่อยเปลี้ยเช่นในปัจจุบัน

                                                        จันทรรัตน์ 23 ส.ค. 2549

คำสำคัญ (Tags): #well_being
หมายเลขบันทึก: 46165เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2006 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • น่าสนใจมากครับ ชอบหนังสือหลายเล่ม อาจารย์ชอบหนังสือแบบไหนครับ
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ขจิต

ถ้าถามว่าชอบอ่านหนังสือแบบไหน ...คงแบบตามใจฉันค่ะ

หมายตา (ear mark...ใช่ไหมคะ..คุยกับอาจารย์ขจิต เลยต้องขอนึกถึงคำภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย...ถ้าคำที่เลือกมาถูกต้องกรุณายืนยันให้ด้วยนะคะ)

กลับเข้าเรื่อง คืออ่านเรื่อยๆ บางครั้งเพราะชื่อนักเขียน บางครั้งเพราะคำนำ บางครั้งเพราะชื่อเรื่อง บางครั้งเพราะว่ามีคนส่งให้อ่าน ค่ะ

 

อาจารย์ขจิตลองตั้ง Book club หนังสือภาษาอังกฤษเล่มที่ดีๆ ซิคะ..เรียนภาษาอังกฤษผ่านการอ่านนิยายภาอังกฤษก็น่าสนใจดีค่ะ

 

 

  • ชอบวรรคท้ายมากครับ
  • เป็นการจัดการความรู้ที่เยี่ยมมากๆู้
  • เรียกว่า"หนังสือสามัญประจำบ้าน" ก็น่าจะได้นะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

Very impressive! krab Ajarn,

I am greeting you from Perth, Western Australia.

I am agreed with you that "client-centred approach" is always a current trend for any health-care system.

I like to share knowledge on health issues someday when I will arrive Thailand next year.

Kind regards,

Supalak khemthong, PhD candidate from Curtin University, Perth.

Psychosocial Occupational Therapist and Lecturer, Mahidol University.

ขอบคุณค่ะ อาจารย์บวร

ชอบเหมือนกันค่ะ เลยต้องยกมาเก็บไว้ในบันทึก...

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์ Pop

ที่นั่นเป็นฤดูอะไรคะ...เมืองไทยเป็นฤดูฝนที่น้ำมากเหลือเกิน(ในบางพื้นที่ค่ะ)

ยินดีที่ได้ share idea กันค่ะ client-center นึกถึงคำของ คุณหมอวิธาน จากเชียงรายที่ท่านเขียนหนังสือเรื่อง หัวใจใหม่-ชีวิตใหม่ ท่านอธิบายว่า client กับ customer แปลไทยเหมือนกัน แต่นัยยะต่างกัน ในฐานะผู้บริการสุขภาพนั้น ต้องถือว่าผู้รับบริการเป็น client ไม่ใช่ customer

อาจารย์ Pop มีความเห็นว่าอย่างไรคะ...

Sawasdee krab, Here is starting the autumn season krab.

In current models of health care we still respect the human rights in both clients and customers, but they have different definitions in related to an undertaken social contexts and circumstances.

For example, we have defined 'clients' as an individual and his/her carers when they do have to stay for a period of time with the health care specialists. Whereas 'customer' is defined in any situation of being serviced in any health care promotions or preventions.

 

 

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท