อากาศหนาว ข้าวจี่ และการอพยพเข้า กทม. ของชาวบ้านที่กาฬสินธุ์


ชีวิตที่เป็นไป....

จังหวัดกาฬสินธุ์หนาวจัด ส่งผลดีต่ออาหารหลายชนิดขายดีในช่วงหน้าหนาว โดยเฉพาะข้าวจี่ หรือข้าวเหนียวปั้นย่างไฟ ขายดีเป็นพิเศษ เหตุเป็นอาหารที่ปรุงร้อนๆ เข้าบรรยากาศในช่วงหนาว

    
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอีกจังหวัดที่ได้รับอิทธิพลจากความกดอากาศสูง ทำให้สภาพอากาศหนาวเย็น อาหารหลายชนิดขายดีในช่วงนี้ โดยเฉพาะข้าวจี่ จากการติดตามบรรยากาศการซื้อขายภายในตลาดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ พบว่าประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อร่วมฉลองเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อน รับปีใหม่ได้พากันเลือกซื้อสินค้าเข้าไปกักตุนเพื่อใช้ในหน้าเทศกาลปีใหม่ ที่จะเป็นวันหยุดยาว โดยเฉพาะอาหารทะเล เนื้อหมูเนื้อวัวประชาชนได้เลือกซื้อเพื่อนำไปบริโภคมากขึ้นถึงแม้ว่าใน ช่วงนี้จะมีราคาแพง
       
       ส่วนอาหารว่างที่นิยมนำมาบริโภคและจำหน่ายกันตามฤดูกาล ข้าวจี่หรือข้าวปั้นผสมไข่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้เพิ่มรสชาติของข้าวจี่ที่จะมีความนุ่มหอม จากเนื้อไข่และข้าวเหนียวใหม่ของคนอีสาน ทำให้เกิดมีพ่อค้าแม่ค้าที่มีฝีมือในการปรุงข้าวจี่นำออกมาจำหน่ายเพิ่มมาก ขึ้นโดยแต่ละเจ้าจะมีกำไรจากการปิ้งข้าวจี่เฉลี่ยคนละ 200-300 บาทต่อวัน
       

 ข้าวจี่ 

เครื่องปรุง
ข้าวเหนียวนึ่งสุก ไข่ไก่หรือไข่เป็ดก็แล้วแต่ความชอบของใครของใคร น้ำปลา
วิธีทำ
-นำข้าวเหนียวนึ่งสุกมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ หรือรูปร่างตามที่ชอบ
-ทำการจี่ด้วยไฟอ่อนๆ ให้เหลืองพองาม
-ตีไข่ให้แตก ใส่น้ำปลา
-นำข้าวที่ปิ้งมาจุ่มลงในไข่ที่เตรียมไว้แล้วทำการจี่ต่อไปจนสุก
เคล็ดไม่ลับ
-สามารถประยุกต์วิธีทำและเครื่องปรุงตามความคิดได้
คุณค่าอาหาร
-วิตามิน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต

 

ในช่วงฤดูแล้ง อากาศหนาวแบบนี้
ชาวบ้านหนองกุง อำเภอยางตลาด กาฬสินธุ์อพยพไปทำงานต่างถิ่น เนื่องจากประสบภัยแล้งไม่สามารถทำพืชไร่ได้ แถมยังซื้อน้ำกินถังละ 150 บาท ด้านกำนัน เผย ชาวบ้านหนีเข้ากรุงแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ ผญบ.เร่งขอรถน้ำดื่มแจกจ่ายชาวบ้าน

ภาพโดย ผู้จัดการออนไลน์

 

นายสุวิทย์ ภูกงลี กำนันตำบลเขาพระนอน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า เนื่องจากพื้นที่ตำบลเขาพระนอน ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับอำเภอห้วยเม็กและหนองกุงศรี เป็นพื้นที่สูง ไม่มีระบบชลประทาน การเกษตรกรรมประเภทปลูกข้าวและพืชไร่พืชสวนอื่นๆ ต่างอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ซึ่งเมื่อปีใดประสบภัยแล้ง ประชาชนในพื้นที่ก็จะพากันอพยพไปขายแรงงานตามต่างจังหวัดและที่กรุงเทพมหา นคร เพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว โดยจะส่งเงินทองมาให้ทางบ้านใช้จ่าย จะกลับภูมิลำเนาก็ต่อเมื่อถึงหน้าเทศกาลหรือในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต
       
       นายสุวิทย์ กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มแรงงานที่เดินทางไปขายแรงงานยังต่างถิ่นนั้นส่วนมากจะเป็นคน กลุ่มวัยแรงงานที่มีอายุอายุระหว่าง 18-35 ปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานมากในปีนี้ เนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศที่คาดว่าจะแห้งแล้งรุนแรงกว่าทุกปี จึงทำให้มีการไปขายแรงงานตามต่างจังหวัด
       
       โดยเฉพาะที่กรุงเทพมหานครมากขึ้น และในขณะนี้กลุ่มนายจ้างแรงงานได้มีการนำรถโดยสารประจำทาง และรถเหมา เข้ามารับคนงานไปทำงานเป็นจำนวนมากที่เฉลี่ยแล้วจะไม่ต่ำกว่า 50% ทำให้สภาพหมู่บ้านในขณะนี้มีแต่ความเงียบเหงา มีแต่คนชราและเด็กเฝ้าหมู่บ้านเท่านั้น
       
       ด้าน นายอุรักษ์ หุมแพง อายุ 41 ปี ผู้ใหญ่บ้านหนองกุง หมู่ 9 ตำบลเขาพระนอน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า หลังจากผ่านพ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว และเข้าช่วงฤดูหนาว จึงส่งผลให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติเริ่มแห้งขอด และขณะนี้ชาวบ้านหนองกุงก็กำลังประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก เนื่องจากน้ำดื่มที่ชาวบ้านรองไว้ตอนฤดูฝน เพื่อเอาไว้ดื่มช่วงฤดูแล้งขณะนี้หมดแล้ว
       
       ดัง นั้น ชาวบ้านจึงต้องไปซื้อน้ำดื่มจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือกถังละ 150 บาทมาดื่ม ส่วนสาเหตุที่ต้องซื้อน้ำดื่มนั้นก็เพราะแหล่งน้ำใต้ดินบริเวณบ้านหนองกุ งไม่สามารถขุดได้ เคยขุดแล้วแต่ก็ไม่มีน้ำ เนื่องจากพื้นที่บ้านหนองกุงเป็นที่สูง จึงหาน้ำค่อนข้างลำบาก
       
       
นาย อุรักษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับน้ำอุปโภคนั้น ขณะนี้ยังมีพอใช้ เพราะบ้านหนองกุงมีระบบน้ำปะปาใต้ดินอยู่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนได้ประสานไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระนอน เพื่อขอความช่วยเหลือ โดยการนำรถน้ำมาแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อนแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถนำน้ำมาแจกจ่ายชาวบ้านได้เร็วนี้ นอกจากนี้ ตนยังได้รวบรวมผู้เดือดร้อนและส่งเรื่องไปยังอำเภอยางตลาดเพื่อให้การช่วย เหลือต่อไปแล้ว
       
       นายฝน ภูผาหลวง อายุ 71 ปี ชาวบ้านหนองกุง กล่าวว่า ขณะนี้ครอบครัวต้องไปซื้อน้ำจากชาวบ้านตำบลนาเชือกถังละ 150 บาท โดยแต่ละตั้งจะมีน้ำประมาณ 1,000 ลิตร และสามารถใช้ได้ประมาณ 2 เดือนก็หมดแล้ว ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องไปซื้อน้ำ เนื่องจากน้ำดื่มตามธรรมชาติหรือน้ำฝนที่รองไว้หมดแล้ว อีกทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติก็ไม่สามารถดื่มได้ และที่สำคัญแหล่งน้ำใต้ดินหรือบ่อน้ำเมื่อขุดลงไปแล้วไม่มีน้ำ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องซื้อน้ำดื่ม เพื่อประทังชีวิตจนกว่าจะถึงฤดูฝน
       
       นายฝน กล่าวอีกว่า สำหรับ ครอบครัวของตนนั้นขณะนี้อยู่กันเพียงไม่กี่คน เนื่องจากลูกหลานพากันไปทำงานที่กรุงเทพฯ เนื่องจากไม่สามารถทำการเกษตรได้ โดยเฉพาะการปลูกพืชไร่ ทำได้เพียงปลูกข้าวนาปีโดยอาศัยน้ำธรรมชาติหรือน้ำฝนเท่านั้น ซึ่งในปีนี้ผลผลิตก็ไม่ได้ เนื่องจากไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงข้าว ดังนั้น ลูกหลานจึงต้องพากันไปทำงานต่างถิ่นเพื่อส่งเงินมาจุนเจือครอบครัว
 

หมายเลขบันทึก: 71975เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 00:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เจริญพร นายบอน

จำได้ว่า เมื่อราว ๒๐ ปีก่อน ไปเยี่ยมพระเถระที่ศรีษะเกษ รุ่งเช้าเพ็ญเดือนสาม ญาติโยมนำ ข้าวจี่ มาร่วมทำบุญ นั่นคือ คราวที่ได้รู้จักและได้ฉัน ครั้งแรกและครั้งเดียวของชีวิต ...ข้าวจี่ ต้องร้อนๆ เมื่อเย็นแล้ว ก็ต้องอุ่นใหม่ ใช่ไหม ? นายบอน

กาฬสินธุ์ ก็เคยผ่าน จำได้ว่า ท่านเจ้าอาวาสรูปหนึ่งที่อำเภอสมเด็จบอกว่า ปักษ์ใต้ถิ่นไทยรวย ภาคเหนือถิ่นไทยงาม อีสานถิ่นไทยดี ภาคกลางถิ่นจอมไทย ...ยอมรับว่า อีสานเป็นคนดีจริงๆ แต่ถ้าผ่านกรุงเทพฯ แล้วลงมาปักษ์ใต้ หลายคนเอาความดีจากอีสานมาทิ้งไว้กรุงเทพฯ 5 5 5

ไปคราวนั้น ไปอยู่ที่ อำเภอป่าปาก นครพนม ก็อยู่หลายเดือน ไปงานธาตุพนมเสร็จก็กลับ ..พวกขายของเร่จะมารอกินข้าวก้นบาตรที่วัด ....เดียวนี้ไม่รู้ว่าจะยังมีอีกไหม ?

บางทีคนอีสานกับใต้ นิสัยแตกต่างกัน ...มีเณรคนหนึ่งมาอยู่ที่วัดสงขลา ต่อมาก็มีเณรรุ่นน้องจากบ้านเดียวกันตามา เณรก็บ่นต่อแขกว่าวุ่นวาย...ต่างๆ นานา ...แต่ก็ได้รับเป็นธุระ จัดหาที่พักที่เรียนให้ นี้คือน้ำใจของคนอีสาน

เพือนพระที่กรุงเทพฯ มีพระจากท้องถิ่นเดียวกันจากอีสานมาพักด้วย เพื่อนพระก็บ่นวุ่นวาย บอกว่ากลับบ้านได้แล้ว แต่ตอนเพลก็จัดหาของฉันไว้ให้ทุกวัน...หลวงพี่ถามเพื่อนพระว่าเป็นญาติกันหรือ ? เค้าก็บอกว่า ตอนกลับบ้านมีผู้แนะนำให้รู้จัก แล้วเค้าก็ตามมา แค่นั้นเอง มิได้เป็นเพื่อนสนิทสนมอะไร...นี้ น้ำใจคนอีสาน

หลวงพี่ตั้งข้อเปรียบเทียบกับคนใต้ ถ้ามาถึงเจ้าบ้านบ่น ก็อาจกลับเลย จะไปตายเอาดาบหน้า อะไรทำนองนี้ ...บางที เราเอาความรุ้สึกของเราไปจับก็ไม่ได้...

ว่าจะเข้ามาเยี่ยมเล็กน้อย แต่พิมพ์ไปหลายบรรทัด คงไม่เป็นไร ตามที่เค้าว่า บวชนานนิทานมาก 5 5 5

เจริญพร

 

 

นมัสการครับหลวงพี่


ข้าวจี่ร้อนๆ ทานแล้วอร่อยครับ ถ้าเย็นแล้ว บางท่านว่าข้าวจะเหนียวติดมือ เคี้ยวยาก แต่หลายท่านก็ชอบแบบเย็นๆ

งานธาตุพนมเดี๋ยวนี้ มีหลากหลายรูปแบบครับ พวกขายของเร่เยอะไปหมด น่าจะไปรอกินข้าวก้นบาตรเยอะขึ้นนะครับ

คนอีสานเป็นคนที่มีน้ำใจอย่างที่หลวงพี่ว่าแหละครับ ไม่ทราบว่า หลวงพี่จะขึ้นมาเยี่ยมเยือนทางอีสานอีกเมื่อไหร่ครับ
อากาศช่วงนี้กำลังดีเลยนะครับ แต่คืนนี้ เข้ามาเยี่ยมนายบอนที่บันทึกนี้ ก็ปันน้ำใจและประสบการณ์จากแดนใต้เสียมากมายหลายบรรทัด ถือว่า ก่อนนอนราตรีนี้ เหมือนได้รับน้ำใจและความปรารถนาดีก่อนที่หัวจะถึงหมอนอีกด้วยนะครับ
  • อิ่มข้าวจี่แต่ก็ "แค้นคอ" กับชะตากรรม "ผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน  และเลี้ยงลูก"
  • การอพยพแรงงานข้ามถิ่นครั้งใหญ่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีกไม่ช้าหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นลง กระนั้นบางส่วนก็ขึ้นรถลงกรุงเทพฯ พร้อมขบวนผ้าป่าที่มาทอดถวายในหมู่บ้านเมื่อช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา  (บรรยากาศยังตรึงใจดังเพลงของคุณศิริพรฯ  ที่คุณบอนได้เขียนถึงแล้วก่อนหน้านี้)
  • แต่พอฤดูกาลหว่านไถมาเยือน ลูกหลานก็ไม่ได้กลับมาปักดำหรอกนะครับ  , หากแต่ส่งเงินมาเป็น "แรงงานใหม่" แทนแรงงานเก่า (คน) ที่ลางานมาไม่ได้   และกลายมาเป็นแรงงานใหม่ที่ก้าวเข้ามามีบทบาทแทนที่ของแรงงานเก่าในวัฒนธรรมการลงแขก "ดำนา"
  • ไม่เจ็บปวดกับปรากฏการณ์นี้นัก เพราะเข้าใจว่ายุคสมัยเปลี่ยนไป แต่ก็สุขใจที่ได้หวนรำลึก...
  • อยากให้พี่พนัส-แผ่นดินบันทึกเรื่องราวจากทางบ้่านพี่เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ หรือว่าช่วงวันเวลานี้  ห่างเหิน เป็นแรงงานอพยพมาอยู่ มมส. ตลอดเวลาไปแล้ว
  • ว่าจะหารูปเกี่ยวกับการลงแขกดำนาจากกาฬสินธุ์มาเผยแพร่อยู่เหมือนกันนะครับ แต่ยังไม่มีโอกาสไปเก็บภาพมาเลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท