ประเด็น R2R ตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่


ในการตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่ดิฉัน(และน้องก้อย)มีหน้าที่ซักประวัติคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพก่อนส่งไปเจาะ LAB และตรวจตามความเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งรายการตรวจของเจ้าหน้าที่บำราศฯจะแตกต่างจากรายการตรวจของผู้รับบริการทั่วไปที่แผนกผู้ป่วยนอกซึ่ง Walk In เข้ามา ทีมผู้รับผิดชอบก็คนละทีม ระบบก็คนละอย่าง การตรวจสุขภาพประจำปีเจ้าหน้าที่เป็นโครงการในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ IC ซึ่งดำเนินงานมามากกว่า 10 ปี ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาดิฉันได้ร่วมเป็นคณะทำงานจึงได้ขอเพิ่มการตรวจสมรรถภาพการมองเห็น และการได้ยินเข้าไปในกลุ่มเสี่ยง ปี 2546ได้เพิ่มการตรวจคัดกรองภาวะการทำงานตับโดยตรวจ ALTในกลุ่มอายุต่ำกว่า 35ปีทุกราย (จากคำแนะนำของนพ.บุญชัย)และHDLในผู้ที่มีโคเลสเตอรอล>240  (จากคำแนะนำของนพ.วิศิษฏ์)ปีนี้พิจารณาตามความจำเป็นเพื่อคัดกรองความเสี่ยงตามปัจจัยส่วนตัวและครอบครัว  สัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งเคยบันทึกเรื่องการคัดกรอง HDLแทนLDL (รายละเอียดที่บันทึกนี้)นั้นเราพบปัญหาแล้วว่าค่าจากการคำนวณเดิมซึ่งใช้สูตร LDL=TC-HDL-(TGหาร5)ค่าที่ออกมาต่างจากการตรวจ LAB มากๆ ขอยกตัวอย่าง

รายที่ 1 การคัดกรองจนท.หญิงอายุ 46ปี มีปัญหาTCสูงเมื่อปีที่แล้วจึงตรวจ HDL เพิ่มผล LAB พบว่า โคเลสเตอรอล =204 (ค่าปกติ≤200) HDL=72 TG=53 ซึ่งรายนี้คำนวณค่าLDLตามสูตรจะได้=122 (ค่าปกติ≤130) ซึ่งปกติ แต่ปรากฏว่าจากตรวจ LAB ได้ค่า LDL=141 ซึ่งแปลผลว่าผิดปกติ (ค่าความต่าง 16)

รายที่ 2 จนท.หญิงอายุ 45 ปี ปี มีปัญหาTCสูงเมื่อปีที่แล้วจึงตรวจ HDL เพิ่มผล LAB พบว่า โคเลสเตอรอล =192 (ค่าปกติ≤200) HDL=69TG=65 ซึ่งรายนี้คำนวณค่าLDLตามสูตรจะได้=110 (ค่าปกติ≤130) ซึ่งปกติ แต่ปรากฏว่าจากตรวจ LAB ได้ค่า LDL=136 ซึ่งมากกว่าปกติ (ค่าความต่าง 26) 

ที่เล่ามานี้เพราะกำลังนึกถึงอยากทำ R2R เรื่องนี้ร่วมกับทางLABค่ะ รวมทั้งอยากลปรร.กับผู้เชี่ยวชาญ/ผู้รู้ในเรื่องดังกล่าว

หมายเลขบันทึก: 58652เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2006 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เป็นตัวอย่างของการนำ Evidence Based มาพัฒนาเป็นประเด็นวิจัยได้อย่างดีค่ะ ขอสนับสนุนพี่ปิ่งค่ะ
  • มีการพัฒนาต่อยอดในการตรวจสุขภาพประจำปีมาโดยตลอด
  • อยากให้บันทึกเรื่อง ลปรร. กับหนูหน่อย เมื่อวันเสาร์ เรื่องการเตรียมเวชระเบียน จนท. ตรวจสุขภาพครั้งต่อไปด้วยค่ะ

ได้ลปรร กับพี่มอมและพี่ปิ่ง ในเรื่องการลดความเครียดของเจ้าหน้าที่ห้องบัตร ในช่วงเทศกาลตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่ ปัญหามีอยู่ว่าบางครั้งหาแฟ้มเจ้าหน้าที่ที่จะตรวจสุขภาพไม่พบในตอนแรก(ตัวเองก็เคยเจอปัญหานี้) กว่าจะเจอต้องcheck อยู่นานมากต่างฝ่ายต่างเครียด    จึงเกิดไอเดียขึ้นมาว่า ช่วงเทศกาลตรวจสุขภาพน่าจะค้นแฟ้มของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดของสถาบันฯให้นำมาเก็บไว้ที่ห้องตรวจสุขภาพเลยโดยCheck ให้ครบ100%   เรียงหมายเลขตามลำดับที่จัดไว้ตามวันที่ตรวจสุขภาพ เมื่อติดผลLabหรือเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว(รวมทั้งในรายที่ต้องพบแพทย์) จึงจัดส่งคืน  ปีหน้าหากพี่ปิ่งหรือทีมตรวจสุขภาพฯต้องการไอเดียในเรื่องนี้ ยินดีช่วยจ๊ะ(ธุระใช่)

คุณพัชราคะ ค่าที่ได้จากการคำนวณจะถือว่าเชื่อถือได้ หาก TG ไม่เกิน 400 ค่ะ ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะตรวจวัดโดยตรงมากขึ้น

 ที่ lab เราก็กำลังมีการทดลองเปรียบเทียบกันอยู่ค่ะ จะลองขอข้อมูลคร่าวๆจากคุณศิริ มาบอกกันว่าผลจากการตรวจโดยตรงสูงกว่าค่าที่คำนวณได้เหมือนที่บำราศฯหรือเปล่า

เชื่อว่าทางห้อง lab น่าจะพอให้ข้อมูลได้ว่า ค่าปกติของการทดสอบวิธีใหม่ (โดยตรง)ในใบแนบน้ำยานั้น ยังเป็น <130 อยู่หรือเปล่า อาจมีการปรับเปลี่ยนเทียบกันให้แล้วก็ได้ จะลองไปเช็คของที่เราให้แล้วมาบอกอีกทีค่ะ

แต่สำหรับตัวเองแล้ว เชื่อว่าให้ค่า LDL ต่ำกว่า 130 ไว้เป็นดีที่สุดค่ะ ไม่ว่าจะหาค่ามาโดยวิธีไหน เพราะเป็นที่ยอมรับกันแล้วเป็นสากลว่า ค่า LDL ยิ่งต่ำยิ่งดีค่ะ

ขอบคุณ คุณโอ๋-อโณ มากๆเลยค่ะในเบื้องต้นได้ลองสอบถามน้องอ้อยหัวหน้าBl.chem.ดูแล้วค่ะ ซึ่งได้คำตอบว่าค่าที่ได้ อาจแตกต่างกันประมาณ 20 

สอบถามจากคุณศิริแล้วค่ะ ค่าแตกต่างกันประมาณนี้จริงๆ (มากขึ้น 20) ค่ะ แต่คงต้องดูในใบแนบน้ำยาของวิธีที่ทางห้อง lab บำราศฯตรวจว่าค่าปกติที่ควรใช้เพื่อให้คำปรึกษานั้นเป็นเท่าไหร่ ของที่ทางพยาธิฯกำลังจะใช้ มีค่าแบ่งเป็นหลายช่วงค่ะ แต่ optimal เขาให้ไว้ที่ < 100 ค่ะ

ได้ขอให้คุณศิริมาช่วยต่อยอดแล้วนะคะ

ก็ไม่แน่ใจว่าจะช่วยได้รึเปล่าค่ะ เอาเป็นว่า

  • วิธีคำนวณ เป็นวิธีที่ใช้มานานในสมัยก่อน เพราะการวัด LDL โดยตรงยุ่งยากม๊าก ๆ  ๆ ๆ  ต้องปั่นแยกวัดด้วยวิธีการ Centrifuge ....แล้วมาตรวจวัด...
  • เพราะฉะนั้นจึงนิยมนำสูตรมาใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่วิธีคำนวณต้องให้ผู้ป่วยงดอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เพราะทำให้ค่าของ Tg. ไปรบกวนการตรวจ โดยค่า Tg. สูงจะไปรบกวนให้ค่า LDL-c ต่ำ ตามสูตร
  • LDL-c = TC-Tg/5-HDL
  • อีกทั้งการคำนวณ LDL ขึ้นอยู่กับค่าของ Chol., Tg.และ HDL-c ซึ่งหากตัวหนึ่งตัวใดแกว่ง ก็มีผลทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับค่า Precission และ Accuracy ของแต่ละการทดสอบ และแต่ละบริษัท แต่ละเครื่อง แต่ละน้ำยาก็อาจจะมีวิธีการต่อไป  เพราะปัจจุบันมีการผลิตและพัฒนาสูตรน้ำยาโดยตลอด อย่าง HDL-c ตอนนี้ที่หน่วยใช้ generation 2 แต่เขากำลังจะเปลี่ยนเป็น Gen.3อีกแล้วซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการคำนวณทั้งสิ้น
  • ช่วงหลังบาง paper เขาก็ศึกษาและ Modify สูตร โดยใช้เป็น Tg/6 แต่ไม่ค่อยนิยมใช้เพราะปัจจุบันได้มีการผลิตน้ำยาสำหรับตรวจ LDL-c โดยตรง ซึ่งก็มีหลายวิธีและหลายบริษัทกระมัง ทั้งวิธี Turbidimetric method
  • แต่ที่ใช้อยู่ในห้อง Lab. ของหน่วยเราที่กำลังศึกษา เป็นวิธี Colorimetric  อีกทั้ง การตรวจ Chol., Tg. และ HDL-c(gen2) น้ำยาที่ใช้เป็นของบริษัท Roache และเครื่องที่ใช้ก็เป็น Hitachi 917 ค่าที่ได้ก็แตกต่างกันประมาณ 10 -20 
  • ค่าoptimal < 100 mg% ค่า  near/above  optimal 100 - 129 mg% ค่า boderline high 130 - 159 mg% ค่า High 160 - 189 mg% และ very high 190 mg%
  • แต่ค่าปรกติเหล่านี้ก็เป็นค่าที่ศึกษาได้จากชาวต่างประเทศ  ไม่แน่ใจว่ามีการศึกษาค่าปกติ  ในคนไทยบ้างหรือไม่
  • ผู้เขียนเชื่อว่าอย่างไรซะ เราก็คงต้องดูหลายๆ  ตัวด้วยกัน เหมือนอย่างคุณโอ๋ว่า ต่ำไว้แหละดีไม่เสียหาย ค่า HDL-c ก็ให้สูง ๆ ไว้ ค่า Chol & Tg. ก็ควรต่ำ  ๆ ไว้ค่ะ 
  • หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ผู้เขียนจะรีบมารายงานค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท