beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ตัวอย่างการคำนวณรายได้จากการขายส่งน้ำผึ้ง


เปรียบเทียมระหว่างปี 2548 กับ ปี 2549 ในจำนวนรังผึ้งและประชากรผึ้งที่พอๆ กัน

   วันนี้ผมมีตัวอย่าง "การคำนวณรายได้จากการขายส่งน้ำผึ้งลำไย" มาฝากนะครับ โดยจะเปรียบเทียมระหว่างปี 2548 กับ ปี 2549  ในจำนวนรังผึ้งที่เท่ากันและมีประชากรหนาแน่นพอๆ กัน คือ สมมุติที่มีผึ้งจำนวน 60 รังเท่ากัน แต่คำนวณจากผลผลิตที่ได้จริงเฉลี่ยต่อรังของทั้ง 2 ปี ซึ่งแสดงผลได้ดังนี้ครับ

 

 

หัวข้อเปรียบเทียบ

 

ปี 2548 

 

ปี 2549 

 

หมายเหตุ

 
  1. จำนวนรังผึ้ง  

 60 รัง

 

 60 รัง

     
  2. จำนวนคอนในรังผึ้ง  

 8 คอน

 

  8 คอน

     
  3. จังหวัดที่ตั้งผึ้ง/วางผึ้ง  

 ลำพูน

 

 ลำพูน

     
  4. ปริมาณน้ำผึ้งลำไยที่เก็บได้  

 1,300 kg

 

  900 kg

 

 22-15 kg/รัง

 
  5. ปริมาณน้ำผึ้งที่ขายให้บ.เนสท์เล่  

 300

 

 300

     
  6. รายได้จากบริษัทเนสท์เล่  

 18,525

 

 17,400

 

 61.75-58 B./kg

 
  7. น้ำผึ้งคงเหลือในมือ    1,000 kg  

 600 kg

     
  8. รายได้จากการขายให้พ่อค้าอื่น  

 40,000

 

 30,000

 

 40-50 B./kg

 
  9. รายได้รวมจากการจำหน่ายน้ำผึ้ง  

 58,525

 

 47,400

     
  10. ผลต่างของรายได้      

-11,125

 

 *ลดลง 19 %

 
                 

    จากตารางข้อ 10 ถึงแม้ว่า ปีนี้ราคาน้ำผึ้งลำไยเฉลี่ยจะดีกว่าปีที่แล้ว แต่ปริมาณน้ำผึ้งที่น้อยลงทำให้รายได้ลดลงไปด้วย ในขณะที่รายจ่ายข้างหน้ารออยู่มีแต่จะเพิ่มขึ้น (ค่าครองชีพสูงขึ้น เงินเฟ้อสูงขึ้น ของในตลาดราคาสูงขึ้น ขณะที่รายได้ลดลง) ดังนั้นผู้เลี้ยงผึ้งที่มีทุนน้อยๆ ก็จะค่อยๆ ล้มหายตายจากไปครับ (เลิกอาชีพการเลี้ยงผึ้ง)

 

หมายเลขบันทึก: 7849เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2006 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ตอนนี้ตลาดรองรับการขายผลิตภัณฑ์มีมากมั้ยครับ ความเสี่ยงในการขาดทุน มีมากหรือป่าว ผมอยากรู้ตรงนี้ด้วยครับ ถ้าอาจารย์มีเวลาสอนน่าจะแนะแนวเป็นแนวทางด้วยนะครับเผื่อนำไปประกอบอาชีพ

ขายส่งน้ำผึ้งก็รวยได้เลยนะเนี่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท