CoP เคมีบำบัด : Knowledge sharing ครั้งที่ 4 /2550


เรื่อง การป้องกันการฉีดยาเคมีบำบัดออกนอกเส้นเลือด

วันที่ 27 เมษายน 2550 พยาบาลหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ เภสัชกรประจำหอผู้ป่วย  เรื่อง การป้องกันการฉีดยาเคมีบำบัดออกนอกเส้นเลือด (Extravasations)

 เรื่องเล่าของหัวหน้าตึก (อุบล จ๋วงพานิช)  สืบเนื่องจากปี 2549 เรามีผู้ป่วยเกิดยาเคมีบำบัดออกนอกเส้นเลือด 1 คน จากยาVinorabine  เนื่องจาก  เส้นเลือดผู้ป่วยค่อนข้างหายาก  ทำให้การไหลเวียนของยาเคมีไม่ดี และระยะเวลาให้ยาเคมีชนิดนี้นานเกินไป  ทำให้เกิดแผลบริเวณที่ให้ยาเคมีบำบัด  ผู้ป่วยได้กลับมาหาพยาบาลที่ตึก  จึงแนะนำไปตรวจกับอาจารย์แพทย์ ผู้ป่วยได้ยาฮิรูดอยส์ ไปทาบริเวณแผล และได้ยาแก้อักเสบไปรับประทาน หลังจากทาไประยะหนึ่ง อาการดีขึ้น  

 ดังนั้นเราน่าจะคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะได้ไม่เกิดปัญหานี้ 

เภสัชกร ได้ให้ความรู้ เรื่อง Extravasations

ความเสี่ยงของการเกิด ขึ้นอยู่กับ

ลักษณะผู้ป่วย ลักษณะของยา และบุคลากรผู้บริหารยาเคมี

ความเสี่ยงของผู้ป่วย คือหาเส้นแทงน้ำเกลือยาก ความผิดปกติของการไหลเวียนโลหิตหรือน้ำเหลือง หรือในเด็กและผู้สูงอายุ

ลักษณะยา 

ยาประเภท Vesicant เช่น Doxorubicin mitomycin Vincristine Vinblastine Paclitaxel เป็นต้น 

ความเข้มข้นของยาและระยะสัมผัสยา

บุคลากรผู้บริหารยาเคมี  ขาดประสบการณ์ เทคนิคการบริหารยา  

อาการที่แสดงว่าอาจเกิด Extravasations

ปวด  บวม แดง บริเวณที่ฉีดยารู้สึกแสบบริเวณที่ฉีดยา

มีตุ่มพองรอบบริเวณฉีด

มีแรงต้านระหว่างฉีดยา ดูดเลือดกลับไม่ได้

หรือดูดได้น้อย

 การป้องกัน

บุคลากรที่ฉีดยา ต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี

บอกผู้ป่วย ให้หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวบริเวณฉีดยา 

บอกพยาบาลถ้ารู้สึกแสบร้อนทั้งระหว่างหรือหลังฉีดยา

พยาบาลเลือกบริเวณที่จะฉีดยา  โดยเลือกบริเวณเส้นเลือดดำใหญ่  หลีกเลี่ยงการฉีดหลังมือ ข้อมือ ข้อพับใกล้ข้อศอกเทคนิคการฉีดยา  ควรให้ยาประเภท Vesicant ก่อน 

ฉีดยาช้าๆ  

การจัดการกรณีเกิด Chemotherapy Extravasations

หยุดยาทันทีถอด Syringeและ infusion ออกจากเข็ม

ทำเครื่องหมายด้วยใช้ปากกาเคมี  เพื่อระบุบริเวณที่รั่วซึมดูดยาเคมีบำบัดออกมาให้มากที่สุด

ประคบเย็น 15 นาที วันละ 4 ครั้ง อย่างน้อย 3 วัน  กรณีฉีด ยา Doxorubicin  Epirubicin  mitomycin C

ประคบร้อน 20 นาที วันละ 4 ครั้ง อย่างน้อย 2 วัน กรณียา Vincristine Vinblastine Vinorabine

ทา Hirudoid  วันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย

ติดตามดูผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากปวดบวมนานกว่า 48 ชั่วโมง ให้ปรึกษาแพทย์  

ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหายาเคมีออกนอกเส้นเลือดเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะผู้ป่วยทุกข์ทรมานจากอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดก็มากพอแล้ว 

หมายเลขบันทึก: 93067เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2007 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

หลังจากคุยกันวันนั้น

  • เราขอให้เภสัชฯ เก็บข้อมูลที่สอนเกี่ยวกับยาเคมีบำบัดออกนอกเส้นเลือด ใส่ใน Computer ที่ หอผู้ป่วย  ไว้ให้พยาบาล 5 จ สามารถเปิดเรียนรู้ได้เมื่อต้องการ
  • ตอนนี้ได้นำข้อมูลที่เภสัชสอนมาใส่ในคอมฯ    5จ แล้วค่ะ

เป็นศิษย์เก่าพยาบาล มข.จบมา 9 ปีแล้วค่ะตอนนี้ต่อโทอยู่ สืบค้นไปๆมาๆดีใจมากมาได้ความรู้จากคนในสถาบันเดิม เหมือนได้กลับบ้านยังไงบอกไม่ถูก ขอบคุณมากค่ะสำหรับการเผื่อแผ่ความรู้ (รัก+ผูกพัน มข.มากๆค่ะ)

กำลังหาข้อมูลเรื่องการเตรียม+ฉีดเคมี

ที่รพ.ชุมชนเพราะปัจจุบันมีrefer

มาฉีดใกล้บ้านมากขึ้น

อยากทราบว่าแตกต่างจากการเตรียม+ฉีด ยาฉีดทั่วไปหรือเปล่าคะ  แนะนำplease   

อยากทราบว่า การฉีดยาที่รพ.ชุมชุนซึ่งซองยาระบุว่าเป็นเคมีบำบัด แต่ฉีด IM จะต้องเตรียมการให้ยาอย่างไรบ้างค่ะ จำชื่อยาไม่ได้แล้วค่ะ

น้องน้อย

การฉีดยาเคมีบำบัด จะต้องระวังหลายเรื่อง ผู้ที่ฉีดจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดจากสภาการพยาบาลค่ะ

คุณ manylucky

การฉีดยาเคมีบำบัด ปัจจุบันมักจะฉีดเข้าทาง IV ค่ะ ถ้าฉีด IM อาจเป็นยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว?....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท