นายศักดิ์ณรงค์
นาย นายศักดิ์ณรงค์ ศักดิ์ บุญออน

อำนาจหน้าที่หลักของสภาองค์กรชุมชน ตามร่างฉบับแรก และฉบับปรับปรุงใหม่


ปมประเด็นสำคัญที่เกิดความขัดแย้งระหว่างสององค์กร

ร่างฉบับแรก

ประเด็นสำคัญ คือ สภาองค์กรชุมชนมีอำนาจในการจัดทำแผนให้คำปรึกษา แนะนำ ยกเลิกแผนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ที่ส่งผลกระทบต่อความเสียหายต่อชุมชนท้องถิ่นระดับตำบลและจังหวัด มีการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นมาดูแล

มาตรา 18 ให้สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. จัดทำแผนแม่บทชุมชนในเขตพื้นที่ของตำบล เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนำไปจัดทำแผนปฏิบัติการ
  2. ให้คำปรึกษา แนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจำทำแผนปฏิบัติการ และข้อบัญญัติ หรือเทศบัญญัติ
  3. จัดประชุมสมัชชาชุมชนท้องถิ่นตำบล เพื่อพิจารณายับยั้ง ยกเลิก แผนงาน โครงการ กิจกรรม หรือการกระทำ ใดๆ ทีส่งผลเสียหาย หรือพิจารณาเรื่องอื่นใดที่สภาเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่นตำบล และประเทศชาติ
  4. พัฒนาองค์กรชุมชนให้เข็มแข็ง รวมถึงรับรองหรือยกเลิกสถานภาพขององค์กรชุมชนท้องถิ่นในตำบลนั้น
  5. ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น หรือตำบลอื่น สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับจังหวัด สถาองค์กรชุมชนท้องถิ่นแห่งชาติ
  6. วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับตำบล
  7. ติดตามผลการดำเนินการตามโครงการที่ดำเนินการอยู่ในท้องถิ่นหรือตำบลนั้น
  8. จัดทำรายงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนทั่วไป

มาตรา 19  สภาองค์กรชุมชนตำบลอาจมีหนังสือเชิญส่วนราชการหรือหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐมาร่วมแสดงความคิดเห็นหรือให้เอกสาร หรือข้อมูลตามที่เห็นสมควร

มาตรา 20 ให้สภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. จัดทำแผนแม่บทชุมชนระดับจังหวัด เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนราชการระดับจังหวัดนำไปจัดทำแผนปฏิบัติการ
  2. ให้คำปรึกษาแนะนำ แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนราชการระดับจังหวัดในการจัดทำแผนปฏิบัติการ
  3. จัดประชุมสมัชชาชุมชนเพื่อพิจารณา ยับยั้ง ยกเลิก แผนงานโครงการ กิจกรรมหรือการกระทำใดๆ ทีส่งผลกระทบเสียหายแก่ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดมากกว่าหนึ่งตำบล หรือพิจารณาเรื่องอื่นใดที่สภาเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่นจังหวัดและประเทศชาติ
  4. ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบล สภาองค์ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดอื่น และสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับชาติ
  5. วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับตำบล
  6. ติดตามผลการดำเนินการตามโครงการที่ดำเนินการอยู่ในท้องถิ่นหรือตำบลนั้น
  7. จัดทำรายงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนทั่วไป
  8. เสนอรายชื่อสมาชิกเพื่อเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติจังหวัดละ 2 คน

ร่างฉบับปรับปรุงใหม่

ประเด็นสำคัญ คือ ตัดอำนาจจัดทำแผน และให้คำปรึกษา แนะนำ ตัดอำนาจยับยั้ง และยกเลิกแผนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงจังหวัด คงหรือ การเข้าไปมีส่วนร่วม รายละเอียดดังนี้

มาตรา 19 ให้สภาองค์กรชุมชน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนอนุรักษ์ฟื้นฟูจาริต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะวัฒนธรรมอันดีของชุมชนของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
  2. เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
  3. ให้ความเห็นและเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการจัดทำนโยบายสาธารณะของหน่วยงานภาครัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต การเมือง และสิ่งแวดล้อม
  4. จัดให้มีเวทีสมัชชาชุมชนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการหรืกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน ที่มีผลหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ทั้งนี้ให้หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นอนุญาตให้เอกชนดำเนินการต้องนำความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาด้วย
  5. ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรชุมชนในตำบลเกิดความเข็มแข็งสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
  6. ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนอื่น สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับจังหวัด สภาองค์กรชุมชนระดับชาติ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ดำเนินการอยู่ในตำบล รวมทั้งตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  7. วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับตำบล
  8. ติดตามผลการดำเนินการตามโครงการที่ดำเนินการอยู่ในท้องถิ่นหรือตำบลนั้น
  9. จัดทำรายงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนทั่วไป
  10. เสนอรายชื่อสมาชิกเพื่อเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนจังหวัด จำนวนไม่เกิน 2 คน

มาตรา 25  ให้สภาองค์กรชุมชนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1.  ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนอนุรักษ์ฟื้นฟูจาริต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะวัฒนธรรมอันดีของชุมชนของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
  2. เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อพัฒนาจังหวัด
  3. ให้ความเห็นและเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการจัดทำนโยบายสาธารณะของหน่วยงานภาครัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต การเมือง และสิ่งแวดล้อม

คำสำคัญ (Tags): #สภาองค์กรชุมชน
หมายเลขบันทึก: 102760เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2007 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับPนายศักดิ์ณรงค์

ขออนุญาตินำบทความไปรวมในรวมตะกอนครับ ขอบคุณครับ  http://gotoknow.org/blog/mrschuai/102160

ยินดีครับ การแลกเปลี่ยนจะทำให้ชุมชนเข็มแข็งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท