คำตอบ


ขอคำแนะนำหน่อยครับ

dong

มงคล ยะภักดี
เขียนเมื่อ
คำตอบ

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณ dong


ผมยินดีอย่างที่สุดครับ ที่ได้รับข้อความทั้งปรากฏในคำถาม การเยี่ยมชมเพื่อแสดงความเห็น แม้กระทั่งการทักทายผ่านอีเมล ทั้งหลายทั้งปวงล้วนแล้วแต่สัมผัสได้ถึงความมุ่งมั่น "ที่จะทำงานกับความ" 

เพราะเหตุว่า "ความ" กินความหมายได้กว้างขวางยิ่งกว่า "คน" 
เพราะเหตุว่า "ความ" เป็นเหตุ (และบางกรณี "คน" อาจเป็นเหตุด้วย (ฮา))
เพราะเหตุว่า "ความ" เป็นระบบ เป็นสภาพแวดล้อม ที่ต้องได้รับการจัดการ
เพราะเหตุว่า "คน" เป็นผู้ได้รับผลกระทบจาก "ความ"

ความจน ความขัดแย้ง ความไม่เท่าเทียม ความไม่ยุติธรรม ความผิดแผกแตกต่าง ฯลฯ

เพราะในบ้านเรายังมี "ความ" ไม่เรียบร้อย ไม่ปกติมากมายอย่างนี้ "คน" ในบ้านเรา จึงยังคงเป็นไปแบบนี้

พร้อมกันนั้น ผมต้องขออภัยอย่างที่สุดครับสำหรับการตอบที่ล่าช้า อย่างที่สุด

เพราะเหตุนั้น ผมคงต้องชวนคุยอะไรยาวๆ เสียหน่อยละนะครับ

 

ผมเข้าใจของผมเองว่า
สถานสงเคราะห์หรือหน่วยงานที่ให้บริการเชิงสถาบัน (เรือนจำ/สถานคุ้มครอง ฯลฯ) หรือหน่วยงานที่มีลักษณะของการเป็น Social Lab. (ศูนย์ประสานงานและให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้/ด้อยโอกาส/ถูกกระทำให้เป็น "คนชายขอบ" เพราะเงื่อนไขหรือข้อจำกัดประการต่างๆ ที่ให้บริการโดยตรงกับผู้ประสบปัญหาและการพัฒนาและนำเสนอเพื่อทบทวนระบบ/โครงสร้างความไม่เท่าเทียมไปพร้อมๆ กัน) ผมว่าน่าจะเหมาะสำหรับการเริ่มต้นในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เพราะเหตุว่าเป็น "พื้นที่" ซึ่งเอื้อต่อการทำงานในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์อย่างที่สุด

เพราะเหตุว่าในสถานที่เหล่านั้น นักสังคมสงเคราะห์มี "พื้นที่" ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน (ถ้ามีใจอยากปฏิบัติงาน) 
เพราะเหตุว่าในสถานที่เหล่านั้น นักสังคมสงเคราะห์มี "ปาก-มีเสียง" เรียกร้อง ปกป้อง และพิทักษ์สิทธิ์ได้ตามสมควรแก่ฐานะ

อย่าได้แปลกใจ ถ้าจะได้รับรู้ สัมผัสได้ว่ามีบุคลากรในสถานที่เหล่านั้นจำนวนไม่น้อย "มีความไม่พึงพอใจ-เคืองใจ" ต่อนักสังคมสงเคราะห์ 

เพราะเหตุแห่ง "พื้นที่" และ "บทบาท" ของนักสังคมสงเคราะห์

เพราะเหตุว่า นักสังคมสงเคราะห์ถูกฝึก (และทำให้เชื่อว่าเราต้อง) ให้ "ให้ความสำคัญกับกระบวนการ" พอๆ กับผลลัพธ์ 

ก็ถ้าในเมื่อ process มีความสำคัญพอๆ กับ out put และ out come แล้ว ความยุ่งยากที่เราต้องสะท้อนผ่านการพัฒนากระบวนงานในวิชาชีพเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญยิ่ง  ต้องแสดงให้ใครๆ ได้เห็นว่า "กระบวนการแต่ละขั้นตอนนั้นสำคัญยิ่งอย่างไรต่อผู้รับบริการ"  เพราะเมื่อใดก็ตาม ถ้านักสังคมสงเคราะห์มุ่งเป้าไปที่ out put และ out come อย่างเป็นด้านหลัก (โดยมิได้ตระหนักถึงความสำคัญของ process) เสียแล้ว บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์เป็นอันต้องได้รับการทบทวนโดยด่วน

เพราะเหตุว่านักสังคมสงเคราะห์ มีพื้นที่อย่างนั้น มีบทบาทอย่างนั้น ภาพก็คงไม่พ้นที่ต้องแสดงออก (ผ่านการคิด การพูด การทำ และการเขียน) อย่างนั้น จึงไม่แปลกถ้าการให้ความสำคัญกับ process จะถูกมอง (และเข้าใจ) ว่าเป็นการ "เรื่องมาก-มากเรื่อง"

 

เพราะเหตุว่าถัดจากหัวหน้าหน่วยงาน (ผู้อำนวยการ/ผู้ปกครอง/หัวหน้าบ้าน ฯลฯ) แล้ว คนที่พอจะมีเสียงหรือส่งสัญญาณ (ผ่านการคิด การพูด การทำ และการเขียน) ได้ก็คงจะได้แก่นักสังคมสงเคราะห์ (และ/หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์) จึงอย่าได้แปลกใจถ้าจะได้รับรู้และสัมผัสได้ว่า ในหน่วยงานที่ให้บริการเชิงสถาบันหรือหน่วยงานที่มีลักษณะของการเป็น Social Lab. หัวหน้าหน่วยงานจะไม่ชอบใจนักสังคมสงเคราะห์เท่าใดนัก และในหลายแห่งได้รับการพัฒนาความไม่ชอบใจไปสู่ความขัดแย้งในที่สุด

ยังไม่นับรวมว่าใน "กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ" นั้น นักสังคมสงเคราะห์จำนวนไม่น้อย (ผมไม่แน่ใจว่ามากเพียงใด) มิได้เติบใหญ่มาจากการเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ทั้งมีจำนวนไม่น้อยที่มิได้รับการฝึกอบรม/เรียนผ่านระบบหรือนอกระบบ ในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ หากแต่ได้รับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งในภายหลัง  เพราะเหตุนั้น จึงอย่าได้แปลกใจถ้าจะเห็นเจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่การเกษตร ฯลฯ ได้รับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ในกาลต่อมา (เพราะความก้าวหน้าในอาชีพเป็นเหตุผลหลักของการปรับเปลี่ยน)

มาถึงตรงนี้ เราก็คงต้องหวนกลับไปยังประโยคก่อนหน้านี้ว่า
ก็ถ้าในเมื่อ process มีความสำคัญพอๆ กับ out put และ out come แล้ว ความยุ่งยากที่เราต้องสะท้อนผ่านการพัฒนากระบวนงานในวิชาชีพเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญยิ่ง  ต้องแสดงให้ใครๆ ได้เห็นว่า "กระบวนการแต่ละขั้นตอนนั้นสำคัญยิ่งอย่างไรต่อผู้รับบริการ"  เพราะเมื่อใดก็ตาม ถ้านักสังคมสงเคราะห์มุ่งเป้าไปที่ out put และ out come อย่างเป็นด้านหลัก (โดยมิได้ตระหนักถึงความสำคัญของ process) เสียแล้ว บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์เป็นอันต้องได้รับการทบทวนโดยด่วน

 

จะเพราะเหตุนี้หรือเปล่าไม่แน่ใจที่ทำให้ นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานที่เชิงสถาบันหรือหน่วยงานที่มีลักษณะของการเป็น Social Lab. อยู่ได้ไม่นาน เพราะความเเหนื่อยล้า ทั้งจากภารกิจที่ยุ่งยากในการให้บริการกลุ่มเป้าหมายที่อ่อนล้า อ่อนแรง แต่ก็คงไม่เท่ากับความเหนื่อยล้าจากการต้อง (ทน) ทำความเข้าใจต่อเพื่อนพ้อง น้อง พี่ ในหน่วยงาน

คนเราถ้าไม่สนุก ไม่มีความสุขในการทำงานเสียแล้ว ถ้าทนอยู่ต่อไปก็คงไม่แตกต่างไปจากผู้ต้องขัง ที่ต้องฝึกใจให้เชื่อง

คนเราถ้าไม่มีความสุขในบทบาทเสียแล้ว ถ้าทนอยู่ต่อไปก็คงไม่แตกต่างไปจากพระหนุ่ม เณรน้อย ที่ต้องทนอยู่ (ซึ่งหมิ่นเหม่ต่อการล่วงละเมิดสิกขาบทตามพระวินัย)

ในเบื้องต้นนี้ ใคร่ขอเรียนว่า กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้เปิดหน่วยงานชื่อ "บ้านพักเด็กและครอบครัว" (ชื่อเดิมที่เราคุ้นเคยคือ บ้านพักฉุกเฉิน") อย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าจะให้ครอบคลุมครบทุกจังหวัดทั่วไทย และล่าสุดหน่วยงานน้องใหม่ (ชื่อยังตรงกันนัก) เป็นหน่วยงานที่ให้การรองรับคนไร้บ้าน  แน่นอนว่าหน่วยงานเหล่านี้ ยังขาดนักสังคมสงเคราะห์ (ซึ่งจบปริญญาสังคมสงเคราะห์) อยู่มากทีเดียวครับ


แนะนำคุณ dong เดินเข้าไปทักทาย ถามไถ่ ในหน่วยงานบ้านพักเด็กและครอบครัว ที่เปิดใหม่ใกล้บ้านได้เลยครับ

ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์ด่วน มหัศจรรย์ 1300  สายด่วนประชาบดีได้อยู่กระมังครับ 

แต่ก็อย่างว่านะครับ  ในเบื้องต้นนี้เป็นอัตรา "พนักงานราชการ" ครับผม

 

ขอบคุณ คุณ dong นะครับที่แวะมาทักทาย
ขอบคุณ คุณ dong ที่มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานในวิชาชีพที่ได้ร่ำเรียนมาครับ

 

สวัสดีปีใหม่ครับ


รักษาใจ

"คนไกล...สุดขอบฟ้า"

มงคล ยะภักดี
เขียนเมื่อ
คำตอบ

สักครู่นี้ คลิกไปที่

มติชนสุดสัปดาห์
ฉบับประจำวันที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 26 ฉบับที่ 1360

คอลัมน์เดินตามดาว  โดย หมอทรัพย์ สวนพลู
ประจำวันที่ 8-14 กันยายน 2549
 

พยากรณ์ว่า...
คนที่เกิดราศีสิงห์ หรือ 17 ส.ค. ถึง 16 ก.ย.

ท่านจะห่างไกลครอบครัว
อาจเดินทางไกลเป็นเหตุให้ห่างกันด้วยระยะทาง
หรือหมกมุ่นกับการทำงานจนลืมบ้านก็เป็นการห่างเหินกันทางใจ
เพราะอาทิตย์กับเกตุมีองศาถึงกันในราศีสิงห์

แต่เนื่องจากท่านเป็นตัวของตัวเอง
อาทิตย์ในราศีสิงห์เป็นคนที่ล้างสมองยาก ไม่ถูกกลืน
แม้แต่งงานแล้วพ่อตาแม่ยายก็ยังนับถือว่าเป็นคนที่มีความนับถือตัวเอง
เกตุอาจทำให้ท่านคิดว่าการถ่อมตัวเป็นสิ่งที่ดี สังคมของราศีสิงห์เป็นสังคมของความหยิ่งทระนงในศักดิ์

ถ้าสิงห์เดินป้อแป้ใครเขาจะมากลัว
เขาก็ไม่นับว่าเป็นสิงห์อีกต่อไป
เกิดมาเป็นต้นไทรจะให้อ่อนลู่ลมเป็นต้นอ้อไหวหรือ

---------------------------------------------------------------------------------------

หมอทรัพย์ท่านว่าอย่างนั้นครับ
ท่านว่า ถ้าสิงห์เดินป้อแป้ใครเขาจะมากลัว
เขาก็ไม่นับว่าเป็นสิงห์อีกต่อไป
เกิดมาเป็นต้นไทรจะให้อ่อนลู่ลมเป็นต้นอ้อไหวหรือ
(ฮา)

--------------------------------------------------------------------------------------

ทำให้นึกถึงโคลงบทนึง
ว่ากันว่าเป็นของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ก่อนโน้น

หัวโขน         สวมหัว         คนเต้น
เห็นเป็น        ลิงยักษ์         สักครู่
ถอดโขน      แล้วคน          เดิมดู
ใช่ผู้              ยักษ์ลิง         สิ่งลวง ฯ

ผมคงไม่ได้อยากเป็นยักษ์หรอกครับ

แต่ยักษ์ มักจะเข้าสิงทีเผลอ เมื่อตอนอยู่ในช่วงเวลาปฏิบัติงาน
เป็นยักษ์ใจร้าย ยักษ์เกเร ที่เอาแต่ใจตัว
แล้วยักษ์ก็มักจะหนีออกจากร่างไป เมื่อหมดเวลาราชการ

ให้กลับมาเป็นพี่ที่น่ารัก ของน้องๆ น้องๆ
ให้กลับมาเป็นน้องที่น่ารัก ของพี่ๆ
ให้กลับมาเป็นที่รักของใครๆ

อยู่เช่นเดิม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

(ไม่ฮา)

อย่าเกลียดผม
อย่าโกรธผม
แต่ขอให้เกลียด ขอให้โกรธเจ้ายักษ์ใจร้าย ยักษ์เกเร ตนนั้น
ยักษ์ตนทีแอบเข้าสิงทีเผลอ ตนนั้น

(ฮา)

หายไปไหน????

แฟนคลับ

มงคล ยะภักดี
เขียนเมื่อ
คำตอบ

อ่านแล้วก็ปลื้มใจ--ปลื้มใจยิ่ง
ปลื้มใจอีหลี--ปลื้มใจคัก คัก

ปลื้มใจกับการใช้นามแฝงว่า "แฟนคลับ"
ปลื้มใจกับข้อความว่า "รออ่านอยู่นะค๊า"
ปลื้มใจกับข้อความว่า "กลับมาเร็วๆ น๊า....."

ภาระงานเร่งรีบ ให้ต้องขับ ต้องเคลื่อน
ต้องผลัก ต้องดัน
ต้องปฏิบัติหน้าที่
ต้องสวมบทบาท

ขออภัยที่ทิ้งระยะไป
ขออภัยที่ทำให้เป็นห่วง (ฮา)

ยังอ้วนท้วนสมบูรณ์ดีอยู่
ยังไม่ได้หายไปไหน ยังคงอยู่ในสถานสงเคราะห์
อยู่เพื่อผลัก เพื่อดัน เพื่อเร่ง เพื่อรีบ เพื่อสาน เพื่อต่อ
ผลักดัน เร่งรีบให้งานสำเร็จตามเป้าประสงค์
จุดประกายอารมณ์บรรเจิดเพื่อก่อเกิดเครือข่ายและภาคีความร่วมมือ

เพิ่งได้พักยกแรกเอาวันนี้เมื่อตอน บ่ายเศษๆ

สักพัก ขอพักกาย ขอพักใจ สักพัก
แล้วจะกลับมา--กลับมาพร้อมกับบันทึกขี้โม้

โปรดอย่ารอคอย แต่โปรดติดตามด้วยความระทึกในดวงหฤทัยพลัน (ฮา)

อยู่อย่างไรกับผู้ป่วยทางจิต

Ka-Poom

มงคล ยะภักดี
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ดีใจจริงครับ ที่ท่าน Ka-Poom แวะมาพูดคุย

เว้ากันซื่อๆ แล้วประสบการณ์การดำเนินงานเกี่ยวกับผู้ป่วยทางจิตของผมคงเป็นแบบฉาบฉวยเสียมาก
โดยเฉพาะกับการดำเนินงานเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกับชุมชน คงยังอ่อนอยู่มากครับ
อ่อนขนาดว่าคงอีกนานกว่าจะเป็นวุ้น

ผมยังไม่ได้สรุปกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นเรื่องเป็นราวนักครับ
แต่ก็เหมือนว่าจะออกมาปรากฏตามบันทึกเรื่องต่างๆ บ้างประปราย
แน่ละ ประปรายตรงโน้นนิด ตรงนี้หน่อย ก็ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก

เท่าที่นึกได้และพอจะคุยกันได้ ณ ตอนนี้ เท่าที่พอพูดได้ ก็คือ ในส่วนของครอบครัว
ผมใช้คำว่า "ไม่สบาย" แทนคำว่าป่วย
ผมใช้คำว่า "อุบัติเหตุที่เกิดในครอบครัว" เป็นคำอธิบายปรากฏการณ์ที่สูญเสียแรงงานในครอบครัว
ผมใช้คำว่า "เรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกัน" เป็นตัวย้ำว่า ทำไมหลายครอบครัวอยู่ร่วมได้
แน่นอนละ บริบทแต่ละครอบครัว ล้วนแล้วแต่มีปัจจัยภายใน/ภายนอก ที่แตกต่างกัน

ในส่วนของสถานสงเคราะห์ ผมย้ำเสมอ (และต้องย้ำๆๆๆ เพื่อให้เราชนะ ประสาคนเอาแต่ใจตัวเอง (ฮา))
ว่างานสังคมสงเคราะห์ที่เริ่มแต่ สงเคราะห์-ช่วยเหลือ-บำบัด-ฟื้นฟู-พัฒนา นั้นเราให้น้ำหนักที่ตัวไหนมากที่สุด
หนักๆ เข้าแล้วเหมือนว่าเรามุ่งเน้นการเลี้ยงดู

ผมไม่อยากให้จินตภาพของผู้ป่วยโรคจิตของคนทั่วไป กับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงเป็นอันเดียวกัน
จินตภาพของผู้ป่วยโรคจิต ทั่วไปเป็นอย่างไรละครับ เสื้อผ้ารุ่งริ่ง เหม็นคลุ้ง ทัดดอกไม้ เด็กโห่ เอาก้อนหินปา ปะแป้งหน้าวอก ฯลฯ  (พอๆ กับภาพของสมทรง ในหนังเรื่อง "ไอ้ฟัก"  และจินตภาพนี้ไม่ต่างจากจินตภาพของคำว่า "คนจน" และ "คนใช้" ที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ)

เราต้องใช้เวลานานหมือนกันกับการอธิบาย (เพื่อให้ได้ตามใจตัวเอง) เมื่อต้องจัดงานอะไรสักอย่างโดยมีผู้ใช้บริการร่วมกิจกรรม  คำถามที่ผมมักจะกลางวง คือ "ถ้าเราเชื่อว่าเรามีศักยภาพในการฟื้นฟู พัฒนา ให้เขาอยู่ร่วมกับสังคมได้แล้ว ทำไมไม่ทำให้กลืน"  กลืนไปคนร่วมงาน กลืนไปกับแขก กลืนไปกับเจ้าหน้าที่

เครื่องแต่งกายก็ไม่ควรที่จะแยกสี แยกเพศ แยกอาการ หรือผมที่ต้องตัดเกรียนเสมอกัน
หากแต่ให้หลากหลาย--หลากหลายทั้งเสื้อผ้า และทรงผม ยิ่งกลืนได้เท่าไหร่ก็ยิ่งสะท้อนได้ถึงความสำเร็จ สะท้อนได้ถึงฝีมือ

ตราบใดที่เรายังทำให้เขารู้สึกว่า "ต่าง" ไปจากเรา (จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) ผมว่าจะยิ่งทำให้เขา "แปลกแยก" ไปไม่จบสิ้น


ผมว่าจินตภาพนี่ละ สำคัญไม่น้อยทีเดียว


ตอนนี้ ผมยังนึกไม่ออกจริงๆ ครับ ท่าน Ka-Poom
ผมคงต้องหาโอกาสไปนั่งสมาธิสักพัก
เผื่อจะเขียนอะไรได้เป็นเรื่องเป็นราว

ผมดีใจนะครับ ที่มีบล็อกดีๆ ให้ติดตามอ่านอย่างบล็อกของท่าน Ka-Poom

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท