ดอกไม้


พรทิพย์ โคกทอง
เขียนเมื่อ

แบบบันทึกรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ 102321

1.สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในรายวิชานี้

-ได้รู้จักรูปแบบ เทคนิค วิธีการสอนแบบต่างที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหารายวิชา ได้ฝึกเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนและมีการสอบปฏิบัติการสอนจริงทำให้เราทราบถึงข้อบกพร่องของตนเอง และยังได้รู้ถึงการจัดการชั้นเรียนที่ดีจะต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลักว่าสามารถแสวงหาความรู้ได้มากเพียงใด ในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มีการเน้นในเรื่องที่คือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ครูทำหน้าที่เป็นโค้ชหรือผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น

2.แง่คิด/ความรู้สึก/ความประทับใจที่มีต่อการเรียนการสอนและ/หรือผู้สอนในรายวิชานี้

-ความรู้สึกที่มีต่อผู้สอน ในการเข้าสอนแต่ละครั้งฉันจะเห็นอาจารย์สะพายกระเป๋ามาหลายในทั้งโน้ตบุ๊คและสิ่งต่างที่ใช้ในการเรียนการสอนแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการสอน การเรียนรายวิชานี้นั้นเรียนในคาบบ่ายซึ่งฉันนั้นทั้งง่วงทั้งเหนื่อยแต่พออาจารย์เดินเข้ามาในห้องยิ้มแย้มทักทายแบบเป็นกันเองทำให้อยากเรียนและตั้งใจเรียนมากขึ้น อาจารย์จะจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเป็นประจำ เช่น ให้นั่งเป็นกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้หรือความคิดเห็น นำเสนองานหน้าชั้นเรียนเป็นต้น และบรรยากาศในการเรียนนั้นก็ไม่กดดันเกินไป เพราะอาจารย์จะพูด ถามความคิดเห็นพร้อมด้วยรอยยิ้มของอาจารย์

3.สิ่งที่ตนเองต้องปรับปรุงหรือพัฒนา

- สิ่งที่ควรพัฒนาคือ การกล้าที่จะแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการแสดงออกหน้าชั้นเรียนควรมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น

6
1
ณัฐทรียา สีโสภา
เขียนเมื่อ

1.สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในรายวิชา

-ได้เรียนรู้วิธีการเขียนแผน

-วิธีการสอนต่างๆ

- เทคนิคการสอนต่างๆ

2.แง่คิด/ความรู้สึก/ความประทับใจที่มีต่อการเรียนและผู้สอนวิชานี้

แง่คิด = เป็นวิชาที่สำคัญมากสำหรับอาขีพครู

ความรู้สึก= เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาเกี่ยวกับวิชาชีพจึงมีเนื้อหาค่อนข้างเยอะเวลาเรียนอาจจะรู้สึกมีความง่วงความเหนื่อยบ้าง

ความประทับใจ=ประทับใจอาาย์ผุ้สอนตรงที่ให้นักเรียนรู้จักเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทำให้ผุ้เรียนเข้าใจมากขึ้น

3.สิ่งที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนา

ดิฉันต้องเป็นคนขยีนให้มากว่าต้องหมั่นทบทวนถึงจะเข้าใจในเนื้อหา

8
3
มณฑาทิพย์ อนุศรี
เขียนเมื่อ

แบบบันทึกรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้(102321)

1.สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในรายวิชา
-รูปแบบและวิธีการสอนต่างๆ ทำให้เราสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต
-วิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
-ความรู้เกี่ยวกับห้องเรียนแบบเก่าและห้องเรียนในศตวรรษที่ 21

2.แง่คิด/ความรู้สึก/ความประทับใจที่มีต่อการเรียน และ/หรือ ผู้สอนในรายวิชา
ต่อการเรียน : วิชานี้มีความจำเป็นต่อผู้ที่จะศึกษาในวิชาชีพครู เพราะจะต้องนำความรู้และทักษะที่ได้นี้ไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนและจัดการศึกษาให้กับนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ พร้อมทั้งฝึกทักษะอย่างเต็มที่และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม
ต่อผู้สอนในรายวิชา :อาจารย์มีความน่ารัก เป็นกันเอง มีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย กระตุ้นความสนใจผู้เรียน ทำให้ไม่น่าเบื่อ

3.สิ่งที่ผู้เรียนปรับปรุง/พัฒนาให้ดีขึ้นมีอะไรบ้าง
-ควรอ่านหนังสือก่อนไปเรียน และเมื่อเรียนเสร็จแล้วควรกลับมาทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว

4.ข้อเสนอแนะ
-อยากให้มีหนังสือประกอบการเรียนในรายวิชานี้ค่ะ

20
9
Ilham Hayeechebu
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

ในศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนรู้ที่กำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน คือ ครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนายความสะดวก ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเองแล้วการเรียนก็จะเกิดขึ้นจากภายในใจและสมองซึ่งจะทำให้เด็กจำได้ดีกว่าการนั่งท่องจำเพราะเด็กได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งในอดีตนักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนวิชาต่างๆเพื่อต้องการเกรดและเพื่อให้ได้จบการศึกษาแต่ในปัจจุบันจะแตกต่างกันมาก เพราะการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เป็นการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง เน้นการศึกษาตลอดชีวิตด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนเป็นคนเจ้าคิดเจ้าปัญญาที่ยังแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาแล้วก็ตาม และภาพของห้องเรียนจะขยายกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นมีสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในห้องเรียนที่ดีและน่าอยู่ นักเรียนจะเป็นผู้ชี้นำตนเองได้มีการทำงานที่เป็นกลุ่มและอิสระได้ โดยหลักสูตรและการสอนจะมีลักษณะท้าทายสำหรับผู้เรียนทุกคนและจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งหลักสูตรที่ใช้จะเป็นหลักสูตรแบบยึดโครงงานและการบูรณาการ การสอนทักษะและเนื้อหาจะไม่เป็นจุดหมายปลายทางแต่นักเรียนจะต้องมีการเรียนรู้ผ่านการวิจัยและปฏิบัติในโครงงาน ซึ่งการประเมินจะเป็นการประเมินที่ผู้ถกประเมินมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย

ดังนั้น การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 จะต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะจากกระบวนทัศนะแบบดั้งเดิมไปสู่กระบวนการใหม่ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้



อ้างอิง: http://lripsm.wixsite.com/21st/about_us.


23
8
ภัทราภรณ์ แกมจินดา
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21.docx
นางสาวภัทราภรณ์ แกมจินดา
ค.บ.ภาษาไทย ปี 3 หมู่ 1
5780107113

31
10
พัชธิดา รักษาอินทร์
เขียนเมื่อ
29
7
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท