Suthasinee
นางสาว สุธาสินี วรรณเจริญ

อนุทินล่าสุด


Suthasinee
เขียนเมื่อ

๑๕. แผนการดำเนินงาน

                  

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

 

เดือน

ก.ค.

๕๕

ส.ค.

๕๕

ก.ย.

๕๕

ต.ค.

๕๕

พ.ย.

๕๕

ธ.ค.

๕๕

ม.ค.

๕๖

ก.พ.

๕๖

มี.ค.

๕๖

เม.ย.

๕๖

พ.ค.

๕๖

มิ.ย.

๕๖

๑. กำหนดประเด็นหัวข้องานวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒. ศึกษาค้นคว้าแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๓. ออกแบบงานวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๔. การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๕. วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๖. การเขียนรายงานการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๖. งบประมาณ

๑. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำเอกสารในงานวิจัย              ๕,๐๐๐.- บาท

๒. ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามงานวิจัย                           ๕๐๐.- บาท

๓. ค่าเข้าเล่มงานวิจัย                                            ๑,๕๐๐.- บาท

๔. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น                           ๓,๐๐๐.- บาท

                                       รวมเป็นเงินทั้งสิ้น        ๑๐,๐๐๐.- บาท

(ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Suthasinee
เขียนเมื่อ

๑๓. วิธีการวิจัย

                             ๑. ประชากร เป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป จ้างเหมาบริการ

                             ๒. ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง การหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสุ่มตัวอย่างของ YAMANE

                             ๓. การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีทอดแบบสอบถาม ให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม

                             ๔. เครื่องมือในการวิจัย

                             - คำถามแบบปลายปิด หมายถึง คำถามที่ตั้งขึ้นและกำหนดคำตอบไว้แล้ว                                   

                            - คำถามแบบปลายเปิด หมายถึง คำถามที่ไม่มีคำตอบเตรียมไว้          

                             ๕. การวิเคราะห์ข้อมูล

                             - ใช้สถิติพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มประชากร โดยหาค่าเฉลี่ย พิสัย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                             - ใช้สถิติอนุมาน ในการเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช่ t – test และ ANOVA

๑๔. สถานที่ทำการวิจัย

                             องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ตำบล            แม่กลอง อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสงคราม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Suthasinee
เขียนเมื่อ

๑๑. ขอบเขตของการวิจัย

                             ๑. ด้านเนื้อหา เป็นการศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม

                             ๒. ประชากร คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงครามได้แก่ ข้าราชการการเมือง จำนวน ๘ ราย ข้าราชการประจำ จำนวน ๖๑ ราย ลูกจ้างประจำ ๒๒ ราย พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน ๓๙ ราย พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน ๒๑ ราย และจ้างเหมาบริการ  จำนวน ๓๕ ราย รวมทั้งสิ้น ๑๘๖ ราย

                             ๓. ตัวแปร ประกอบด้วยตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ดังนี้

                             - ตัวแปรอิสระ หมายถึง ตัวแปรที่เกิดขึ้นมาโดยไม่จำเป็นต้องมีตัวแปรอื่นเกิดขึ้นมาก่อน ได้แก่ เพศ  อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง รายได้ และประสบการณ์การทำงาน

                             - ตัวแปรตาม หมายถึง ตัวแปรที่เป็นผลมาจากการเกิดขึ้นของตัวแปรอื่น ได้แก่  การกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน การมอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่ การสื่อสารกันอย่างเปิดเผย การกระจายความเป็นผู้นำ และการตัดสินใจร่วมกัน

๑๒. ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย

                             วันที่ ๑ กรกฎาคม  ๒๕๕๕  ถึง วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖  เป็นเวลา ๑๒ เดือน

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Suthasinee
เขียนเมื่อ

๑๐. นิยามเชิงปฏิบัติการ ให้ความหมายของคำสำคัญดังต่อไปนี้

                   การทำงานเป็นทีม หมายถึง การดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการทำงานอย่างเดียวกัน

การพัฒนาการทำงานเป็นทีม หมายถึง การดำเนินงานเพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนการทำงานเป็นทีมที่ดีขึ้นกว่าเดิม ใน ๕ ด้าน ดังนี้

๑.๑ ด้านการกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน หมายถึง การร่วมกันกำหนดภาระงาน และเป้าหมายการทำงานร่วมกันเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

๑.๒ ด้านการมอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่ หมายถึง การมอบหมายภาระงานให้

รับผิดชอบและปฏิบัติงานที่ตนเองรับผิดชอบอย่างชัดเจน และมีความพยายามทำงานให้สำเร็จตามที่ทีมต้องการ

๑.๓ ด้านการสื่อสารกันอย่างเปิดเผย หมายถึง การมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจซึ่งกัน

และกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อภิปรายปัญหา ระหว่างกันด้วยความจริงใจ เต็มใจและเปิดเผย

๑.๔ ด้านการกระจายความเป็นผู้นำ หมายถึง การมีความสามารถเป็นผู้นำและ              ผู้ตามที่ดีได้ทุกคน หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไปตามสถานการณ์

๑.๕ ด้านการตัดสินใจร่วมกัน หมายถึง การตัดสินใจร่วมกันในการดำเนินงาน               ใช้หลักการโดยกลุ่มกระบวนการตัดสินใจยืดหยุ่นตามสถานการณ์ มีข้อมูลข่าวสารที่ที่ถูกต้องชัดเจน ทุกคน เห็นด้วยในหลักการและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามมติ

บุคลากร หมายถึง ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป และจ้างเหมาบริการ

องค์การบริหารส่วนจังหวัด  หมายถึง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ตำบลแม่กลอง  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสงคราม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Suthasinee
เขียนเมื่อ

๙. กรอบแนวคิดการวิจัย

           
   

 

ตัวแปรตาม

       การพัฒนาการทำงานเป็นทีม  ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อการปรับเปลี่ยนการทำงานเป็นทีมที่ดีขึ้นกว่าเดิม ๕ ด้าน ดังนี้

๑.๑ ด้านการกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน

๑.๒ ด้านการมอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่

๑.๓ ด้านการสื่อสารกันอย่างเปิดเผย

๑.๔ ด้านการกระจายความเป็นผู้นำ

๑.๕ ด้านการตัดสินใจร่วมกัน

 
 

 

ตัวแปรอิสระ

๑. เพศ

๒. อายุ

๓. ระดับการศึกษา

๔. ตำแหน่ง

๕. รายได้

๖. ประสบการณ์การทำงาน

 
     
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Suthasinee
เขียนเมื่อ
    วราภรณ์  ไม้สนธิ์ (2553 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของพนักงานผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลพบพระ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก  พบว่า พนักงานผู้ปฏิบัติงาน ไม่สามารถรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พนักงานผู้ปฏิบัติงานไม่ยอมรับในหัวหน้าคณะทำงานและทีมงาน พนักงานขาดความกระตือรือร้นที่จะทำงานร่วมกับทีมงานใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการร่วมกัน    เกิดความขัดแย้งในทีมงาน พนักงานผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดกันอย่างเปิดเผย ไม่มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในทีมงาน ไม่ยอมรับในศักยภาพและความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ว่าจะทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายและช่วยเหลืองานของตนได้ มีความขัดแย้งทางด้านความคิด การตัดสินใจร่วมกันยังมีน้อย ส่วนใหญ่จะให้หัวหน้าคณะทำงานเป็นผู้นำในการตัดสินใจ ขาดการใช้ข้อมูล  ในการประกอบการตัดสินใจในทีมงาน ทำให้ทีมงานขาดความเชื่อมั่นและไม่ให้ความร่วมมือในการทำ กิจกรรม/โครงการ แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของพนักงานผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลพบพระ ต้องมีการจัดประชุมรูปแบบต่าง ๆ เช่น ประชุมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานทุกคนทราบวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีการจัดแบ่งกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์   มีการประชุมชี้แจงให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานทุกคนทราบขอบเขตของบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคนให้เข้าใจและยอมรับความแตกต่างซึ่งกันและกัน มีการจัดฝึกอบรมพัฒนางานให้แก่พนักงานผู้ปฏิบัติงาน  เพื่อผู้ปฏิบัติงานได้มีความรู้ ความเข้าใจและมองงานในลักษณะทั้งระบบ มิใช่มองเฉพาะงานส่วนใดส่วนหนึ่ง  มีการจัดกิจกรรมนิเทศภายในหน่วยงาน เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การสร้างขวัญและกำลังใจ  เพื่อพัฒนาทักษะในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน มีการจัดสัมมนาเพื่อให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานได้แสดงความคิดเห็น มีการอภิปรายถกเถียงในหลักการและเหตุผลของตน พร้อมทั้งใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ซึ่งจะทำให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานให้ความร่วมมือและเต็มใจทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี                ธนิตรานันท์  พรรณสวัสดิ์ (2554 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการทำงานเป็นทีมขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า รูปแบบการทำงานเป็นทีม ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี มี 5) ด้าน ดังนี้ 1) ด้านภาวะผู้นำ 2) ด้านการกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ 3) ด้านการสร้างบรรยากาศของการทำงาน 4) ด้านการประชุมและร่วมประเมินผล และ 5) ด้านแรงจูงใจ มีรูปแบบการทำงานเป็นทีม ทั้ง 2 ประเภท คือ ลักษณะทีมงานที่มีประสิทธิภาพ  และลักษณะทีมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ        แนวทางในการการพัฒนาการทำงานเป็นทีม คือ 1) ด้านภาวะผู้นำ การฝึกให้ผู้นำได้คิดริเริ่มสร้างสรรค์ กิจกรรม เป้าหมาย ต่าง ๆ เพื่อเป็นจุดมุ่งหมายของสมาชิกภายในองค์กร การสร้างจิตสำนึกของการเป็นผู้นำที่ดี  2) ด้านการกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบสมาชิกในองค์กรต้องทำข้อตกลงร่วมกันล่วงหน้าเกี่ยวกับการรับผิดชอบผลงานที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของทีมงาน และควรจัดให้มีองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันภายในสมาชิกในองค์กร 3) ด้านการสร้างบรรยากาศของการทำงาน ขจัดการแข่งขันการทำงานภายในทีม โดยให้ทุกคนในทีมงานได้มีส่วนร่วมกับตำแหน่งต่าง ๆ เช่น หัวหน้าทีมโครงการ หรือหัวหน้าทีมตรวจสอบทีม ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันภายในองค์กร  4) ด้านการประชุมและร่วมประเมินผล ควรร่วมประชุมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการทำงานภายหลังการปฏิบัติงานเสร็จสิ้น และการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อรายงานผลความก้าวหน้า ปัญหา และ อุปสรรคของการทำงานที่ผ่านมาในทีมอย่างเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง และ 5) ด้านแรงจูงใจผู้บริหารต้องเป็นบุคคลที่มีความยุติธรรม ตัดสินงานจากผลของงานที่เกิดขึ้นจริง จะลดการเกิดความขัดแย้งกันขึ้นภายในทีมงานได้                อับดุลเสาะห์  วาเต๊ะ (2554 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมขององค์การบริหารส่วนตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส พบว่า สภาพปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นทีมขององค์การบริหารส่วนตำบลจวบ คือ บุคลากรยังไม่เข้าใจในด้านการมอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่ ยังมีความขัดแย้งทางด้านความคิดแต่ไม่กล้าแสดงออก ขาดการสื่อสารกันอย่างเปิดเผย  ขาดการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในทีมงาน ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นกลัวผลกระทบต่อตนเอง เนื่องจากองค์กรขาดการชี้แจง ระบบการทำงานร่วมกัน และการประชาสัมพันธ์ยังขาดประสิทธิภาพ ไม่ทั่วถึง  แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมขององค์การบริหารส่วนตำบลจวบ คือ องค์การควร ตอบแทนพนักงานที่ตั้งใจปฏิบัติงาน มอบหมายงานและภารกิจต่าง ๆ ให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างสุดความสามารถ ควรให้การยอมรับนับถือกันระหว่างสมาชิกในทีม ควรมีระบบการสื่อสารที่พนักงานทุกคนยอมรับ มีการสื่อสารหลายช่องทาง และเน้นการสื่อสารที่เข้าใจง่ายไม่ทำให้เกิดความคลุมเครือ ควรชี้แจงข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น และพิจารณาพูดคุยความขัดแย้งด้วยเหตุผลร่วมกัน ค้นหาสาเหตุของปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ แล้วร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และควรมีการชี้แจงระบบการทำงานเป็นทีมอย่างเปิดเผยให้พนักงาน     ทุกคนรับรู้ร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายได้เป็นอย่างดีและส่งเสริมให้พนักงานรับรู้บทบาทของทีมงานที่มีต่อองค์การ  


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Suthasinee
เขียนเมื่อ

๘. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                ปราโมทย์  พากพูลไพร (2550 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาการทำงาน เป็นทีมของบุคลากรศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ก่อนดำเนินการพัฒนาการสร้างความเข้าใจในการทำงานเป็นทีม การปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่มีการประชุมเตรียมงานร่วมกัน ต่างคนต่างทำงาน ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การสร้างความไว้วางใจในทีมงานการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์มีการประชุมร่วมกันน้อยมาก บุคลากรไม่มีโอกาสในการปรึกษาหารือกันในเรื่องงาน ไม่มีการมอบหมายงาน การสื่อสารในทีมงาน การปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการประชุมร่วมกันน้อยมาก และในการปฏิบัติงานก็ทำตามหน้าที่ของตนจึงทำให้การสื่อสารในเรื่องงานมีน้อย การแก้ปัญหาของทีมงานการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะต่างคนต่างทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เมื่อพบปัญหาในการทำงานก็จะเป็นการแก้ปัญหาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ การเสริมสร้างความร่วมมือในทีมงาน การปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่มีกระบวนการในการเสริมสร้างความร่วมมือในทีมงาน การติดตามเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทีมงานการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่มีการตรวจสอบติดตามหรือประเมินผลการปฏิบัติงาน
    หลังจากดำเนินการพัฒนาทั้ง 2 วงรอบ พบว่าการสร้างความเข้าใจในการทำงานเป็นทีม    โดยภาพรวมสมาชิกทุกคนมีความเข้าใจในการทำงานร่วมกันมากขึ้น จากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เน้นความสำคัญของทีมงานและความเข้มแข็งขององค์กร พบว่าสมาชิกมีความตระหนักในการทำงานเป็นทีมมากขึ้น การสร้างความไว้วางใจในทีมงาน โดยภาพรวมสมาชิกทุกคนให้ความไว้วางใจในการทำงานซึ่งกันและกัน  มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น การสื่อสารในทีมงาน โดยภาพรวมสมาชิกทุกคนมีการติดต่อสื่อสารกันในการทำงาน ยกเว้นผู้มีปัญหาส่วนตัวซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขต่อไป การแก้ปัญหาของทีมงาน โดยภาพรวมสมาชิกมีการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งในการแก้ไขปัญหา ก็มีการปรึกษาหารือกัน ช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้  การเสริมสร้างความร่วมมือกันในการทำงานที่ดี ผู้ประสานงานมีส่วนช่วยเสริมสร้างความร่วมมือในการทำงาน หากจะมีการพัฒนาต่อไปในด้านการเสริมสร้างความร่วมมือในทีมงาน ควรได้มีการจัดกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ขึ้น เพื่อสนับสนุนด้านนี้ต่อไปการติดตามเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทีมงาน โดยภาพรวมการพัฒนาทีมงานมีการติดตามผลการพัฒนาโดยการสังเกต การสัมภาษณ์ และการนิเทศ ซึ่งผลที่ได้ก็นำไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาในวงรอบต่อไป
          สมหวัง เป้ากลาง (2551 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษา การพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรกองการศึกษา เทศบาลตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่า บุคลากรกองการศึกษา เทศบาลตำบลบ้านเป็ดมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานที่เป็นทีมดีขึ้น มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเป้าหมายที่สอดคล้องกัน บุคลากรกองการศึกษามีการกำหนวัตถุประสงค์เป็นที่เข้าใจชัดเจน โดยทั่วกันและเป้าหมายของแต่ละคนสอดคล้องกับเป้าหมายของทีมงานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สมาชิกมีความเปิดเผย จริงใจ และเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา มีการสื่อความหมายสองทาง ให้ข้อมูล ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความรู้สึกตรงไปตรงมาเป็นธรรมชาติ ทุกคนมีมานะอดทนในการร่วมกันแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสูง สมาชิกในทีม  มีความสัมพันธ์กันอย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา กล้าเผชิญหน้าในการแก้ปัญหาการทำงานร่วมกัน สมาชิกมีการสนับสนุน และไว้วางใจกัน ยอมรับกันและรับฟังกัน ความสามารถและจะเด่นของกันและกันอย่างเต็มที่ สมาชิกมีความร่วมมือและใช้ความขัดแย่งในเชิงสร้างสรรค์ ทำงานร่วมกันโดยอยู่บนพื้นฐานการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการแบ่งปันกัน รวมทั้งความแตกต่างทางความคิด ก็มีการหาทางเลือกมากขึ้น มีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศที่ถูกต้อง มีการติดต่อสื่อสาร มีความสามารถ  มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา ทำให้ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ บุคลากรมีการพัฒนา ฝึกทักษะ ความรู้ความคิดเห็นและการปฏิบัติงาน รู้จักใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงานเป็นทีม รวบรวมทักษะความรู้ ความสามารถของแต่ละคนในทีมงานเข้าด้วยกัน การทำงานเป็นทีมจึงได้ผลดียิ่งขึ้น บุคลากรสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานอื่น หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง ทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์  มีบรรยากาศการทำงานที่ดี ทำงานอย่างมีความสุข ทำให้กองการศึกษาได้รับประโยชน์สูงสุดในการบริหารที่คล่องตัว


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Suthasinee
เขียนเมื่อ

๖ วัตถุประสงค์การวิจัย

        ๑. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นทีมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม
        ๒. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม

๗.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

        ๑. ได้ทราบถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นทีมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม
        ๒. ได้ทราบถึงแนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม
        ๓. เป็นข้อมูลสารสนเทศหรือรูปแบบในการวางแผนพัฒนาบุคลากรสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทีมงาน


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Suthasinee
เขียนเมื่อ

๕. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

 การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญต่อการทำงานในองค์การเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่ทีมงานจะช่วยทำให้วัตถุประสงค์ของหน่วยงานบรรลุเป้าหมายเท่านั้น แต่ทีมงานยังจะเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบรรยากาศการทำงานของหน่วยงานอีกด้วย หน่วยงานมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างทีมงาน ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ ๑) งานบางอย่างไม่สามารถทำสำเร็จเพียงคนเดียว ๒) หน่วยงานมีงานเร่งด่วนที่ต้องการระดมบุคลากร เพื่อปฏิบัติงานให้เสร็จทันเวลาที่กำหนด ๓) งานบางอย่างต้องอาศัยความรู้ความสามารถและ ความเชี่ยวชาญจากหลายฝ่าย ๔) งานบางอย่างเป็นงานที่มีหลายหน่วย งานรับผิดชอบ ต้องการความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ๕) เป็นงานที่ต้องการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อแสวงหาแนวทาง วิธีการ เป้าหมายใหม่ ๆ ๖) หน่วยงานต้องการสร้างบรรยากาศของความสามัคคีให้เกิดขึ้น การทำงานเป็นทีมในองค์กร ย่อมเกิดปัญหาในการ ทำงาน เนื่องจากเป็นการทำงานร่วมกันกับบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายหากทีมงานในองค์กรมีจำนวนเพิ่มขึ้น ปัญหาก็จะมีมากขึ้น สภาพปัญหาจากการเป็นทีมได้แก่ ๑) ขาดภาวะผู้นำในทีมงาน ขาดความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อทีม ขาดระเบียบ วินัยและควบคุมกันมิได้ ๒) ขาดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ๓) ขาดความเข้าใจหรือไม่ยอมรับในวัตถุประสงค์ของทีม ๔) ขาดการประสานงาน ๕) ขาดความสามัคคี ๖) ขาดความพอใจในงาน ๗) วิธีการทำงานที่ไม่เหมาะสม ๘) กำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบไม่ชัดเจน ๙) ขาดวินัย และการควบคุม ๑๐) การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมทีมงานไม่เป็นไปในทางสนับสนุนซึ่งกันและกัน ปัญหาดังกล่าว จะเป็นเครื่องกีดขวางและทำลายบรรยากาศที่จะช่วยให้สมาชิกเกิดความพอใจที่จะทำงานร่วมกัน ต่างคนก็ต่างมีเป้าหมายส่วนตัว มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนร่วม นำเรื่องส่วนตัวเข้ามารวมกับเรื่องงาน ไม่มีการให้เกียรติต่อกัน ต่างคนต่างไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งสู่วิสัยทัศน์และเป้าหมายเดียวกัน เหล่านี้ล้วนแต่นำมาซึ่งความล้มเหลวในการทำงานเป็นทีมทั้งสิ้น การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วน จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า การปฏิบัติงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานไม่ให้ความร่วมมือและไม่เต็มใจทำงาน เนื่องจากส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่อง การมอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่ ขาดการสื่อสารกันอย่างเปิดเผย ความขัดแย้งทางด้านความคิด ขาดความเสียสละ ปัญหาครอบครัวและเรื่องส่วนตัว ขาดการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ทำให้ผลงานหรือการดำเนินงานบางโครงการ บางกิจกรรม หรือทุกโครงการและกิจกรรมไม่ดีเท่าที่ควรหรือ ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดและไม่บรรลุเป้าหมายที่คาดหวัง จากการที่บุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานในแต่ละโครงการ/กิจกรรม บางคนก็มาร่วมโครงการ/กิจกรรม บางคนก็ไม่มา ไม่มีหลักเกณฑ์หรือระเบียบตายตัวว่าคนที่ ไม่มีจะมีผล กระทบอย่างไร ก็จะกลายเป็นว่ามาก็ได้ไม่มาก็ได้ คนมาก็ทำไปคนไม่มาก็ไม่มีผลอะไร ทั้งยังสร้างความขัดแย้งในองค์กรตามมาตลอดที่มีโครงการ/กิจกรรม โดยเฉพาะ โครงการ/กิจกรรมที่จัดในวันเสาร์ – วันอาทิตย์ จะได้รับความร่วมมือน้อยมาก คนที่มาก็จะเป็นกองต้นเรื่องของโครงการ/ กิจกรรมที่จัดเท่านั้น ทำให้บางครั้งโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยจะได้รับการตำหนิจากประชาชนว่าบุคลากรใน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม มีตั้งหลายคน แต่เห็นหน้าเดิม ๆ ที่มาเท่านั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการ ศึกษาพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาการทำงาน เป็นทีมให้สามารถปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ขององค์การได้อย่างประสบความสำเร็จ และเป็นการพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้เป็นผู้ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินงานต่อไป 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Suthasinee
เขียนเมื่อ

๑. ชื่อโครงการวิจัย การพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากร กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ๒. ประเภทของการวิจัย การวิจัยพื้นฐาน ๓. สาขาวิชาที่การวิจัย รัฐประศาสนศาสตร์ ๔. ผู้ดำเนินการวิจัย นางสาวสุธาสินี วรรณเจริญ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ระดับ ๕ สำนักปลัดฯ ช่วยราชการกองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Suthasinee
เขียนเมื่อ

การพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากร กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ตำบลแม่กลอง  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสงคราม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท