คำตอบ


ห้องสมุดมีชีวิต

เก๋

คำตอบ

โทษทีนะคะ ที่ตอบคำถามช้า ห้องสมุดมีชีวิตนี้มีหลายวามหมายนะคะ ถ้าในด้านทฤษฎีก็คงหาได้ไม่ยาก

สรุปได้ว่า ห้องสมุดมีชีวิต คือห้องสมุดที่ไม่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เป็นปัจจุบัน ซึ่งครอบคลุมถึงสถานที่ บริการซึ่งจะเห็นว่ามีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ทรัพยากร  วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากร สำหรับ trend ในการจัดห้องสมุดมีชีวิตในแง่มุมหนึ่ง คือ การใช้กระจก ที่สามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของผู้ใช้่ห้องสมุด staff ที่กำลังทำงานอยู่ก้ได้

สำหรับความคิดของพี่ที่เกี่ยวกับการทำให้ห้องสมุดมีชีวิตชีวา มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ควบคุมได้ และปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

ปัจจัยที่ควบคุมได้ คือ ตัวของเรา ซึ่งเป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานห้องสมุด ต้อง...เป็นผู้สนใจใฝ่เรียนรู้ ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวในทางห้องสมุดและเหตุการณ์บ้านมือง พูดอะไรก็ต้องรู้ (พี่เองก็รู้ไม่หมดหรอกนะ) มีความคิดสร้างสรรค์ หลายคนบอกว่าต้องคิดนอกกรอบ นอกจากนี้เพื่อการบริการที่ดี ต้องเป็นผู้เต็มใจให้บริการ กระฉับกระเฉง รักงานที่ทำ ซึ่งเรื่องแค่นี้สามารถเกิดจากภายในของตัวเอง หากยังไม่กเิดก็สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ซึ่งเมื่อเกิดจากภายในแล้ว เมื่อนำเสนอออกสู่สายตาของผู้รับบริการ หรือมองในภาพรวมของห้องสมุดแล้ว ความมีชีวิต จะเเห็นความมีชีวิตของห้องสมุดได้เลย

สอดคล้องกับแนวคิดของ อ.น้ำทิพย์ วิภาวิน ฝากรายการบรรณานุกรมมาเผื่อติดตามเพิ่มเติม

ผู้แต่ง น้ำทิพย์ วิภาวิน
ชื่อเรื่อง ห้องสมุดมีชีวิต = A living library / น้ำทิพย์ วิภาวิน
พิมพลักษณ์ นนทบุรี : รุ่งโรจน์อินเตอร์กรุ๊ป, 2548

สำหรับปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ แต่ทำได้ ได้แก่

- ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งมีทรัพยากรที่หลากหลาย ให้ผู้ใช้เลือกใช้ตามความสนใจ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ e-books e-journals vcd DVD Internet KID เป็นต้น และต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้ มีความทันสมัยไม่ใช้สำนักพิมพ์ออก edition ที่ 6 แล้ว แต่ในห้องสมุดยังมีแค่ edition ที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือตำราวิชาการ ที่ว่าควบคุมไม่ได้นั้นก็คือเกี่ยวกับงบประมาณ เพราะฉะนั้นห้องสมุดต้องใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ตามวัตถุประสงค์ให้มากที่สุด 

-การมีบริการที่หลากหลาย ต้องสามารถรองรับความต้องการและสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่อย่างน้อยต้องมีบริการพื้นฐานของห้องสมุด สำหรับบริการอื่นๆ นั้น อาจต้องอาศัยเวลาในการพัฒนา เช่น การมีจุด wireless สำหรับการเชื่อมต่อ notebook ที่มีผุู้นิยมใช้มากในปัจจุบัน หรือ การนำโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้โดยมีฟังก์ชั้นให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถส่งคำร้องของจอง หรือยืมต่อผ่านอินเตอรืเน็ตได้

- วัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือ/เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย (ถ้ามีงบพอ) รวมถึงการจัดทำเว็บไซต์ของห้องสมุดด้วย ทั้งนี้เพิ่มเสริมศักยภาพของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มองดูแล้ว Look smart หน่ะ ข้อดีก็คือ บุคลากรปรับตัวได้ทันเทคโนโลยี สำหรับเรื่องต้องอิงกับลักษณะพื้นฐานของห้องสมุดแต่ละแห่งด้วยนะจ๊ะ

-กิจกรรมของห้องสมุด เพื่อให้ห้องสมุดไม่นิ่ง กิจกรรมห้องสมุดเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความมีชีวิตชีวา นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ได้ตามความสนใจ เช่น การจัดบอร์ดที่มีแผนการเปลี่ยนบอร์ดประจำทุกเดือน ไม่ใช่ทุกปี และบอร์ดนั้นควรมีเนื้อหาเป็นปัจจุบันให้มาก หรือแนะนำความรู้ใหม่ๆ   การจัดการเล่านิทาน การทำเอกสารแผ่นพับ การแข่งขันการยืมหนังสือ  การจัดแสดงหนังสือที่มีผู้ยืมมากที่สุด  การรับสมัครสมาชิก Library Club  กิจกรรม Road Showเป็นต้น

-การมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสำรวจความคิดเห็น รับข้อมูลจากผู้ใช้บริการ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของห้องสมุดด้วย เช่น การสำรวจความพึงพอใจ การศึกษาความคิดเห็น การจัดกิจกรรมร่วมกัน การจัดให้ช่องทางให้ผู้ใช้ห้องสมุดเสนอซื้อทรัพยากร เป็นต้น

นี่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของความคิดเห็น ท่านอื่นๆ หากมีความคิดเห็นนำมาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะคะ

สำหรับน้องเก่ ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดมีชีวิตแล้วนะคะ โดยป็นบุคลากรที่สนใจใฝ่รู้...ถึงได้มาใช้ gotoknow.org กันงัยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท