ดอกไม้


กวิน
เขียนเมื่อ

นมัสการพระคุณเจ้า BM.chaiwut  @20766 เนื่องจากโคลงบทนี้น้องพลอยเธอมาคะยั้นคะยอ ให้กระผมแต่งเป็นแนวทางในการแต่งบทร้อยกรองเพื่อส่งอาจารย์ภาควิชาภาษาไทย (สามหน่วยกิต) ให้หัวข้อ เกี่ยวกับ พันธมิตรฯ ซึ่งเมื่อสักครู่กระผมมาอ่านทวนดูและเห็นว่า วรรคที่สี่ บทที่สอง มีคำที่ตก เอก จึงทำการแก้ไขใหม่เรียบร้อยแล้ว สำหรับคำถามที่พระคุณเจ้าสอบถามมานั้น   

@20759 อาจารย์กวิน สงสัยอีกแล้ว  ธรณี+อิศ (เข้าลิลิต อิศ) เป็น ธรณิศ ความหมายก็ยังคงเหมือนเดิม แปลว่า แผ่นดิน  จากข้อความที่ยกมา คำว่่า เข้าลิลิต เป็นอย่างไร ?  สงสัยจึงลองไปค้นดู เจอแต่ คลิกที่นี้ ซึ่งแย้งจากที่อาจารย์เล่ามา

ตามความที่พระอาจารย์ยกมานั้นคงจะหมายถึง ท่อนที่ว่า "ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า "เข้าลิลิต"

การร้อยสัมผัสระหว่าง โคลงกับร่าย (และยังรวมทั้งโคลงกับโคลง และร่ายกับร่าย) นี้เรียกว่าการเข้าลิลิต จึงทำให้เกิดคำถามอีกคำถามหนึ่งขึ้นมาว่า การร้อยสัมผัส อย่างไรจึงจะเรียกว่า การเข้าลิลิต

ยกตัวอย่าง การร้อยสัมผัส ระหว่าง ร่ายกับร่าย   ใน ลิลิตพระลอ (1) ซึ่งมีเนื้อความดังนี้

โคลง ๒

๒๖   ข้าฟังเหลือที่ร้อง        สองสมเด็จพระน้อง
กล่าวนี้กลใด
๒๗   ใดขัดใจแม่ ณ เกล้า     สองสมเด็จพระเจ้า
บอกไว้งานเผือ
 
ร่าย

๒๘   เจ็บเผือเหลือแผ่นดิน นะพี่ หลากระบิลในแหล่งหล้า นะพี่ บอกแล้วจะไว้หน้าแห่งใด นะพี่ ความอายใครช่วยได้ นะพี่ อายแก่คนไสร้ท่านหัว(เราะ) นะพี่ แหนงตัวตายดีกว่า นะพี่ สองพี่อย่าถามเผือ นะพี่ เจ็บเผือเหลือแห่งพร้อง โอ้เอนดูรักน้อง อย่าซ้ำจำตาย หนึ่งรา ฯ

ร่าย

๒๙   ข้าไหว้ถวายชีพิต เผือข้าชิดข้าเชื่อ เขือดังฤๅเหตุใด ธมิไว้ใจเท่าเผ้า สองแม่ ณ หัวเจ้า มิได้เอนดูเผือฤๅ ฯ 
 
จะเห็นได้ว่า คำว่า ชีพิต/ชีวิต/ชีวิศ นี้มาจาก คำว่า ชีวี+ต/ชีวี+ศ การแผลงคำว่า ชีพ(ะ)/ชีว(ะ) เป็น ชีพิต(ะ)/ชีวิต(ะ) นี้ก็เพื่อส่งสัมผัสสระ ไปยังคำว่า ชิด นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้การแผลงคำในลักษณะดังนี้ จึงถือเป็น การร้อยสัมผัส/การส่งสัมผัส เข้าด้วยกัน ว่า การเข้าลิลิต ยกตัวอย่างเช่น

กาย(ะ) แผลงเป็น กายา กายี กายิน  กายินทร์ กายิศ กาเยศ กาเยนทร์ กายางค์ เช่นนี้ เพื่อส่งสัมผัสไปยังคำต่อไป เรียกว่าการเข้าลิลิต ขอรับกระผมพระคุณเจ้า

1
1
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท