อนุทินล่าสุด


tosakun
เขียนเมื่อ

อ่านข่าวที่ว่า สปฐ. จะลดเวลาอะไรทั้งหลายแหล่แล้วเมือวาน ในฐานะคนเป็นพ่อที่มีลูกในวัยเรียน และมีญาติเป็นครูเยอะ เห็นว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อด้อย คงต้องรอให้อะไรมันชัดเจนกว่านี้ถึงจะออกความเห็นได้ แต่ที่จับปฎิกริยาได้คือเด็กชอบใจมาก หวังว่าการตัดสินใจครั้งนี้ได้มองจากประโยชน์ทั้งระบบจริง ๆ และมีคำอธิบายที่ฟังแล้วชื่นใจ ไม่มีนัยทางการเมือง เพราะไม่กี่ปีเด็กเหล่านี้ก็จะมีสิทธิเลือกตั้งแล้ว



ความเห็น (3)

โอ้ ขอบคุณครับ สพฐ. ครับ

ขอบคุณครับ สพฐ. ครับ

tosakun
เขียนเมื่อ

Clip นี้ไม่ได้มาสนับสนุนการขายนะครับ แต่มีสามประเด็นที่ผมมองเห็นว่ามันได้เกิดขึ้นแล้วในสังคมปัจจุบัน

1) การใช้ระบบสื่อสารแบบสองทาง ในที่นี้เป็น Video Conference เพื่อทำกิจกรรมที่ทำกันทั่วไป เทคโนโลยีนี้ไม่ได้ผูกติดกับองค์กรอีกต่อไป คนธรรมดาก็ใช้กันแล้ว เราเห็นตัวอย่างจาก Skype หรือ Hangout แต่ก็ยังมี subscriber wall อยู่ แต่ต่อนี้ไป subscriber wall กำลังจะหายไป เพราะมันจะกลายคุณสมบัติพื้นฐานของซอฟต์แวร์ที่ติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้

2)แสดงให้เห็นว่า ecosystem ที่ผูก software , hardware และ peopleware (social network) เข้าด้วยกันคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นแล้ว หลังจาก Apple, Google ทำสำเร็จมาแล้ว เป็นตัวแบบของ start up company ทั้งหลายในอเมริกากับยุโรป แนวคิดนี้กำลังแพร่เข้ามาในประเทศไทยที่มองเห็นความสำคัญของแนวคิดนี้ (แต่ไม่ทราบว่าในประเทศไทย จะออกมาในรูปไหน )

3) Enabling technology สำหรับคนทั่วไปกำลังเป็นตลาดใหม่ เช่น web conference, micro controller, smart home, robotics ฯล ไม่ได้จำกัดวงอยู่กับผู้ใช้ระดับองค์อีกแล้ว คนเดินดินทั่วไปกำลังจะได้สัมผัสบริโภคเทคโนโลยีเหล่านั้นแบบง่าย ๆ สบายกระเป๋า อีกอย่างมันเล็กลง ๆ จนมีขนาดพกพาสะดวกไปแล้ว



Pinoccio - IndieGogo Campaign Pitch from Sally "Fixpert" Carson on http://vimeo.com">Vimeo.



ความเห็น (2)

ในวิดีโอนี้เขายกตัวอย่างการวัดอุณหภูมิผ่านอินเตอร์เน็ต จะเห็นว่ามันคือ telesensor หรือ โทรมาตร ราคาเบา ๆ นึกภาพว่า เกษตรกรเพาะเห็ดสามารถจะทำการตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพการณ์ของโรงเพาะของเขาได้จากระยะไกล หรือยุ้งฉางที่เก็บข้าวเปลือกที่มีระบบแบบนี้ติดตั้งไว้ เมือความชื้นสูงเกินไป ระบบจะสั่งให้แขนกล (ไม่ต้องหรูมากก็ได้) ทำการพลิกข้าวเพื่อไล่ความชื้น ต้นทุนไม่มากเลย ชาวบ้านเริ่มสัมผัสได้แล้ว ไม่ต้องรอ งบฯ อันมหาศาล

tosakun
เขียนเมื่อ

และแล้วเราก็ได้เห็นการใช้งาน semantic ในการค้นหาข้อมูลในโลก Cyber อย่างเป็นทางการเสียที เร็ว ๆ นี้ ทาง Facebook ได้นำเสนอวิธีการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีการที่เรียกว่า Graph Search ซึ่งเป็นค้นหาข้อมูลโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล จากข้อมูลตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับคำค้นหรือQuery มากที่สุด

การโยงข้อมูลเข้าหากันด้วยความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลนำมาซึ่งความรู้และความหมายของข้อมูลหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นบริบทของข้อมูลก็ว่าได้ ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า Facebook ได้สร้างระบบ data mining อันมหึมาขึ้นมาแล้ว

อนุทินนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนให้ท่านทีมาอ่านไปใช้บริการ Facebook แต่อย่างใดเพียงแต่มาบอกกล่าวเรื่องราวหนึ่งที่เกิดขึ้นในโลกแห่งการจัดการความรุ้อีกรูปแบบหนึ่ง  และเป็นรูปแบบที่ผมเคยได้กล่าวไว้ในเรื่องเกี่ยวกับบทบาทของบรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21

ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมโดยดูจากข้อมูลสรุปของ Facebook ได้จากที่ https://www.facebook.com/about/graphsearch โดยไม่ต้องสมัครเป็นสมาชิก Facebook แต่อย่างใด




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

    ได้ข่าวว่าเร็ว ๆ นี้ กสทช. จะมีคำสั่งให้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ยกเลิกการกำหนดวันหมดอายุของระบบ pre-paid อันนี้ผมเห็นด้วย 100% ครับ เพราะเป็นเงินกินเปล่ามาตลอดเวลาอันยาวนาน เช่น เราเติมเงิน 100 บาท แต่ใช้จริงอาจจะแค่ 60 บาทแต่หมดอายุเสียก่อน 40 บาทที่เหลือนั้นหายไปไหน ไม่เคยมีใครมาบอกให้ชัดเจน ที่ผ่านมามีการปรับระยะเวลาหมดอายุให้นานขึ้น แต่การไม่มีวันหมดอายุน่าจะเป็นอะไรที่ง่ายและเป็นธรรมกับผู้ใช้บริการมากกว่า ตัวเลขเงินแบบนี้ที่ไปสะสมกับผู้ให้บริการ ฯ มีคนออกมาพูดกันหลายตัวเลขแต่ก็ยังไม่มีการยืนยัน (ใครจะยืนยันละเนาะ)ว่าเป็นเท่าไหร่แน่ แต่ความรู้สึกของผมก็คือ "มันใหญ่มาาาาาาาก"

    อาจจะมีข้อโต้แย้งได้ว่าทางผุ้ให้บริการตัองมีภาระในการจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งนั่นก็ถูกแต่ถ้ามองในทางเทคนิคแล้ว ต้นทุนการบริการระบบฐานข้อมูลน่าจะเป็นการตั้งงบประมาณแบบรวมทุกระบบมากกว่า หากจะมองต้นทุนที่แท้จริงก็คงต้องแยกต้นทุนต่อรายการมาให้ได้เสียก่อน  แล้วเราถึงจะบอกได้ว่าต้นทุนในการจัดการรายการแบบ pre-paid ควรเป็นอย่างไร

    การไม่กำหนดวันหมดอายุอาจจะทำให้ต้นทุนการประมวลผลลดลงด้วยซ้ำ เพราะระบบไม่ต้องตรวจสอบว่าผู้ใช้บริการที่กำลังเรียกใชังานระบบโทรศัพท์ในขณะนั้นมีสถานะหมดอายุแล้วหรือไม่ เหลือแต่เพียงการตรวจสอบยอดเงินเท่านั้น เวลาที่ลดลงนี้หากมองด้วยความรู้สึกของมนุษย์จะน้อยมากแต่ในโลกของไซเบอร์ต้องถือว่ามากพอที่จะนำไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้ ซึ่งอาจจะเป็นบริการเสริมอย่างอื่นก็ได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

อีก ไม่นานคนไทยจะได้รบชมรายการจาก TV ระบบ Digital กันแล้วนะ เห็นว่ากันว่าจะมีมากถึง 48 ช่องกันเลย อันที่ผมสงสัยคือคนไทยมีประมาณ 60 กว่าล้านคน (สมมุติว่าดู TV กันหมดทุกคน) พอมีช่อง TV จำนวนมากแบบนี้ ต่อไปจะเกิด over supply จากมุมของผู้ผลิตรายการ TV หรือเปล่า แล้วอัตราค่าโฆษณาจะถูกลงหรือเปล่า ถ้าถูกลงก็แสดงว่ามีโอกาสที่สินค้าบางอย่างจะลดลงราคาลงได้ ถ้าผู้ผลิตรายการ TV ต้องการขยายฐานผู้ชมเขาต้องทำรายการที่ประเทศเพื่อนบ้านชอบด้วย เมื่อเราส่งสัญญาณ TV ไปประเทศเพื่อนบ้านได้ เขาก็คงต้องส่งเข้ามาหาเราได้ด้วย เอแล้วมันจะยังไงกันละที่นี้




ความเห็น (2)

ผมไม่ได้ตามข่าวต่างๆมาพักหนึ่งแล้ว ..(ดูแต่ว่า note III จะออกเมื่อไหร่ อิอิ).... อีกไม่นานนี้ นับกันเป็นเดือนๆ หรือปีๆครับ....  

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บ http://www.drnatee.com/index.php/digital-tv.html จะเห็นประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาของการออกใบอนุญาตช่วงที่ 1 ซึ่งน่าจะมีทั้ง TV แบบดูตามบ้านและก็ Mobile TV ครับ ตรงนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ กสทช จะต้องออกใบอนุญาต 3G ออกมาให้ได้ก่อน แล้วก็เดินหน้าเป็น 4G ทันที เพื่อให้ทันตามแผนแม่บท และใน พ.ศ 2558 (ปีที่ออกสู่ AEC เต็มรูปแบบ) จะเป็นปีของการเริ่มต้นการลดการใช้งาน Analog TV แบบเดิม

เรารับรู้ได้ถึงการรับมือการเปลี่ยนแปลงนี้ได้จาก บางช่องมีการสะสมทั้งเนื้อหาและผู้ผลิตรายการ แต่บางช่องก็กำลังมีการลดผู้จัดฯเดิมลง (อาจเพราะแผนพัฒนาองค์กร) การเปลี่ยนถ่ายผู้ถือลิขสิทธ์ถ่ายทอดรายการบางอย่าง (โดยเฉพาะกีฬา) ฯล

tosakun
เขียนเมื่อ

เมือตะกี้ออกไปพัก เปิดทีวีดูสารคดีเรือง "ข้อมูล มากเกินไป ?" เขารวบรวมข้อมูลหลายด้านเกี่ยวกับ การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ทั้งด้านบวกและลบ เช่น อุบัติเหตุรถไฟชนกันที่อเมริกา เพราะคนขับรถไฟมัวแต่ส่ง message โดยไม่ได้มองสัญญาณไฟให้หยุด นักบินขับเครื่องบินเลยสนามบินเพราะมัวแต่ส่ง message เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งต้องผ่าตัดขาเพราะใชัเวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไป ฯล ส่วนด้านดีคือความคิดสร้างสรรค์ ทักษะใหม่ ๆ สังคมรูปแบบใหม่ มีการพบความสัมพันธ์ของแพทย์ที่เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์บ่อยมีความผิดพลาดในการทำงานลดลง มีภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัย Toronto ใช้คอมพิวเตอร์ Notebook แทนสมุด lecture ใช้ Mp3 อัดเสียงบรรยายของอาจารย์ และก็ค้นอินเตอร์เน็ตประกอบคำบรรยายไปพร้อมกันเลย อันนี้ก็แสดงให้เห็นพฤติกรรมการเรียนแบบสมัยดิจิตอล  ฯล
ดูจบแล้วก็ต้องถามตัวเราเองว่า "อะไรคือความพอดี"  มันยากเหมือนกันนะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

 ใกล้วันเด็กแล้วครับ มองหาสิ่งที่มีประโยชน์ให้เด็ก ได้พบกับซอฟต์แวร์ชื่อ Scratch เป็น freeware ที่ถูกพัฒนามาเพื่อเป็นสื่อการสอน programming ให้กับเด็ก โดยใช้ block รูปและสีต่างกันแทนชุดคำสั่งที่ต่างกัน เด็กสามารถเรียนรู้ผลลัพธ์ได้จาก animation หรือ games แบบง่าย ๆ   ผมได้นำมาทดลองสอนลูกชายตัวเองวัย 9 ขวบ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจครับ  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://wiki.scratch.mit.edu/wiki/Scratch_Wiki

 ปล. ที่เลือกเอาวัย 9 ขวบเพราะจากการเทียบกับหนังสือแบบเรียนจากกระทรวงศึกษา ฯ แล้ว ชั้น ป.3 หรือ 9 ขวบ นี่เหมาะสมที่จะเริ่มมากที่สุดครับ (ในความคิดของผม) หากเร็วกว่านี้เด็กยังไม่นิ่งพอ (ผมเคยลองตอนเขาอายุ 7 ขวบมาครั้งหนึ่งแล้ว) หรือ เลยจากนี้ไปก็จะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้นแล้ว เขาจะมีเรื่องอื่นที่ดึงความสนใจเขามากกว่า 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

 ขอมอบเพลงให้สมาชิก gotoknow และคนไทยทั่วโลก ครับ (ขอบพระคุณอาจารย์สมาน งามสนิท ผู้แต่งและร้องเพลงนี้ครับ)
คลิ๊กเพื่อฟังเพลง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

 

Framework for 21st Century Learning

เป็นกรอบที่ผมอ่านแล้วเห็นว่าน่าจะเอาเป็นแนวเอาไว้สอนลูก ๆ ที่บ้านได้เป็นอย่างดีเลยครับ สำรวจง่าย ๆ รอบตัวเราก็จะเห็นว่าทักษะทั้งสามด้านนั้นจำเป็นจริง ๆ

ที่มา http://www.p21.org/overview



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

 อยากให้เด็กไทยบางคนที่ร้องไห้ขอพ่อแม่ซื้อ ipad, iphone 4-5-6-7 ... ดูวิดีโอนี้บ้างจัง อาจจะช่วยให้คิดได้บ้าง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

 ความพยายามจะช่วยเหลือคนอื่นด้วยการให้การศึกษานั้นเป็นเรื่องดีมาก ๆ และนี้ก็คือภาพที่แสดงออกให้เห็นว่าเขาพยายามใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไร ครับ

Given Tablets but No Teachers, Ethiopian Children Teach Themselves

Another way to think about learning


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะ :-))  เข้าไปอ่านตามลิงค์แล้วนะค่ะ   น่าสนใจกับ quote นี้ค่ะ ..“If they can learn to read, then they can read to learn”

tosakun
เขียนเมื่อ

ผมคิดว่ามีโอกาสเป็นไปได้ที่อีกหน่อยความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจจะไม่ใช่สำหรับนักคอมพิวเตอร์อีกต่อไป แต่จะกลายเป็นความสามารถขั้นพื้นฐานของคนเหมือนกับการอ่านออก-เขียนได้ ไป ลองอ่านบทความนี้ดู "Computer programming will soon reach all Estonian schoolchildren" น่าสนใจวิธีคิดของเขานะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ
ใครยังไม่เคยใช้บริการ ICT free Wi-Fi ลงทะเบียนได้ตาม url ข่างล่างนี้  แยกตามจังหวัดที่เราอาศัย
ลงค์สำหรับลงทะเบียน ICT Free WiFiกรุงเทพมหานครและปริมณฑล http://vip.totwifi.com/ict-metro1กรุงเทพมหานครและปริมณฑล http://vip.totwifi.com/ict-metro2กรุงเทพมหานครและปริมณฑล http://vip.totwifi.com/ict-metro3กรุงเทพมหานครและปริมณฑล http://vip.totwifi.com/ict-metro4กาญจนบุรี http://vip.totwifi.com/ict-kanchanaburiจันทบุรี http://vip.totwifi.com/ict-chantaburi/ฉะเชิงเทรา http://vip.totwifi.com/ict-chachoengsaoชลบุรี http://vip.totwifi.com/ict-chonburiชัยนาท http://vip.totwifi.com/ict-chainatตราด http://vip.totwifi.com/ict-tratนครนายก http://vip.totwifi.com/ict-nakhonnayokนครปฐม http://vip.totwifi.com/ict-nakhonpathomประจวบคีรีขันธ์ http://vip.totwifi.com/ict-prachuapkhirikhanปราจีนบุรี http://vip.totwifi.com/ict-prachinburiพระนครศรีอยุธยา http://vip.totwifi.com/ict-ayutthayaเพชรบุรี http://vip.totwifi.com/ict-phetchaburiระยอง http://vip.totwifi.com/ict-rayongราชบุรี http://vip.totwifi.com/ict-ratchaburiลพบุรี http://vip.totwifi.com/ict-lopburiสมุทรสงคราม http://vip.totwifi.com/ict-samutsongkhramสมุทรสาคร http://vip.totwifi.com/ict-samutsakhonสระบุรี http://vip.totwifi.com/ict-saraburiสิงห์บุรี http://vip.totwifi.com/ict-singburiสุพรรณบุรี http://vip.totwifi.com/ict-suphanburiอ่างทอง http://vip.totwifi.com/ict-angthongสระแก้ว http://vip.totwifi.com/ict-sakaeoกำแพงเพชร http://vip.totwifi.com/ict-kamphaengphetเชียงราย http://vip.totwifi.com/ict-chiangraiเชียงใหม่ http://vip.totwifi.com/ict-chiangmaiตาก http://vip.totwifi.com/ict-takนครสวรรค์ http://vip.totwifi.com/ict-nakhonsawanน่าน http://vip.totwifi.com/ict-nanพิจิตร http://vip.totwifi.com/ict-pijit/พิษณุโลก http://vip.totwifi.com/ict-phitsanulokเพชรบูรณ์ http://vip.totwifi.com/ict-phetchabunแพร่ http://vip.totwifi.com/ict-phraeแม่ฮ่องสอน http://vip.totwifi.com/ict-maehongsonลำปาง http://vip.totwifi.com/ict-lampangลำพูน http://vip.totwifi.com/ict-lamphunสุโขทัย http://vip.totwifi.com/ict-sukhothaiอุตรดิตถ์ http://vip.totwifi.com/ict-uttaraditอุทัยธานี http://vip.totwifi.com/ict-uthaithaniพะเยา http://vip.totwifi.com/ict-phayaoกาฬสินธุ์ http://vip.totwifi.com/ict-kalasinขอนแก่น http://vip.totwifi.com/ict-khonkaenชัยภูมิ http://vip.totwifi.com/ict-chaiyaphumยโสธร http://vip.totwifi.com/ict-yasothonนครพนม http://vip.totwifi.com/ict-nakhonphanomนครราชสีมา http://vip.totwifi.com/ict-nakhonratchasimaบุรีรัมย์ http://vip.totwifi.com/ict-burirum/มหาสารคาม http://vip.totwifi.com/ict-mahasarakhamร้อยเอ็ด http://vip.totwifi.com/ict-roietเลย http://vip.totwifi.com/ict-loeiศรีสะเกษ http://vip.totwifi.com/ict-sisaketสกลนคร http://vip.totwifi.com/ict-sakonnakhonสุรินทร์ http://vip.totwifi.com/ict-surinหนองคาย http://vip.totwifi.com/ict-nongkhaiอุดรธานี http://vip.totwifi.com/ict-udonthaniอุบลราชธานี http://vip.totwifi.com/ict-ubonratchathaniมุกดาหาร http://vip.totwifi.com/ict-mukdahanอำนาจเจริญ http://vip.totwifi.com/ict-amnatcharoenหนองบัวลำภู http://vip.totwifi.com/ict-nongbualamphuกระบี่ http://vip.totwifi.com/ict-krabiชุมพร http://vip.totwifi.com/ict-chumphonตรัง http://vip.totwifi.com/ict-trangนครศรีธรรมราช http://vip.totwifi.com/ict-nakhonsithammaratนราธิวาส http://vip.totwifi.com/ict-narathiwatปัตตานี http://vip.totwifi.com/ict-pattaniพังงา http://vip.totwifi.com/ict-phangngaพัทลุง http://vip.totwifi.com/ict-phatthalungภูเก็ต http://vip.totwifi.com/ict-phuketยะลา http://vip.totwifi.com/ict-yalaระนอง http://vip.totwifi.com/ict-ranongสงขลา http://vip.totwifi.com/ict-songkhlaสตูล http://vip.totwifi.com/ict-satunสุราษฎร์ธานี http://vip.totwifi.com/ict-surat 
ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 3Mbps/512bps มีอายุการใช้งาน 6 เดือน ใช้ได้ครั้งละ 2 ชั่วโมง/วัน (ตัดต่อใหม่) ไม่จำกัดจำนวนครั้ง กรอกข้อมูลในการลงทะเบียน ตามจริงจากนั้นจะได้รับอีเมลยืนยันการใช้งาน User & Passowrd ในหัวข้ออีเมล์ว่า Your TOT Wi-Fi Username & Password ช่วงนี้จะมีจุดบริการปรมาณนี่ 1) ที่ว่าการอำเภอ /ตำบล2)โรงเรียน 3)โรงพยาบาล และอนามัย 4)สถานีตำรวจ 5)พื้นที่สาธารณะ สนามบิน ขนส่ง แหล่งท่องเที่ยว ปลายปีนี้อาจจะได้เห็นว่าใช้งานได้ทั่งประเทศ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ
กรณีของแกรมมี่กับอาร์เอสเรื่องการใช้สื่อวิดีโอบน social media นี้น่าสนใจครับ ผมมองว่าเป็นเรื่องผลกระทบจาก IT โดยตรงที่ทำให้เกิดกลยุทธที่ต่างกันแบบคนละขั้วเลย จะเห็นว่า IT และ social network ส่งผลทำให้เกิดโจทย์ใหม่ทางธุรกิจที่ชัดเจนมาก เราทราบกันแล้วว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในคลื่นลูกที่สาม (ลูกที่ 1 ระบบเกษตร ลูกที่สอง ระบบอุตสาหกรรม ลูกที่ 3 ยุคของ IT) คลื่นลูกนี้อาจจะส่งผลให้เกิดโจทย์ปัญหาใหม่ ๆ ที่ระบบธุรกิจไม่เคยเจอมาก่อนและอาจจะเป็นโจทย์ที่ใช้ความรู้เชิงธุรกิจแบบที่เคยทำมาก่อนหน้ามาตอบแล้วอาจจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องก็ได้ ซึ่งคงต้องตามดูกันต่อไป นอกจากนี้มันยังเป็นสัญญาณเตือนเราให้พิจารณาตัวเองเช่นกันว่าเรากำลังได้รับผลกระทบนี้อยู่ด้วยหรือไม่


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

วันที่ 6 ส.ค. 2555 ผมได้เข้าไปติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ครับ อยู่ต่างอำเภอห่างจากอำเภอเมืองไปทางเหนือประมาณ 160 กม.  ไม่ได้เข้าไปบริจาคนะแต่เข้าไปเพราะเรื่องงานครับ ได้คุยกับคุณครูที่นั้นหลายเรื่องและก็คงไม่พ้นเรื่องเทคโนโลยีการศึกษา ก่อนเข้าไปเราทำเช็คลิสต์ว่าโรงเรียนควรจะมีอะไรแล้วบ้าง เราไม่ได้ทำเองแต่มีคนข้างในทำให้ ผลออกมาก็ดีหมดครับ หน้าที่เราก็คงเหลือแค่เอาคอมพิวเตอร์ไปติดตั้งแล้วทดสอบแล้วกลับบ้านได้ แต่ไปถึงจริง ๆ ไม่เป็นดังนั้น รายการที่ว่ามีนั้นมีอยู่จริงครับ แต่ไม่ทำงานซะแล้ว เช่น ระบบอินเตอร์เน็ตมีแต่ครูที่นั้นบอกว่าใช้งานได้ประมาณ 1 วันต่อเดือน ถึงใช้ได้ก็มาแบบอ่อน ๆ ภาพที่เรามองไว้จากข้างนอกว่าจะให้เด็กได้มีห้องสมุดมีชีวิตด้วยเทคโนโลยีที่ในเมืองมีใช้กันนั้นหายไปทันทีครับ

วันนี้งานติดตั้งของเราเสร็จแล้วตามหน้าที่ที่เขาว่าจ้างเรา แต่หลังจากนี้ไปคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมันจะเป็นสะพานเชื่อมโลกให้กับเด็กได้หรือเปล่านั้น ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะไปถามใคร ลำพังเครื่องคอมพิวเตอร์มันไม่มีประโยชน์อะไรถ้าขาดซอฟต์แวร์ คนและการวางแผนที่จะใช้ประโยชน์จากมัน และมันจะเชื่อมโลกไม่ได้ถ้าหากไม่มีการสื่อสารที่ใช้งานได้จริงๆ

 



ความเห็น (3)

อ่านแล้วกัดกร่อนใจ. รู้สึกเช่นเดียวกันเลยคะ คุณ tosakun.. อืมม์...."existing but not function"...ดูราวจะเป็นทุกระดับ ...เศร้าจริง :-((

ผมมองแบบกลางๆ ว่า ถ้าคุณครูเหล่านั้นเห็นความจำเป็น ท่านก็ต้องดิ้นรนขนขวายหาทางแก้ว่า ปัญหาเน็ตมันอยู่ที่ไหน และถ้าผู้บริหารท้องถิ่นมีวิสัยทัศน์ และความเต็มใจ เขาก็น่าจะเข้าไปช่วยกันแก้ปัญหาได้

เห็นด้วยครับและอยากให้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ และถ้าเป็นไปได้ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นที่อื่นก็ควรจะสำรวจความพร้อมไว้ล่วงหน้าก็จะดีครับ เพราะอีกสักพักจะมีอีกหลายอย่างที่จะทะลักเข้าไปครับ อีกประการคืออุปกรณ์พวกนี้มันมีอายุของมัน ขืนรอไปรอมานานเกินไป กว่าจะครบองค์ก็พอดีมันหมดอายุก็ต้องจัดซื้อกันใหม่อีก

tosakun
เขียนเมื่อ

 

ผมได้ภาพนี้จาก http://www.facebook.com/makutonrudee  ส่วนตัวแล้วผมชอบมากทำให้เข้าใจอะไรได้เยอะเลย 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

ฝากประชาสัมพันธ์งานหนึ่งครับ "“สิทธิบัตรเปลี่ยนโลก” อ่านรายละเอียดที http://www.swpark.or.th/swp/stevejob.html

ขอบคุณครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

เมื่อไม่กี่วันก่อนลูกชายวัย 9 ขวบ มาบอกภรรยาผมว่า "แม่ครับ อยากซื้อ iPad" เราก็ซักถามถึงเหตุผลว่าทำไมอยู่ ๆ ก็อยากจะซื้อ iPad ขึ้นมา แล้วก็ได้ยินคำตอบที่ทำให้เราเริ่มรู้สึกกังวลคือ "เพื่อนชื่อ.... บอกว่า ไม่มี Ipad เหรอ จนจัง เลยไม่ได้เล่นเกมส์มายคร๊าฟ..." เขาเลยอยากมี iPad เพราะไม่อยากจนและอยากจะรู้ว่า เกมส์มายคร๊าฟ เป็นอย่างไร จะได้เอาไปคุยกับเพื่อนได้ 

ผมถามลูกผมว่า "วันนี้ถ้าเราเอา iPad มาวัดกัน พรุ่งนี้ iPad ตกรุ่นกลายเป็นขยะไปแล้ว เราจะเอาอะไรมาวัดกันอีก เรามิต้องวิ่งตามคนอื่นกันไปเรื่อย ๆ เหรอ แล้วลูกจะเอาอะไรมาแสดงความเป็นตัวตนของลูกหล่ะ"

ลูกชายผมชอบวาดรูปมาก เขาวาดการ์ตูนในแบบของเขาเพื่อเล่าเรื่องมาตั้งแต่อยู่อนุบาล ฝีมือการวาดก็พัฒนามาตามวัย เขามีเทคนิคการเล่าเรื่อง ถ่ายทอดจินตนาการของเขาในรูปแบบของการวาดการ์ตูน สิ่งนี้เคยกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เขายิ้มและหัวเราะเมือเขาวาดเสร็จแล้วก็เอามาเล่าให้กันฟัง สิ่งนี้คือตัวตนของเขาเป็นสิ่งที่เขาต้องนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต แต่พอเจอประโยคนั้นประโยคเดียว ภาพของเด็กที่เคยมั่นใจตัวเอง หายไปเลย ...

ผมติดใจตรงประโยคที่แสดงให้เห็นว่ามีการผูก "iPad" เข้ากับ "ความจน" เด็กเอามาจากไหน? เขาเข้าใจในสิ่งที่เขาพูดหรือเปล่า ?

เราก็ได้เห็นตัวอย่างในสังคมทุกวันนี้แล้วว่า "การแยกแยะกันด้วยวัตถุนั้นมันก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมได้ขนาดไหน"

พระศาสดาทั้งหลายท่านไม่เห็นต้องมีเงินเลย ท่านยังเป็นที่เคารพกันนับเป็นพัน ๆ ปี

ผมอยู่ในวงการ IT  ผมพอจะทราบตื้นลึกหนาบางของกลยุทธการตลาดมาบ้าง ถึงไม่ไ้ด้สนใจเรื่องการมีหรือไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้ แต่เน้นความเป็นมนุษย์ ความสามารถของคนจริง ๆ ที่ไม่ต้องปรุ่งแต่งด้วยอุปกรณ์ และผมก็ไม่เคยคิดว่าการมีอุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้คนคนนั้นมีอะไรเหนือกว่าคนอื่น

ผมได้ยินกับหูผมเลยนะว่า

เด็ก : "แม่ครับ iPad มันแฮงค์ ครับ ทำอะไรไม่ได้เลย"

แม่ : "ไม่เป็นไรลูก เดี๋ยวแม่เอาไปทำ jail break ใหม่ก็ได้"

 ???? เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย ถึงแม้ว่าการทำ Jail Break ถูกตีความแล้วว่า บ. Apple ไม่มีสิทธิที่จะห้ามผู้ซื้อ iPad ไปทำ เพราะเป็นกรรมสิทธิของผู้ซื้อ แต่ บ. Apple มีสิทธิปฎิเสธความรับผิดชอบต่อสินค้าที่ไปทำ Jail Break มาก็ตาม แต่เหตุการณ์ก็สะท้อนอะไรบางอย่างให้ผมทราบแล้ว จะตีความอย่างไรก็แล้วแต่ท่านนะครับ

เด็กชาย 1 : เฮ้ วันนี้เรา download เกมส์ .... มาละ ไม่ต้องเสียเงินเลย เพราะเราจำเบอร์บัตรเครติดแม่เราได้ นายไปดาวน์โหลดมั้งซิ...

เด็กชาย 2 : แต่เราไม่รู้เบอร์บัตรแม่เรานี่

เด็กชาย 1 : ก็แอบจดเอาซี

???? โอ้ .....

ท่านผู้ปกครองถ้าท่านมีำกำลังเงินที่จะซื้ออะไรให้กับลูกหลานท่านผมไม่เกี่ยวข้องด้วย แต่ขออย่างหนึ่ง รบกวนอธิบายความหมายของการได้มาของสิ่งนั้นให้เด็กได้เข้าใจด้วย อย่านึกว่าเด็กไม่เข้าใจนะครับ เรามีตัวอย่างหลายตัวอย่างที่เด็กคิดหรือทำอะไรได้ดีกว่าผู้ใหญ่เสียอีก และอีกอย่างนะครับ ผมยังไม่เคยเห็นหรือได้ยินเรื่องที่ว่ามีมหาเศรษฐีคนไหนในโลกที่สามารถตามใจลูกได้ทุกเรื่อง

ปล. ผมไม้ได้หมายความเฉพาะถึง iPad นะครับ เพียงแต่มันเป็นเหตุการณ์ที่ผมเพิ่งเจอมาในรอบ 2-3 วันนี้ ประเด็นของผมก็คือ เรากำลังสอนอะไรให้เด็กเรากันแน่ การเป็นคนจริง ๆ นั้นต้องเป็นอย่างไรกันแน่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

เมือง Manchester ไม่ได้มีดีแต่เรื่องฟุตบอลล์นะครับ ดูการทำ interactive website สำหรับเด็กจาก University of Manchester ซิ (http://www.childrensuniversity.manchester.ac.uk) ด้านเทคนิคนั้นไม่ยากหรือซับซ้อนเลยครับ แต่การออกแบบเนื้อหาและรูปแบบเว็บไซต์น่าสนใจมาก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

"ปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา"

โจทย์นี้ดีมากครับ ผมก็กำลังสัมผัสอยู่มันอยู่ ได้อ่านเรื่องของสมาชิกท่านอื่นแล้วได้ความรู้ขึ้นเยอะเลย ขอบคุณมากครับ

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

วันนี้พบความเคลื่อนไหวอันหนึ่ง น่าสนใจครับ เป็นเรื่องของการทำ face blurring บน youtube ในความเห็นของผมน่าสนใจเพราะ

  1. ในด้านดีคือ ต่อไปนี้เราจะพบว่ากล้องมีอยู่เกือบทุกแห่งแล้ว และส่วนหนึ่งก็จะตกไปอยู่ในมือของเยาวชนเพราะมันเป็นอุปกรณ์พื้นฐานของ Tablet การที่เราสามารถทำ face blurring ได้ก็เท่ากับว่าเรามีเครื่องป้องกันสิทธิส่วนบุคคลของเยาวชนเหมือนกัน
  2. ในด้านลบคือ face blurring เป็นเครื่องมือพลางตัวที่ดี ก่อนหน้านี้จะทำได้ต้องมี Video Editor แต่พอมีบน youtube ก็เท่ากับว่าใคร ๆ ก็ทำได้

ท่านที่สนใจเรื่องการทำ face blurring สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

ท่านรู้จักโครงการนี้รึยัง ครับ http://www.gutenberg.org/wiki/Main_Page เป็น free ebook เว็บไซต์ครับ ebook ส่วนหนึ่งเป็น expired copyright ของอเมริกา (แต่ผมไม่แน่ใจเรื่องลิขสิทธิ์ในเมืองไทยนะครับ ผู้รู้ด้านกฎหมายลิขสิทธิ์กรุณาให้ความรู้หน่อยก็ดีนะครับ)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

เว็บนี้ไม่ได้เหมาะสำหรับเด็กอย่างเดียวนะครับ แต่เหมาะกับการฝึกการฟังภาษาอังกฤษด้วย เขาให้ดาราที่มีชื่อเสียงมาอ่านนิทานให้เด็กฟัง อ่านแบบช้า ๆ นอกเหนือจากการมีภาพประกอบสวย ๆ น่ารัก ๆ แล้ว

http://www.storylineonline.net/



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

tosakun
เขียนเมื่อ

"Learning" กับ "Study" ต่างกันอย่างไร ? สำหรับผมแล้วคิดว่าต่างกันนะ "Learning" เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่ได้มาจากบรรพบุรุษ ส่วน "Study" เรามาจัดการกันตอนหลังเพื่อให้เกิดการเป็นระบบมากขึ้น ผมสังเกตุเห็นเด็ก ๆ ตอนนี้ชักจะเริ่มไม่ค่อยชอบการ "Study" เท่าไหร่ (สังเกตุจากลูกตัวเอง) จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่เขายังคงทำอยู่คือ "Learning" ซึ่งจะออกไปทาง "Learning by Doing" ด้วยซ้ำ ยกตัวอย่าง ครั้งหนึ่งครูมอบหมายงานมาให้ทำที่บ้านคือ การคิดท่าทางที่แสดงถึงกิจกรรมในชีิวิตประจำวันของเขา เพื่อนำไปประกอบการเรียนวิชานาฎศิลป์  สิ่งที่เขาทำคือ การค้นหาตัวอย่างละครใบ้จาก Youtube ผมในฐานะพ่อก็คอยดูอยู่ห่าง ๆ สังเกตุพฤติกรรมของเขา ซึ่งผมมองว่าเป็นสิ่งที่ดีนะ

ตัวอย่างที่กล่าวไปนั้นทำให้มองเห็นว่าปัจจุบันนี้ "Content" หรือ "สาระ" นั้นเปรียบเหมือนกับไฟฟ้าหรือนำ้ประปาที่วิ่งวนอยู่ในระบบจ่ายไฟฟ้า เมื่อเราต้องการใช้งานก็เพียงแต่เสียบปลั๊กหรือเชื่อมตัวเองเข้ากับระบบ นำไฟฟ้าออกมาใช้ประโยชน์ ถอดปลั๊กออกเมื่อเสร็จงาน  ง่ายมาก กับการ "Learning" ในยุคออนไลน์ แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คงเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองหลายคนเป็นห่วงคือ Content ที่อาจเป็นพิษภัยต่อลูกหลาน ซึ่งก็คงจะมีวิธีการหนึี่งที่ทุกคนสามารถทำร่วมกันได้คือใช้หลักการ "น้ำดีไล่น้ำเสีย"

ดังนั้นหากถามว่ารูปแบบการ "การศึกษาไทยในปี 2020" จะเป็นอย่างไร ส่วนตัวผมมองว่าน่าจะเป็น

  1. คนจะมีการรวมกลุ่มกัน โดยใช้เรื่องราวที่ "สนใจ" เป็นศูนย์กลาง
  2. คนจะมีปฎิสัมพันธ์กันเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากข้อ 1
  3. คนที่มารวมกลุ่มกันจะเป็นทั้งผู้ผลิตสารและเป็นผู้ใช้สารและเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
  4. คนจะใช้สารนี้เหมือนกับการใช้ประโยชน์จากระบบสาธารณะประโยชน์เช่น น้ำประปา หรือ กระแสไฟฟ้า
  5. กิจกรรมเหล่านี้จะเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมด ซึ่งเราก็เห็นแล้วว่ามันเกิดขึ้นใน gotoknow.org แห่งนี้และที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท