อนุทินล่าสุด


มะลิ
เขียนเมื่อ

"แพท-ภาววิทย์ กลิ่นประทุม"

ที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ BLS

ซึ่งนอกจากจะเป็นนักลงทุนรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว

ยังเขียนหนังสือ "แกะรอยหยักสมองรวยหุ้นหมื่นล้าน" ที่เป็นเบสต์เซลเลอร์ของซีเอ็ดบุ๊คด้วย


ประทับใจในแนวความคิดเรื่องการลงทุน

“เมื่อเรียนรู้แล้วให้ทดลองทำจริง ถึงแม้ว่าในช่วงแรกนั้นอาจจะล้มเหลว

เพราะการลงทุนที่จะประสบความสำเร็จได้อยู่ที่ความคิดที่ถูกต้องด้วย”


“คนประสบความสำเร็จในตลาดทุนไม่ใช่เพราะโชคช่วย

และที่ไม่ประสบความสำเร็จก็ไม่ใช่เพราะดวงไม่ดี แต่เป็นเพราะความรู้มีไม่พอ”


ที่มา http://money.sanook.com/60673/

https://www.sentangsedtee.com/news_detail.php?rich...

http://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=639.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
มะลิ
เขียนเมื่อ

การจัดการความเสี่ยงทางการเงิน ทำได้อย่างไรบ้าง ??

ความเสี่ยง (Risk) คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด เสียหาย หรือเหตุการณ์ใดๆ ที่ไม่พึงประสงค์

ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factor) คือ ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ได้แก่

1. ปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย ฯลฯ

2. ปัจจัยภายใน เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ระบบการทำงาน ฯลฯ

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ประเมินได้จาก

1. โอกาสที่จะเกิด ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิด

2. ผลกระทบ ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

3. ระดับของความเสี่ยง สถานะของความเสี่ยงที่ประเมินได้จากโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยง

ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) เป็นความเสี่ยงที่มีความสำคัญต่อบริษัทและองค์กรทั่วไป

ประกอบด้วยความเสี่ยงในการบริหารเงิน ความเสี่ยงด้านเครดิต และความเสี่ยงในการซื้อขายตราสารการเงิน

โดยทั่วไป กลยุทธ์ของการบริหารความเสี่ยงทางการเงินคือ การใช้เครื่องมืออนุพันธ์ทางการเงิน

ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีการค้ากันอย่างกว้างขวางระหว่างบรรดาสถาบันการเงินทั้งหลาย กล่าวคือ มูลค่าของ

สัญญาอนุพันธ์ อย่างเช่น Futures, Forwards, Options และ Swap เป็นต้น

กระบวนการโดยรวมของการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน อาจจะประกอบด้วย

1) การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงทางการเงินหลัก

2) การกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมให้สร้างผลลัพธ์เบี่ยงเบนในกิจการได้ (Level of Risk Tolerance)

3) การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับนโยบาย

4) การวัดผล รายงาน กำกับติดตาม และปรับปรุงกระบวนการบริหารให้พอเพียง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
มะลิ
เขียนเมื่อ

“การลงทุน” ถือเป็นการเก็บสะสมเงินออมของเราให้งอกเงยต่อเนื่องในระยะยาว

แต่ที่สำคัญสำหรับการลงทุน คือ ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน

เพราะสิ่งนี้แหละที่จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีว่า เราควรจะลงทุนแบบไหน และสัดส่วนการลงทุนแบบใดที่จะเหมาะสมกับเรามากที่สุด


ที่มา : http://www.set.or.th/set/education/html.do?name=be...

ตลาดทุน ถือเป็นแหล่งระดมเงินทุนอย่างหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

1. ตลาดแรก เป็นตลาดที่ทำการซื้อขายเป็นครั้งแรก

2. ตลาดรอง เป็นตลาดที่ใช้ซื้อขาย หรือขายหลักทรัพย์ที่เคยผ่านมือการซื้อขายมาแล้วครั้งหนึ่ง

ประโยชน์ของการลงทุนในตลาดทุน

Ø เพิ่มทางเลือกในการลงทุน นอกเหนือจากการฝากเงิน หรือการเล่นหุ้น

Ø กระจายความเสี่ยงในการลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภท

Ø สามารถเป็นเจ้าของหลักทรัพย์หลายประเภท โดยไม่ได้ติดต่อหลายหน่วยงาน

Ø มีสภาพคล่องสูง เพราะกองทุนส่วนใหญ่สามารถทำการซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ

Ø ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

Ø สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้ดูแลการจัดการและบริหารกองทุน

ดังนั้น การลงทุนในตลาดทุน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีเงินออมที่ต้องการความหลากหลายในการลงทุน

ซึ่งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากกาลงทุนในอัตราที่สูงกว่าและหลายรูปแบบกว่า เมื่อเทียบกับการฝากเงินกับธนาคารเพียงอย่างเดียว

“การลงทุน” คือ “ความเสี่ยง”

ข้อดีของการลงทุน คือ ได้รับผลตอบแทนในระยะยาว

ข้อเสียของการลงทุน คือ มีโอกาสขาดทุนได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
มะลิ
เขียนเมื่อ

การสื่อสาร (communications)

คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารไปยังผู้รับระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลต่อกลุ่ม

อาจใช้การพูดคุย สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจตรงกัน



กลยุทธ์ที่นักการเงินควรใช้ในการปรับปรุงการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบริษัท

1. นักการเงินต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ

ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสาร

2. นักการเงินควรคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร คือ สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร

3. นักการเงินควรคำนึงถึงพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ยิ่งคู่สื่อสารมีพื้นความรู้ใกล้เคียงกัน จะยิ่งทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น

4. นักการเงินต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทางที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน

5. นักการเงินควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว

เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากมีอุปสรรค์เกิดขึ้น

6. นักการเงินควรคำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการ
สื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร

7. นักการเงินควรคำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับ ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท