อนุทินล่าสุด


ธันยพร ปึงพิพัฒน์ตระกูล
เขียนเมื่อ

คำว่า “วรรณกรรม” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 7 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ.2475 หมายถึง สิ่งที่เขียนขึ้นจะใช้รูปแบบใดก็ได้หรือเพื่อความมุ้งหมายอย่าใดก็ได้ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี บทความ ตำรา ข่าว ประกาศแจ้งความ และฉลากยา เป็นต้น จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าความหมายของ “วรรณกรรม” หรือ “วรรณคดี”

 ต่อมาเกิดมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่างานเขียนซึ่งแต่งขึ้นใหม่ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น จะนับเป็นวรรณคดีหรือไม่ จึงมีการแยกคำ “วรรณคดี” ออกจาก “วรรณกรรม” วรรณคดี จึงใช้ในความหมายว่า วรรณกรรมหรือหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีวรรณกรรมศิลป์ กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในการใช้ถ้อยคำภาษาและเด่นในการประพันธ์ ให้คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน สามารถใช้เป็นแบบฉบับอ้างอิงได้


ตัวอย่างวรรณกรรมไทย

ตำนานเรื่องตาม่องล่าย

ตาม่องล่ายและยายรำพึง อยู่บ้านหลังหนึ่งริมทะเล มีลูกสาวสวยชื่อ ยมโดย ซึ่งความสวยเด่นกว่าหญิงอื่น นี่เองจึงมีชายหมายปองหลายคน ในขณะเดียวกัน คนหนึ่งชื่อเจ้าสายซึ่งมียายรำพึง ให้การสนับสนุน เนื่องจากรู้ใจ นำของมาเป็นของกำนัลอยู่เนือง ๆ อีกคนหนึ่งคือ เจ้ากรุงจีน ซึ่งมีตาม่องล่ายให้การสนับสนุน ต่อมาชายทั้งสอง ได้มาสู่ขอยมโดยต่อตาม่องล่าย และยายรำพึง เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง บังเอิญที่สองตายายนัดวันแต่งงานตรงวันเดียงกัน เมื่อวันนั้นมาถึง ขบวนขันหมากของทั้งสองฝ่าย ก็ยกมาประจันหน้ากัน สองตายายไม่รู้จะทำอย่างไรดี ในที่สุดก็หันไปโทษกัน ถึงขั้นวิวาทอย่างรุนแรง

          

จนยายรำพึงฉวยได้หมวก ขว้างใส่ตาม่องล่าย แต่หมวกลอยตามแรงลม ลงทะเลกลายเป็นเขาล้อมหมวก ตาม่องล่ายก็ไม่ยอมฉวยได้กระบุง ขว้างใส่ยายรำพึงทันที กระบุงก็ลอยไปตกในทะเลแถวจังหวัดตราด เป็นเกาะกระบุง ยายรำพึงไม่ยอม คว้าได้งอบขว้างเข้าใส่ตาม่องล่ายอีก คราวนี้ งอบลอยไปตกในทะเล กลายเป็นแหลมงอบที่จันทบุรี ตาม่องล่ายก็ตอบโต้โดยการขว้างสากใส่ยายรำพึง แต่สากกระดอนไปกระทบเกาะที่ขวางหน้า

          

จนเกาะทะลุแล้วกระดอนลงไปในทะเล ไปเป็นเกาะสาก ยายรำพึงหมดปัญญา ที่จะตอบโต้โมโหสุดขีด นอนดิ้นเร่า ๆ สิ้นใจตรงริมหาดแห่งนั้น คนเรียกว่า หาดแม่รำพึง เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น ตาม่องล่ายไม่รู้จะทำประการใด จึงคว้าลูกสาวฉีกออกเป็นสองซีก ๆ หนึ่งขว้างให้เจ้าสาย อีกซีกโยนไปให้เจ้ากรุงจีน กลายเป็นเกาะนมสาวที่บางปู ปราณบุรี และจันทบุรี พร้อมกับขว้างขันหมาก พลู เครื่องสู่ขอลงในทะเลกลายเป็นหอยมวน ขนมจีนกลายเป็นสาหร่าย กระจกโยนไปตกที่เขาช่องกระจก

   

ตะเกียบเป็นเขาตะเกียบ และจาน ตกเป็นเกาะจาน เจ้าสายก็เสียใจสุดขีด เพราะผิดหวังอาเจียนออกมาเป็นโลหิต จนตายกลายเป็นเขาเจ้าสาย เจ้ากรุงจีนเลยยกขบวนกลับเมือง ตาม่องล่ายพึงนึกขึ้นได้ว่า ตัวเองสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง จึงเอาเหล้ามาดื่มจนตาย ณ หาดทรายริมทะเลแห่งนั้น

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=121560

ตัวอย่างวรรณกรรมต่างประเทศ
จะยกตัวอย่างมาตอนหนึ่ง ในวรรณกรรมเรื่อง อลิซผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์
                                                                                                              อลิซผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์ ...หรือ Alice"s Adventures in Wonderland ของลูอิส แครอลล์ เป็นวรรณกรรมเยาวชนคลาสสิกอีกเรื่องหนึ่งของบรรณพิภพ และยังนับเป็นต้นแบบของวรรณกรรม แนวแฟนตาซีหรือเรื่องที่เหลือเชื่อก็ว่าได้ เนื้อเรื่องจะมีแนวโน้มไปในทางโลกในจินตนาการของเด็ก ซึ่งใสบริสุทธิ์ และกว้างไกลจนสุดที่จะคาดคะเน ซึ่งโดยเฉพาะจินตนาการในความฝัน ที่สามารถ เนรมิตให้สิ่งไม่มีชีวิตเคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิตชีวา หรือให้สัตว์พูดจาโต้ตอบกับมนุษย์ได้เข้าใจ และแน่นอนที่ว่าทุกคนนั้นเคยได้ผ่านวัยเด็กมาแล้ว ย่อมเคยมีความฝันและจินตนาการทำนองเช่นนี้ มาก่อนเหมือนกัน...แต่คราวนี้เราลองมาฟังจินตนาการในความฝันของอลิซที่ลือชื่อไปจนทั่วโลกกันดูนะคะ

ตอน " ทะเลน้ำตา " 
" ว้าย...ทำไมฉันจึงรู้สึกว่าเย็นอย่างนี้นะ ! "ขณะที่อลิซร้องอย่างตกใจออกมานั้น เท้าของเธอก็ ลื่นไถล และก็ " ตูม " อลิซตกลงไปลอยคออยู่ในน้ำเค็มเสียแล้ว แวบแรกนั้นเธอคิดว่าตัวเองตก ลงไปในทะเล แต่ไม่นาน
อลิซก็นึกออกว่า ตัวเอง กำลังลอยคออยู่ในทะเลน้ำตาของเธอเองที่ไหล ออกมา
อย่างกะเผ่าเต่าเมื่อสักครู่ นี้เสียแล้ว...
" ฉันไม่น่าร้องไห้เยอะเลย " อลิซพูดขณะที่พยายามว่าย น้ำเข้าหาฝั่ง "ตอนนี้เลยมาถูกลงโทษให้จมน้ำตาตัวเอง ประหลาดดีแท้เลย " แล้วทันใดนั้นอลิซก็ ได้ยินเสียงพุ้ยน้ำดังอยู่ไม่ไกลเท่าไหร่ เธอจึงพยายามแหวกว่ายไปใกล้ ๆ เพื่อดูว่า อะไรเป็นต้นเสียง แต่เพียงครู่เดียวอลิซก็เห็นว่า ต้นเสียงคือหนูตัวหนึ่งที่ตกน้ำอยู่ เหมือนเธอ " ถ้าเข้าไปคุยกับหนูตัวนั้น" อลิซคิด " มันจะมีประโยชน์อะไรล่ะ ถ้าเกิด ว่ามันจะพูดภาษาคนไม่ได้ แต่ที่นี่อะไร ๆ ก็ดูเพี้ยนกันไปหมดจนฉันไม่อยากหวัง อะไรทั้งนั้น แต่เอาเถอะคงไม่เสียหายหรอกนะถ้าจะลองดูน่ะ " ว่าแล้วอลิซ ก็พูด ขึ้นว่า 
" หนูจ๊ะ เธอรู้ทางที่จะออกไปจากทะเลนี่หรือเปล่าล่ะ ฉันว่ายน้ำจนหมดแรง แล้วจ๊ะ หนู จ๋า " หนูตัวนั้น
หันมามองอลิซด้วยท่าทางสงสัย และถ้าไม่ผิดเธอเห็น มันขยิบตาเล็ก ๆ ข้างหนึ่งให้ แต่มันไม่ยอมพูดอะไร 
" มันคงไม่รู้ภาษาอังกฤษแน่เลย " อลิซคิด " แย่จังบางทีอาจจะเป็นหนูที่มาจากประเทศฝรั่งเศสหรือปล่าวนะ
..ว้า "
 แล้วอลิซก็พูดใหม่เป็นภาษาฝรั่งเศสซึ่งก็เป็นคำเดียว ที่เธอรู้จักและนึกขึ้นมาได้ตอนนั้น ว่า
" อู เอ มา ชาต " (ซึ่งบังเอิญมันแปลว่าแมวเสียด้วย ) หนูตัวนั้น พอได้ยินก็ตะเกียก ตะกายว่ายน้ำหนีอย่างสุดแรงเกิดจนน้ำในทะเลนั้นแตกกระจายเลยทีเดียว " โอ๊ะ...โอ๋ ขอโทษทีจ๊ะ " อลิซละล่ำละลักพูดออกมาเพราะกลัวว่าเจ้าหนูน้อยตัวนั้น จะโกรธ " ฉัน ลืมเสียสนิทว่าเธอไม่ชอบแมว "
"ไม่ชอบแมว.... ! " หนู พูดเสียงสั่น ๆ อย่างสยองใจเป็นที่สุด " เธอจะชอบแมวไหมล่ะ ถ้าเธอเป็นหนูน่ะ " พูดต่อว่าเสร็จแล้วเจ้าหนูตัวนั้นก็ทำทีเป็นจะว่ายหนีอีกแล้ว อลิซเมื่อเห็นดังนั้นก็ร้องตาม หลังมันไปอีกว่า 
" อ้าว...ก็พูดได้นี่ แต่หนูจ๋ากลับมาเถิดนะฉันจะไม่พูดคำว่า แมวอีก แล้ว ถ้าเธอไม่ชอบ " พอได้ยินดังนั้นหนูก็หยุดแล้วว่ายกลับมาพูดกับอลิซว่า " ก็ดี แต่ตอนนี้เราไปขึ้นฝั่งกันดีกว่าเพราะรู้สึกว่าจะหนาว ๆ แล้วว่าไหม?"ซึ่งตอนนั้นก็เป็นการ สมควรอย่างยิ่งที่จะรีบขึ้นฝั่งเสียด้วย เนื่องจาก ระดับน้ำในทะเลเริ่มสูงขึ้น เพราะพวกนกกับสัตว์อื่น ๆ ที่ตกลงมาเหมือนกันกับอลิซมีทั้งเป็ด นกโดโด้ นกแก้ว นกอินทรีเล็ก แล้วก็สัตว์แปลก ๆ อีกหลายตัว อลิซเป็นผู้ว่ายนำไป แล้วสัตว์ทั้งหมด ก็พากันว่ายเข้าไปหาฝั่ง......


         จากตัวอย่างวรรณกรรมทั้งเรื่องที่เป็นทั้งวรรณกรรมของไทยและวรรณกรรมของต่างประเทศ ทำให้เราพบข้อแตกต่างจากทั้ง 2 เรื่องนี้คือ วรรณกรรมไทยจะชอบมุ่งเน้นเขียนเล่าถึงตำนานการเกิดสถานที่ที่ท่องเที่ยวหรือความเชื่อต่างๆที่คนโบราณเล่าต่อกันมาถึงปัจจุบัน ส่วนวรรณกรรมต่างประเทศเรื่องอลิซในดินแดนมหัศจรรย์นี่จะมุ่งเน้นถึงความเป็นแฟนตาซี จะมีการสร้างเรื่องให้มีความตื่นตาตื่นใจ สร้างให้สิ่งไม่มีชีวิตกลับมามีชีวิต สัตว์สามารถคุยโต้ตอบกับคนได้แต่จากวรรณกรรมทั้ง 2 เรื่องก็ต่างมุ่งเน้นไปที่จินตนาการของผู้อ่านให้มีความคิดที่ออกจากกรอบออกไปทำให้ผู้อ่านได้รับความสนุกสนานและบันเทิงใจทั้งคู่


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท