คำตอบ


ขอเข้าชุมชนเบาหวาน

นายรุ่งศักดิ์ ศิรินิยมชัย

Anek Thanonghan
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

อยากทำค่ายเบาหวาน

สุมาลัย

Anek Thanonghan
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เพิ่งมาเห็นคำถามครับ ขอโทษมากๆ ป่านนี้คงได้คำตอบไปแล้วมั้งครับ

น่าจะทำได้นะครับ โดยอ่านเกี่ยวกับการทำค่ายใน G2K นี้แหละ

ถ้าต้องการข้อมูล e mail มาขอนะครับ จะแนบ file ไปให้ ทุกคนเลยครับ

เภสัชสอนคนไข้เบาหวาน(กลุ่ม) แค่ไหนดี

จันทร์เมามาย

Anek Thanonghan
เขียนเมื่อ
คำตอบ

สวัสดีครับ น้องผล

     ดีใจจังครับที่ได้รับการติดต่อกลับ และที่ดีใจ และสดุดใจมากๆ ก็ตรงที่เป็นคนเดียวกับ จันทร์เมามาย ที่เขียน blog และเก็บประเด็นได้ดี และน่าอ่านอยู่แล้ว(เคยเข้า blog แต่ไม่ได้ทักทายไว้เลยครับ  แย่จัง) ไม่รู้ว่าวัน มหกรรม ผมเอามะพร้าวไปขายสวนหรือเปล่า เพราะจันทร์เมามาย ก็เป็นเจ้าของสวนมะพร้าวที่น่าไปเยี่ยมบ่อยๆ (เก่ง KM อยู่แล้วครับ)

     ตอบคำถามดีกว่า นะ

     แฮ่ๆ บอกเลยนะครับว่าแลกเปลี่ยนกันดีกว่า เพราะผมก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ  คำถามที่ถามหมายถึงการสอนคนไข้ใช่หรือเปล่าครับ และเป็นโรคเบาหวานด้วย (ทวนคำถาม ตามหลัก DIS)

      ถามว่า เภสัชเราควรสอนแค่ไหนดี ก็น่าจะจับประเด็นยาไว้ก่อนนะครับ แต่ผมให้ความเห็นว่าต้องเป็นเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัว ไม่ต้องวิชาการมาก เช่น เทนที่จะพูดว่ายาแต่ละตัวออกฤทธิ์อย่างไร ก็เป็นว่าเล่าว่า ถ้ายาเข้าร่างกายแล้วจะไปไหน อาจใช้วิธีการเปรียบเทียบ เช่นผมใช้วิธีการเปรียบว่า โรคเบาหวานก็เหมือนแม่น้ำ น้ำที่ไหลมาก็คือน้ำตาล ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ก็ให้นึกถึงตอนน้ำท่วม ที่น้ำไหลล้นแม่น้ำออกมา เป็นมากก็ท่วมมาก เป็นน้อยก็ท่วมน้อย ยาที่ใช้ก็เหมือนกันกับเครื่องสูบน้ำที่เอาไปสูบเอาน้ำออกไปใช้ประโยชน์ ที่จะเอาน้ำที่ท่วมออกไปใช้ให้มากที่สุด ซึ่งก็จะแตกต่างกันในแต่ละที่ที่น้ำท่วม เช่น บางที่เครื่องใหญ่ เครื่องเล็ก ใช้เครื่องเดียวหรือหลายเครื่อง หลายยี่ห้อ หรือใช้วิธีการอื่นร่วมกับเครื่องสูบน้ำ (เปรียบกับยา ที่ต้องใช้แตกต่างกัน ตามระดับของโรคแต่ละคน บางคนใช้ชนิดเดียว บางคนใช้ร่วมกันหลายชนิด ปริมาณก็มากน้อย ไม่เหมือนกัน หรือบ้างคนไม่ได้ผลก็ต้องใช้วิธีอื่นๆช่วย)   ไม่รู้จะงงหรือเปล่านะถ้าเอาไปทำ อิๆๆๆๆ

      แต่ที่สำคัญที่สุด ในการสอนรายกลุ่มก็คือ เราต้องใช้ปัญหาเฉพาะกลุ่มให้เป็นประโยชน์ อาจจะลองถามคร่าวๆก่อนว่า ใช้ยากันอย่างไร หรือใช้ยาแล้วดีหรือไม่ดีอย่างไร แล้วค่อยเสริมตามประเด็นที่กลุ่มให้ความสนใจ จะได้สนุกทั้งคนพูด และคนฟัง เพราะเมื่อเราสังเกตการทำกลุ่มที่สอนซ้ำๆ แบบเดิมๆ คนที่เบื่อจะเป็นเราเอง(ถ้าเป็นคนชี้เบื่อนะ)แล้ววันหลังเราก็จะกลายเป็นหุ่นยนต์ ขาดชีวิตชีวา

    อีกอย่างถ้าเป็นไปได้ ก็คือไม่ต้องแบ่งว่าเรื่องไหนใครสอน ให้มารวมกัน พร้อมๆกัน แล้วถ้ากลุ่มมีเรื่องชี้ประเด็นไปทางไหนก็ให้คนที่เชี่ยวชาญเป็นคนแชร์ เช่นถ้าประเด็นยา ก็ให้เภสัชกร ก็น่าจะดี (นึกถึงคนไข้นะ เค้าไม่ได้เรียงลำดับอยู่แล้วว่าต้องฟังประเด็นไหนก่อนหลัง เพราะโรคเบาหวานมันมีทุกประเด็นปนเปกันอยู่ บางทีคุยเรื่องยา ก็สงสัยเรื่องอาหารเฉยเลยก็มี)

    สรุปว่าที่เล่ามาเป็นประสบการณ์นะครับ (tacit knowledg) ไปปรับดูนะครับในการสอนคนไข้   และเช่นเดียวกันกับที่คนไข้เบาหวานเค้าก็มีประสบการณ์ดีๆ มาแลกเปลี่ยนกับเราเหมือนกัน ลองฟังคนไข้ดู แล้วจะรู้ว่าบางเรื่อง เจ๋งกว่าเราอีกครับ

เอนก ทนงหาญ

  

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท