อนุทินล่าสุด


ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

โหลดไฟล์นำเสนอได้ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ ครับ

ลักษณะภูมิประเทศ ที่เกิดจากน้ำ คลื่น และลม 2.pptx




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

"เวลา"

วันใดที่เราเอา "ฉันทะ" เป็นที่ตั้ง เเห่งงาน

วันนั้นเราจะ ยืดหยุ่น  จนหย่อนยาน  เอื้อระเหย

วันใด ที่เราเอา "งาน" เป็นที่ตั้งแห่ง "ฉันทะ" เหมือนเคย

ความเอื้อระเหย  จะไม่หย่อน  เเต่จะ "ตึง"

วันใดที่เราอยากจะให้มัน "สมดุล"

เราก็หนุน งานมาทำ "พร้อมใจถึง"

ความพอใจ  ไม่มากเกิน  งานที่พึง  

ทางสายกลาง จึงจะถึง "ผลแห่งงาน"

*เวลา - ฉันทะ -> งาน = งานยืด ยาว

*ใจ     - ฉันทะ -> งาน = งานคุณภาพ




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

ถ้าพูดถึงในเรื่องของความฝัน ... ความฝันของเรามีทั้งความฝันหลัก ความฝันรอง เเละความฝันรองลงไปอีก .. 

1.ฝันว่าอยากเป็นครู

2.ฝันว่าอยากเป็นนักสังคมสงเคราะห์

3.ฝันว่าอยากเป็นนักเขียน/นักทำหนัง/นักทำละคร/นักตัดต่อ

4.ฝันว่าอยากตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษา โดยมีทุน คือ ครู หรือ นักสังคมสงเคราะห์ หรือ นักปกครอง

5.ฝันว่าอยากทำเกษตรในที่เล็กๆอยู่บ้าน ... 

..........................................................................................................

 



ความเห็น (2)

ตั้งใจทำวันนี้ให้ดีที่สุด วันนี้ทำดีกว่าเมื่อวาน จะถึงความฝันแน่นอนค่ะ ให้กำลังใจนะคะ

ฝันให้ไกล ไปให้ถึงนะครับ ให้กำลังใจน้องคนเก่งเสมอๆ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

เรื่องเล่าเล็กๆ ... ของชายคนนี้ ... 

ฟื้นความคิดคน ฟื้นชีวิตดิน

ธรรมชาติ คือ ชีวิตของมนุษย์  “เราจำเป็นต้องพึ่งธรรมชาติในการดำเนินชีวิต  แต่ในขณะเดียวกันธรรมชาติไม่มีความจำเป็นที่ต้องพึ่งเราในการดำเนินชีวิต”  เป็นบทความที่ผมมองว่า ถ้ามนุษย์เรานั้นไม่มีธรรมชาติจะดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างไร  ปัจจัยในการดำเนินชีวิตทั้ง 4 อย่างคือ อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  และยารักษาโรค  ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนั้นก็ล้วนต้องพึ่งธรรมชาติทั้งสิ้น  ในขณะเดียวกันเมื่อมนุษย์พึ่งพาธรรมชาติมากๆนั้นก็ต้องส่งกระทบโดยตรงต่อธรรมชาติเอง  โดยการบั่นทอนทรัพยากรให้ลดลงไปทุกวัน   ดินแดนบ้านเกิดเมืองนอนแห่งนี้ เป็นดินแดนที่ไม่มีภูเขา แต่มีแม่น้ำ มีพื้นดินอันกว้างใหญ่ มีป่าอยู่เป็นพื้นที่ไม่ใหญ่มาก  เป็นสะดืออีสานที่เรียกว่ามหาสารคาม  ธรรมชาติบ้านของเรานี้มีความสวยงามของตัวมันเอง   

ท้องฟ้ายามตะวันตกดินที่สวยงาม ตะวันส่องแสงมายังทุ่งนา จนทอประกายระยิบระยับสวยงาม บ้านเกิดของเรานี้มองมุมนี้ก็แสนจะอบอุ่น มีทุ่งนาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ใช้ขีวิตอยู่อย่างคนชนบทที่แสนเรียบง่าย  อรุณเบิกฟ้า  พาดผ่านตาให้ชวนเห็น  ลมร้อนเเละลมหนาวสลับสับเปลี่ยนผ่านเป็นฤดูกาลใหม่ เสียงดังสงัดเริ่มขึ้นก้องในหู บ่งบอกถึงเวลาที่สมควร  เวลาที่ต้องเข้าอีกสังคมหนึ่งที่สำคัญ "ถึงเวลาเเล้วหลังจากการพักผ่อนมานานเเรมเดือน" ชายคนหนึ่งพูดกับตนเองด้วยถ้อยคำง่ายๆเเล้วลุกขึ้นจากที่นอนเพื่อเตรียมเดินทางไปโรงเรียนโดยรถรับจ้างรายเดือน ขมุกขมัวอยู่ในการทำภารกิจส่วนตัวก่อนไปโรงเรียนอยู่ครู่ใหญ่ๆ อยู่ในกาลเวลาที่ล่วงเลยผ่านไปอย่างรวดเร็ว "สายเเล้วหรือนี่" เขาหันมามองดูนาฬิกาอยู่ครู่หนึ่งเเล้วรีบจัดของเพื่อไปโรงเรียนโดยรถยนต์รับจ้างประจำเดือน  พอเดินทางมาถึงรถยนต์ที่นั่ง ก็ถูกรายรอบไปด้วยสายตาที่เป็นอวัจนภาษาที่สื่อสารได้ชัดเจน ที่สื่อสารออกมาว่า "เขามาสาย" หลังจากนั้นจึงขึ้นรถเเล้วออกเดินทางสู่โรงเรียน "วันนี้เป็นวันลงทะเบียนเรียนเป็นครั้งเเรก เเล้ววันนี้เราจะได้ขึ้นชั้นม.๔อย่างเต็มตัว เราจะได้ขึ้นม.ปลายเเล้วนะ" เขาบอกกับตนเอง "วันนี้ได้อยู่ห้องใหม่ๆ เพื่อนใหม่ๆจะมีใครบ้างนะ" ด้วยความรู้สึกตื่นเต้น ! 

เดินๆไปรอบโรงเรียนเห็นป้ายปิดประกาศประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานแห่งหนึ่งที่เขาสนับสนุนการตั้งกลุ่มเยาวชนขึ้นมารักษาสิ่งแวดล้อมบ้านเกิดของตนเอง ซึ่งผมเองก็เมินเฉยอยู่หลายวันพอสมควร แล้ววันหนึ่งก็เดินมาอ่านอีกครั้ง มีเพื่อนๆมีดูด้วย ด้วยความเป็นช่วงวัยที่อยากพบเจอกับสิ่งใหม่ๆและโจทย์นี้เป็นโจทย์ที่ท้าทาย จึงชวนเพื่อนๆตั้งกลุ่มแล้วลองส่งไปดู  ลองโทรศัพท์ไปสอบถามว่าเป็นอย่างไร แล้วจึงจับกลุ่มมาพูดคุยกัน ว่าจุดประสงค์ของการตั้งกลุ่มของเรานี้ คือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  เมื่อเราตั้งกลุ่มแบบเด็กๆแล้ว ว่าจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปัญหา คือ แล้วสิ่งแวดล้อมที่เราจะรักษานั้น คือ อะไร จึงต้องกลับไปทบทวนบ้านเกิดของตนเองซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จึงได้ชื่อกลุ่มว่า กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน  พอทุกคนมาคิดทบทวนบ้านเกิดของตนเองก็มีประเด็นหนึ่งที่น่ารักษาไว้และพัฒนาให้ดีขึ้น คือ ปัญหาน้ำเน่าเสียที่ชุมชนแห่งหนึ่ง แล้วมานั่งคิดกันแบบเด็กๆว่าเราจะทำอย่างไรดี  แล้วจึงสรุปได้ว่าเราจะต้องลงไปดูปัญหาร่วมกันก่อนเพราะเราจะได้มองเห็นภาพร่วมกัน  พอได้ไปเห็นก็น้ำก็เสียจริงๆ เลยระดมสมองคิดวิธีการว่าเราจะทำอย่างไรดีจะสามารถพัฒนาน้ำให้ดีขึ้น  แล้วได้ข้อสรุป คือ เราจะต้องทำกระชังผักตบชวาเพื่อบำบัดน้ำเสียจึงได้ชื่อโครงการว่า “บำบัดน้ำบำรุงสุข” ก่อนที่จะส่งโครงการนี้ไป เราเองก็นึกพึมพำในใจอยู่ว่าความรู้สึกและการกระทำของเรานี้อยู่ในระดับของคนที่สิ้นเปลือง ใช้เงินเปลืองมาก ใช้ชีวิตวัยรุ่น สนุกสนานไปกับการเรียน และเสียงหัวเราะไปวันๆ อยู่โรงเรียนก็มาเรียนแล้วก็กลับ อยู่ในกรอบที่ตนเองตีไว้ให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี  เริ่มต้นด้วยความอยากรู้ว่ามันเป็นอย่างไร  เราเคยแต่ทำโครงงานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่เราไม่เคยมาทำโครงการที่ใหญ่ขนาดนี้มาก่อนเลย “คิดอยู่ในใจพักใหญ่ๆ” แล้วจึงส่งโครงการนี้ไป

ตึ๊กๆ เสียงอีเมลล์เข้า ถึงเวลาที่ต้องรอฟังผล ผลออกมาปรากฏว่าเราก็ได้เหมือนกัน ทุกๆคนดีใจเป็นการใหญ่ เพราะผู้ใหญ่ใจดีที่ได้ชื่อ มูลนิธิกองทุนไทยและมูลนิธิสยามกัมมาจลได้มอบโอกาสให้เราแล้ว  เตรียมตัวเข้าปรับการพัฒนาโครงการอย่างชัดเจน  การทำงานเพื่อชุมชนเริ่มขึ้นหลังจากนั้นเพียงมานาน

ปีแรกเริ่ม

 จากที่ได้ประเด็นปัญหาในเรื่องของ "น้ำท่วมขัง" ถ้าลองมาวิเคราะห์ดูจริงๆเเล้ว เป็นปัญหาในส่วนบุคคลเพราะเป็นพื้นที่ของบุคคลเดียว ไม่ใช่เป็นพื้นที่ของชุมชนโดยส่วนรวม จึงถือว่าประเด็นนี้ที่ได้เลือกนั้นเป็นปัญหาส่วนบุคคลเเต่ไม่ได้เป็นปัญหาในชุมชน ทำให้เเกนนำที่ได้เข้าร่วมค่ายนี้ กลับได้มาย้อนมองดูประเด็นของตนเองกันใหม่ตั้งเเต่เริ่มต้นจนถึงขั้น "ปวดหัวไปตามๆกัน" เนื่องเพราะการกำหนดประเด็นปัญหาส่วนย่อย มิใช่ส่วนรวม จึงเป็นอีกข้อหนึ่งที่ได้เรียนรู้สำคัญๆ คือ ในการตั้งประเด็นหรือเลือกประเด็นปัญหาในครั้งใดใด ควรย้อนมองดูอย่างใคร่ครวญว่าปัญหาที่ได้เลือกนั้นเป็นส่วนย่อยหรือส่วนรวม.      

หลังจากนั้นเพียงไม่นานก็เกิดการระดมสมอง  ทุกคนมาคุยกันอีกครั้งให้ได้ประเด็นปัญหาที่จะทำ ทุกคนถกประเด็นเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่พักใหญ่ๆ ในตอนนั้นมีคนนึงพูดขึ้นในเรื่องของหมู่บ้านเเบก ทำให้เด็กอีกหลายคนนึกขึ้นได้ว่าเพื่อนของตนเองชอบหลับในเวลาเรียนมีภูมิลำนำอยู่ในหมู่บ้านเเบก  ข้อสังเกตุ คือ ยามเรียนเพื่อนนอนหลับในเวลาเรียนเเละเพื่อนๆพูดคุยกัน ที่ด้วยความเป็นเพื่อนจึงสนใจมากขึ้นที่จะเลือกประเด็นนี้เพื่อพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นด้วยโครงการ  เราเองรู้อยู่ว่าชุมชนนี้ทำการเกษตร แต่ต้องลงไปสำรวจดูให้นุ่มลึกในเวลาถัดมาเพียงไม่นาน  

ลงพื้นที่ดูความจริง

ประเด็นปัญหาที่ได้มาจากการเเลกเปลี่ยนเเละพูดคุยกันในช่วงระยะเวลาที่ถือว่าพอสมควร จึงได้ประเด็นปัญหาที่ใกล้ตัว คือ ปัญหาของเพื่อนในห้องเรียนที่เขาเรียนอยู่ในชุมชนที่ "ใช้สารเคมีในการเกษตรเป็นส่วนใหญ่" เมื่อถกประเด็นเเล้วจึงได้ปัญหาจากชุมชน  สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "การมองดูความจริง" มองดูชุมชนจริง โดยการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจากชุมชน ว่าที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูกนั้น เป็นอย่างไรบ้าง  เขาปลูกอย่างไรบ้าง ฯ   ซึ่งในวันศุกร์หลังเลิกเรียนฮักนะเชียงยืนทุกคนได้นัดหมายกันเพื่อสอบถามชาวบ้านในความเป็นมาเเละเป็นไป ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างไร โดยที่ตั้งคำถามอย่างง่ายๆ เเบบเด็กๆที่คิดประเด็นคำถามขึ้นเอง ได้เเก่ ปลูกอะไร  ปลูกอย่างไร  ใช้สารเคมีอย่างไร เเล้วสารเคมีเข้ามาตอนไหน ฯ ซึ่งในครั้งนั้นคุณยายท่านหนึ่งให้ข้อมูลกับฮักนะเชียงยืนว่า "ปลูกมาตั้งนานเเล้วล่ะลูก  ตั้งเเต่สมัยที่เเม่เป็นสาวโน้นล่ะ สิ่งที่ปลูกเป็นส่วนมากเเล้วเป็นส่วนมากของหมู่บ้านของเรา คือ แตงต่างๆ มีบริษัทเข้ามารับซื้อนะ  สารเคมีก็ได้มาจากบริษัทน่ะ" เเล้วคุณยายทิ้งประโยคท้ายว่า "ใช้สารเคมีตั้งเเต่คลุกเมล็ดถึงส่งออกขายเลยล่ะ" จากคำตอบดังกล่าวข้างต้นจะสามารถสังเกตุได้อย่างชัดเจนว่า สารเคมีนี้เเต่ก่อนไม่มีเริ่มมีเข้ามาตั้งเเต่ในสมัยช่วงวัยกลางคนของคุณยาย เเล้วส่วนมากที่ปลูกเป็นการเพาะปลูกพืชประเภทเเตง โดยลงสำรวจเเล้วส่วนใหญ่จะเป็นเเตงประเภทเเตงเเคนตาลุป เเตงโม เเละเเตงอื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้จะเห็นได้ว่าเป็นอาชีพที่ฝังเเน่นกับชาวบ้าน โดยการเกษตรที่ใช้สารเคมีเป็นส่วนใหญ่นี้มีบริษัทนายทุนเข้ามาตั้งเเต่ประมาณ 30 กว่าปีที่เเล้ว ทางบริษัทให้สารเคมีเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้เพื่อเร่งผลผลิตทุกขั้นตอน มีการควบคุมเเละเเจกเมล็ดพันธุ์ให้ชาวบ้าน "นายทุนให้ทุกอย่าง" ทำให้ชาวบ้านใช้อย่างเต็มที่ อาทิ ปุ๋ยปรับหน้าดิน  ปุ๋ยเร่งผลผลิต ปุ๋ยทางใบ ปุ๋ยสูตรต่างๆที่ช่วยให้อาหารกับดินที่ปลูก ตลอดไปจนยาฆ่าเเมลงต่างๆนานา หรือที่เราเรียกว่า “เกษตรพันธะสัญญา” นั่นเอง ซึ่งชาวบ้านไม่สามารถปฏิเสธได้เพราะสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับตนเอง เพิ่มรายได้ให้กับตนเองในการหาเลี้ยงดูครอบครัว เเล้วยังทำให้ครอบครัวอยู่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน พ่อกับเเม่ไม่ได้จากไปทำงานในเมืองกรุงเหมือนชุมชนอื่นๆ จึงกลายเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตในมิติของครอบครัวที่ถือว่าอยู่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตา   ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นคนในชุมชนแต่เราก็เหมือนเป็นลูกหลาน  ที่นี่ก็ถิ่นเกิด ที่นี่ก็บ้านของเรา สิ่งที่เราพอจะรักษาได้ก็รักษากันไปตามบริบท  สำหรับการลงพื้นที่เป็นครั้งเเรกเเละครั้งต่อๆมา เป็นการสร้างความคุ้นเคยให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยมีทุนสำคัญในครั้งนั้น คือ ความเป็นเด็ก ความเป็นลูกเป็นหลาน ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่า ตนเองจะปลอดภัย เเละไม่ระเเวง 

ระดมสมอง

จากที่ได้ลงสำรวจดูความจริง จากนั้นมาระดมสมอง  วางทิศทางของงานนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะหากเราวางเเผนขางงาน หรือ กำหนดทิศทางของงานไม่ดีอาจทำให้ "ลำบากพอสมควรที่จะขับเคลื่อนงานเเละลำบากพอสมควรที่จะทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี" การวางทิศทางของงานจึงเป็นสิ่งสำคัญเเล้วเป็นสิ่งที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนในมิติของโครงการจิตอาสาพัฒนาชุมชน ในครั้งเเรกที่ได้วางทิศทางของงานนั้น หลายคนที่รู้ดีว่าสิ่งที่เราได้รับข้อมูลจากชุมชนนั้นเป็นสิ่งที่เราจะมาขับเคลื่อนงานให้เดินต่อไปได้ มีสองสามคนพูดถึงในเรื่องของกิจกรรม "เราจะเดินด้วยกิจกรรม" ซึ่งตอนนั้นส่วนใหญ่ คิดเพียงว่าจะต้องมีกิจกรรม ที่เป็นกิจกรรมที่จะพัฒนาชุมชนขึ้นมา "เพราะเราผ่านกิจกรรมมาเยอะ" ทำให้คำว่า "กิจกรรมหรือค่าย" เป็นคำหลักๆที่พูดถึงเเละถกประเด็นกัน โดยคำนึงถึงเ



ความเห็น (2)

เขียนเป็น “บันทึก” น่าจะเหมาะสมกว่านะครับ เพราะมันยาวมาก

ถ้าเป็นบันทึกแล้วก็ดีมากครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

อยู่อย่างพอเพียง...ก็จะเพียงพอ

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

จุดประสงค์ส่วนตัวของการเขียนบล็อก ครับ ... 

1.เขียนเพื่อเเลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้รู้

2.เขียนเพื่อย้ำเตือนตนเอง เพราะหลายๆครั้งตนเองก็อาจลืม ทำให้ต้องมานั่งอ่านบทเรียนของตนเองอีกครั้ง 

3.เขียนเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

อยากให้นักการเมืองที่มีเงินเยอะๆ... ให้หันมามองเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา อยากให้ช่วยเหลือเด็กที่ยากไร้ เด็กที่ขาดโอกาส เด็กที่มีปัญหา เด็กที่ขาดเเคลน... อยากให้นำเงินเหล่านั้นมาสงเคราะห์ซึ่งกันเเละกัน... 



ความเห็น (3)

เคยทำแล้วแต่ถูกต่อต้านครับ..เพราะขัดผลประโยชน์..ของผู้มีอิทธิพลบางกลุ่ม..

ขณะนี้ตนเองช่วยทุนการศึกษาเด็ก ๆไทย ที่ยากไร้และขาดแคลนอยู่ 6 คน คนละ 600 บาทต่อเดือน ผ่าน World Vision 3 คน ผ่าน Unicef 3 คน โดยให้หักบัญชีผ่านบัตรเครดิตทุกเดือน เพิ่งเริ่มได้ครึ่งปีที่ผ่านมา ทำได้โดยการเจียดจากค่าใช้จ่ายของตนเอง ทุก ๆ เดือน เหมือนเป็นการผ่อนส่งอะไรสักอย่าง ไม่ได้ร่ำรวยอะไร ไม่มีธุรกิจส่วนตัวใด ๆ ได้จากน้ำพักน้ำแรงของตนเองในฐานะลูกจ้างเขาทั้งสิ้น ตั้งใจว่าชีวิตที่เหลือนี้จะพยายามช่วยเรื่องการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส จนกว่าจะไม่สามารถทำได้ จึงจะยกเลิกการตัดบัญชีค่ะ นี่คือสิ่งหนึ่งที่ภูมิใจค่ะ

ชื่นชมความคิดของน้องธีระวุฒิ และอาจารย์ประหยัดมากค่ะ ลองส่งเด็ก หรือปรึกษามูลนิธิทั้งสองแห่งนี้จะดีไหมคะ World Vision : 02 381 8863 และ Unicef : 02 665 7121

สาธุครับผลได้ ท่านได้ทำครับ… ขอให้ทีความสุขกับการให้ครับ… ขอให้มีความสุขครับ..

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

มื่ก่เคยฟังเพลงที่ทำนอง... เเต่ทุกวันนี้ฟังเพลงที่ความหมาย... (คงเป็นช่วงของควคิ)



ความเห็น (1)

เรียนรู้ด้วยตัวเอง……..ค่อยเป็นค่อยไปครับ..ที่สงสัยในความสังเกตุ.

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

ปีใหม่นี้ขอให้ทุกคนมีความสุขกับความรัก...
รักในสิ่งที่ทำ...รักในเพื่อน...รักในคนร่วมทำงาน...
รักในความฝัน...รักในความจริง...รักในถิ่นเกิด...
เเละสุดท้าย คือ รักตัวเอง... ครับ... 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

มองโลกอย่างศิลปะ... เเล้วจะรู้ว่าทุกสิ่งนั้นสวยงาม.. 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

สักวันหนึ่งคิดว่า "จะตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษา ช่วยเหลือด้านการศึก๋ษา" สักวันหนึ่ง ๆ ๆ .... สักวันหนึ่งเมื่อมีความพร้อม  สักวันหนึ่ง ... ณ  ในตอนนี้ สิ่งที่เป็นความฝัน คือ ครู ที่จะได้เป็นหรือไม่ก็ตาม  หากไม่ได้เป็นก็คิดว่าจะตั้งมูลนิธิที่ช่วยเหลือทางการศึกษาขึ้นมาเช่นเดิม...ความเป็นครูไม่ได้เป็นเพียงตำเเหน่ง เเต่ผมกลับมองว่าเป็นที่ "ใจ" .. **



ความเห็น (2)

"""ไม่..ต้องรอ..ถึง..วันนั้น..สักวันหนึ่ง...วันนี้..เท่านั้น..ที่..เรา..สามารถ..หา..ทางเดิน..ร่วมกัน.."..มาทำฝันให้เป็นจริงกันไหม....

ความคิด มีเข็มทิศ มีเป้าหมาย เดินตามเส้นทางนั้นก็สามารถนำสู่ความสำเร็จที่ตั้งไว้ได้

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

ครูที่ดี คือ ครูที่เป็นโค้ชให้กับนักเรียน

นักเรียนที่ดี คือ นักเรียนที่เป็นโค้ชให้กับตนเอง...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

...ความเป็นตัวตน... อยู่ในตัวเรานี่ล่ะ...ไม่ต้องเเสวงหาที่ไหน...เพียงพูดกับใจให้รู้ทาง...เเล้วจะพบพานกับเเสงสว่างกระจ่างใจ...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

"เราพอเเล้ว...เเล้วท่านพอหรือยัง" .... เป็นคำที่น่าใคร่ครวญ



ความเห็น (2)

เราหยุดแล้ว..เธอหยุดแล้วหรือยัง..

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

...ทำไมเราต้องมีความสุขในสิ่งที่เราฝัน    ทำไมเราต้องมีความทุกข์ในสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิด     ทำไมเราต้องมาทำงาน   ทำไมเราต้องเป็นคนที่ถูกเลือก   ทำไมเราต้องอยากพักผ่อนเมื่อทำงานหนัก...ทุกๆสิ่ง มีเหตุมีผลของตัวมันเอง... 



ความเห็น (4)

ทำไมเราต้องร้องไห้เมื่อดีใจ…และทำไมเราต้องร้องไห้เมื่อเสียใจ

แล้วทำไมเรารู้สึกเศร้าเมื่อ มีการพลัดพราก..ทำไมจึงไม่สมหวังในสิ่งที่อยากได้..และทำไมๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อื้..ฮือ..พ่อกลุ่มแม่กลุ่มปรัชญาสุนทรียะ ะ ะ +

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

...ไม่ว่าจะเสื้อเหลืองหรือว่าเสื้อเเดง...เราก็เป็นคนไทยเหมือนกัน...เราก็มีจิตใจเช่นเดียวกัน...



ความเห็น (1)

ทุกสีเสื้อก็คือไทย หวังว่าจะรักสามัคคี สงสารประเทศไทยครับ

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

...ประชาธิปไตยเส้นขนานยังคงเดินทางต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด... หากทุกคนรู้จักการให้... คงจะประสบสันติสุข...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
เขียนเมื่อ

อยากเห็นการศึกษาไทยที่ไม่ใช่เพียง การสอน เรียน สอบ ... เเต่อยากให้เป็นเครื่องมือพัฒนาคน... 



ความเห็น (2)

เห็นด้วยครับ เพราะคนมีความคิดแตกต่างกัน เขาอาจไม่เองวิชาการ แต่เขาเก่งปฏิบัติ..ลงมือทำจริง

หลายๆคนที่ไม่เก่งเรียนเเต่เขากลับเก่งการดำเนินชีวิต เก่งทางการหาเงิน เก็บเงิน…. น่าคิดอยู่นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท