ดอกไม้


Curriculum and Instruction
เขียนเมื่อ


                                                               บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


วันที่ : 17 สิงหาคม 2557

เรื่อง :  ความรู้  :  ประเภทของความรู้

วิชา : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอน : ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก : นางสาวอภิญญา รักพุดซา รหัสประจำตัว 57D0103121

ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1


1.  การเตรียมตัวล่วงหน้าในการเรียนแต่ละครั้ง

     ได้ศึกษาเรื่องการใช้  KM  ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

     Knowledge  Management  หรือ  KM  เป็นกระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร  ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร  มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้  พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้และนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน  พัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้เกิดการพัฒนาฐานความรู้หรือทุนปัญญาขององค์กรอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning  Organization  หรือ  LO)  หรือสังคมแห่งการเรียนรู้  ที่สามารถเพิ่มขีดสมรรถนะในเชิงแข่งขันได้สูงสุด

2.  ความคาดหวังในการเรียน

     2.1  ความรู้ที่จะนำไปจัดทำ  KM  คือความรู้อะไรและได้มาจากที่ใด     

     2.2  KM  จะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร

3.  ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

    3.1  ความรู้คืออะไร  ความรู้  คือ  เนื้อหาหรือประสบการณ์

           kujiro  Nonaka  กล่าวถึงความรู้ไว้ว่า  เป็นความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนที่สุด  โดยเฉพาะในยุค  Knowledge  Based  Economy  เช่น  กลุ่ม  OECD  

           การที่องค์กรจะดำรงอยู่ได้ในยุค  Knowledge Based Economy. จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องปรับยุทธศาสตร์ทั้งหมดขององค์กร  การปรับยุทธศาสตร์เพื่อเข้าสู่การแข่งขันที่ต้องอาศัยความเร็ว  ความถูกต้อง  ความมีประสิทธิภาพ  ความได้เปรียบทางธุรกิจ

           ประเภทของความรู้  แบ่งได้เป็น  2  ประเภท  คือ  


           

     1. ความรู้เด่นชัด  (Explicit  Knowledge) 

         เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสารหรือวิชาการ  อยู่ในตำรา  หรือคู่มือปฏิบัติงาน

     2. ความรู้ซ่อนเร้น  (Tacit  knowledge)

         เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน  เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน  เป็นภูมิปัญญา

     ลักษณะเด่นของความรู้

      Pumer,  Paul  M. (1993 : 64)  ความรู้ยิ่งใช้ยิ่งมีมาก  ไม่มีขีดจำกัด  เมื่อนำความรู้ใหม่มาผสมกับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วในตัวคนก็จะเกิดความรู้ใหม่ ๆ มากขึ้นได้อีก  การสร้างความรู้ใหม่จากงานที่ทำ  และหมุนเวียนกลายเป็นวงจรความรู้ ได้ไม่จบสิ้น

      สังคมประกิต   (Socialization  Process)  คือ  กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมซึ่งดำเนินอยู่ตลอดเวลาที่มีลมหายใจ   

      จากความรู้ที่ได้รับในวันนี้ทำให้ความคาดหวังในการเรียนของข้าพเจ้าบรรลุเป้าหมายในการเรียน  1  ขัอ  คือ  ความรู้ที่นำไปจัดทำ  KM  มาจากที่ใดบ้าง  และความรู้นั้นคืออะไร  แต่ข้อที่ยังไม่บรรลุความคาดหวัง  คือ  KM  จะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร

 4.  ความคิดเห็นประเด็นที่เรียน

       จากประเด็นที่เรียนในวันนี้  ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า  ทุกคนมีความรู้อยู่ในตัวเอง  โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้น                         (Tacit  knowledge)  ความแตกต่างของความรู้  คือ  ความรู้เด่นชัด  (Explicit  Knowledge)  เพราะความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของแต่ละบุคคลไม่เหมือน

5.  การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน

     5.1  การพัฒนาตน

            จะพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และพัฒนาความรู้เด่นชัดในตนเองและบุคคลในสังคมประกิต

     5.2  การปฏิบัติงาน

            ในฐานะที่เป็นครูจะนำความรู้ไปพัฒนาผู้เรียน  โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนหมั่นแสวงหาความรู้  และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

6.  บรรยากาศการเรียน      

     6.1  ห้องเรียนสะอาด  อากาศถ่ายเทสะดวก  มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย

     6.2  ความรู้สึกที่มีต่ออาจารย์  สอนสนุก  ไม่เครียด  แต่บางครั้งอาจารย์สอนเร็วจนเกินไป  ผลที่ตามมาคือเรียนไม่ทัน  อาจารย์เป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  นอกจากนี้ยังเน้นย้ำให้นักศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  เช่นเดียวกัน

     6.3  ความรู้สึกที่มีต่อเพื่อน  เพื่อนนักศึกษาทุกคนมีการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน

3
0
Curriculum and Instruction
เขียนเมื่อ

                                                                        บันทึกอนุทินครั้งที่  1


วันที่ : 27 กรกฎาคม 2557

เรื่อง : สังคมแห่งการเรียนรู้

วิชา : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอน : ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก : นางสาวอภิญญา รักพุดซา รหัสประจำตัว 57D0103121

                ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1

                                                        

1. ความรู้ที่ได้รับ

----->วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 ข้าพเจ้าเรียนวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ บรรยายโดย ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ ได้รับความรู้ดังต่อไปนี้

----->การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นไปตามตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร

----->กรอบแนวคิด : การเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมในอนาคตจะเป็นสังคมฐานความรู้ อยู่ที่การเรียนรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและสร้างสภาพการณ์ เพื่อให้คนไทยทุกคนมีสิทธิและความเสมอภาค ในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต

----->การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ต้องเป็นมาตั้งแต่เกิด (เกิดขึ้นตลอดเวลา, เกิดขึ้นทุกนาที)

----->สังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา ตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการเรียนรู้ที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมมีความใฝ่รู้ และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและมีความต่อเนื่องเป็นปกติวิสัย ในชีวิตประจำวันของคนทุกคน

----->บุคคลแห่งการเรียนรู้ มีลักษณะดังต่อไปนี้

------------------->>1. ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการเรียนรู้

------------------->>2. มีทักษะและกระบวนการในการคิด การวิเคราะห์ และแก้ปัญหา

------------------->>3. มีความใฝ่รู้ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้อง    เหมาะสม

------------------->>4. มีโอกาสและสามารถเลือกที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงอายุ แต่ละวัยด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ยืดหยุ่นและมีคุณภาพตามความต้องการ ความสนใจและความถนัด

2. การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน

----->สามารถนำความรู้ไปจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน โดยเน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง อีกทั้ง ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน กระตือรือร้นในการที่จะเรียนรู้ทุกเมื่อไม่เพียงแต่อยู่ในห้องเรียนเท่านั้น

3. การแสดงความคิดเห็น

----->ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า สังคมแห่งการเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้เรียน แต่เป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตประจำวันเป็นปกติวิสัยของทุกคนอยู่แล้ว เพราะคนทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

4. บรรยากาศในการเรียนการสอน

----->อาจารย์ผู้สอนมีความเป็นกัลยาณมิตรกับนักศึกษา

----->นักศึกษากับอาจารย์มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

----->อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาที่เรียน

----->บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียน อากาศถ่ายเทสะดวก สื่อในการเรียนมีความพร้อมและทันสมัย

                                  

2
0
Curriculum and Instruction
เขียนเมื่อ

                                                      บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


วันที่ : 3 สิงหาคม 2557

เรื่อง : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้  ,  เสวนาอาเซียน

วิชา : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอน : ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก : นางสาวอภิญญา รักพุดซา รหัสประจำตัว 57D0103121

                ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1



1.  การเตรียมตัวล่วงหน้าในการเรียนแต่ละครั้ง

     ได้ศึกษาหลักและแนวคิดในการจัดการความรู้  การจัดการความรู้หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า  KM  คือ  เครื่องมือ  เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายของงาน  บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน  และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

2.  ความคาดหวังในการร่วมกิจกรรม

     2.1  ความเข้าใจในการจัดการความรู้  หลักการที่ใช้ในการจัดการความรู้

     2.2  ความรู้ความเข้าใจในการบรรลุเป้าหมายทั้ง  3  ประการ  คือ  งาน  คน  และองค์กร

     2.3  เพราะเหตุใดจึงเปรียบเทียบการจัดการความรู้เหมือนกับปลาทู  ที่มีส่วนประกอบ  3  ส่วน  คือ  หัวปลา  ตัวปลา  และหางปลา  

                         

   

      เนื่องจากวันนี้ต้องเข้ารับการอบรม  "เสวนาอาเซียน"  การเรียนการสอนในวันนี้จึงเลื่อนไปเรียนในสัปดาห์หน้า  ดังนั้นความคาดหวังในการเข้าอบรม  "เสวนาอาเซียน"  วันนี้คือ  อยากทราบความแตกต่างของหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในประเทศอาเซียนว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่  อย่างไร

3.  ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

     การเสวนาอาเซียนในวันนี้  มีวิทยากรมาให้ความรู้จาก  4  ประเทศด้วยกัน  คือ  ฟิลิปปินส์  เวียดนาม  กัมพูชา          และสิงคโปร์  หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศอาเซียนทั้ง                 4  ประเทศนั้น  มีความแตกต่างกันในด้านของหลักสูตร  ระยะเวลาในการเรียน  รูปแบบการจัดการเรียนการสอน  แต่สิ่งหนึ่งที่  4  ประเทศนี้พึงมีร่วมกัน  คือ  "วินัย"  ทั้ง  4  ประเทศจะปลูกฝังความมีวินัยให้กับนักเรียน  ตั้งใจเข้มงวดกวดขันเรื่องวินัยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความเคยชิน  มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษาในทางที่สร้างสรรค์  ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางการศึกษาได้อย่างรวดเร็ว  นักเรียนและผู้ปกครองในสิงคโปร์จะให้ความสำคัญในเรื่องของการเรียนเป็นอย่างยิ่ง  นับได้ว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งเข้าสู่ศตวรรษที่  21  อย่างแท้จริง

     จะเห็นได้ว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละประเทศมีทั้งส่วนที่แตกต่างกัน  และบางอย่างก็คล้ายกัน  เช่น  เมื่อเทียบกับประเทศไทยแล้วหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศฟิลิปปินส์คือ  12  ปี  เช่นเดียวกับประเทศไทย  ประเทศกัมพูชาในสมัยก่อนผู้หญิงไม่ได้เรียนหนังสือ  และผู้ชายก็จะเรียนที่วัดเช่นเดียวกับประเทศไทย  ส่วนเวียดนามและสิงคโปร์เน้นที่วิชาการมากกว่ากิจกรรม  แต่ท้ายที่สุดแล้วเป้าหมายของหลักสุตรแต่ละประเทศนั้นย่อมเหมือนกัน  หากจะเปรียบกับการเดินทางอาจต่างกันที่เดินทางคนละเส้นแต่จุดหมายปลายทางคือจุดเดียวกันนั่นเอง

4.  ความคิดเห็นหรือประเด็นที่เรียน

     จากการ  "ฟังเสวนาอาเซียน"  ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าการศึกษาของชาติไทยเราก้ไม่ได้แพ้ชาติใดในโลกแต่ปัจจุบันนี้เด็กไทยมองข้ามในเรื่อง  "วินัย"  ในการศึกษา  ทำอะไรก็ได้ตามใจฉัน  อยากให้นักเรียนไทยให้ความสำคัญในเรื่องของการศึกษาและมีวินัยในตนเองมากกว่านี้  สิ่งสำคัญควรใช้เทคโนโลยีในทางที่สร้างสรรค์เกิดประโยชน์  เพื่อที่จะเป็นบุคคลคุณภาพมีศักยภาพในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

5.  การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและปฏิบัติงาน

     ความรู้ที่ได้รับในวันนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของแต่ละประเทศ  สิ่งที่ควรนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาทั้งต่อตัวข้าพเจ้าเองและในการทำงานของข้าพเจ้าก็ตาม  คือ  เรื่องของความมีวินัยในตนเองไม่ว่าจะทำการสิ่งใด  สิ่งสำคัญในฐานะที่เป็นครูจะนำเรื่องของวินัยไปปลุกฝังให้ผู้เรียนเป็นคนมีวินัย  ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  เพื่อที่จะได้ก้าวทันการเป็นผู้เรียนในศตวรรษที่  21

6.  บรรยากาศการเรียน

     ภายในหอประชุมอนุสรณ์ 70 ปี อากาศเย็นสบาย ถ่ายเทสะดวก มีการใช้สื่อนำเสนอทันสมัย ในการเสวนา  ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่้วมรับฟังการเสวนาอภิปรายร่วมกัน  มีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ  นับว่าเป็นบรรยากาศของสังคมแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21  อย่างแท้จริง

   

1
0
Curriculum and Instruction
เขียนเมื่อ

                                                            บันทึกอนุทินครั้งที่  3


วันที่ : 10 สิงหาคม 2557

เรื่อง : องค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning  Organization  :  LO)

วิชา : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอน : ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก : นางสาวอภิญญา รักพุดซา รหัสประจำตัว 57D0103121

ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1



1.  การเตรียมตัวล่วงหน้าในการเรียนแต่ละครั้ง

      -ศึกษาแรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้  ซึ่งมีแรงจูงใจแท้  และแรงจูงใจเทียม

      -ประเภทของความรู้แบ่งได้  2  ประเภท  คือ  ความรู้เด่นชัด  และความรู้ซ่อนเร้น

      -ความหมายและส่วนประกอบของโมเดลปลาทู

2.  ความคาดหวังในการร่วมกิจกรรม

      -การจัดการความรู้  หรือ  KM  สามารถพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร

3.  ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

      องค์กรหรือหน่วยงานที่สามารถจัดการความรู้เพื่อบรรลุเป้าหมาย  3  ประการไปพร้อม ๆ กัน  คือ  บรรลุเป้าหมายของงาน  บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคน  และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กร  อันจะนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ได้

      องค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning  Organization  :  LO)  เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้  ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร  ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก  เป้าประสงค์สำคัญคือ  เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด  (Best  Practices)  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง  (Core  Competence)  เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

      การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัย  The  five  disciplince  หรือแนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  ที่สำคัญ  5  ประการ  ดังนี้

      1.  บุคคลรอบรู้  (Personal  Mastery)  หมายถึง  บุคคลที่ให้ความสำคัญกับความรู้  มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  (Lifelong   Learning)  เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ

      2.  แบบแผนทางความคิด  (Mehtal  Model)  หมายถึง  ความเชื่อ  ทัสนคติ  แสดงถึงวุฒิภาวะ  (Emotional  Quotient,  EQ)  ความสามารถในการตัดสินใจเรื่องต่า่ง ๆ ได้อย่างเหมาะสม  

      3.  การมีวิสัยทัศน์ร่วม  (shared  Vision)  หมายถึง  ทัศนคติร่วมของคนในองค์กรที่สามารถมองเห็นภาพ  และมีความต้องการมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

      4.  การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  (Team  Learning)  หมายถึง  การเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะกลุ่มหรือทีมงาน

      5.  การคิดอย่างเป็นระบบ  (System  Thinking)  หมายถึง  คนในองค์กรสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นระบบใหญ่  แล้วสามารถมองเห็นระบบย่อยเพื่อที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อย ๆ ให้เสร็จทีละส่วน

      แนวทางสำคัญในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้ง  5  ประการนั้น  เป็นหลักที่สมาชิกในองค์การจำเป็นต้องใช้พัฒนาตนเองและองค์กรสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ  ที่จะสามารถดำรงอยู่ได้ในศตวรรษที่  21

                                                          

4.  ความคิดเห็นหรือประเด็นที่เรียน

      การที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะก้าวสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  ไม่เพียงแต่จำเป็นต้องมีความเข้าใจในแนวทางสำคัญในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้ง  5  ประการ  เพราะถ้าหากเรามีความเข้าใจแต่ไม่ลงมือปฏิบัติ  ไม่ร่วมกัน       ขับเคลื่อนเป็นทีมงาน  หรือปฏิบัติแค่ใครคนใดคนหนึ่ง  องค์การหรือองค์กรย่อมไม่สามารถเดินทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างแน่นอน

5.  การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน

      The five disciplince  นับเป็นแนวทางในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  5  ประการ  และสิ่งที่ควรจะพัฒนาเป็นลำดับแรก  คือ  ต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนรอบรู้  มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา  เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเอง  สิ่งที่สำคัญไม่ว่าเราจะพัฒนาอะไร  ทุกอย่างล้วนแล้วแต่ต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาตนเอง

6.  บรรยากาศการเรียน

      บรรยากาศในการเรียนเป็นไปด้วยความสนุกสนาน  อาจารย์สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ทำให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม  แสดงความคิดเห็น  ถ้าหากมีข้อสงสัยอาจารย์ก็ให้คำปรึกษาและอธิบายได้อย่างชัดเจนเข้าใจได้เป็นอย่างดี

                                

1
0
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

สำหรับการตรวจระดับ PSA เพื่อคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น ยังเป็นเรื่องที่ต้องประเมินหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นใครคิดจะตรวจหรือมีญาติเป็น (ถือว่ามีโอกาสเสี่ยง) ก็ต้องคุยกับคุณหมอให้ดีๆว่าตรวจแล้วจะใช้ผลอย่างไร ต้องหาความรู้ให้ดีๆก่อนนะคะ รายงานนี้ก็ช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาได้ Relative value of race, family history and prostate specific antigen as indications for early initiation of prostate cancer screening. J Urol. 2014;192:724-729.

5
0
รัตน์ชฎาภรณ์ สนใจ
เขียนเมื่อ
<a href="http://www.caistudio.info" target="_blank" ><img src="http://www.caistudio.info/images/banner/link_caistudio.gif" alt="CAISTUDIO.INFO คลังสื่อ CAI" border="0"></a>
2
0
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานที่สนับสนุนจูงใจให้ใช้ชีวิตถูกสุขลักษณะมีมาเรื่อยๆค่ะ รายงานนี้เขาพบว่า การกินอาหารและการดำเนินชีวิตแบบรักษาสุขภาพนั้นช่วยลดโอกาสเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในผู้ชายได้ด้วยค่ะ Low-risk diet and lifestyle habits in the primary prevention of myocardial infarction in men.J Am Coll Cardiol 2014; DOI:10.1016/j.jacc.2014.00.1190.

5
0
สุพัตรา แซะแดง
เขียนเมื่อ

สามารถดาวน์โหลดชุดแบบฝึกและใบงานต่างๆสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กปกติก็ใช้ได้นะคะhttp://kroowut.igetweb.com/news/196674/

1
0
Suphat
เขียนเมื่อ

4 - 6 สิงหาคม 2557 กศน.สัญจร มหกรรมวิทยาศาสตร์และอาชีพสู่อาเซียนเพื่อเดินหน้าประเทศไทย

ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

3
0
อรวรรณ หนูคง
เขียนเมื่อ

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

องค์ประกอบที่สำคัญและจำ เป็นเพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21 การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ จะต้องสอดคล้องกับระบบสนับสนุนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนในปัจจุบัน

มาตรฐานศตวรรษที่ 21

- มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ

- สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21

- เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน

- การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงและพวกเขาจะพบผู้

เชียวชาญในวิทยาลัยหรือในที่ทำงานและ ชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมาย

- การมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้

ค้นคว้าเพิ่มเติม   http://lripsm.wix.com/21st#!about_us/cjg9

3
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท