อนุทินล่าสุด


ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

พิกุลทอง

นิทานพื้นบ้านไทยเรื่องพิกุลทอง เป็นนิทานพื้นบ้านภาคกลาง ที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนาน เพลิดเพลิน และให้แง่คิดที่ดี จึงเป็นนิทานสอนใจ เป็นนิทานก่อนนนอน และเป็นนิทานเด็ก ไว้สอนเด็กได้ในเรื่องการทำความดี ด้วยบอกเล่าผ่านนิทานพื้นบ้านของไทยเรา

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีหญิงสาวสวย คนหนึ่งชื่อว่า “พิกุล” …กล่าวกันว่าเธอมีความสวยทั้งหน้าตาและ กิริยามรรยาท มารดาของเธอตายตั้งแต่เธอยังเล็กมาก ดังนั้นเธอจึงได้รับการเลี้ยงดูจากแม่เลี้ยงซึ่งเธอเองก็มีลูกสาวคนหนึ่ง ชื่อว่า “มะลิ” …แต่ก็โชคร้ายที่ว่าทั้งแม่เลี้ยงและลูกสาวของเธอนั้นเป็นคนใจร้าย ทั้งคู่จะบังคับให้พิกุลทำงานหนักทุกวัน

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%99%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

ตำนานขนมครก

ไอ้กะทิ หนุ่มน้อยแห่งดงมะพร้าวเตี้ย แอบมีความรักกับ หนูแป้ง สาวสวยประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นลูกสาวคนเดียวของผู้ใหญ่บ้าน ทั้งคู่เจอกันวันลอยกระทง และสัญญากันต่อหน้าพระจันทร์ ไม่ว่าข้างหน้าแม้จะมีอุปสรรคขวางกั้นเพียงใด ทั้งคู่ก็จะขอยึดมั่นความรักแท้ที่มีต่อกันชั่วฟ้าดินสลาย

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%99%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

พระนางจามเทวี

นิทานที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นนิทานในลักษณะตำนานที่เกี่ยวกับกรุงอโยธยา กรุงอโยธยาหมายถึง “กรุงอโยธยาเดิม“คือ หน้าสถานีรถไฟไปทางทิศตะวันออกเราจะเห็นมีวัดเดิมอยู่คือ “วัดอโยธยา” เป็นตำนานซึ่งมีผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า …เป็นเมืองหลวงเก่าซึ่งมีก่อนกรุงศรีอยุธยา

นิทานพื้นบ้านภาคกลาง พระนางจามเทวีhttps://bkkseek.com/wp-content/uploads/2016/05/นิทานพื้นบ้านภาคกลาง-พระนางจามเทวี-300x270.jpg 300w, https://bkkseek.com/wp-content/uploads/2016/05/นิทานพื้นบ้านภาคกลาง-พระนางจามเทวี.jpg 400w" sizes="(max-width: 294px) 100vw, 294px" data-lazy-loaded="true" style="margin: 1.25rem 0px; padding: 0px; border: 0px; font-style: inherit; font-variant: inherit; font-weight: inherit; font-stretch: inherit; font-size: inherit; line-height: inherit; font-family: inherit; vertical-align: bottom; max-width: 100%; height: auto; display: block;">อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%99%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านเรื่อง โสนน้อยเรือนงาม

ที่”นครโรมวิสัย” มีกษัตริย์ครองอยู่ มีพระราชธิดาที่สวยงามมาก พระราชธิดานี้เมื่อประสูติมีเรื่อนไม้เล็กๆ ติดมือออกมาด้วย เรือนนี้เมื่อพระธิดาเจริญวัยขึ้น เรือนไม้นี้ก็โตขึ้นด้วยและกลายเป็นของเล่นของพระราชธิดา พระบิดาจึงตั้งชื่อพระราชธิดาว่า “โสนน้อยเรือนงาม” เมื่อโสนน้อยเรือนงามมีพระชนม์พรรษาได้สิบห้าพรรษา โหรทูลพระบิดาว่าโสนน้อยเรือนงามกำลังมีเคราะห์ ควรให้ออกไปจากเมืองเสีย เพราะจะต้องอภิเษกกับคนที่ตายแล้ว พระบิดาและพระมารดาก็จำใจให้โสนน้อยเรือนงามออกไปจากเมืองแต่ผู้เดียว โสนน้อยเรือนงามปลอมตัวเป็นชาวบ้านและเอาเครี่องทรงพระราชธิดาห่อไว้ พระอินทร์สงสารนางจึงแปลงร่างเป็นชีปะขาวมามอบยาวิเศษสำหรับรักษาคนตายให้ฟื้นได้ โสนน้อยเรือนงามเดินทางเข้าไปในป่าพบ “นางกุลา” หญิงใจร้ายนอนตายเพราะถูกงูกัด โสนน้อยเรือนงามจึงนำยาของชีปะขาวมารักษา นางกุลาก็ฟื้น นางจึงขอเป็นทาสติดตามโสนน้อยเรือนงาม

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B9%82%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านเรื่อง ไชยเชษฐ์

ท้าวอภัยนุราช” เจ้าเมืองเวสาลี มีพระธิดาองค์หนึ่ง พระนามว่า “นางจำปาทอง” เพราะเมื่อนางร้องไห้จะมีดอกจำปาทองร่วงลงมา ครั้นนางจำปาทองเจริญวัยขึ้น นางได้นำไข่จระเข้จากสระในสวนมาฟักจนเป็นตัวและเลี้ยงจระเข้ไว้ในวัง ครั้นจระเข้เติบใหญ่ขึ้น ก็ดุร้ายตามวิสัยของมัน มันเที่ยวไล่กัดชาวเมืองจนชาวเมืองเดือดร้อนไปทั่ว ท้าวอภัยนุราชทรงขัดเคืองจึงขับไล่นางจำปาทองออกจากเมืองเวสาลี “นางแมว” ซึ่งเป็นแมวที่นางจำปาทองเลี้ยงไว้ได้ติดตามนางไปด้วย นางจำปางทองกับนางแมวเดินซัดเซพเนจรอยู่ในป่า ไปพบยักษ์ตนหนึ่งชื่อ “นนทยักษ์” ซึ่งกำลังจะไปเฝ้าท้าวสิงหลนางตกใจกลัวจึงวิ่งหนีไปพบพระฤๅษี พระฤๅษีช่วยนางไว้ นางจำปาทองกับนางแมวจึงขออาศัยอยู่รับใช้พระฤๅษีในป่านั้น

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%99%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านเรื่อง ขายปัญญา

ในกาลก่อนนั้น… สติปัญญาความรู้ ความเฉลียวฉลาดปราดเปรื่องนั้น มีการนำเอามาขายดังสินค้าต่าง ๆ เช่นปัจจุบันนี้ ดังนั้น ตลอดเวลาจะมีผู้นำเอาความรู้หรือเอาตัวปัญญานี้มาขายเสมอ

วันหนึ่งในเวลาบ่าย แดดร้อนจัดจนเป็นเปลว มีชายคนหนึ่งนำเอาปัญญามาขาย โดยบรรจุตัวปัญญาลงในกระทอจนเต็มแล้ว หาบผ่านเปลวแดดมาจนถึงประตูเมือง ครั้นจะเข้าไปทันทีก็เกรงว่าอากาศร้อน ๆ เช่นนี้จะทำให้อารมณ์ของตนเสียไปได้… เขาจึงสอดส่ายสายตาดูร่มไม้ใหญ่บริเวณรอบๆ ในที่สุดก็มองเห็นร่มหว้าใหญ่ใบตก มีร่มแผ่กว้างน่าพัก เขาจึงแวะเข้าไปแล้ววางหาบตัวปัญญาที่นำมาขายลง แล้วเอนหลังหลับไปด้วยความเหนื่อยอ่อน… จวบจนตะวันบ่ายคล้อยลง ความร้อนจึงค่อยบรรเทา ชายนั้นตื่นขึ้นแล้วไปล้างหน้าในสระน้ำใกล้กำแพงเมือง ตั้งใจว่าพอเสร็จธุระแล้วนำเอาตัวปัญญาเข้าไปเสนอขายในเมืองทันที

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%99%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้าน จันทโครพ

เจ้าชายจันทโครพ” แห่งเมืองพาราณสี …เมื่อเขาเติบโตเป็นหนุ่มได้ออกแสวงหาอาจารย์เพื่อรำเรียนวิชา …แล้วได้เจอกับพระฤๅษี ได้ร่ำเรียนวิชาจากท่านจนสำเร็จ จากนั้นจึงได้เดินทางกลับบ้านเมืองของตน …แต่ก่อนที่จะออกเดินทางฤๅษีได้มอบผะอบแก้วให้ …แล้วสั่งกำชับว่าห้ามเปิดจนกว่าจะถึงบ้านเมือง …แต่จันทโครพได้เสียสัตย์แอบเปิดผอบนั้นเสียก่อน …ซึ่งในผะอบมี “นางโมรา” ได้ปรากฏตัวออกมา จันทโครพก็ได้พานางโมราเดินทางต่อไป …แต่ระหว่างทางได้พบกับโจรป่า ซึ่งเห็นนางโมราเข้าจึงคิดแย่งชิง …จันทโครพก็ถูกโจรป่าฆ่าตาย (นางโมราเห็นจันทโครพตาย ก็ย่อมไม่ได้ตำแหน่งอัครมเหสีจึงไปอยู่กับโจรป่า เพราะจันทโครพสัญญาว่าจะมอบตำแหน่งอัครมเหสีให้)

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/chanthakor...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านลิลิตพระลอ

เป็นนิยายท้องถิ่นของไทยภาคเหนือ เข้าใจกันว่าเป็นเรื่องจริง ในหลักฐานพงศาวดารกล่าวว่า พระลอเป็นคนสมัยเดียวกับท้าวฮุ่ง จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.๑๖๑๖-๑๖๙๓ และยังสันนิษฐานกันว่า เมืองสรองคงจะเป็นตอนเหนือของอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ส่วนเมืองสรวงคงจะเป็นเขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%A5%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

ทศชาติชาดก

เตมิยชาดก  ชาติที่ 1 เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี - เตมียชาดก (เต) เป็นชาติแรกในทศชาติชาดก ก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านามพระโคดม ชาตินี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การออกบวชมหาชนกชาดกชาติที่ 2 เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี - มหาชนกชาดก (ช) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระชนกกุมาร โอรสพระเจ้าอริฏฐชนก กษัตริย์เมืองมิถิลา ขณะที่เสด็จลงสำเภาไปค้าขาย เกิดพายุใหญ่เรือแตกกลางมหาสมุทร พระมหาชนกทรงว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ในมหาสมุทรถึง 7 วัน นางเมขลาเห็นจึงพูดลองใจว่าให้พระองค์ยอมตายเสียเสียตามบุญตามกรรม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงฟัง ยังพยายามว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ตามเดิมนางเมขลาเห็นเลื่อมใสในความพยายาม จึงอุ้มพระองค์เหาะไปส่งที่ฝั่ง พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี

อ่านต่อได้ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานชาดก

ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด มีรากคำมาจากธาตุ (Root) ว่า ชนฺ แปลว่า “เกิด” แปลง ชนฺ ธาตุเป็นชา ลง ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ ต ปัจจัยตัวนี้กำหนดให้แปลว่า “แล้ว” มีรูปคำเป็น “ชาต” แปลว่า เกิดแล้ว เสร็จแล้วให้ลง ก ปัจจัยต่อท้ายอีกสำเร็จรูปเป็น “ชาดก” อ่านออกเสียงตามบาลีสันสกฤตว่า “ชา-ตะ-กะ” แปลว่าผู้เกิดแล้ว เมื่อนำคำนี้มาใช้ในภาษาไทย เราออกเสียงเป็น ชาดก โดยแปลง ต เป็น ด และให้ ก เป็นตัวสะกดในแม่กก

ในความหมาย คือ เล่าถึงการที่พระโพธิสัตว์เวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่าง ๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดก เป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้ ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้นๆ

อ่านต่อได้ที่ https://dhamma.mthai.com/princ...

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

หอจดหมายเหตุของไทย

หอจดหมายเหตุ ก็คือ สถานที่เก็บเอกสารจดหมายเหตุที่สำคัญๆของหน่วยงานที่หอจดหมายเหตุนั้นสังกัดอยู่ ยกตัวอย่างเช่น  หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมเอกสารสำคัญๆของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น ประกาศ คำสั่ง ต่างๆของมหาวิทยาลัย  รูปภาพ  cd dvd  แผนที่ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย เป็นต้น  

อ่านต่อได้ที่ https://kuarchives.wordpress.c...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

ความหมายของพงศาวดาร

เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.[วะดาน] น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.

อ้างอิงจาก https://dictionary.sanook.com/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

หลักในการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม

แนวทางการพิจารณาด้านกลวิธีการแต่ง 
การนําเรื่อง : การแนะนําตัวละคร ความเป็นมา/ที่มาของเรื่อง 
ปมปัญหา : เหตุการณ์ที่ตัวละครต้องเผชิญ / ตัดสินใจ 
วิกฤต : เหตุการณ์ที่บีบคั้นจนถึงขีดสุด 
จบเรื่อง : การคลี่คลายปมปัญหา จุดจบของเรื่อง 

หลักในการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม
1. อ่านเรื่องราวให้เข้าใจชัดเจน 
2. กําหนดขอบเขตวรรณกรรมที่จะวิเคราะห์ให้ชัดเจนว่าต้องการวิเคราะห์
ประเด็นใดบ้าง 
3. กําหนดจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์ให้ชัดเจน เช่น เพื่อการศึกษา 
เพื่อเขียนตํารา หรือเพื่อฝึกทักษะการวิเคราะห์ 
4. พิจารณาหลักความรู้หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องว่าจะใช้หลักใดในการวิเคราะห์ 
เช่น วิเคราะห์ด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญาพุทธศาสนา 
หรือคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม 
อ่านต่อได้ที่ https://prezi.com/bic5zt5fiozg...



ความเห็น (1)

อนุทินที่มีคำสำคัญ มากเลยคับ ชอบเข้ามาอ่านกันเลยเรื่องวรรณกรรมนี้ [url=http://gclub69-mobile.blogspot.com]คาสิโนออนไลน์[/url]

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านเรื่อง ท้าวปาจิตกับนางอรพิม

ท้าวปาจิตก็ออกเดินหาหญิงหม้ายผู้นั้น จนไปพบนางบัว ชาวบ้านสัมฤทธิ์ยังมีครรภ์อยู่มีลักษณะตามที่โหรได้ทายไว้ จึงอาสาฝากตัวเป็นคนใช้ ครั้นนางบัวคลอดบุตรเป็นหญิงมีลักษณะดี ให้ชื่อว่านางอรพิม ก็ช่วยนางบัวเลี้ยงดูจนเป็นสาว รูปโฉมงดงามมาก ท้าวปาจิตลากลับบ้านเมืองเพื่อจัดขันหมากมาสู่ขอตามประเพณี พอขันหมากมาถึงบ้านนางอรพิม ก็ทราบว่าท้าวพรหมทัตมาลักตัวนางอรพิมไปเสียแล้ว ก็เสียพระทัยเลยโยนขันหมากทิ้งน้ำเสียหมด ลำน้ำนั้นต่อมาคือ ลำปลายมาศ

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%97%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านเรื่อง ท้าวก่ำกาดำ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง หลังจากอยู่กินร่วมชีวิตกันเป็นเวลาหลายปี แต่หาได้มีบุตรไว้สืบสกุลไม่ สามีจึงปรึกษากับภรรยาว่า “นี่แม่นาง พี่เห็นว่าเราก็อยู่ร่วมกันมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีบุตรสักที พี่เองก็อยากมีบุตรไว้สืบสกุล แล้วน้องล่ะ” สามีถามทิ้งท้าย “น้องก็เช่นกัน การไม่มีบุตรก็เท่ากับขาดคนสืบสกุลใช่ไหม” ภรรยาพูดเป็นเชิงถาม “ถ้าอย่างนั้นเราไปบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอบุตรดีไหม” สามีชวนเมื่อรู้ว่าภรรยาเห็นดีด้วยที่จะมีบุตร “ไปก็ไปสิจ๊ะ เพื่อเราจะได้มีบุตรไว้สืบสกุลกัน” ภรรยาตอบตกลง… เมื่อมีความเห็นตรงกัน และตกลงร่วมกันเช่นนั้น ทั้งสองจึงไปบนบานต่อศาลเทพารักษ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน จากนั้นไม่นาน ภรรยาก็ตั้งครรภ์และคลอดลูกออกมาเป็นผู้ชาย

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/thao-kam-k...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน เรื่องท้าวเจ็ดหวดเจ็ดไห ฉบับย่อ

ครอบครัวหนึ่งมีลูกอยู่คนหนึ่งชื่อว่า “ท้าวเจ็ดหวดเจ็ดไห” เป็นคนที่กินจุ กินข้าวหมดครั้งละเจ็ดหวด กินปลาร้าหมดครั้งละเจ็ดไห วันหนึ่งพ่อกับแม่ไปป่า ก่อนจะไปได้นึ่งข้าวไว้ลูกชายก็กินจนหมด เมื่อกลับบ้านพ่อแม่เห็นดังนั้นจึงปรึกษากันว่า ทำอย่างไรลูกจึงจะพ้นไปจากอกตน เมื่อตกลงกันได้แล้ว ผู้เป็นพ่อจึงพาลูกไปคล้องช้างในป่า โดยหวังจะให้ช้างเหยียบลูกตาย ลูกกลับคล้องช้างได้จริงๆ ขี่ช้างกลับมาบ้าน ทำให้พ่อโกรธมาก…พ่อจึงพาลูกเข้าป่าไปตัดต้นไม้ใหญ่ โดยพ่อจะเป็นผู้โค่นให้ลูกเอาบ่ารับให้ได้ ลูกก็เอาบ่ารับต้นไม้…ไม้ใหญ่จึงล้มทับลูกชาย ลูกชายจึงร้องให้พ่อช่วย พ่อก็ไม่ช่วยหนีกลับบ้าน …พระอินทร์สงสารเลยลงมาช่วย …ลูกชายก็แบกต้นไม้กลับบ้านได้

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%99%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องขี้เหล้าเล่นหม้อ

นานมาแล้วมีเศรษฐีผู้ใจบุญท่านหนึ่ง แกชอบทำบุญเป็นชีวิตจิตใจ ขอให้ได้ทำบุญแก่จะทำทุกอย่าง คนอีสานพูดไว้ว่า “แฮงให้ แฮงรวย แฮงให้ แฮงได้หลาย” คือ ยิ่งให้ ยิ่งรวย ยิ่งให้ ยิ่งได้…ได้เยอะเพราะคนตอบแทนกับการให้ของเรา รวมคือรวยน้ำใจไปไหนคนรักคนอารีย์กับไมตรีจิตของเรา ยิ่งให้ก็ยิ่งได้มาก…เศรษฐีผู้ใจบุญ มีลูกชายคนเดียวไม่เอาถ่าน ลูกเมียก็ไม่มี ลูกชายเศรษฐีเอาอย่างเดียวคือกินเหล้า กินแล้วก็กินอีก กินจนติด เพื่อนฝูงก็มาก เพราะรวยมีเงินเลี้ยงคนอื่นเพื่อต้องการความเป็นเพื่อนแค่นั้นเอง ส่วนเพื่อนทั้งหลายก็หลอกกินฟรีไปวันๆ

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%82%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้าน พญาไก่ป่า

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นพญาไก่ป่า มีไก่เป็นบริวารหลายร้อยตัว อาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง มีนางแมวตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของไก่ป่านั้น มันเที่ยวใช้อุบายล่อลวงจับไก่ป่ากินเป็นอาหารเกือบหมด พญาไก่ป่าทราบว่าบริวารถูกนางแมวจับกินไปเกือบหมดก็ไม่ไปใกล้ที่อยู่ของมัน

หลายวันต่อมา เมื่อไม่เห็นไก่ตัวใดไปใกล้ที่อยู่ของตน นางแมวจึงต้องดั้นด้นมาหาไก่เสียเอง มันเดินย่องเข้าไปใต้โคนไม้ที่พญาไก่ป่าจับอยู่ พร้อมกับพูดขึ้นว่า “พ่อไก่น้อยสีแดง ผู้มีขนสวยงาม เจ้าลงมาจากกิ่งไม้เถิด เราจะยอมเป็นภรรยาท่าน” พญาไก่ป่ารู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของมันจึงตอบไปว่า “นางแมวเอ๋ย เจ้าเป็นสัตว์ 4 เท้าที่สวยงาม ส่วนเราเป็นสัตว์ 2 เท้า แมวกับไก่อยู่ร่วมกันไม่ได้ดอก เชิญท่านไปหาผู้อื่นเป็นสามีเถิด

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%99%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้าน นางแตงอ่อน

ที่เมืองนครศรี เจ้าเมืองนามว่าพระยาโกศรี มเหสีนามว่า ทองแดง มีโอรสนามว่า มหาวงศ์ ท้าวมหาวงศ์ชอบกีฬาชนไก่ วันหนึ่งไปต่อไก่ในป่ากับขุนสี่คน คือ ขุนเครือ ขุนคาน ขุนเค่ง และขุนทุ่มภู่ ได้ธิดาจระเข้ชื่อนางแตงอ่อน ผู้มีรูปกายเป็นมนุษย์มาเป็นมเหสี นางแตงอ่อนประสูติโอรส เมื่อท้าวมหาวงศ์ไปคล้องช้างในป่า นางจึงถูกหมู่มเหสีทั้งหลายเปลี่ยนโอรสของนางเป็นจรเข้ และโอรสจริงเอาไปลอยน้ำ เทพธิดาจึงนำไปเลี้ยงไว้บนสวรรค์ และตั้งชื่อว่า”สุริยง

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/nang-taeng...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

รวมนิทานพื้นบ้านภาคเหนือ

ถ้ำผานางเป็นถ้ำสวยงามอยู่ในจังหวัดแพร่ ปากถ้ำอยู่ภูเขาสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เมตร มีบันไดไต่เลียบเลี้ยววกขึ้นไปจนสุดทาง บันไดเป็นดินและหิน มีลานกว้างเป็นที่นั่งพัก ก่อนจะเข้าสู่ถ้ำด้านขวามือเป็นซอกเขา มีทางขึ้นไปไม่สูง ข้างบนมีลานหินเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่นั่ง เรียกกันว่า ลานนางคอย

          เรื่องถ้ำผานางและลานนางคอยมีอยู่ว่า ครั้นอาณาจักรแสนหวียังเจริญรุ่งเรือง เจ้าผู้ครองนครมีราชธิดาผู้สิริโฉมงดงามมาก นามว่านางอรัญญนี วันหนึ่งนางเสด็จประพาสโดยเรือพระที่นั่งเกิดมีพายุใหญ่พัดกระหน่ำมา ทำให้เรือพระที่นั่งพลิกคว่ำนางอรัญญนีพลัดตกลงในน้ำ ฝีพายหนุ่มคนหนึ่งได้กระโดลงไปช่วยชีวิตนางไว้ได้ ตั้งแต่นั้นมา ทั้งสองคนก็ได้ลอบติดต่อรักใคร่กันโดยปิดบังไม่ให้พระราชบิดาของนางล่วงรู้
อ่านต่อได้ที่ https://hilight.kapook.com/vie...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

ที่มาและความสำคัญของนิทานพื้นบ้านภาคเหนือ

นิทานเป็นสิ่งที่ผู้คน ทุกเพศ ทุกวัยชื่นชอบ สนใจอยากฟัง เห็นได้จากการที่แต่ละชาติ แต่ละภาษาต่างมีนิทานที่เล่าสืบต่อกันมา จนถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งก็ว่าได้

แต่เดิมนิทานเป็นเพียงวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่าถ่ายทอดกันมา ต้องอาศัยความทรงจำแทนการบันทึก ดังที่ฉัตรยุพา  สวัสดิพงษ์ (2522 : 9)   ได้กล่าวถึงวรรณกรรมมุขปาฐะไว้ว่า  “วรรณกรรมมุขปาฐะ…เป็นพวกเพลงชาวบ้าน  คำหยอก  คำคติ  คำปริศนา  คำครวญ  นิทาน  “

อ่านต่อได้ที่ https://noisyz.wordpress.com/%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

รวมนิทานพื้นบ้านภาคใต้

ทานเรื่อง นายดั้น เขียนบันทึกลงในสมุดข่อย ต้นฉบับเป็นของวัดท่าเสริม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะเวลาที่แต่งนิทาน คงอยู่ในระยะรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 แต่งด้วยกาพย์ 3 ชนิดคือ กาพย์ยานี 11, กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง สวดอ่านนิทานในยามว่าง โดยนิทานเรื่องนายดั้นมีเนื้อเรื่องดังนี้

           นายดั้น เป็นคนตาบอดใส อยากได้นางริ้งไรเป็นภรรยา จึงส่งคนไปสู่ขอและนัดวันแต่ง โดยฝ่ายนางริ้งไรไม่รู้ว่าตาบอด เมื่อถึงวันแต่งงานนายดั้นพยายามกลบเกลื่อนความพิการของตนโดยใช้สติปัญญาและไหวพริบต่าง ๆ แก้ปัญหา เมื่อขบวนขันหมากมาถึงบ้านเจ้าสาว เจ้าภาพขึ้นบนบ้าน นายดั้นกลับนั่งตรงนอกชาน เมื่อคนทักนายดั้นจึงแก้ตัวว่า "ขอน้ำสักน้อย ล้างตีนเรียบร้อย จึงค่อยคลาไคล ทำดมทำเช็ด เสร็จแล้วด้วยไว แล้วจึงขึ้นไป ยอไหว้ซ้ายขวา"

อ่านต่อได้ที่ https://hilight.kapook.com/vie...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

ความสำคัญของนิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้านมีบทบาทสำคัญต่อการถ่ายทอดการเรียนรู้ เสริมสร้างบุคลิกภาพ มีพลังโน้มน้าวความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของแต่ละบุคคล รวมทั้งมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์และสังคมในหลายด้าน กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้ (ประยูร ทรงศิลป์, 2542, หน้า 6)
1.นิทานพื้นบ้านเป็นเครื่องช่วยให้มนุษย์เข้าใจสภาพของมนุษย์โดยทั่วไปได้ดียิ่งขึ้น เพราะในนิทานพื้นบ้านเป็นที่ประมวลแห่งความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ความนิยม ความกลัว ความบันเทิงใจ ระเบียบแบบแผน และอื่นๆ
2.นิทานพื้นบ้านเป็นเสมือนกรอบล้อมชีวิตให้อยู่ในขอบเขตที่มนุษย์ในสังคมนั้นๆนิยมว่าดีหรือถูกต้อง แม้กฎหมายบ้านเมืองก็ยังไม่สามารถบังคับจิตใจของมนุษย์ได้เท่า เพราะมนุษย์ได้ฟัง ได้ซึมซับสั่งสมการอบรมนั้นๆไว้ในวิถีชีวิตตั้งแต่เด็ก
3.นิทานพื้นบ้านทำให้มนุษย์รู้จักสภาพชีวิตท้องถิ่นโดยพิจารณาตามหลักที่ว่าคติชาวบ้านเป็นพื้นฐานชีวิตของคนชาติหนึ่งๆหรือชนกลุ่มนั้นๆ
4.นิทานพื้นบ้านเป็นมรดกของชาติในฐานะเป็นวัฒนธรรมประจำชาติเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์แต่ละชาติแต่ละภาษา มีการจดจำและถือปฏิบัติกันต่อๆมา
5.นิทานพื้นบ้านเป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ เป็นต้นเค้าแห่งศาสตร์ต่างๆและช่วยให้การศึกษาในสาขาวิชาอื่นกว้างขวางยิ่งขึ้น
6.นิทานพื้นบ้านทำให้เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน ช่วยให้คนแลเห็นสภาพของตนว่าคล้ายคลึงกับคนอื่นๆ ความคิดเช่นนี้ก่อให้เกิดความเป็นกลุ่มไม่เกิดการแบ่งแยก
7.นิทานพื้นบ้านเป็นเครื่องบันเทิงใจยามว่างของมนุษย์

อ้างอิงจาก https://paradoxday.wordpress.c...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานชาดก กระต่ายตื่นตูม

กาลครั้งหนึ่ง กระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ใต้ต้นตาล
ขณะที่นอนหลับอยู่นั้น เกิดพายุใหญ่
ทำให้ลูกตาลหล่นลงที่พื้นดิน เกือบถูกกระต่าย
กระต่ายตกใจตื่นขึ้น คิดว่าฟ้าถล่ม ไม่ทันได้ไตร่ตรอง
ลุกขึ้นได้ก็วิ่งไปอย่างสุดกำลัง เพราะกลัวความตาย
สัตว์อื่น ๆ เห็นกระต่ายวิ่งมาจนเต็มกำลังดังนั้น
จึงถามกระต่ายว่า “นี่ท่านวิ่งหนีอะไรมา”
กระต่ายวิ่งพลางบอกพลางว่า “ฟ้าถล่ม”

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/the-false-...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

จุดกำเนิดและวิวัฒนาการของนิทาน

การ ถ่ายทอดเรื่องราวให้แก่กันในหมู่มนุษย์นั้น อาจกล่าวได้ว่าเริ่มขึ้นพร้อมกับการกำเนิดภาษาพูด นับเป็นจิตวิทยาความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ที่ต้องการสื่อสารกับบุคคลรอบข้าง เล่าประสบการณ์ ความเชื่อ ความหวาดกลัว เพื่อแลกเปลี่ยนหรือสืบสานต่อรุ่นสู่รุ่นไปเรื่อยๆ แรกเริ่มทีเดียวนั้น มนุษย์เราเริ่มการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านการสวดมนต์ มนุษย์มักร้องเพลงหรือบทสวดมนต์ขณะกำลังทำงานไปด้วย เพื่อสร้างกำลังใจและความครื้นเครงในกลุ่ม และต่อมาก็พัฒนาขึ้นเป็นการเล่าเรื่องในเชิงสังคม เช่น เพื่อถ่ายทอดความเชื่อหรือศรัทธา การถ่ายทอดค่านิยมทางวัฒนธรรม ด้านการศึกษา การสืบทอดตำนาน เรื่องเล่าปรัมปราต่างๆ หรือด้านเพื่อความบันเทิงดังจะเห็นได้จากนิทาน เป็นต้น

อ่านต่อได้ที่ https://worldfable.wordpress.c...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท