อนุทินล่าสุด


suradon
เขียนเมื่อ

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการพัฒนาระบบบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนี้

2.1แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษา

2.1.1  การจัดการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร

สุมิตรา  อังวัฒนกุล (2540:200 ) กลาวถึงการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสารไวดังนี้

การเรียนรู้เนื้อหาภาษา ควรเป็นภาษาที่ง่าย เหมาะสมกับระดับ และภูมิหลังของผู้เรียน เป็นเนื้อหาที่ผู้เรียนสนใจ บทเรียนที่สอนควรสนุก น่าสนใจสอนในสิ่งที่ผู้สอนมีความรู้ อย่าสอนในเรื่องที่ผู้สอนก็ยังไม่เข้าใจดีพอ ผู้สอนต้องเตรียมตัวอย่างดีก่อนสอน และต้องคำนึงถึงอายุ ทัศนคติ สถานภาพของผู้เรียน นอกจากนั้นแล้วพยายามให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้ภาษาด้วยตนเอง ดังนั้นการสอนภาษาให้ได้ผลข้างต้นจึงสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ได้แบ่งการเรียนรู้ภาษา ดังนี้

1)  ขั้นเสนอเนื้อหา (Presentation or Introducing New Language) จะให้ข้อมูลทางภาษา ฝึกใช้ภาษาตามวัตถุประสงค์ การเสนอเนื้อหาจะเน้นที่การให้ผู้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย และวิธีการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆควบคู่ไปกับการเรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษาโดยเริ่มแรกผู้สอนนำเข้าสู่เนื้อหา จากการเสนอบริบทหรือสถานการณ์อาจใช้รูปภาพหรือเล่าเรื่องให้ฟังแล้วเสนอเนื้อหาทางภาษาโดยให้ผู้เรียนฟังหรืออ่าน จากนั้นผู้สอนกระตุ้นการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่ฟังหรืออ่านเพียงใด และผู้สอนจะต้องอธิบาย แสดงให้ผู้เรียนเห็นว่าเนื้อหาภาษานั้นมีรูปแบบวิธีการใช้ และมีความหมายอย่างไร

2)  ขั้นการฝึก (Practice/Controlled Practice) เป็นการฝึกใช้ภาษาที่เพิ่งเรียนรู้ใหม่ในลักษณะการฝึกแบบควบคุม โดยมีผู้สอนเป็นผู้นำในการฝึกมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนจดจำรูปแบบของภาษาจึงเน้นความถูกต้องของภาษาเป็นหลักเพื่อให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการฝึก นอกจากนั้นผู้สอนต้องให้ข้อมูลป้อนกลับและตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนในด้านความหมายด้วย

3)  ขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Production/Free Practice) เพื่อให้ผู้เรียนได้ลองใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆด้วยตนเอง วิธีการฝึกเป็นการฝึกในรูปของการทำกิจกรรมแบบต่างๆ ผู้เรียนได้เลือกใช้ภาษาสื่อสารได้โดยอิสระ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ผู้สอนเป็นผู้คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือให้ข้อมูลป้อนกลับและประเมินผลการทำกิจกรรม

2.2 ความหมายของศูนย์การเรียน

2.2.1  ความหมายของศูนย์การเรียน

รศ. ประหยัด  จิระวรพงศ์ (2530:132) กล่าวว่า ศูนย์การเรียนหมายถึง ศูนย์ประสบการณ์ที่จัดขึ้นมีความสมบูรณ์ในตนเอง ซึ่งผู้เรียนมีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเองอย่างมีจุดมุ่งหมาย เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่กำลังมีบทบาทต่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งนี้เพราะนักการศึกษามีความคาดหวังว่าวิธีการแบบศูนย์การเรียนจะช่วยแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน และผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนสร้างเสริมพฤติกรรมในด้านการทำงานเป็นหมู่คณะ ความรับผิดชอบ การคิดสร้างสรรค์ และความกล้าหาญในการแสดงความคิดเห็นรวมทั้งการวิพากษ์วิจารณ์ เป็นต้น

  ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523:235) ได้กล่าวถึงการสอนแบบศูนย์การเรียนว่าเป็นระบบการสอนแบบกลุ่มกิจกรรม ซึ่งแบ่งนักเรียนออกเป็น 4-6 กลุ่มมีการประกอบกิจกรรมแตกต่างกันไปตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน โดยใช้เวลา 15-25 นาที สำหรับประกอบกิจกรรมตามคำสั่งในแต่ละศูนย์กิจกรรม จนกระทั่งครบทุกศูนย์

ชม  ภูมิภาค (2524:75) ได้กล่าวไว้ว่า “ความหมายรวบยอดของศูนย์การเรียนอยู่ที่การช่วยให้อนุชนพัฒนาพฤติกรรมของงานภายใต้บรรยากาศแห่งอิสรภาพอันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง”

2.2.2  ประเภทของศูนย์การเรียน

  1)  ศูนย์การเรียนในห้องเรียน (Classroom Learning Center) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  (1) ห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center Class room)  โดยการจัดห้องเรียนให้เป็นศูนย์กิจกรรมสำหรับผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ

  (2) ศูนย์การเรียนในห้องเรียน (Classroom Learning Center) ได้แก่การจัดชุดวิชาต่างๆ ไว้ข้างห้องหรือมุมห้อง โดยแยกเป็นรายวิชาหรือกลุ่มวิชา เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าในเวลาว่าง ซึ่งจะมีวัสดุอุปกรณ์และกำหนดกิจกรรมไว้เพื่อส่งเสริมความสนใจของผู้เรียนที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ในวิชาต่างๆตามต้องการ

    2) ศูนย์การเรียนที่แยกเป็นเอกเทศ (Classroom Learning Center) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

  (1) ศูนย์การเรียนที่ใช้เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับครู ซึ่งนิยมจัดขึ้นในสถาบันเพื่อบริการงานฝึกสอนหรือฝึกงานที่อาจจัดในโรงเรียนที่นักศึกษาครูไปฝึกสอน หรือฝึกงานอีกแห่งหนึ่งก็ได้ และเพื่อเป็นสถานที่ที่นักศึกษาได้พบปะและปรึกษาหารือ ค้นคว้า เตรียมงานต่างๆ หรือทดลองใช้วิธีสอนที่เตรียมไว้ ทั้งนี้ภายในศูนย์มีการจัดโต๊ะเป็นหมู่ มีชั้นเก็บวัสดุอุปกรณ์ มีชั้นวางหนังสือ และมีบริเวณที่ผลิตสื่อ

  (2) ศูนย์วิชาการ (Learning Resources Center) เป็นศูนย์ที่แยกจัดประสบการณ์ทางการเรียนไว้ต่างหาก โดยมีสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ผู้สอนกำหนดไว้ให้นักเรียนได้มีโอกาสค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจและความสามารถ และไม่มีการจำกัดจำนวน วัย และระดับชั้น

    (3) ศูนย์การเรียนชุมชน (Community Learning Center) เป็นการจัดบริการทางวิชาการแก่ชุมชนในสถานที่ที่มีบรรยากาศที่ผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองได้จากศูนย์นี้ ซึ่งแต่ละศูนย์จะมีหน่วยการเรียนอยู่ในลักษณะชุดการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและผู้เรียนในระดับต่างๆ ภายใต้การควบคุมของครู การจัดศูนย์การเรียนตามประเภทต่างๆ ดังกล่าว ทั้ง 3 ประเภทข้างต้นนั้นผู้นำของนวัตกรรมนี้คือ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์  พรหมวงศ์ ที่ได้พยายามเผยแพร่และขยายแนวคิดมาโดยตลอด จนเป็นที่รู้จักในวงการศึกษาของไทย นับเป็นกุศลเจตนาที่น่าสรรเสริญ นอกจากนี้การจัดศูนย์การเรียนในห้องเรียนยังสามารถแบ่งตามสิ่งที่ยึดได้ 3 ประเภทดังต่อไปนี้คือ

  - ศูนย์การเรียนที่ยึดเนื้อหาวิชา โดยการนำลักษณะวิชามาจัด

  - ศูนย์การเรียนที่ยึดสื่อการสอนเป็นศูนย์โสตวัสดุ เป็นสถานที่รวบรวมสื่อประเภทการฟัง เป็นต้น

  -ศูนย์กิจกรรม เช่น ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ศูนย์นักเรียน ซึ่งเป็นศูนย์สำหรับการฝึกเพื่อวางรากฐานที่เลือกสรรแล้วสำหรับการ ประชาสัมพันธ์ หรือการเป็นนักเรียน เป็นต้น

2.2.3  การจัดห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน

1) การจัดห้องเรียน ควรจัดโต๊ะและเก้าอี้เป็นกลุ่มหรือเป็นศูนย์ โดยยึดจำนวนที่ปรากฏในศูนย์กิจกรรม หรือชุดการเรียนคือประมาณ 4-6 ศูนย์และรวมกับศูนย์สำรองอีกหนึ่งศูนย์นับว่าเป็นจำนวนที่กำลังเหมาะสม และมีหมายเลขประจำศูนย์

2) การจัดกลุ่มผู้เรียนแต่ละศูนย์ไม่ควรเกินกลุ่มละ 10 คน และกลุ่มที่เหมาะสมประมาณ 4-6 คน

3) การจัดองค์ประกอบของศูนย์การเรียน ศูนย์การเรียนควรประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนอย่างน้อย 4 อย่างคือ

  (1) แบบทดสอบ เนื้อหาแต่ละหน่วยจะต้องมีแบบทดสอบเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการเรียนประจำหน่วย

  (2) บัตรงานหรือบัตรคำสั่ง เป็นเอกสารที่บรรจุขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมภายในศูนย์แต่ละศูนย์ที่ทำหน้าที่นำทางการเรียนแทนครู ซึ่งควรจะเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย ชัดเจนมีความกระชับและครอบคลุมสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์

  (3) สื่อการเรียน เป็นเครื่องมือหรือวัสดุที่สนับสนุนการเรียนรู้ โดยที่ครูได้จัดสรรอย่างสอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรมแต่ละหน่วย

  (4) เครื่องเขียน หรือกระดาษสำหรับขีดเขียนที่ผู้เรียนสามารถนำไปจดบันทึกหรือทำแบบฝึกหัดในงานส่วนตัว

4) การใช้เวลาเพื่อการศึกษาแต่ละศูนย์ควรจะเท่าเทียมกันทุกศูนย์ ระยะเวลาที่เหมาะสมประมาณ 15-25 นาที

5) การดำเนินการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นคือ

  (1) การสอนเป็นกลุ่มใหญ่ ครั้งแรกครูชี้แจงแนวปฏิบัติในการเรียนแบบศูนย์การเรียน ขอบข่ายของเนื้อหา และการทดสอบก่อนเรียน แล้วแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยเพื่อเข้าศึกษาประจำศูนย์เป็นลำดับ

  (2) การสอนเป็นกลุ่มย่อย เพื่อให้นักเรียนได้เรียนเป็นหมู่คณะ และมีโอกาสผ่านกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ เท่าเทียมกันด้วยการหมุนเวียน ทั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้พลังกลุ่มแก้ปัญหาตามบัตรคำสั่งหรือบัตรงานที่จัดไว้ประจำศูนย์

  (3) การสอนเป็นรายบุคคล เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เรียนช้าได้ซ่อมเสริมข้อบกพร่องของตนในเวลาพิเศษจากกลุ่มเพื่อน หรือนักเรียนที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ก็อาจกลับมาเรียนเป็นส่วนตัวเพิ่มเติมในเวลาพิเศษได้

  (4) หลังจากการเรียนจากศูนย์การเรียนครบทุกศูนย์แล้ว มีการเปิดโอกาสให้พบกันหมดเป็นการสอนแบบกลุ่มใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพื่ออภิปรายและสรุปความรู้ที่ได้เรียนไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง แล้วทำการทดสอบทั้งหมดนั้นหลังเรียนเป็นครั้งสุดท้ายของการเรียนตามปกติโดยวิธีนี้

จากการศึกษาเรื่องศูนย์การเรียนแล้ว ศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จะเป็นศูนย์วิชาการ (Learning Resources Center) เป็นศูนย์ที่แยกจัดประสบการณ์ทางการเรียนไว้ต่างหาก โดยมีสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ผู้สอนกำหนดไว้ให้นักเรียนได้มีโอกาสค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจและความสามารถ และไม่มีการจำกัดจำนวน วัย และระดับชั้น

2.3 หลักการและทฤษฎี

  รศ. ประหยัด  จิระวรพงศ์ (2530:87) ได้กล่าวถึงพื้นฐานทางแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดศูนย์การเรียน มีดังต่อไปนี้

2.3.1 ทฤษฎีสื่อประสม (Multi-media approach) แต่ละศูนย์กิจกรรมควรจัดให้มีการบูรณาการด้วยสื่อหลายชนิดที่สนับสนุนกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนตามวิธีนี้

2.3.2 ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ (Group process) เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้มีบรยากาศที่ดี มีชีวิตชีวาและฝึกฝนสติปัญญาของผู้เรียนได้มากที่สุด

2.3.3 หลักการแก้ปัญหาด้วยตนเองและการเรียนโดยการปฏิบัติ

2.3.4 หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ศูนย์การเรียนจะสร้างบรรยากาศที่ดี ซึ่งสนองความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียน

2.4 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ทศพร ณ เชียงใหม่ (2549:145) ได้ศึกษาค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง การใช้ชุดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนเรื่อง การวัดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ผลการศึกษาครั้งนี้พบวา  การใชชุดการเรียนการสอนแบบศูนยการเรียนเรื่อง การวัด สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 4  ที่สรางขึ้น ทําใหนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดย เฉลี่ยรอยละ 62.76  สูงกวาเกณฑรอยละ 60  ทั้งนี้อาจเปนผลมาจาก พฤติกรรมของนักเรียนที่เรียนดวยชุดการเรียน พบวา นักเรียนมีความสนใจในกิจกรรมปฏิบัติตามคําสั่งได ถูกตอง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหวางนักเรียนกับครู และนักเรียนดวยกันเอง มีความรับผิดชอบในการทํากิจกรรม  และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีตอการเรียนคณิตศาสตร พบวานักเรียนมีความคิดเห็นในระดับที่ดี

เยาวรัตน์  กองตัน (2551:12) ได้ศึกษาค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการศึกษาครั้งนี้พบวา  การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ทำให้นักเรียนมีความสนใจเรียนรู้คำศัพท์ และจดจำคำศัพท์ได้ดีขึ้น นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท