อนุทินล่าสุด


นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
เขียนเมื่อ

นวนิยายใช้เป็นเครื่องสร้างแรงบันดาลใจได้

หลังจากเรืองเดช จันทรคีรี ได้อ่านหนังสือ โลกสดใสฯ ของเราแล้ว เขาแนะให้เราเขียนนวนิยาย แต่เราเฉยๆ สัปดาห์ก่อน อ.เสรี ให้หนังสือนวนิยายอิงเรื่องราวในชีวิตจริงของ "เอริ" มาอ่าน เกิดความเข้าใจว่า นวนิยายก็คือเรื่องเล่าที่มีหลายๆ เหตุการณ์ (หลายฉาก) ดำเนินต่อๆ กันจากต้นจนจบ โดยมีพล็อตใหญ่ไว้ก่อน นวนิยายจึงใช้เป็นเครื่องมือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้หากแต่ละเหตุการณ์ที่เล่านั้นเป็นเรื่องดีๆ นอกจากนี้ ยังสามารถสอดแทรกแนวคิดต่างๆ ผ่านปากตัวละคร จึงสนใจเขียนนวนิยายดูบ้าง แต่แน่นอนว่ายังไม่ใช่ปีนี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
เขียนเมื่อ

พลังแห่งโต๊ะกลม พลังแห่งความเท่าเทียม

หลายปีมาแล้ว ได้ดูหนังเรื่อง King Arthur ที่มีอัศวินนับสิบคนมานั่งประชุมกันรอบโต๊ะกลมตัวใหญ่ที่ทุกคนเห็นหน้ากันหมด ตอนนั้นไม่เข้าใจว่าทำไมต้องใช้โต๊ะกลม เพิ่งมาฉุกคิดเรื่องนี้เมื่อไปนั่งประชุมกับกรรมการสภาสถาบันฯ เมื่อไม่นานมานี้ ที่เขาจัดโต๊ะเป็นรูปตัวยู พอคนที่นั่งด้านเดียวกันพูด เราไม่เห็นหน้าผู้พูด เห็นแต่ประธานหัวโต๊ะกับคนนั่งด้านตรงข้าม การประชุมที่จัดโต๊ะตัวยูไม่มีพลังเท่าโต๊ะกลม มีแต่ประธานที่เห็นหน้าทุกคน จึงได้แนวคิดในการจัดที่นั่งห้องเรียน (room setting) ยิ่งกลมได้มากเท่าไรยิ่งดี หรืออย่างน้อยก็รูปไข่ ห้องเรียนเราไม่มีโต๊ะอยู่แล้ว มีแต่เก้าอี้ ยิ่งจัดง่าย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
เขียนเมื่อ

@75186 ยินดีครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
เขียนเมื่อ

สอนอย่างทำอย่าง!

เมื่อวานไปสอนวิชากระบวนทัศน์ที่บางคนที ตอนเที่ยงนำข้าวกล่องโฟมที่พนักงานจัดเตรียมให้ไปร่วมกับ นศ.ที่โรงอาหาร นักศึกษาทักว่า พวกเราไม่ใช้โฟมแล้ว แต่อาจารย์ยังใช้อยู่ ผมรู้สึกเจ็บปวดพอสมควร เพราะเพิ่งสอนเรื่องนี้ไปหยกๆ ว่าโฟมใช้เวลา ๒๐๐ ปีในการย่อยสลาย รู้สึกตนเองไม่มี integrity คือ สอนอย่างแต่ทำอีกอย่าง หลังอาหารมาสอนต่อ นักศึกษาคนหนึ่งบอกจะบริจาคปิ่นโตขนาดเล็ก ขนาดสำรับละคนกินพอดีให้ ๓๐ เถา รู้สึกขอบคุณเธอมาก เมื่อนำความเรื่องนี้ไปบอกพนักงาน ฟังเสียงสะท้อนแล้วก็ทำให้รู้สึกว่าเรากำลังสร้างภาระอะไรเพิ่มให้เขาอีกแล้ว จากที่เขาแค่โทรศัพท์สั่งข้าวกล่องโฟมจากร้านให้มาส่งง่ายๆ กลายเป็นต้องมีการจัดการเพิ่มขึ้น ศิษย์เก่าในท้องถิ่นคนหนึ่งที่จบ ป.ตรี ไปแล้ว แวะมาเยี่ยมสถาบัน เธอขอเข้ามานั่งสังเกตการเรียนการสอน ป.โท ด้วย เธอให้ข้อมูลว่า บางคนทีเป็นแหล่งจำหน่ายใบตองมากทึ่สุดแห่งหนึ่ง เพราะที่นี่ปลูกกล้วยมาก อาจลองบอกคนขายให้ใช้ใบตอง เรื่องนี้ยังไม่มีข้อยุติ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
เขียนเมื่อ

การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (Learning by Doing)

คำถามที่เกิดขึ้นข้อหนึ่งคือเมื่อแยกจาก "สหวิทยาการ" ออกเป็นสาขาเฉพาะ คือ สุขภาพชุมชน กับ วิทย์-เทคโนฯ เพื่อชุมชนแล้ว ควรจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร?

คำตอบในความคิดผมคือยึดแนวทางหลักของ ม.ชีวิต ที่เคยบันทึกไปแล้วเมื่อวันพุธที่ ๓๑ ธ.ค.๕๑ ในหัวข้อ การเรียนโดยเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง และที่อยากเพิ่มในบันทึกนี้คือ เน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (ไม่เน้นการฟังบรรยายหรือท่องหนังสือเพื่อสอบ)

ความจริงการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำนี้มีการพูดกันมากไม่เพียงแต่ในการศึกษาผู้ใหญ่ ผู้ที่ได้รับการอ้างอิงว่าพูดเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวก่อนเพื่อนคือ จอห์น ดิวอี้ เจ้าของวาทะ Learning by Doing

เราเชื่อว่า การเรียนโดยไม่ได้ลงมือทำ ไม่ทำให้ใครรู้อะไรจริง

นอกจากนี้ การเรียนโดยการลงมือทำจะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ (ต่างจากการฟังหรือท่องเพื่อจดจำความรู้เก่า) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การลงมือทำมาก่อนของคนอื่นจะไม่มีความสำคัญ ปัญหาก็คือเขาทำแล้วได้ผลในบริบทของเขา หากทำในบริบทของเราแล้วจะได้ผลหรือไม่อย่างไร หรือจะเกิดความรู้ใหม่ๆ ต่อยอดขึ้นมาอย่างไร จะรู้ได้ก็ต้องเมื่อได้ลงมือทำจริงในบริบทของเราเองเท่านั้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
เขียนเมื่อ

ทำไมสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนจึงต้องมีหลายสาขา ไม่มีแต่สหวิทยาการอย่างเดียว?

ที่เราเพิ่มสาขาวิชาสุขภาพชุมชนและสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชน เกิดจากระเบียบกฎเกณฑ์ของ สกอ.ที่ระบุว่าจะเปิดสถาบันอุดมศึกษาได้ต้องมีอย่างน้อย ๓ สาขา เราก็เลยมามองที่วิชาเฉพาะของสาขาสหวิทยาการว่ามีกลุ่มวิชาอะไรที่จะขยายเป็นสาขาในตัวมันเองได้บ้าง ก็พบว่ามีกลุ่มวิชา

  • สุขภาพชุมชน
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชน
  • เกษตรกรรมยั่งยืน

แล้วเราก็ประสานกับภาคีและเครือข่าย จนกระทั่งสามารถพัฒนาหลักสูตรในสาขาสุขภาพชุมชน และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชนสำเร็จ

ในตอนนั้นเราคิดถึงอีก ๒ สาขา คือ สาขาเกษตรกรรมยั่งยืน และสาขาเศรษฐกิจชุมชน สาขาเกษตรกรรมยั่งยืนนั้นมีความสำคัญเพราะผู้เรียนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมด้านการเกษตรนั้น แต่เฉพาะหน้านี้ให้รวมเอาไว้ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชนก่อน พร้อมเมื่อไรค่อยแยกออกมา  สาขาเศรษฐกิจชุมชนได้ตั้งทีมทำหลักสูตรขึ้นและมีความคืบหน้าพอสมควร แต่เนื่องจาก สกอ.กำหนดให้มีอย่างน้อยเพียง ๓ สาขา และเราก็มีสาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอยู่แล้ว จะมีสาขาเกษตรกรรมยั่งยืนหรือสาขาเศรษฐกิจชุมชนหรือไม่ก็ไม่มีผลต่อการได้รับอนุมัติให้เปิดสถาบัน เฉพาะหน้านี้เราจึง focus ที่สาขาสุขภาพชุมชนและสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชนก่อนเพราะทั้งสองสาขามีความเป็นไปได้สูงในการ raise fund

สาขาสุขภาพชุมชน เราได้รับความร่วมมือจาก สช.เพราะตรงกับวัตถุประสงค์หลักของ สช.ที่ต้องการเสริมงานสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาวะดังกล่าวจำเป็นต้องสร้างคนที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง(สร้างเสริม)นี้ ซึ่งก็มองไปที่ อสม.

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชุมชน เราได้รับความร่วมมือจาก สวทช. ซึ่งเป็นภาคีก่อตั้ง สสวช. ซึ่งต้องการสร้างผู้นำในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในท้องถิ่นจากคนในท้องถิ่นเอง (ก่อนนั้นได้ทำเรื่องการสร้างนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชาติอยู่แล้ว)

ส่วนสาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นก็ยังคงเน้นด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชนท้องถิ่นแบบรอบด้าน ครอบคลุมทั้งการทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการทุกด้าน การจัดการทุนท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน รวมทั้งด้านการเกษตร สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
เขียนเมื่อ

อายุและอาชีพของผู้เรียนในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต

  • ทั้งหมดเป็นผู้ใหญ่อายุระหว่าง ๒๕ - ๗๐ ปี เฉลี่ยที่ประมาณ ๔๐ ปี
  • ทุกคนมีงานอาชีพแล้ว (หากเข้ามาเรียนโดยยังไม่ทำงานก็ต้องไปหางานอะไรทำจึงจะเรียนได้อย่างมีความสุข) อาชีพของผู้เรียนมีทั้งที่เป็นผู้ประกอบการ และรับจ้าง อาชีพผู้ประกอบการ เช่น เกษตรกร, ผู้ผลิต-แปรรูปสินค้า, ค้าขาย, ผู้ประกอบอาชีพอิสระ, รับเหมา, บริการต่างๆ อาชีพรับจ้าง เช่น รับราชการ ทหาร ตำรวจ พนักงาน-ลูกจ้างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น, พนักงาน-ลูกจ้างเอกชน, รับจ้างทั่วไป (รายวันหรือรายเหมา)


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
เขียนเมื่อ

การเรียนโดยเอาชีวิตเป็นตัวตั้งทำอย่างไร?

  • ชีวิตคนมีทั้งที่เหมือนและไม่เหมือนกับคนอื่น
    ชีวิตชุมชนก็เช่นเดียวกัน
  • ดังนั้น การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้จึงต้องให้มีทั้งที่เหมือนและไม่เหมือนกัน
  • ที่เหมือนกันก็ให้ทำเป็นกลุ่มได้ โดยต้องให้แน่ใจว่าเป็นกลุ่มที่มีอะไรเหมือนกัน จะกี่กลุ่มก็ได้ขึ้นกับชีวิตของพวกเขา
  • ส่วนที่ไม่เหมือนกันก็ต่างคนต่างทำเป็นงานเดี่ยว หรือทำกับครอบครัวตัวเอง
  • โดยทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่มต้องตอบสนองต่อสิ่งที่เขาต้องทำในชีวิตจริง ในชีวิตประจำวันของเขา ในครอบครัว ในที่ทำงาน ไม่ใช่ไปทำอะไร "เพียงเพี่อเป็นแบบฝึกหัด" ให้เขาได้รู้(ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามเผื่ออนาคต)และเข้าใจเนื้อหาสาระทางวิชาการ อย่างที่การสอนแบบเอาวิชาเป็นตัวตั้ง(การศึกษากระแสหลัก)ทำกันอยู่ แนวคิดของการศึกษาผู้ใหญ่แบบของเราคือ "ชีวิตดีขึ้นทันทีขณะเรียน" (ไม่ใช่การเรียนของเด็กเพื่อไปหางานทำในอนาคต)
  • การฝึกทักษะ หากผู้สอนวิเคราะห์แล้วว่าผู้เรียนมีความจำเป็นต้องฝึกทักษะอะไร ก็ถามกันให้ชัดเจนก่อนว่าจำเป็นจริงหรือเปล่า หากมีผู้เรียนคนใดคนหนึ่งไม่ต้องการฝึกทักษะนั้น ก็ต้องถามเขาว่าที่เขาต้องการฝึกคืออะไร เราจะแนะนำให้เขาฝึกอย่างไร ที่ไหน กับใคร ได้ไหม


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
เขียนเมื่อ

Bookmark: โฮมเพจ ดร.เสรี พงศ์พิศ

http://www.phongphit.com

No description

Tags:



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
เขียนเมื่อ

Bookmark: โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต

http://www.rulife.net

No description

Tags:



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท