คำตอบ


อ่านค่านพลักษณ์

Conductor

คำตอบ

ถาม - การอ่านค่า ใช้ลักษณ์ที่ได้คะแนนสูงสุดอันเดียว หรือว่าดูอันที่ได้คะแนนรองๆลงไปด้วย (คะแนนเป็น 7 6 5 ตามลำดับ มันดูไม่ห่างกันนัก)

ตอบ - ผมศึกษานพลักษณ์ตามแนวทางของเดวิด แดเนียล และเฮเลน พาล์มเมอร์ ซึ่งไม่ใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือ แต่ใช้วิธีการสังเกตุตัวเอง และการเข้าร่วมกลุ่มศึกษา สัมภาษณ์กลุ่ม (panel interview) ตามแบบที่เรียกว่า narative tradition หรือประเพณีการบอกเล่าเรื่องราวโดยผู้ที่ค้นพบลักษณ์ของตัวเอง (เพื่อผู้ฟังจะได้เปรียบเทียบกับประสบการณ์ของตัวเอง) และก็ด้วยเหตุดังนี้ จึงไม่มี "ผู้เชี่ยวชาญ" ที่รู้หมดทุกรายละเอียดของทุกลักษณ์ คนที่เป็น expert จริงก็คือเจ้าของลักษณ์นั้นๆ คนอื่นก็ศึกษาทำความเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง  

ผมจึงไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการใช้แบบทดสอบเพื่อค้นหาลักษณ์นัก เคยลองทำแบบทดสอบเหมือนกัน ทำแล้วก็ได้ความรู้สึกเดียวกับคุณ Conductor คือรู้สึกว่าอันนั้นก็ใช่อันนี้ก็ใช่ บางอันคะแนนก็ใกล้เคียงกันมาก ในภายหลังผมเลยไม่สนใจแบบทดสอบไปเลย (แต่ไม่ได้หมายความว่าวิธีการใช้แบบทดสอบไม่ดี หรือใช้ไม่ได้กับคนอื่น) ลูกๆ ผมก็ทดลองกันแล้วได้ผลแบบเดียวกันคือคะแนนเท่าๆ กันระหว่างหลายลักษณ์

อย่างไรก็ตาม ขอแสดงความเห็นเท่าที่พอมีความรู้(และประสบการณ์จากการสังเกตตัวเองและคนใกล้ชิด)อยู่บ้าง ดังนี้ครับ

คน 5 ขับเคลื่อนชีวิต "หัว" หรือการ "คิด" เป็นหลัก (เช่นเดียวกับ 6 และ 7 ที่อยู่ใน "ศูนย์หัว" หรือ "ฐานคิด" ด้วยกัน แต่คิดกันคนละอย่าง) คน 5 มักคิดถึงการขาดแคลน จึงชอบสะสมทั้งสิ่งของและข้อมูลความรู้ คน 5 จึงมีข้อมูลเยอะ จะทำอะไรทีก็ต้อง "หาข้อมูล" ก่อน กว่าจะ "ลงมือ" ทำอะไรทีจึงชักช้า กระทั่งไม่ได้ทำไปเลยก็มี และก็มัก "รู้จริง" หากยังไม่รู้จริงจะไม่แสดงออก หรือบอกเรื่องนั้นแก่ใคร และเลือกด้วยว่าจะบอกใคร ถ้าคน 5 บอกเรื่องที่เขารู้ให้ใคร คนนั้นโชคดีเพราะแสดงว่าเขารักและวางใจ คน 5 แสดงความรักต่อคนอื่นด้วยการ "ให้ข้อมูลความรู้" (โดยที่คน 5 เอง รู้ตัวหรือไม่ก็ตาม) คน 5 เก่งในการแยกข้อมูลออกจากความคิดเห็นและความรู้สึก จึงมักวิเคราะห์อะไรได้ดี ขณะที่แยกความคิดออกจากอารมณ์ความรู้สึกได้นั้น คน 5 กลับไม่เก่งในการเข้าใจความรู้ (ใช้ "ใจ" ไม่เก่ง) จึงมักจะทื่อๆ อ่าน "ความคิด" คนอื่นได้ขาด แต่อ่าน "ใจ" เขาไม่ออก กระทั่งบางคนก็ไม่ในใจที่อ่านใจใครด้วย ความที่คิดเก่งจึงมีเหตุมีผลมีหลักการมาก เถียงกันสู้คน 5 ไม่ได้ในเชิงการคิด(ข้อมูลและเหตุผล) แต่คน 5 ก็แพ้โดยไม่รู้ตัวอยู่ดี คือ คน 5 ไม่อาจชนะ "ใจ" คนใกล้ชิดหรือคู่สนทนาได้ คน 5 (รวมทั้ง 6 และ 7) ไม่เข้าใจเรื่อง "หัวใจมีเหตุผล ที่เหตุผลไม่เข้าใจ) คน 5 จำนวนมากจึงไม่เข้าใจเวลาถูกแซวว่าเป็นพวกไม่มีหัวใจ พวกเย็นชาไร้ความรู้สึก

คน 2 (รวมทั้ง 3 และ 4) เป็นพวกที่ชีวิตขับเคลื่อน(หรือสัมพันธ์กับโลกภายนอก)ด้วย "ใจ" เป็นหลัก หากงานบรรลุเป้าหมายโดยที่คนต้องแตกแยกกัน คน 2 อาจรับไม่ค่อยได้ เพราะเขาเอา "คน" มาก่อน คน 2 เก่งมากในการจับ "ความรู้สึก" คนอื่น คน 2 บางคนสามารถ "รู้สึก" แทนคนอื่นได้เลย (อย่างเดียวกับที่พวกศูนย์คิดชอบคิดแทนคนอื่น จนคิดมากเกินจริงอย่างคน 6 หรือคิดน้อยกว่าความจริงอย่างคน 7) คน 2 ไปรู้สึกแทนใครต่อใครอย่างเดียวไม่พอ take action ด้วย จนบางครั้งเป็นการยัดเยียดไป คน 2 (ที่ไม่ได้ศึกษาตัวเองอย่างดีพอ) จะไม่เข้าใจว่า "การให้" แก่คนอื่นนั้น ลึกๆ แล้วต้องการความรักความสนใจตอบแทน ปูมชีวิตในวัยเด็กมักได้รับความรักเมื่อได้ทำอะไรให้พ่อแม่หรือคนรอบข้างพอใจ คน 2 บางคนยอมเบียดเบียนตัวเองเพื่อทำให้คนอื่นพอใจ กระทั่งยอมสละตัวเอง คน 2 บางคนใช้ความสามารถพิเศษในการเข้าถึงความรู้สึกคนอื่นในการ "หว่านเสน่ห์" เพื่อแลกกับความรักความสนใจหรืออภิสิทธิ์บางอย่าง

คน 1 เป็นพวกสมบูรณ์แบบ ทนความไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีกฏไม่มีเกณฑ์ไม่ได้ จะหงุดหงิด พฤติกรรมภายนอกที่คนอื่นเห็นจึงเป็นแบบขี้บ่นจนถึงแสดงอาการโกรธบ่อย(แต่ไม่รุนแรงเหมือนพวกเบอร์ 8 เจ้าของฉายา "เจ้านาย" ที่ระเบิดความโกรธอย่างรุนแรง แต่หายเร็ว 8-9-1 อยู่ในกลุ่มศูนย์ท้องหรือฐานกายด้วยกัน) คนหนึ่งมักหาอะไรทำทั้งวัน ทำอยู่นั่นแหละเพราะมีสิ่งที่ "สมควรทำ" อยู่ตลอดเวลา (ก็โลกมันไร้ระเบียบ ไม่สมบุรณ์แบบเสียที คนอย่างฉันจึงต้องจัดให้มันเข้าที่เข้าทางเป็นระเบียบ ก็เลยต้องทำ ทำ และทำ อยู่ตลอดเวลา แล้วก็ทำไปบ่นไปด้วย)

คุณคอนดักเตอร์บอกว่าทำแบบทดสอบแล้ว คะแนน 5 มาเป็นอันดับหนึ่งก็อาจเป็นไปได้ว่าเป็นพวก "ศูนย์หัว" (ฐานคิด) ถนัดการใช้ความคิดสัมพันธ์กับโลก และก็ใช้ใจแบบเบอร์ 2 รองลงมา สุดท้ายคือใช้การลงมือทำในสิ่งที่สมควรทำแบบ 1  

การพัฒนาตนเองตามแนวทางนพลักษณ์สายพาล์มเมอร์-แดเนียลที่สำคัญอันหนึ่งคือการสร้างสมดุลย์ระหว่าง กาย-ใจ-หัว  ดังที่แดเนียลเขียนคำนำให้หนังสือของพาล์มเมอร์ว่าเราแต่ละคนเข้าใจตัวตนแห่งบุคลิกภาพของเราเพื่อให้สามารถอยู่กับมันได้ (รู้เท่าทันตัวตนนั้นทุกขณะที่มันทำงานในตัวเรา) แต่มันก็มีประโยชน์ตรงที่มันทำให้เราได้เข้าถึง "ตัวตนแห่งแก่นแท้" ของเราด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชีวิตส่วนบุคคลของเรา "เปี่ยมสุขด้วยดุลยภาพ"

การจัดกิจกรรมการสัมมนา (ที่หมวกเหล็ก)

คนเดินดิน

คำตอบ

การสัมมนาที่มวกเหล็กเป็นกิจกรรมของวิชาสัมมนาปัญหาการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่ง มรภ.พระนคร เป็นผู้รับผิดชอบ (ภาคฤดูร้อนมี ๒ วิชา อีกวิชาหนึ่ง คือ สปช.๒ ที่ สสวช.รับผิดชอบ เรียนที่ศูนย์เรียนรู้ในแต่ละจังหวัด)

จึงขอให้คุณคนเดินดิน (ลุ่มน้ำลำพังชู) สอบถามโดยตรงไปที่ผู้ประสานงานสำนักงานโครงการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มรภ.พระนคร (ซึ่งขณะนี้เปลี่ยนจาก ดร.ณัฐพล เป็น ผศ.ดร.ปราณี) โดยตรงจะดีกว่าครับ จะได้คำตอบที่กระจ่างกว่า คนจัดสัมมนาเขาต้องมีเหตุผลของเขา ลองเสนอความเห็นของนักศึกษาไปดูซิครับ

อีกทั้งประเด็นนี้ ผมขอแนะนำให้นำคำถามนี้ไปตั้งกระทู้ที่เว็บบอร์ดของ www.rulife.net เพื่อที่ว่านักศึกษาคนอื่นหรือศูฯย์อี่นอาจมีความเห็นมาแลกเปลี่ยนกัน

ขอบคุณค่ะ

เบิร์ด

คำตอบ

ยินดีครับ

บันทึกเรื่องความในใจของพ่อคนหนึ่ง (http://gotoknow.org/blog/inspiring/145982?page=1) ที่คุณเบิร์ดเข้าไปเขียนคอมเมนต์เป็นคนแรกนั้น มีคอมเมนต์ตามมาอีกมากมาย คุณช่อผกา วิริยานนท์ ที่จัดรายการวิทยุ อสมท.FM 100.5 Mhz จะนำบันทึกนี้ไปอ่านออกอากาศ 4 ทุ่ม คืนวันอาทิตย์ที่ ๒ ธ.ค. นี้ อ่านเสร็จแล้วจะสัมภาษณ์สดผมทางโทรศัพท์ออกอากาศด้วย ประเด็นสัมภาษณ์คือ "สภาวะสวยงามนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร" คุณเบิร์ดมีคำอธิบายในเชิงจิตวิทยาอย่างไรบ้างครับว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร? (ไม่ซีเรียสว่าต้องตอบนะครับ)

สนใจโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต

pilgrim

คำตอบ
ดูได้ที่เว็บไซต์ของโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตครับ www.rulife.net

สอบถามเรื่องหนังสือค่ะ

โค้ชส้ม Citrus

คำตอบ
เล่มที่ผมมีเขียนโดย Michael J.Gelb ชื่อหนังสือคือ The How to Think like Leonardo da Vinci WORKBOOK. เพื่อซื้อมาฝากจากต่างประเทศ (ถ้าจำไม่ผิดสิงคโปร์ครับ) หลายปีมาแล้ว ปีที่พิมพ์ คือ June 1999 ราคาที่พิมพ์ไว้ที่ปกหลัง เล่มละ US$14.95 ความหนา ๑๘๒ หน้า แต่มีส่วนหลังที่พิมพ์ปกหลังกลับหัวกลับหางเป็นอีกเล่มหนึ่งชื่อ The How to Think like Leonardo da Vinci WORKBOOK. สำหรับให้เราเขียนบันทึกของเราเอง โดยท้ายหน้าแต่ละหน้าของสมุดบันทึกของเราจะมี quotation สั้นๆ แต่สำคัญของดาวินชีและคนอื่นๆ อยู่ท้ายหน้าสำหรับให้เราได้ขบคิดด้วย หนังสือเล่มนี้จึงไม่มีปกหลัง มีแต่ปกหน้า ๒ อัน เหมือนเป็นสองเล่มในเล่มเดียว (two-in-one)หันหลังชนกันอยู่ คุณ citrus ลองดูในอเมซอน http://www.amazon.com/gp/reader/0440508274/ref=sib_dp_pop_toc/103-0877510-5324652?ie=UTF8&p=S00B#reader-link ซึ่งผมแปลกใจว่าทำไมเล่มหนึ่งของใหม่เพียง 10 เหรียญ ใช้แล้ว 3.75 เหรียญ (สั่งซื้อได้)แต่บนปกไม่มีคำว่า Workbook แต่เป็น Seven Steps to Genius Everyday. หรือไม่ก็ลอง search ดูในศูนย์หนังสือจุฬาฯ (www.chulabook.com) หรือเอเชียบุ๊คอาจมี ผมเคยเขียนถึงหนังสือเล่มนี้ไปหน่อยหนึ่ง แล้วว่าจะเขียนโดยละเอียดอีกครั้ง แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้เขียน ข้อความที่เขียนเป็นความเห็นต่อบันทึกของคุณเบิร์ดเรื่อง จินตนาการสำคัญกว่าความรู้จริงหรือ? (http://gotoknow.org/blog/beutifulmemories/88301)ความว่า “...เพื่อนผมคนหนึ่ง (ดร.จันทร์ชัย หญิงประยูร อดีตหัวหน้าสาขาฟิสิกส์ สสวท.) ให้หนังสือผมมาเล่มหนึ่ง หลายปีมาแล้ว ชื่อ The How to Think Like Leonado da Vinci Workbook แต่งโดย Michael J.Gelb หน้งสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นหนังสือสำหรับสำหรับอ่าน แต่เป็นคู่มือสำหรับให้ฝึกปฏิบัติบนหลัก ๗ ประการของดาวินชี ทีละขั้นทีละตอน โดยในแต่ละตอนเริ่มจากการประเมินตนเองก่อน แล้วให้ฝึกโดยตอบคำถาม ฝึกปฏิบัติบ้าง เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องทำคือการจดบันทึกลงในโน๊ตบุ๊ค (แบบที่เราพยายามเขียนกันใน G2K นี้แหละ) มีการฝึกเรื่อง mind maping แบบดาวินชีด้วย มีบทหนึ่ง (บทที่ ๕) ฝึกการสร้างสมดุลย์ระหว่างศิลป์กับศาสตร์ ตรรกะกับจินตนาการ ที่เรียกว่า Whole-brain Thinking ตามที่ดาวินชีสอนให้เรา "Study the science of art and the art of science" หนังสือเล่มนี้น่าสนใจมาก ผมลองดูด้วยตนเองแล้วยังเอาบางอย่างไปเป็นกิจกรรมฝึกนักศึกษาด้วย ผมเคยคิดจะเขียนบันทึกแนะนำหนังสือเล่มนี้แต่ยังไม่ได้ทำ...”

เรียนเชิญที่บล็อกค่ะ

เบิร์ด

คำตอบ

ขอบคุณครับที่เชิญ ผมกำลังอยู่ระหว่าง "เดินสาย" สัมมนาอาจารย์เตรียมเปิดภาคเรียนหน้าในจังหวัดต่างๆ ไม่ค่อยได้เข้าเน็ต เพิ่งมีเวลาเขียนความคิดเห็นตามที่คุณเบิร์ดเชิญวันนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท