อนุทินล่าสุด


ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

การรู้จักใจของเราเอง ก็คือ การบรรลุถึงวิมุตติ (การหลุดเป็นอิสระ) ซึ่งเป็น "ความไม่ต้องคิด"

ความไม่ต้องคิด คือ การเห็นและรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวง (ตามที่เป็นจริง) ด้วยใจที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มพัวพัน เมื่อเราใช้มัน มันแทรกเข้าไปได้ในทุกสิ่ง แต่ไม่ติดแจอยู่ในสิ่งใดเลย สิ่งที่เราจะต้องทำนั้นมีเพียงการชำระจิตให้ใสกระจ่าง เพื่อวิญญาณทั้งหกเมื่อแล่นไปตามอายตะทั้งหก จะไม่ถูกทำให้เศร้าหมอง โดยอารมณ์ทั้งหก เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่ของมันได้โดยอิสระ ปราศจากอุปสรรค และอยู่ในสถานะที่จะ "มา" หรือ "ไป" ได้โดยอิสรภาพ สถานะเช่นนี้มีนามว่า การทำหน้าที่ของ "ความไม่ต้องคิด" แต่ว่า การหักห้ามความคิดถึงสิ่งใด ๆ ให้ความคิดทั้งหมดถูกกดเอาไว้ ย่อมเป็นการกดธรรมะไว้ (ไม่ให้ปรากฏหรือเป็นไปตามที่ควรจะเป็นไป) และข้อนี้ย่อมเป็นความเห็นผิด

(คัดมาจาก "สูตรของเว่ยหล่าง")



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

อธิบาย reset ด้วยธรรมที่เชื่อมโยง

  • ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม / สติสัมปะชัญญะ
  • มีสติอยู่กับปัจจุบัน


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ในสังสารวัฏนี้เราพอกพูนความรู้ผิดเข้าใจผิดเอาไว้มาก ดังนั้นกว่า จิต จะยอมจำนนกับข้อเท็จจริงว่า "เราไม่มี มีแต่รูปนาม และรูปนามไม่เที่ยง เป็นทุำกข์ หรือเป็นอนัตตา" ได้ ก็ต้องหมั่นป้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรูปนามให้จิตดูเนือง ๆ จนจิตยอมรับความจริงด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยการน้อมใจเชื่อโดยการคิดพิจารณา หรือด้วยการบังคับจิตให้เชื่อ


แท้จริงการเจริญวิปัสสนา ก็คือ การเอาของจริงคือรูปกับนามมาให้จิตดู จนจิตยอมจำนนกับข้อเท็จจริง และหมดความเข้าใจผิดและความยึดถือว่า รูปนามเป็นตัวเราของเราไปเองหนอ



ความเห็น (1)

นั่นหมายความว่า ต้องให้เห็นทั้งสุข และทุกข์ ไม่ใช่เอาแต่สุข แต่ปฏิเสธทุกข์

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา ขันธ์ 5 เป็นเพียงร่างของกิเลส+ตัณหา+อุปาทาน



ความเห็น (1)

ขันธ์ ๕ : รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นร่างของ กิเลส ตัณหา อุปาทาน

กิเลส : เครื่องทำให้ใจขุ่นมัว

ตัณหา : อยากมีสุข อยากให้ทุกข์ออกไป

อุปาทาน : ยึดมั่น ถือมั่น ในขันธ์

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

คืนวันที่ 27 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่สัมผัสได้ถึงความว่าง (ชั่วคราว) ของขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

ขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ไม่มีความเป็นตัวเป็นตน สัตว์ บุคคล เรา เขา

แต่ถ้าเราเผลอเข้าไปยึดว่าเป็นเราคราใด ตัวตนของเราก็จะก่อตัวขึ้นมาทันที เมื่อมีตัวตนขึ้นมา ความทุกข์ก็จะเข้ามาเยี่ยมแน่นอนในไม่ช้าหนอ



ความเห็น (3)

เมื่อเห็นขันธ์เป็นความ "ว่าง" แล้ว ตัวตนมันก็หายไปอัตโนมัติ หาอย่างไรก็หาไม่เจอ

เมื่อไร้ตัว ไร้ตน เจ้าความทุกข์มันก็ไม่มีที่เกาะหนอ

ได้แต่รอดูว่า มันจะว่า ถาวร หรือ ว่างชั่วคราว หนอ 555

  1. ขันธ์ก็เป็นขันธ์อยู่อย่างนั้น เราอย่าเข้าไปยึดมั่นถือมั่นหนอ
  2. โดยปรมัตถ์แล้ว ขันธ์ ก็คือ "ความว่าง" ด้วยหรือนี่

รูป ก็เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย

เวทนา ก็เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย

สัญญา ก็เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย

สังขาร ก็เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย

วิญญาณ ก็เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย

ต่างก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปหนอ

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

จิตเดิมแท้ของเรา เป็น พุทธ อยู่แล้ว เพีียงแต่ถูกเมฆหมอกแห่งความคิดมาปิดบังเอาไว้

ปล่อยวาง ความคิด หยุด การแสวงหา ปล่อยวาง ความยึดมั่นถือมั่น หนอ



ความเห็น (2)

ปล่อยวางความคิด ด้วยการดู แล้วก็วาง ให้เป็นผู้ดู อย่าเข้าไปเป็นอะไร กับอะไรทั้งนั้น

หยุดการแสวงหา หยุดแม้กระทั่งการแสวงหาความสงบ เพราะทุกการแสวงหานำไปสู่ความเกิด

ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น เพราะทุกความยึดมั่นถือมั่นจะต้องถูกทำลายไปเสมอ

ให้เป็นผู้ดู

แต่อย่าเข้าไปเป็นอะไร กับอะไรทั้งนั้น

หนอ

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นสมมติ หรือ มายา นั่นเอง

สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงเป็นทุกข์

มี "เรา" เมื่อไหร่ จันไรเมื่อนั้น

ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕

กาย + จิต = เรา ? จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ดิน + น้ำ + ลม + ไฟ = กาย รูป + เวทนา + สัญญา + สังขาร + วิญญาณ = จิต = ขันธ์ ๕

ทำอย่างไรถึงจะเห็นและเข้าใจว่า กาย ไม่ใช่ เรา แต่เป็นการประชุมกันตามเหตุปัจจัย (ยีนส์) ของดิน น้ำ ลม ไฟ หนอ

ทำอย่างไรถึงจะเห็นและเ้ข้าใจว่า ใจ ไม่ใช่ เรา หนอ ขันธ์ก็คือ ขันธ์ ใม่ใช่เรา อุปทานขันธ์ ๕ ไปยึดมั่นถือมั่นว่า ขันธ์นั่นเป็นเราหนอ มี เรา มี ตัวตน ก็มีทุกข์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ครั้งหนึ่ง หลวงปู่มั่น ภูริทัตเถร เคยให้โอวาทที่ลึกซึ้งแก่หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ว่า "ติดดี แก้ยากกว่าติดชั่ว"

คำพูดนี้ อาจดูจะฝืนความรู้สึกของหลาย ๆ คน
แต่หากมีประสบการณ์มากเข้า ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงคนเข้าวัดฝึกหัดอบรมตน เราก็จะได้เห็นตัวอย่างที่ช่วยยืนยันคำพูดของหลวงปู่มั่น ว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ

โอวาทของหลวงปู่มั่นข้างต้น จึงมีค่าอย่างเหลือล้น เพื่อใช้เป็นสิ่งเตือนจิตเตือนใจตัวเองไม่ให้หลงติดความดีที่ตัวเองบำเพ็ญ ไม่หลงว่าตัวเราดีแล้ว เก่งแล้ว บรรดาหมู่คณะ ไม่มีใครเคร่งเท่าเรา ไม่มีใครก้าวหน้าในการปฏิบัติเท่าเรา ฯลฯ

พอความ "หลงดี" หรือ "ติดดี" เกิดมากขึ้น ก็จะพาให้ลืมเป้าหมายการปฏิบัติว่าแท้จริงแล้ว เราทำไปก็เพื่อให้หมด "ตัวเรา" แล้วยังจะมี "เรา" ที่เก่งกว่า ดีกว่า อีกหรือ แล้วเจ้าตัวติดดีนี้ก็จะทำให้เราเป็นชาล้นถ้วย ใคร ๆ เตือนก็ไม่ฟัง
สำคัญว่าฉันเข้าวัดมาก่อน ฉันใกล้ชิดครูบาอาจารย์มากกว่า ฉันนั่งสมาธิเดินจงกรมมากกว่า ฉันรู้ข้อธรรมะมากกว่า ฯลฯ

เป็นเรื่องจริงว่าในระยะต้นของการปฏิบัติ เราอาจจะปวารณาตัวขอให้หมู่คณะแนะนำตักเตือนได้ แต่พอถึงเวลาที่กิเลสขึ้นขี่หัวแล้ว มันทำไม่ได้หรอก ใจมันไม่เปิดรับแล้ว... โอ๊ย แกเป็นใคร เพิ่งจะเข้าวัด จะมีปัญญาอะไรมาเตือนฉัน สอนฉัน ฉันรู้มากกว่าแกตั้งเยอะ ฉันเข้าวัดมากี่ปี แล้วแกเพิ่งจะข้าวัดมากี่ปีเอง ฉันอยู่ใกล้ชิดครูบาอาจารย์มาตั้งนาน ฉันนี่ศิษย์ก้นกุฎิตัวจริงเลยนะ ฯลฯ

แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นคนติดดีก็คือ ให้ยึดหลักที่พระพุทธองค์และหลวงปู่ที่ว่า "จงคอยเตือนตนด้วยตนเอง" อยู่เสมอ ๆ ว่าเราปฏิบัติเพื่อละโลภ โกรธ หลง การจะให้ใคร ๆ มายกย่องว่าเราเก่งเราดี อย่าให้มีในจิตใจ หากมันผุดขึ้นมา ก็ให้ละมันเสียด้วยการรู้เท่าทัน การมีการเป็น ไม่ใช่เป้าหมาย มุ่งละกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวมานะที่ชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น จับผิดคนอื่น ออกจากจิตใจ บอกตัวเองว่าฉันจะ ปฏิบัติอย่างคนโง่ ไม่สำคัญตนว่าดีแล้ว รู้แล้ว ตามที่หลวงปู่แนะนำ

เช่นนี้แล้ว จึงจะพอมีทางให้ปฏิบัติไปได้ตลอดรอดฝั่ง ผ่านพ้นภาวะติดดี เพราะ ถ้าติดดีขึ้นมาแล้ว มันแก้ยากกว่าติดชั่วเสียอีก

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

อนิจจัง

ทุกขัง

อนัตตา

(หมั่นพิจารณาบ่อย ๆ)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

แก้วมังกร สู่ การปราบมังกรอันดุร้าย ให้เป็นแก้วที่ทรงคุณค่า

แก้ว ทำให้เรามั่นใจ ในแก้ว
ทางไปสู่แ้ก้ว ต้องขี่มังกรไปหนอ
เพราะมังกรขนปัญญามาหนอ
ธรรมมากับทุกข์นั่นเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

สภาวะใจ :

1. ว่าง หลังจากเดินมรรค

2. วุ่น หลังจากเปื้อนเหตุทางโลก

 

ว่าง แล้ว วุ่น หนอ

วุ่น แล้ว ว่าง หนอ

 

เพราะธรรมชาติ คือ หนาวแล้วร้อน ร้อนแล้วหนาว วุ่นแล้วว่าง ว่างแล้ววุ่น สุขแล้วทุกข์ ทุกข์แล้วสุข เป็นธรรมดา เพราะมันเป็นเช่นนี้หนอ เรากลับอยากให้มีแต่สุข ให้มีแต่ว่าง มันก็ผิดธรรมชาติหนอ

 

สุขก็ต้องยอมรับสุข

ทุกข์ก็ต้องยอมรับว่าทุกข์

เพราะมันเป็นเช่นนี้เองหนอ

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

 

ตื่นขึ้นมาพิจารณาจิตเดิมแท้ ว่าเป็นอย่างไรก่อน
ถูกบดบังด้วยความคิด ความฝันหรือไม่อย่างไร

ค่อย ๆ ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในความคิดความฝันต่าง ๆ นั้นไปเรื่อย ๆ

 



ความเห็น (1)

อ้อ! การปล่อยวาง เป็นการซ้อมปล่อยให้คล่อง เพื่อจะสามารถปล่อยวางสิ่งยากขึ้นไปอีกหนอ

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

จิตเดิมแท้

สุญญตา

หยุดคิดปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น



ความเห็น (2)

จิตเดิมแท้คือพุทธะ เมื่อเกิดเวทนาก็เกิดปรุงแต่ง เกิดพบเกิดชาติ ชรา มรณะ ท่านโฮงโป กล่าวไว้ว่าตัดสังขาร(เห็นก็สักแต่ว่าเห็นฯ) นั้นแหละ ท่านเข้าถึงพุทธะ (ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน)

สาธุ สาธุ ครับท่านอาจารย์

 

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

"ความว่าง" ไม่ใช่สภาวะ จึงเข้าถึงไม่ได้ด้วยการคิดและการแสวงหา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ความคิดปรุงแต่ง คือ ความไม่รู้จักสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง แล้วก็เกิดความคิดขึ้นเป็นรูปต่าง ๆ เืรื่อยไป ด้วยอำนาจของความไม่รู้ ผสมกับอำนาจของสิ่งแวดล้อมปรุงแ่ต่งอยู่

โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ
  • หลังจากที่เพียรทำความเข้าใจว่า "ความคิดปรุงแต่ง" คืออะไรกันแน่ ? วันนี้ใกล้คำตอบเข้าำไปทุกที ทุกที แล้วครับ
  • ความคิดปรุงแต่ง เหมือนและต่างจาก ปัญญา อย่างไร ?
  • จะเมฆดำ หรือ เมฆขาว ต่างก็ล้วนปิดบังแสงแห่งดวงอาทิตย์ด้วยกันทั้งนั้น


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

@91597  

  • แต่ละชุมชนจะมีความพร้อมในระดับที่ต่างกัน 

 โดยอาจสามารถกำหนดกรอบการพัฒนา 3 ขั้นตอน มีรายละเอียด ดังนี้

          ขั้นที่ 1 ก่อเกิดจิตสำนึกในการพึ่งพาตนเองของสมาชิกชุมชน 

          ขั้นที่ 2 ขับเคลื่อนสู่การรวมกลุ่มพึ่งพาซึ่งกันและกันในชุมชนและ ระหว่างชุมชน 

          ขั้นที่ 3 พัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนและเชื่อมโยงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน โดยใช้กิจกรรมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนา

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

กำลังเข้าร่วมสังเกตุการณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ "แนวทางการพัฒนาครอบครัวต้นแบบสู่เศรษฐกิจพอเพียง" ณ อบต.นาข่า อ.วาปีประทุม จ.มหาสารคาม

ถอดความรู้เบื้องต้นได้ดังต่อไปนี้ครับ

1. วิธีการบูรณาการทำงานร่วมกันแบบมีส่วนร่วมของฝ่ายต่าง ๆ ทั้งระดับชุมชน อบต. อำเภอ และจังหวัดทำอย่างไร ?

2. การนำเสนอประสบการณ์ปฏิบัติโดยชาวบ้านเอง เป็นวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ใกล้เคียงวิถีชีวิตของชุมชนนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี

3. เท่าที่ได้สัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน พบว่า การถือศีล เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญ ที่ช่วยปรับใจให้พอ พอใจ ใจที่พอ พอที่ใจ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการก้าวเดินสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง



ความเห็น (1)
  • กระบวนการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชน มิติทางด้านการส่งเสริมสนับสนุนและการให้ความรู้ควรสมดุลควบคู่กันไป

 

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

@86861 จะพยายามทะยอยเขียนเป็นตอนไว้ใน Gotoknow นี้ก่อน
แต่ก็ไม่มั่นใจว่า จะทำได้ดีหรือไม่เพียงใดน้อ 555



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

สภาวธรรมแห่งวัฏสงสารนั้นไร้แก่นสาร
ก่อให้เกิดความปรารถนาและความขุ่นข้อง
สรรพสิ่งที่เราปั้นแต่งล้วนปราศจากความจีรัง
ด้วยเหตุนี้ จึงควรแสวงหาสัจธรรมอันล้ำค่า
สภาวธรรมของจิตนั้นไม่อาจเห็นค่าความหมายของอจิตได้
สภาวธรรมแห่งกรรมย่อมไม่อาจประจักษ์ในอกรรมได้

 

หากเจ้าต้องการจะบรรลุถึงอจิตและอกรรม
เจ้าย่อมตัดขาดรากเหง้าแห่งจิต
และปล่อยให้ดวงวิญญาณดำรงอยู่อย่างเปล่าเปลือย
จะปล่อยให้น้ำอันขุ่นข้นแห่งเจตสิกใสกระจ่าง
ไม่จำเป็นต้องระงับยับยั้งความรู้สึกนึกคิด
แต่ปล่อยให้มันสงบลงตามกาล
หากไร้ซึ่งการดึงดูดหรือผลักไส
เจ้าจะหลุดพ้นในมหามุทรา

เมื่อพฤกษาผลิใบและกิ่งก้าน
หากเจ้าบั่นรากมันเสีย ใบและกิ่งก้านย่อมร่วงโรยลง
เช่นเดียวกัน หากเจ้าตัดรากถอนโคนของจิต
ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายย่อมเสื่อมทรามลง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

มองดูที่สภาวธรรมของโลก
ความไม่เที่ยงแท้นั้นคล้ายดังภาพมายาหรือความฝัน
แม้แต่ภาพมายาหรือความฝันนั้นก็ไม่มีอยู่จริง
ด้วยเหตุนี้ เจ้าจงมุ่งสู่การสละละ
และปล่อยวางซึ่งสิ่งร้อยรัดทางโลก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

เป็นอิสรจากความคิด

ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่กับความคิด

ละทิ้ง ให้ ว่าง

ว่างเข้าสู่สมาธิ

เกิดจิตปัญญา

 

ไม่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

จิตท่านย่อมลุถึงความไม่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ไม่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ เป็นจิตอิสระไม่เกี่ยวเนื่องอยู่กับสภาวะใด ๆ

ปัญญาบารมีที่แท้ คือ การปล่อยวางไม่ยึดมั่นสิ่งข้องทางโลก ดำเนินชีวิตด้วยสติ สมาธิ ปัญญา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

จะคิดก็คิดไป เราจะแค่ "ดู"

แล้วก็ "วาง" เพื่อ "ว่าง"

ยกใจขึ้นไป ไม่ให้อะไรเกาะติด

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

จิตอิสระ

ไม่ยึดมั่นผูกพันจิตใจอยู่กับสิ่งใด ๆ

ไม่ยึดมั่นอยู่กับ "สัญญา" หรือ ความจำได้หมายรู้ใด ๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท