อนุทินล่าสุด


ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันที่ ๑๗ มกราคม๒๕๕๕เวลา ๙.๓๐ น.เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัย สาระสำคัญคือ การพิจารณาเรื่องการเปิดป้ายโรงเรียนใหม่ การระดมทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยจัดเป็นกองผ้าป่า ข้าวเปลือกและยางพาราแผ่นใหญ่ กำหนดวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา๐๙.๐๐ น.เป็นต้นไป งานนี้ได้รับความเมตตาจากเจ้าคณะจังหวัด, รองเจ้าคณะจังหวัดและบุคลากรของมหาจุฬาฯอุบลราชธานี ตลอดทั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่๒๙ เป็นอย่างดียิ่งในการให้ข้อมูล จึงขอขอบคุณทุกไว้ ณ โอกาสนี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

ได้เข้าชมบล๊อกของท่านอาจารย์วิจารณ์ พานิช ท่านได้เขียนไว้ดีมาก เกี่ยวกับบทบาทของสภามห่วิทยาลัย ประกอบกับภาพถ่ายการประชุมสภากลางทุ่งนา เป็นภาพสะท้อนสังคมไทยที่ที่มีทั้ง Gobal /Local ได้เป้นอย่างดี ปราชญ์ทางการศึกษาที่เป็นภูมิปัญญาของชาติเหล่านี้ การเข้าถึงข้อมูลของท่านเป็นไปได้ยากมาก เป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้ที่สุดยอดที่ท่านได้กรุณานำมาถ่ายทอดใน Leanning Communities นี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่ ๒ ของปีใหม่ ได้ทำการสอนนิสิตชั้นปีที่๔ มหาจุฬาฯอุบลฯ รายวิชาการศึกษาท้องถิ่นเชิงประวัติศาสตร์ มีบทที่ว่าด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงได้มอบหมายให้นิสิตได้ไปสืบค้นวรรณกรรมอีสานที่เป็นคติธรรม มีอยู่เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมาก หากมีเวลาจำนำมาเล่าสู่ฟัง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ ได้เข้าประชุมในฐานะเป็นกรรมการสภา มหาจุฬาฯอุบลราชธานี มีเรื่องเสนอเพื่อพิจารณา ๔ เรื่องคือ ๑)การเตรียมงานฉลองครบรอบ ๒๕ ปี ๒)การสรรหาผู้สมควรได้รับเข็มและปริญญากิตติมศักดิ์ ๓)การยกฐานห้องเรียนเป็นวิทยาลัย ๔)การทำ MOU ทางการศึกษากับแขวงจำปาสัก(สปป.ลาว)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันที่ ๙ มกราคม ๕๕ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะเป็นกรรมการดำเนินงาน และกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาของ ม.มหาจุฬาฯ ที่ประชุมมีพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี เป็นประธาน สาระการประชุมคือการสร้างความเข้าใจ จิตสำนึกในเรื่องประกันแก่บุคลากร งานประกันคือส่วนหนึ่งของงานประจำ ทุกตำแหน่งงานต้องประกันตนเอง

   แม้จะเป็นการศึกษาสงฆ์แผนใหม่ ภายใต่้ระบบการศึกษาไทยที่ใช้งบประมาณรัฐ ก็จำเป็นต้องทำตามระบบอันเป็นที่ยอมรับของสังคมในยุคนั้นๆ  จากนั้นได้เดินชมดูสภาพทั่วไปของม.มหาจุฬาฯ เห็นแต่คราบรอยน้ำตาฟ้า ที่ท่วมทับ 
   ปัจจุบัน ม.มหาจุฬาฯ มีสาขา ๑๐ วิทยาเขต ๗ วิทยาลัยสงฆ์ ๔ ห้องเรียน ทั่วประเทศ


ความเห็น (1)
  • มาที่วังน้อยหรือที่ท่าพระจันทร์ครับอาจารย์
ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ เป็นวันเปิดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาที่ ๒๙ ที่สี่แยกทางเลี่ยงเมือง ถนนสมเด็จ ต.กุดลาด อ.เมืองอุบลฯ โดยมีท่านอนันต์ ระงับทุกข์รองเลขาธิการ เป็นประธานในพิธี มีพระครูสิริสุตวิมล เจ้าอาวาสวัดมงคลโกวิทารามเป็นประธานคณะสงฆ์ พื้นทีดินทั้งหมด ๕ ไร่ อบ.ต.กุดลาดได้มอบให้โดยการนำของนายบัวผัน สุขนิจ นายก อบ.ต.โดยการประสานของท่านวีระพงษ์เดชบุญ กับคณะ

เป็นส่วนราชการที่ขยับขยายออกจากตัวเมือง ซึ่งมีส่วนราชการที่อยู่ใกล้เคียงเช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯอุบลราชธานี โรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์๓๒ โรงพยาบาลสงฆ์ เป็นต้น


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันนี้ที่๑๒ ตุลาคม๕๔ เป็นวันที่พระท่านปวารณาออกจากพรรษา คือการบอกต่อกันว่า ต่อแต่นี้ไปหากมีการกระทำสิ่งหนึ่ง ประการใดอันเป็นการไม่เหมาะสม ขอท่านจงติเตือนข้าพเจ้าด้วย นี้คือสัจจะที่พระให้ต่อกัน ในวันนี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท