อนุทินล่าสุด


ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

โคก หนอง นา : ปรัชญาที่กินได้ การระบาดของโรคโควิต หลายชีวิตต้องต้องเป็นอยู่แบบเรียบง่าย สิ่งที่เคยได้ก็หายหด ลดภาระการใช้จ่าย เพราะทุกหน่วยต่างปิดตัวลงงดให้บริการ ภายใต้ความวิกฤติของโรคภัย ที่กระจายไปอย่างรวดเร็วด้วยการสัมผัส รัฐเองก็พยายามหามาตรการเพื่อป้องกันจนได้วัคซีนที่สามารถบรรเทาได้ คือ พรก.ฉุกเฉิน และร่ายยาวมาจนถึงปัจจุบัน หากแต่เป็นที่รำคาญของผู้ประกอบการหลากหลายอาชีพ แต่ยังมีอีกกลุ่มอาชีพหนึ่งที่พึ่งพาตนเอง แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็ไม่วายที่จะโดนเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มชนชั้น คือกลุ่มเกษตรกร ไม่ว่าราคาของผลผลิต ต้นทุนการผลิต ที่สำคัญคือแหล่งน้ำ ถึงแม้รัฐจะพยายามเข้ามาช่วยเหลือด้วยการขุดบ่อ แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะขาดการวางแผนเกี่ยวกับชลประทาน ประชาชนจึงจนต่อไป เพราะการทำเกษตรเชิงเดี่ยว กลุ่มที่พอมีทุนได้พยายามปรับพื้นที่ของตนเองให้เหมาะแก่การทำเกษตรแบบผสมคือกลุ่มโคก หนอง นา ด้วยการปรับที่ดินให้เป็นสามส่วน คือมีโคก มีหนองน้ำ และมีนา ในโคกนั้นมีทั้งป่าหมาก ป่าพลูและสัตว์ลี้ยง ในน้ำนั้นมีสัตว์น้ำทุกชนิด และในนาก็ทำข้าว ปีละสองครั้ง ตัวอักษรหรือข้อความเหล่านี้ มันเป็นเพียงหลักการ ทฤษฎี หรือปรัชญา เท่านั้น หากแต่นำไปสู่การปฏิบัติ มันจึงเป็นหลักปรัชญาที่กินได้ ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ


วันที่ ๒-๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖ กำหนดเดินทางไปศึกษาดูงานที่จีน ถึงสิบสองปันนา

วันที่ ๙-๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เดินทางเข้ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ วังน้อย เพื่อร่วมออกข้อสอบกลางวิชา งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา



ความเห็น (1)

อยากนั่งเรือล่องโขงไปสิบสองปันนาจัง  กลับมาอาจารย์นำเรื่องสิบสองปันนามาลงบันทึกให้อ่านบ้าง

นะ  ขอบคุณล่วงหน้าจ้ะ

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

๘ มิย.๕๖ บุญบั้งไฟ บ.กระโสบ

๑๕ มิย. บุญบั้งไฟ บ.เค็ง

๒๑ มิย.ประชุมเตรียมเปิด ป.โท ที่ วปญ.

๒๙ มิย. วันเกิดบอสส์ (ลูกชายกลาง) และงานวันครบรอบสถาปนา วข.๒๖ปี


 



ความเห็น (2)

สุขสันต์วันเกิดให้กับหลานชาย (คนกลาง)จ้ะ

สวัสดีค่ะท่านผศ.สุพิมล...แวะมาทักทาย...สุขสันต์วันเกิดให้กับหลานชาย (คนกลาง)ค่ะ

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

๙พฤษภาคม ๕๖ วันครบรอบวันเกิด ๔๙เต็ม ทำบุญที่บ้าน

๑๑-๑๕ พ.ค.๕๖ เดินทางไปเวียดนามใต้ ขึ้นเครื่องที่สุวรรณภูมิ คณะ๖ คน

๓๐-๓๑ พ.ค.นำเสนอรายงานความก้าวหน้า งานวิจัยที่ วข. หนองคาย

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

๖ เมษายน๕๖ ร่วมทำบุญอุทิศ ศิษย์เก่าอุตโม ที่วัดธตุขอนแก่น

๘ เมษายน ๕๖ ทำบุญอุทอศส่วนกุศล ให้พ่อหนู ศรศักดา ที่บ้านเกิด

๙ เมษายน ๕๖ พบปะสังสรรค์กับญาติธรรมสกุลศรศักดา ที่ร้านบัวเงิน

๑๓-๑๕ เมษายน ๕๖ ร่วมสงน้ำญาติผู้ใหญ่ในอุบล

๑๖-๑๙ เมษายน๕๖ เดินทางไปเวียดนามกลาง ทัศนศึกษาเก็บข้อมูลงานวิจัย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

๑๒ มีนาคม ๕๖ นำเสนอรายงานการวิจัยรอบแรก

๑๓-๑๕ มีนาคม ๕๖ สมศ.เข้าตรวจ มจร.

๑๗-๒๐ มีนาคม ๕๖ ออกเก็บข้อมูลภาคสนามกับรศ.สมบูณ์ บุญฤทธิ์

๒๑-๒๕ มีนาคม๕๖ เดินทางเก็บข้อมูลที่เวียดนามเหนือ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันที่ ๒-๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ ขอเชิญไปเที่ยวงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ที่อุบลราชธานี ยินดีต้อยรับทุกๆท่านครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

ภาระกิจในช่วงเดือนกรกฎาคม ๕๕มีดังนี้

๔-๖ ก.ค. ต้อนรับคณะตรวจประเมิน ที่ มจร.วข.อุบล

๘-๑๐ ก.ค. ออกข้อสอบกลางวิชางานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา

๑๒-๑๔ ก.ค. ตรวจประเมินฯ ที่คณะมนุษยศาสตร์ มจร.วังน้อย

๑๖ ก.ค. เสนอรายงานวิจัยงวดที่ ๑

๑๗ ก.ค. ประชุมร่วมศูนย์บัณฑิตศึกษา ที่มจร.วข.สุรินทร์

๑๙-๒๑ ก.ค. ตรวจประเมินฯที่คณะสังคมศาสตร์ มจร.วังน้อย

๒๒-๒๕ ก.ค. ไปทัศนศึกษา ที่ประเทศ สหภาพพม่า

๒๖-๒๗ ก.ค. ประชุมทำ มคอ.๓ ที่ มจร.วข.อุบล

๒๘ ก.ค. บรรยายที่จังหวัดอำนาจเจริญ

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

ทบทวนบทบาทผู้ตรวจประเมิน วันที่๑๖-๑๗พฤษภาคม๒๕๕๕ มจร.ได้จัดสัมมนาการทบทวนบทบาทผู้ตรวจประเมินทั่วประเทศที่ ห้อง๔๐๑ ตึกอธิการบดี มจร.วังน้อย วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนบทบาทการตรวจประเมินในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมในการออกตรวจในรอบปีและเพื่อปิดจุดอ่อนเสริมสร้างจุดแข็งให้แก่ผู้ตรวจประเมิน เมื่อได้มาพบกัน หลายท่านเปลี่ยนไปทั้งวัย และบุคลิคท่าทาง น้ำเสียง จากการได้สนทนาแนวคิดก็เร่ิงเปลี่ยนด้วย จะเป็นเพราะการศึกาาที่ปลี่ยนแปลงหรือเพราะแรงกดดันภายในไม่ทราบได้ หากแต่ว่านักประเมินเหล่านี้ ต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมสถาบัน หากทำอย่างตรงไปตรงมาจะช่วยกันรักษา หากทำไปเพื่อหน้าตา มหาจุฬาอาจไม่ยั่งยืนยง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

เที่ยวสงกรานที่ไหนสนุก การเที่ยวงานวันสงกรานต์จะให้สนุกต้องรู้หลักของประเพณี คือวัตถุประสงค์เขาจัดขึ้นเพื่ออะไร คือการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ที่ว่าสูงอายุเอาอะไรเป็นเกณฑ์ บ้านเราโดยประมาณคือลุงป้าน้า อาร์ ที่อายุ๕๐ ปี ขึ้นไป นั่นแหละ จะทำภายในครอบครัวที่ลูกหลานมาจากต่างถิ่นแดนใกล ร่วมกันทำ หรือจัดขึ้นเป็นส่วนรวมโดยมีเจ้าภาพหลัก และการเข้ามามีส่วนร่วมจากทุกหลังคาเรือน เป็นการขอศีลขอพรจาผู้เกิดเก่า เฒ่าก่อน

ลูกหลานที่ได้ทำการอันไม่เหมาะไม่ควร อาจจะล่วงเกินท่านด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งที่เจตนาหรือไม่เจตนา ก็ขออย่าได้ถือโทษโกรธเคือง ขอให้งดโทษนั้นเสีย อันนี้เป็นการกล่าวต่อหน้าขอต่อหน้า และเป็นการให้ต่อหน้ากัน ยังมีชีวิตอยู่ ทำไปให้โลกรู้ไม่เสียหาย แต่มีลูกหลานจำนวนมากไม่เข้าใจ โน้นพอพ่อแม่ล้มเสียหายตาเสียจาก จึงมาเก็บดอกไม้ จุดธูปเทียนขอขมาลาโทษท่าน อันนี้ไม่รู้ว่าท่านจะให้อภัยหรือเปล่า เพราะว่าตั้งแต่เกิดมา ได้ทำการอันไม่เหมาะไม่ควรไว้ตั้งมากโข 
นี้แหละนคือวัตถุประสงค์หลักของการรดน้ำสงกราต์ ส่วนที่ไปเที่ยวสาดน้ำใส่กันให้เปียก กินของเมาให้มันมึน แล้วทำเป็นสนุกจนลืมตน นั้นเป็นวันถุประสงค์จอมปลอม พอหมดฤทธิ์ หมดกระเป๋า หมดแรง นอนแอ้งแม้ง ขากลับจะไปทำงาน ต้องรบกวนตังแม่อีก  เที่ยวสงกรานให้สนุกเที่ยวที่ไหนก็สนุก ทุกที่มีความหมาย สนุกแท้อยู่ที่ใจ สนุกเทียมอยู่ที่กาย 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันนี้ที่อุบล ๒๓/๓/๕๕ ตอนเช้าๆ อากาศกำลังดี สายๆ ค่อนข้างร้อน เที่ยงไปบ่ายอากาศร้อนมากๆ ฟ้าเริ่มหลัว ทัศนวิสัยไม่ค่อยดี(สำหรับคนแก่) แต่พอตกเย็นๆ อากาศเริ่มเป็นกันเอง คือทั้งร้อนและเย็น ยิ่งได้นั่งไต้ร่มพอก มีติกน้ำแข็ง แก้วน้ำหนึ่งใบ ใส่ชูรสหนึ่งฝาโซดาเล็กน้อย อร่อยกำลังเหมาะ ย่างปลาช่อนสักตัวน้ำจิ้มถ้วยเล็กๆ มีเพลงเบาๆ บรรยากาศบ้านเฮาสบายๆ

วันไหนว่างๆ เชิญเพื่อนพ้อง Gotoknow ไปแวะได้ "ตุ้มโฮม ฮักแพง กินข้างแลงนำกัน"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

ใกล้รุ่งของวันที่๑๙ ฝนโปรยปรายจากท้องฟ้าสู่ผืนดิน ส่งไอกลิ่นแห่งความร้อนบวกกับความเย็น พอสายตะวันสาดแสง ทั้งมด แมลงรวมทั้งคนต่างออกจากรัง

ผมผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพิมล ศรศักดา ก็เช่นเดียวกัน หลังทานข้าวต้มเสร็จรีบเดินทางเข้าสำนักงานรับพระคุณเจ้า๒รูปเดินทางไปยังจังหวัดศรีสะเกษ ที่นั่นมีการสอบวัดผลปลายภาคมีข้อสอบกลาง ๓รายวิชา คณะถึง๙.๒๐น.ได้เวลาพบปะกับนิสิต เปิดสอบเวลา ๙.๓๐ น. การสอบเป็นด้วยความเรียบร้อย พูดง่าน เป็นระเบียบ ไม่วุ่นวาย สบายกรรมการ นี่คือการสอบที่เป็นไปตามระเบียบขององค์กร แบบสะอาด บริสุทธิ์ ยุติธรรม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันนี้วันพระแรม๑๔ค่ำเดือน๓ หลายท่านเตรียมข้าวของให้คุณพ่อ คุณแม่คุณปู่คุณยา ไปตักบาตรที่วัด อย่าลืมกำชับท่านด้วยว่า อย่าไปพูดพื้น ลูกหลานอยู่ในวัดให้พระท่านรำคาญ ขอให้ตั้งในสวดมนต์เจริญภาวนาให้โลกคลายร้อน เมื่อเตือนท่านแล้วอย่าลืมที่ตัวเรา เอาใจจดจ่ออยู่กับงานที่ทำ จำไว้เสมอว่าจะไม่ดุไม่ด่า จะไม่ว่ากล่าวด้วยเสียงดัง จะฟังอย่างมีสติ แค่นี้๒๔ชั่วโมงของวันพระก็เพียงพอ ขอต่ออีกนิดในวันพรุ่งนี้ ทำแบบนี้ไปอีกในวันพรุ่งนี้ต่อต่อไป ใจเราก็จะสงบ พบกับความว่าง ถึงไม่วางก็จะรู้สึกสบาย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา วันที่๑๕เวลาบ่ายโมง ผอ.วสันต์ มรกตเกียว ได้นัดประชุมบุคลากรทางการศึกษา พร้อมกับกรรมการสถานศึกษา สาระคือการพิจารณารายละเอียดของงานวันวิชาการและพิธีเปิดป้ายโรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัยวันที่๒๓ -๒๔ กุมภาพันธ์๒๕๕๕

 โดยวันแรกจะเป็นกิจกรรมทางวิชาการที่โรงเรียนและสถานศึกษาอื่นๆที่เข้าร่วมได้แสดงผลงานส่วนวันที่สองเป็นพิธีเปิดป้ายโรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัย และกิจกรรมทอดผ้าป่า ได้ลำดับงานตั้งแต่ผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่าย และอื่นๆที่ละประเด็นจนครบ อันนี้เป็นการเตรียมงานคือการวางแผน(Plan) ซึ่งบางงานก็ได้เริ่มทำไปบ้างแล้ว(Do) หลังจากนั้นก็จะได้นำมาสรุป(chec)เพื่อนำไปสู่การพัฒนา(Action) ต่อไป อย่างไรก็ตามงานจะสำเร็จลงได้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งชุมชน บุคลากรทางการศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง และนักเรียนนี้คือทุนทางสังคมของการศึกษาไทย. 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันที่๑๖ กุมภาพันธ์๒๕๕๕ มหาจุฬาฯอุบลราชธานีได้จัดการประชุมสัมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานประกันคุณภาพการศึกษา นำโดยท่านพระมหาสุทัศน์ ติสรวาที ผอ.กองวิชาการและคณะประกอบด้วย รศ.สมบูรณ์ บุญฤทธิ์,ผศ.ดร.สุพรต บุญอ่อน, นายบุญหนา จิมานัง, นางไฉไลฤดี ยุวนะศิริ, และนางสาวฐาณิชญาณ์ มัควัลย์ ภาคเช้าพิธีเปิดโดยรองอธิการบดีท่านพระครูสารกิจโกศล จากนั้นเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามคู่มือการประกันของมหาวิทยาลัย ทั้งหมด๙ องค์ประกอบ ๔๒ ตัวบ่งชี้ ภาคบ่ายเป็นการเสนวนาเพื่อความเข้าใจในแต่ละตัวบ่งชี้แบบตัวต่อตัวเพื่อนำไปสู่การเขียนรายงาน ซึ่งเรื่องคุณภาพนั้นทุกหน่วยงาน ที่เป็นหน่วยผลิตจะต้องใส่ใจและคำนึงอยู่ตลอดเวลา เมื่อทำให้ได้คุณภาพแล้ว พร้อมกันนี้จะต้องรักษาคุณภาพนั้นให้ได้มาตรฐานตลอดไป หน่วยงานทางการศึกษาไม่ว่ารัฐหรือสงฆ์จะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างน้อยเราต้องเตรียมตัวเมื่อเปิดรั้วกั้นเข้าสู่กันของอาเซียน.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

ศูนย์บัณฑิตศึกษามหาจุฬาฯอุบล วันนี้๑๒ กุมภาพันธ์ได้เข้าบรรยายวิชาพระพุทธศาสนากับการศึกษา มีนิสติทั้งหมด ๑๙ ท่าน หลังจากได้บรรยายตามหัวข้อแล้วได้มีการซักถาม ประเด็นที่สำคัญคือ"บทบาทของพระสงฆ์ในการจัดการศึกษากับประชาคมอาเซียน" ซึ่งได้แสดงทัศน์ที่หลากหลายมุมมอง ทั้งที่เป็นผลกระทบและผลในทางบวก ที่น่ากังวลก็แต่เรื่องการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยนั้น จะตั้งรับจะปรับเปลี่ยนหรือจะปฏิรูปอย่างไร ยังหาข้อยุติไม่ได้ หากแต่คาดหวังว่าจะเห็นแนวในทางที่วัฒนา ส่วนใหญ่เห็นว่าถ้าคณะสงฆ์จัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับรัฐ ให้เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งพระมหาหรือดร. หรือหนึ่งตำบลหนึ่งสำนักเรียนนักธรรมหรือปริยัติธรรม และหนึ่งอำเภอหนึ่งสำนักเรียนบาลี ก็น่าจะมีพระมหาอยู่วันหลวงหรือพระดร.มากขึ้นก็จะเอื้อต่อการบริหารกิจการของคณะสงฆ์มากยิ่งขึ้น คาดว่าประเภทออกมาเต้นเป็นคลิป หรือการออกเรื่ยไรชาวบ้านหรือออกบิณฑบาตรเวียนจากเช้าจรดเที่ยง ก็อาจลดน้อยลงเพราะคุณภาพแห่งการศึกษา.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันที่๑๐กุมภาพันธ์ ได้ไปทำการบรรยายให้นิสิตมหาจุฬาที่จังหวัดอำนาจเจริญเรื่องระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งนิสิตให้ความสนใจดีมาก มีการสอบถามถึงชื่อเรื่องจะตั้งอย่างไร เอามาจากที่ไหน เมื่อไดด่หัวข้อแล้วจะทำอย่างไรต่อไป ทำให้ผู้สอนมีความชื่นใจมากที่ลูกศิษย์มีความสนใจ อย่างนี้เรียกว่าศิษย์ดีเพราะมีครู การสอนนั้นใช้ชุด Powerpoint ประกอบซึ่งทำให้เข้าใจได้ดีขึ้น การทำวิจัยนั้น ๑)สำรวจตนเองว่ามีความสนใจที่อยากจะศึกษาหรืออยากรู้เรื่องใด ก็ต้องพยามคิดหาเหตุหาที่มา จึงมาสรุปเป็นเรื่องให้สั้น กระชับ ๒)นำไปสู่การตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓)เขียนกรอบการวิจัย(แบบเค้าโครง) ๔)ตั้งสมมติฐาน ๕)ศึกษาวิธีการทำเครื่องมือ ๖)นำเครื่องมือไปเก็บข้อมูล ๗)นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ๘)เขียนรายงานการวิจัย ๙)เผยแพร่ผลงานวิจัย ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการคร่าวๆ รายละอียดปลีกย่อยอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการเสริมเติมให้เต็มตามเวลา อย่างไรก็ตามยังมีหลายท่านที่อยากทำวิจัยหน้าเดียว ซึ่งเมื่อสอบถามถึงขั้นตอนแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ดังนั้นจะวิจัยกี่หน้า ถ้าไม่เข้าใจหลัการทั้งหมดก็ไม่สามารถสรุปมาเป็นหน้าเดียวได้ การวิจัยจึงเปรียบเหมือนการสานแห สานสวิงของชาวบ้าน จะเอาสั้น ยาวกว้างแคบขึ้นอยู่กับเรากำหนด แต่หลักและกระบวนการเป็นอันเดียวกัน.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันนี้ได้รับเกียรติ์จากผอ.วสันต์ มรกตเขียว ได้เรียนเชิญให้เข้าร่วมประชุม ความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) ในโครงการ ๑ช่วย๙ ของโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช มีผู้เข้าร่วม จากโรงเรียน๙ แห่งๆ ละ ๖ ท่าน ภาคเช้าเป็นการปูพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยดร.คมศร วงศ์รักษา รองผู้อำนวยการ สมศ.เป็นวิทยากร จากนั้นก็ได้มีการลงนามความร่วมมือกันโดยมี ท่านดร.ศรีสมบัติ ภูมิเขียว ผอ.เขตฯมัธยมที่๒๙ เป็นสักขีพยาน สาระสำคัญของเรื่องสืบเนื่องจากนโยบายของรัฐ และระบบคุณภาพทางการศึกษาของสมศ.การจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นอีกแง่คิดมุมมองหนึ่งที่เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาให้ก้าวไปสู่มาตรฐานสากล เหมือนกับพี่ช่วยน้อง น้องต้องถามพี่เพื่อให้เดินไปพร้อมกัน แต่ถ้าต่างคนต่างอยู่ก็จะเป็นดั่งเช่นปัจจุบัน แต่ถ้าน้องนั้นอ่อนจนไม่รู้จะช่วยอย่างไร หรือรอแต่พี่จะมาช่วยก็คงไม่ไหว อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องคิดร่วมกัน เพราะวันนี้อุบลราชธานีมีประตูสู่เมืองปากเซ  สปป.ลาว พร้อมที่จะพังรั้งเขตแดนในปี๕๘ ต้องพร้อมที่จะรู้เขารู้เรา ดั่งปราชญ์ซุนวูได้กล่าวไว้ว่า"เมื่อรู้เขา รู้เรา" รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง แต่ผมบอกว่า รู้เท่าเอาไว้กัน รู้ทันเอาไว้แก้ รู้แพ้เอาไปปรับตนเอง.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

การสอนงานวิจัยวันนี้ ๑ กพ.๕๕ นิสิตได้ส่งเครื่องมือการวิจัย ปรากฎว่า บางท่านยังไม่เข้าใจว่าเครื่องมือจะเอาไปทำอะไร ต้องกลับมาทบทวนว่า ตนเองได้อธิบายได้ชัดแล้วหรือยัง ก็ทดสอบโดยถามเกี่ยวกับเครื่องมือกับนิสิตภายในห้อง ส่วนใหญ่ตอบเหมือน ใกล้เคียงกัน จึงถามทั้งหมดอีกว่าท่านใดเข้าใจเป็นอย่างอื่น (ไม่มี) พอตรวจเอกสารก็พบว่าไม่เข้าใจจริงๆ ไม่ได้แกล้ง จึงได้จัดเวลาให้เข้าพบท้ายของแต่ละวัน วันละ ๓๐ นาที ปัญหานี้ไม่ลงมือไม่พบ จะต้องจบให้ได้อย่างมีคุณภาพต่อไป



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

ใบงาน ของนิสิต ครุ๑ คำชี้แจง ๑. ให้นิสิตแบ่งออกเป็น กลุ่มละ๔ รูป ให้ศึกษาค้นคว้าเอกสารเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องต่อไปนี้ เนื้อหาที่ได้ให้จัดพิมพ์ลงกระดาษเอ๔ ไม่ต่ำกว่า ๕ หน้ากระดาษขึ้นไป ๒. มีเอกสารอ้างอิง,บรรณานุกรมให้ถูกต้อง บันทึกลงซีดี ๑ แผ่นส่งพร้อมเอกสาร ๑ ชุด
๓. สั่งงานวันที่ ๓๐ มกราคม ส่งงานวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

หัวข้อที่ ๑ ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย หัวข้อที่ ๒ แนวโน้มทางการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี หัวข้อที่ ๓ ความคาดหวังของสังคมไทยต่อบทบาทของสถาบันการศึกษาสงฆ์ หัวข้อที่ ๔ การจัดการศึกษาเพื่อสร้างศาสนทายาทของคณะสงฆ์ไทย หัวข้อที่ ๕ ทางออกการศึกษาคณะสงฆ์ไทย (นักธรรม,บาลี,สามัญ,อุดมศึกษา) หัวข้อที่ ๖ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกับการศึกษาสงฆ์ หัวข้อที่ ๗ พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ หัวข้อที่ ๘ พระพุทธศาสนากับประชาคมอาเซียน หัวข้อที่ ๙ พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหายาเสพติด หัวข้อที่ ๑๐ พุทธวิธียุติความขัดแย้งทางสังคม หัวข้อที่ ๑๑ การบริหารการศึกษาแนวพุทธ หัวข้อที่ ๑๒ บทบาทของพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
หัวข้อที่ ๑๓ พุทธวิธีสร้างความมั่นคงกับวิถีชีวิตชาวนา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

ใบงาน ของนิสิต ครุ๑ คำชี้แจง ๑. ให้นิสิตแบ่งออกเป็น กลุ่มละ๔ รูป ให้ศึกษาค้นคว้าเอกสารเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องต่อไปนี้ เนื้อหาที่ได้ให้จัดพิมพ์ลงกระดาษเอ๔ ไม่ต่ำกว่า ๕ หน้ากระดาษขึ้นไป ๒. มีเอกสารอ้างอิง,บรรณานุกรมให้ถูกต้อง บันทึกลงซีดี ๑ แผ่นส่งพร้อมเอกสาร ๑ ชุด
๓. สั่งงานวันที่ ๓๐ มกราคม ส่งงานวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

หัวข้อที่ ๑ ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย หัวข้อที่ ๒ แนวโน้มทางการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี หัวข้อที่ ๓ ความคาดหวังของสังคมไทยต่อบทบาทของสถาบันการศึกษาสงฆ์ หัวข้อที่ ๔ การจัดการศึกษาเพื่อสร้างศาสนทายาทของคณะสงฆ์ไทย หัวข้อที่ ๕ ทางออกการศึกษาคณะสงฆ์ไทย (นักธรรม,บาลี,สามัญ,อุดมศึกษา) หัวข้อที่ ๖ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกับการศึกษาสงฆ์ หัวข้อที่ ๗ พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ หัวข้อที่ ๘ พระพุทธศาสนากับประชาคมอาเซียน หัวข้อที่ ๙ พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหายาเสพติด หัวข้อที่ ๑๐ พุทธวิธียุติความขัดแย้งทางสังคม หัวข้อที่ ๑๑ การบริหารการศึกษาแนวพุทธ หัวข้อที่ ๑๒ บทบาทของพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
หัวข้อที่ ๑๓ พุทธวิธีสร้างความมั่นคงกับวิถีชีวิตชาวนา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๐-๑๑.๓๐น. ได้ทำสัญญางานวิจัยจำนวน ๑ เรื่อง คือ รูปแบบและแนวทางในการอนุรักษ์ป่าชุมชนแนวพุทธ กรณีจังหวัดอุบลราชธานี กับสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์โดยมี ดร.พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (ผอ.รูปใหม่) งานนี้มีทีมงาน๕ ท่าน ส่งรายงานความคืบหน้าเดือนมิถุนายน รายงานฉบับสมบูรณ์ภายในเดือน กันยายน๒๕๕๕ นี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันนี้ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๕ มหาจุฬาฯอุบลราชธานี จัดให้มีการสอบวิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต นิสิตจำนวน ๖ รูป ประธานคณะกรรมการสอบคือ ผศ.ดร.พระมหาทวี มหาปุญฺโญ กรรมการประกอบด้วย รศ.สมหมาย ชินนาค ดร.เรืองเดช เขจรศาสตร์ ผศ.ดร.ชื่น ศรีสวัสดิ์ และพระครูสมุห์เฉวียน กตปุญฺโญ ภาคเช้านี้ นิสิตที่เข้าสอบจำนวน ๑ รูป ภาคบ่าย ๒ รูป

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

วันอาทิตย์ที่๒๒ เวลา เที่ยงคณะครูโรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัยนำรถตู้ไปรับที่ มหาจุฬาฯ(ดงบั้งไฟ)จากนั้นเดินทางไปยังหน้าธนาคารอาคารสงเคราะห์รอรับขบวนไฟพระฤกษ์ การแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทยครั้งที่ ๓๓ ที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ ๒๓-๓๐ มกราคม๒๕๕๕ จุดที่รอนี้เป็นชุดที่ ๒๒ คณะพวกเราถึงจุดนัดเวลา๑๓.๓๐ น. ที่นั่นพบน้องผู้หญิง๒ คนนั่งรออยู่มีป้ายเขวนที่คอบอกว่าเป็น staf ครูจึงได้เข้าไปถามถึงขั้นตอนการยืนแถวการรับไฟ และการวิ่ง คำตอบที่ได้คือน้องเองก็ไม่รู้ พี่เขาบอกว่าให้มารอจุดนี้ ก็มา เมื่อขบวนผ่านไปแล้วก็กลับได้ อีกครึ่งชั่วโมงถัดมา เจ้าหน้าที่กรมอุตุนิยมฯวิ่งมาถามว่า "ตกลงขบวนยังไม่มาใช้หรือไม่เพราะรอนานแล้ว" แสดงว่าไม่มั่นใจเช่นกัน เขาก็กลับไปรอขบวนต่อไป คณะรู้สึกหิวขึ้นมาเมื่อทราบว่าขบวนยังอยู่อีกไกล จึงพากันไปหาอะไรทานรองท้อง เวลา ๑๕.๐๐ น.ตามกำหนดการพวกเราก็รีบมายังจุดนัดหมาย ๑๕.๕๐ ขบวนจึงมาถึง พวกเราก็ออกไปยืนรอตามที่คิดว่าน่าจะเป็นเช่นนั้นเรียงหน้ากระดาน ประธานออกไปข้างหน้ารับไฟ เสร็จ กลับหลังหัน พวกเราก็เดินสาวขายาวๆ ไปประมาณ๒๐๐ เมตร จากนั่นก็วิ่งเยาะๆจนถึงจุดที่ ๒๓ ก็ส่งมอบไฟ จากนั้นก็ยืนแถวให้ขบวนผ่านไปหมดจึงสลายตัว โดยภาพรวมขบวนทั้งหมดเท่าที่คัดเด็กวิ่งถือธง และรถบุษบกประมาณ๑๐๐ เมตร เป็นภาพที่น่าประทับใจ และภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งการมีส่วนร่วมนั้นเราสามารถทำได้ทั้งการเข้าไปร่วมและการแสดงความมีน้ำในกิจกรรมนั้นเมื่อได้รับการขอร้องมา งานนี้ ผอ.วสันต์ มรกตเขียว คือผู้นำhttp://www.ubonsri.ac.th/ac_detail.php?ac_id=77



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ผศ. สุพิมล ศรศักดา
เขียนเมื่อ

เช้าวันนี้ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ น.ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอบรมเยาวชนพลังของแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติดโดยบูรณาการกับการเข้าค่ายลูกเสือ ของโรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัย วิทยากรจากค่ายบดินร์เดชาและพระคุณเจ้า พิธีเปิดโดยนายแพทย์สุรพร ลอยหา คณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู นักเรียน รวม ๕๐๐๐ คน วิทยากร บรรยายพิเศษจาก สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เน้นเรื่องคุณธรรมที่มีอยู่ในตัวบุคคลทุกคน สาระสำคัญสรุปได้ว่า  การกระทำใดๆก็ตาม ต้องไม่ทิ้งความเป็นปัจจุบัน คือการมีสติอยู่ทุกเวลา ท่านยกตัวอย่างในหลวงไปพระราชทานปริญญาบัตรที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในช่วงพัก อธิการบดีเห็นเหงื่อของพระองค์ ทูลถามว่าทรงเหนื่อยรือไม่ พระองค์ตอบว่า "คือการปฏิบัติธรรม" หลวงพ่อพุทธทาสท่านอ่านหนังสือด้วย สอนคนไปด้วย เขียนหนังสือด้วย ท่านบอกว่าการทำงานคือการปฏิบัติธรรม ท่านวิทยากรทำความสะอาดบริเวณบ้านท่ามกลางแดดร้อน เหลื่อไหลเป็นทางเหนื่อยก็พักจนสำเร็จ ไม่รู้สึกเหนื่อยเพราะตระหนักถึงคำของในหลวง นี้คือการปฏิบัติธรรม คือการทำอะไรให้ใจเป็นปัจจุบัน เราจะรู้สึกว่าไม่เหนื่อย เยาวชนไทยหากมีสติ ฝึกฝนตนเอง ตามกติกาของสังคม เช่นกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีก็จะทำให้เราแข็งแกร่งทั้งร่างกาย จิตใจ  เยาวชนที่เข้มแข็งในวันนี้จะนำพาชุมชนให้แข็งแรง สังคมก็จะสงบสุข การอบรมเข้มครั้งนี้ ใช้เวลา ๓ วันคือ ๑๙-๒๑ มกราคม ๒๕๕๕ ที่โรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัย ต.กระโสบ ใกล้กับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอุบลราชธานี.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท