คำตอบ


กระตุ้นพัฒนาการ

ธัญรัศม์

คำตอบ

ก่อนอื่นต้องให้กำลังใจคุณแม่ในการฝึกกิจกรรมการพัฒนาทักษะต่างๆของน้องน้อร์ทครับ

ผมแนะนำให้พาน้องมาตรวจความสามารถด้านการพัฒนาเด็ก จากที่เล่ามาน่าจะฝึกให้น้องเรียนรู้การควบคุมศรีษะและลำตัวพร้อมๆกับจัดท่าทางนั่ง-นอน-อุ้มไม่ให้มีอาการเกร็ง เรายังไม่เน้นเพิ่มความแข็งแรง เพราะปัญหาเกิดจากความบกพร่องในการควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อผ่านระบบประสาท คุณแม่ต้องเรียนรู้วิธีการฝึกจากนักกิจกรรมบำบัดใกล้บ้าน นอกจากนี้น้องควรได้รับการประเมินความสามารถดูดกลืนด้วยซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการควบคุมจากระบบประสาทเช่นกัน

หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าจะพาน้องไปพบนักกิจกรรมบำบัดที่ใด ผมแนะนำให้พบนักกิจกรรมบำบัดที่สถาบันไพดี้ รังสิต ติดต่อคุณยงยศ 08-1833-4739 หรืออาจมาพบผมที่คลินิกกิจกรรมบำบัด ชั้น 6 ตึกคณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล เชิงสะพานปิ่นเกล้า ผมจะให้คำปรึกษาทุกวันจันทร์ เวลา 8.00-12.00 น. ครับ มือถือ 08-522-40707

 

ขอข้อมูลการใช้ทักษะการดำเนินชีวิตค่ะ

กนกวรรณ

คำตอบ

เรียน คุณกนกวรรณ

ขอบคุณที่สนใจข้อมูลครับ

แต่เรื่องของทักษะชีวิตมีหลายองค์ประกอบและนำไปใช้ในแต่ละกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกัน

ไม่แน่ใจว่าคุณกนกวรรณต้องการข้อมูลแบบใด

ขณะนี้ผมมีข้อมูลที่ไว้ใช้สอนนักศึกษากิจกรรมบำบัด ซึ่งอยู่ในกระบวนการเรียนการสอน อาจให้ได้บางส่วนหากระบุหัวข้อทักษะการดำเนินชีวิตที่ชัดเจน

และข้อมูลงานวิจัยในกลุ่มเด็กพิเศษ กลุ่มคนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยอัมพาต แต่ไม่สามารถให้ข้อมูลตรงนี้เนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงการวิเคราะห์ข้อมูล

หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอีเมล์อีกครั้ง หรือเข้าประชุมวิชาการ คลิกที่ http://www.ptms.mahidol.ac.th/webthai/index.php?option=com_content&task=view&id=14&Itemid=24

อ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง

กิจกรรมเพื่อสังคม(ยามว่าง)

นัท

คำตอบ

ลองเสนอโครงการหรือหัวข้อที่น่าสนใจมานะครับ เพราะการมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อสังคมเป็นหน้าที่ระหว่างอาจารย์มหาวิทยาลัยและคนในชุมชนนอกมหาวิทยาลัยครับ

การบำบัดการกลืนอาหารในผู้ใหญ่

สุภาภรณ์

คำตอบ

เรียน คุณสุภาภรณ์

แนะนำให้มาตรวจประเมินความสามารถในการกลืนอาหารที่คลินิกกิจกรรมบำบัด ชั้น 6 คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล เชิงสะพานปิ่นเกล้า ผมจะเข้าคลินิกทุกวันจันทร์ในเดือน ต.ค. ครับ

ในปัจจุบัน หาแพทย์ใส่สายยางให้แล้ว ลองปรึกษาให้ฝึกกิจกรรมบำบัดด้วย หากไม่ได้ผมคงต้องตรวจประเมินและพิจารณาว่าจะฝึกทักษะการกินอาหารได้อย่างไรต่อไปครับ

หากมีคำถามสงสัย รบกวนโทร 08-522-40707

กิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช

โรงพยาบาลบ้านหมี่

คำตอบ

ขอบคุณสำหรับคำถามครับ

ผมได้สรุปโครงการหนึ่งมาให้ และกำลังจะเตรียมพัฒนา Recovery and ecological model for mental health rehabilitation ไปจัด workshop ที่สถาบันสุขภาพจิตกัลยาราชนครินทร์เดือนหน้า ติดต่อได้ที่ 08-52240707 หากมีข้อสงสัยครับ

โครงการกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิต หัวหน้าโครงการ                 อาจารย์ ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทองวัตถุประสงค์หลักของโครงการ1.       เพื่อพัฒนาตัวอย่างระบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดเฉพาะทางสุขภาพจิต ซึ่งจัดตั้งขึ้นในสถาบันการศึกษาที่กำลังจะริเริ่มให้มีการจัดการเรียนการสอนทางคลินิกกิจกรรมบำบัด2.       เพื่อคัดกรองและส่งเสริมการมีภาวะสุขภาพจิตที่ดีในประชากรไทย อันได้แก่ บุคคลทั่วไป และบุคคลที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังทางระบบต่างๆ 3.       เพื่อเพิ่มเครือข่ายการให้คำปรึกษาแก่สถาบันต่างๆของประเทศไทย ที่ให้การฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม

รายละเอียดโดยสังเขปของโครงการ

อาจารย์หรือนักกิจกรรมบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสุขภาพจิต ให้การบริการแก่บุคคลทุกเพศทุกวัย ดังต่อไปนี้1.       บุคคลที่ประกอบอาชีพจนไม่สามารถมีเวลาพักผ่อนและเวลาการทำกิจกรรมยามว่าง2.       บุคคลที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ3.       บุคคลที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังทางระบบประสาท4.       บุคคลที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม เช่น โรคเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า กลัว อารมณ์เศร้าอย่างรุนแรง บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทางสังคมเปลี่ยนแปลง โรคจิตประสาทระยะแรก โรคใช้สารเสพติดมากผิดปกติ เป็นต้น  5.       บุคคลที่มีเวลาว่างมากจนเกินไปและมีความรู้สึกท้อแท้ต่อการประกอบอาชีพเสริม6.       บุคคลที่อยู่ในสภาวะการเจ็บป่วยขั้นสุดท้ายของชีวิต7.       ญาติหรือผู้แทนของชุมชนที่ต้องการรับคำปรึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตของบุคคลที่รู้จักหรืออยู่ในชุมชนและมีอาการต่างๆ ข้างต้น โปรแกรมการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิต มีโดยสรุปคือ 1.       การให้คำปรึกษาเพื่อวางระบบการจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพจิต (Self Management Program on Mental Health and Well-Being) ในระดับผู้ป่วยเฉพาะราย กลุ่มหรือชุมชน ตัวอย่างเนื้อหาของโปรแกรม ได้แก่ การสำรวจกิจกรรมและสภาวะทางสุขภาพจิตในชีวิตประจำวัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมการดูแลตนเอง กิจกรรมการทำงานหรือการเรียน และกิจกรรมการใช้เวลาว่างในระดับร่างกาย สังคม และการพักผ่อน 2.       การให้การฝึกอบรม (Workshop Training) หรือการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (Psychological support and counseling) ในระดับของเทคนิคการใช้สงวนพลังงานและการทำงานเพื่อการมีภาวะที่ดีทางสุขภาพจิต  (Work simplification / energy conservation techniques for enhancing mental health/well-being)3.       การให้การฝึกอบรม (Workshop Training) หรือการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (Psychological support and counseling) ในระดับการปรับตัวด้วยกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่อสภาพอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น การจัดการความเหนื่อยล้า  (Fatigue management)  การจัดการความเครียดและความเจ็บปวดทั่วไป  (Stress and pain management strategies) การจัดการอารมณ์โกรธ (Anger management) 4.       การให้การฝึกอบรม (Workshop Training) หรือการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (Psychological support and counseling) ในระดับการฝึกฝนตนเองเพื่อให้มีความสามารถจัดการใช้เวลาทำกิจกรรมดำเนินชีวิตอย่างสมดุลย์ (Maximize personal independence in self-care, leisure and work roles) 5.       การให้การฝึกอบรม (Workshop Training) หรือการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (Psychological support and counseling) ในระดับชุมชนเกี่ยวกับการมีรูปแบบชีวิตที่เสริมสร้างการมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดี ได้แก่ โภชนาการดี ออกกำลังกายดี ควบคุมภาวะความเครียดดี และมีกิจกรรมที่มีความคุณค่าแก่ชีวิต (Educate communities about healthier lifestyles and behaviours)6.       การจัดกิจกรรมนันทนาการ (Run fun activities) เพื่อเด็กและผู้สูงอายุที่มีอาการเจ็บป่วยมากจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ 7.       การให้ความรู้และฝึกฝนแก่บุคคลต่างๆ ด้านทักษะการดำเนินชีวิตทางสังคม (Life skill training) เช่น การจัดการแก้ไขปัญหา (Problem solving skill training) การจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายของตนเอง (Budgeting) การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น  (Communication and social skills training) การสำรวจกิจกรรมยามว่างที่ตนเองชอบ (Exploring leisure and recreation options) การเรียนรู้อาการความบกพร่องทางจิตสังคมและผลข้างเคียงของการใช้ยา (Managing side-effects of medication for psychosocial dysfunctions)

การสัมมนากลุ่มด้วยกิจกรรมที่มีความหมาย เพื่อการประคับประคองญาติหรือชุมชน ที่มีความเศร้าจากเหตุการณ์การเสียชีวิตของบุคคลหรือกลุ่มคนอันเป็นที่รัก (Bereavement support for individuals, and families by encouraging meaningful activities)

มารายงานความคืบหน้าที่ดีขึ้นของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ค่ะ

Sasinand

คำตอบ

ขอบคุณสำหรับความคืบหน้าของ case นี้

สำหรับการรักษาผู้ที่มีความบกพร่องจากระบบประสาทความจำ

โดยธรรมชาติของโรค หากระบบพยาธิสภาพไม่เลวร้ายนัก ยาที่ช่วยกระตุ้นสารเคมีในสมอง (เน้นการฟื้นตัวไม่ให้การทำงานของสมองเสื่อมลง) ก็สามารถช่วยได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้กลับมาทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ทั้งหมด

การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการกระตุ้นการทำงานของสมองก็เป็นเรื่องสำคัญในการฟื้นฟูสมรรถภาพ

ในความคิดเห็นของนักกิจกรรมบำบัด เรากำลังมองว่า กิจกรรมที่ผู้ป่วยเริ่มทำได้นั้น ยังคงต้องเสริมระบบการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตมากขึ้น โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์กิจกรรมที่ผู้ป่วยเคยทำได้แล้วยังไม่เคยได้ลองทำ ที่สำคัญต้องจัดระบบการฝึกอย่างเป็นธรรมชาติแต่มีการบันทึกความก้าวหน้าคล้ายๆ สมุดบันทึกกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย ว่าวันนี้มีทักษะใดที่เพิ่มขึ้นและอยากจะฝึกต่อในอีกวันต่อไป

อาจารย์ป๊อป

มีกิจกรรมทางจิตวิทยาอะไรบ้างที่ทำให้คนรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้

นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์

คำตอบ

ขอบคุณสำหรับคำถามครับอาจารย์สุรเชษฐ

คงต้องให้คำจำกัดความของ "รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้" ว่าครอบคลุมองค์ประกอบใดบ้าง ที่เป็นพื้นฐานทางจิตวิทยาและมีทฤษฎีใดที่รองรับการสร้างโปรแกรมทางกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม

เท่าที่ศึกษามา แม้แต่การจัดกิจกรรมบำบัดแบบเดี่ยวหรือกลุ่มในผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม เรายังไม่สามารถใช้โปรแกรมหรือทฤษฎีอันใดอันหนึ่งแก้ไขได้สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาต่างๆของการพัฒนาตนเอง ในหัวข้อ self-efficacy, self-determination (competence, autonomouse, relatedness), self-regulation, self-actualization, intrinsic motivation, well-being satisfaction, occupational performance (psychosocial skills)

ดังนั้นผมคิดว่าอาจารย์คงต้องอธิบาย "รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้" ว่าจะเน้นพัฒนาตนเองด้านใด เมื่อทราบปัญหาของการรู้จักตนเองในกลุ่มคนที่ต้องการศึกษาแล้ว การสร้างโปรแกรมเฉพาะกลุ่มก็มีหลายกระบวนการ จนถึงการเลือกตัวดัชนีชี้วัดว่ากลุ่มคนดังกล่าวต้องใช้อะไรวัดจะได้รู้ว่าโปรแกรมที่ให้นั้นมีประสิทธิผลครับ

หากอาจารย์ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติม เชิญอีเมล์ได้ครับ

ผมมีตัวอย่างหนึ่งในการสร้างโปรแกรมเน้นเพิ่ม Self-efficacy ซึ่งเป็นหนึ่งในการรู้จักตนเองในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาโรคข้อครับ

คลิกที่ http://www.niams.nih.gov/hi/outreach/hppsummary.htm

รักษาสุขภาพ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

คำตอบ

Thank you krab Khun Aek,

I feel much better recovery on my ankle pain. It is taking more than a week now to get its painful completely released.

By the way,  I am walking slowly as well as working hardly here.

Have a nice day at there na krab.

Miss you from Perth to Pai...

เรียนหนักเหรอครับ!!!

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

คำตอบ

Sorry for the lately reply. Just seen your greeting today.

Always getting impressed when visit your weblog.

Many thanks for your greeting on my weblog and cheering up my studying here in Perth.

Sending a best friendship to Khun Jatuporn or Aek in Pai krab...

สวัสดีค่ะ

ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์

คำตอบ

Sawasdee Krab Ajarn Jantawan,

I have just seen your greeting today. Thank you for your note. I would say that GotoKnow is an excellent networking, and it is one useful way of sharing my profession to the publics.....while studying in Perth, Western Australian and returning to Bangkok, Thailand on December 2006.

Have a nice day krab.

Ajarn POP

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท